Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิดระบบสารสนเทศทางการพยาบาล (แนวคิดของระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการท…
แนวคิดระบบสารสนเทศทางการพยาบาล
ความหมาย
สารสนเทศทางการพยาบาล (Nursing lnformatics) หมายถึง การนำความรู้ทางเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ สารสนเทศศาสตร์ และศาสตร์ทางการพยาบาล มาใช้ร่วมกันในการออกแบบและการจัดการข้อมูลสารสนเทศ และองค์ความรู้ในวิชาชีพ
องค์ประกอบที่สำคัญในการจัดระบบสารสนเทศ
คือ การร่วมวางแผนระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายเทคนิค เนื่องจากการจัดทำระบบสารสนเทศจะเป็นการกำหนดจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้ ต้องมีการร่วมมือกัน เพราะฝ่ายบริหารจะทราบกลยุทธ์ วัตถุประสงค์และเป้าหมายในการพัฒนาระบบสารสนเทศที่มีประโยชน์สำหรับองค์กรได้ดี ในขณะที่ความสามารถทางด้านเทคนิคอาจจะไม่เด่นชัดนัก ส่วนฝ่ายเทคนิคจะมีความสามารถความชำนาญทางด้านการสร้างความเป็นเลิศทางเทคนิคแต่ไม่มีความชำนาญทางด้านการบริหารและขาดความรู้ที่เฉพาะทางด้านองค์กรนั้นๆ ดังนั้นทั้งสองฝ่ายต้องการมีการประสานงานกันอย่างดี
แนวคิดของระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการทางการพยาบาล การทำงานในแต่ละองค์กร แบ่งออกเป็นหลายระดับ ดังนี้
1.ระดับปฏิบัติการ
ผู้ใช้ คือ พยาบาลประจำการ
สารสนเทศนำเข้า คือ จำนวนผู้ป่วย ชื่อผู้ป่วย เบอร์เตียง
การปฏิบัติการ คือ การวางแผนการทำงานให้กิจกรรมพยาบาลเป็นไปตามที่วางแผนไว้ การเขียน หรือ การบันทึกงานที่ทำ
สารสนเทศที่ได้/ส่งออก คือ รางงานผลการทำงานแก่พยาบาล รายงานแก่หัวหน้าเวรในระดับปฏิบัติการ
2.ระดับควบคุมการปฏิบัติการหรือระดับบริหารงานระดับต้น
ผู้ใช้ คือ หัวหน้าเวร หัวหน้าหอผู้ป่วยหัวหน้าสำนักงาน
สารสนเทศนำเข้า คือ จำนวนผู้ป่วยในหอผู้ป่วยที่รับผิดชอบ จำนวนบุคคลกรที่ขึ้นปฏิบัติงาน
การปฏิบัติงาน คือ ควบคุมดูแลการทำกิจกรรมบำบัดที่สำคัญของผู้ป่วยทั้งหมด
สารสนเทศที่ได้/ส่งออก คือ การสื่อสารกับหอผู้ป่วยอื่นๆ รางงานผู้ตรวจการ รายงานหัวหน้าแผนก รายงานแพทย์เวร เป็นต้น
3.ระดับบริหารระดับกลาง
ผู้ใช้ คือ ผู้ตรวจการพยาบาล หัวหน้างานฝ่ายต่างๆ เป็น
สารสนเทศนำเข้า คือ จำนวนผู้ป่วยในแต่ละหอผู้ป่วย จำนวนผู้ป่วยรวมทั้งแผนก
การปฏิบัติงาน คือ การวางแผนการทำงาน การให้ช่วยเหลือแก่หอผู้ป่วยที่มีปัญหาต่างๆ
สารสนเทศที่ได้/ส่งออก คือ การสื่อสารรายงานที่แสดงต่อหัวหน้า
4.ระดับบริหารระดับสูง
ผู้ใช้ คือ หัวหน้าฝ่ายการพยาบาล หรือผู้อำนวยการฝ่ายการพยาบาล เป็นต้น
สารสนเทศนำเข้า คือ จำนวนผู้ป่วยทั้งโรงพยาบาล จำนวนบุคลากรการแพทย์
การปฏิบัติงาน คือ การวางแผนกลยุทธ์ การกำหนดนโยบาย
สารสนเทศที่ได้/ส่งออก คือ ผลประโยชน์ ผลกำไร รางวัล ชื่อเสียงแนวคิดสารสนเทศทางการพยาบาล
ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ
การสื่อสารมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถส่งต่อ และดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว
เพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน รายการที่มีในระบบจะเป็นข้อมูลคอยกระตุ้นในการตัดสินใจของพยาบาล ดังนั้นการตัดสินใจทุกครั้งจะมาจากข้อมูลที่ทำการบันทึก ทุกการตัดสินใจจะมาจากข้อมูลที่ตรงและถูกต้อง
การมีข้อมูลที่เพียงพอทำให้สามารถระบุต้นทุนในการจัดการได้ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการวางแผนการบริหาร
การวางแผนที่ดีสามารถลดต้นทุนในการบริหารนำมาซึ่งโอกาสในการแข่งขันด้านประสิทธิภาพ ประสิทธิผลมากขึ้นการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังจะช่วยให้สามารถวางแผนในการเยี่ยมบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการทำงาน
ตัวอย่าง Software HIS
Hospital Information System ( HIS ) ของโรงพยาบาลสาธิตเป็นโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชน และ/หรือโรงพยาบลทั่วไปในสังกัดหระทรวงสาธารณะสุข เพื่อให้โรงพยาบาลเหล่านี้ได้มีทางเลือกในการใข้โปรแกรมมากขึ้น HIS พัฒนาโดยใช้ Data Set มาตรฐานเดิมซึ่งเคยได้ออกแบบไว้แล้ว ( เล่มสีเขียว ) โดยใช้ Visual Fox Pro Version 3.0 เพื่อให้ใช้ได้กับทุก Windows environment ทั้งแบบ Clint-Server และ Stanalone สามารถเลือกได้ว่าจะใช้ Database เป็น SQL Anywhere 5.0 หรือ MS SQL Server 6.5 ขึ้นไป โปรแกรมตัวอย่าง ได้แก่ Database SQL Server 7.0
การใช้งาน HIS เป็นโปรแกรมทีมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก พัฒนาขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้ได้กำหนดองค์ประกอบของโปรแกรมเองได้ ประกอบไปด้วยระบบงานย่อยดังนี้
ระบบงานห้องบัตร
ระบบงานตรวจห้องตรวจโรค
ระบบงานจุดจ่ายยา
ระบบงานห้องเก็บเงินผู้ป่วย
ระบบงานจุดลงทะเบียนผู้ป่วยใน
ระบบรายงาน
ระบบการติดตามสอบถามข้อมูลผู้ป่วย
ระบบโรงพยาบาล ( HIS )
UNIX ประกอบด้วย ระบบผู้ป่วยใน ระบบห้องผ่าตัด ระบบห้องคลอด ระบบห้องปฏิบัติการ ระบบเวชระเบียนผู้ป่วยในระบบการเงินผู้ป่วยนอกและระบบการเงินผู้ป่วยใน ระบบสั่งอาหาร On Line
Windows ประกอบด้วย ระบบเวชระเบียน ระบบผู้ป่วยนอก ระบบนัดหมาย ระบบการเงินผู้ป่วนอก ระบบการเงินผู้ป่วยใน