Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่เกิดจากความสัมพันธ์ของ โลก ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์
ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่เกิดจากความสัมพันธ์ของ โลก ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์
ระบบวงโคจรของดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ ทำให้เกิดปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ ในรอบวัน รอบเดือน หรือรอบปี
กลางวันกลางคืน
โลกหมุนรอบตัวเองจากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก ทำให้เกิดกลางวันและกลางคืน ด้านที่หันรับแสงอาทิตย์เป็นกลางวัน ด้านตรงข้ามที่ไม่ได้รับแสงอาทิตย์เป็นกลางคืน
ฤดูกาล
ฤดูกาล (Seasons) เกิดจากโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์โดยที่แกนของโลกเอียง 23.5 องศาในฤดูร้อนโลกเอียงขั้วเหนือเข้าหาดวงอาทิตย์ ทำให้ซีกโลกเหนือกลายเป็นฤดูร้อน และซีกโลกใต้กลายเป็นฤดูหนาว หกเดือนต่อมาโลกโคจรไปอยู่อีกด้านหนึ่งของวงโคจร โลกเอียงขั้วใต้เข้าหาดวงอาทิตย์ (แกนของโลกเอียง 23.5 องศา คงที่ตลอดปี) ทำให้ซีกโลกใต้กลายเป็นฤดูร้อน และซีกโลกเหนือกลายเป็นฤดูหนาว
ข้างขึ้นข้างแรม
ข้างขึ้นข้างแรม (The Moon’s Phases) เกิดขึ้นเนื่องจากดวงจันทร์มีรูปร่างเป็นทรงกลม ไม่มีแสงในตัวเอง ด้านสว่างได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ แต่ด้านตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ถูกบังด้วยเงาของตัวเอง ดวงจันทร์โคจรรอบโลก ทำให้มุมระหว่างดวงอาทิตย์-ดวงจันทร์-โลก เปลี่ยน เปลี่ยนแปลงไปวันละ 12 องศา เมื่อมองดูดวงจันทร์จากโลก เราจึงมองเห็นเสี้ยวของดวงจันทร์มีขนาดเปลี่ยนไป
ข้างขึ้น (Waxing) เป็นช่วงที่เกิดขึ้นระหว่าง คืนเดือนมืดจนถึงคืนวันเพ็ญ โดยใช้ด้านสว่างของดวงจันทร์เป็นตัวกำหนด แบ่งออกเป็น 15 ส่วน เริ่มจาก ขึ้น 1 ค่ำ จนถึง ขึ้น 15 ค่ำ
ข้างแรม (Waning) เป็นช่วงที่เกิดขึ้นระหว่างคืนวันเพ็ญจนถึงคืนเดือนมืดอีกครั้ง โดยใช้ด้านมืดของดวงจันทร์เป็นตัวกำหนด แล้วแบ่งออกเป็น 15 ส่วนโดยเริ่มจากแรม 1 ค่ำ จนถึง เเรม14 - 15
น้ำขึ้นน้ำลง
น้ำขึ้นน้ำลงคือปรากฏการณ์ที่ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น และลดลงเป็นช่วงๆในแต่ละวัน โดยเกิดจากแรงดึงดูดระหว่างมวลของดวงจันทร์และโลก น้ำขึ้นจะเกิดบนผิวโลกบริเวณที่มีตำแหน่งใกล้ดวงจันทร์และตรงกันข้ามกับตำแหน่งของดวงจันทร์ ส่วนน้ำลงเกิดในพื้นที่บนโลกที่มีพื้นที่ตั้งฉากกับตำแหน่งของดวงจันทร์ เมื่อโลกหมุนรอบตัวเองพื้นที่บนโลกที่มีตำแหน่ง ใกล้ ตรงกันข้าม หรือตั้งฉากกับดวงจันทร์จะมีการเปลี่ยนตำแหน่งไป จึงทำให้พื้นที่หนึ่งๆเกิดน้ำขึ้น น้ำลงวันละ 2 ครั้ง
โดยปกติน้ำทะเลขึ้นวันละ 2 ครั้งและลงวันละ 2 ครั้ง โดยมีช่วงเวลาระหว่างการขึ้น – การลงประมาณ 6 ชั่วโมง 12 นาที ทำให้น้ำขึ้นครั้งแรกถึงครั้งถัดไปห่างกันประมาณ 12 ชั่วโมง 25 นาที และวันถัดไปน้ำจะขึ้นช้าวันละประมาณ 50 นาที เพราะดวงจันทร์เคลื่อนไปอยู่ทางตะวันออกของจุดเดิมเกือบ 13 องศา
สุริยุปราคา
สุริยุปราคา (Solar Eclipse) หรือสุริยคราส เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ เกิดจากการที่ดวงจันทร์โคจรผ่านระหว่างดวงอาทิตย์และโลกในเวลากลางวัน ทำให้เรามองเห็นดวงอาทิตย์ค่อย ๆ เว้าแหว่งไป จนกระทั่งดวงจันทร์บดบังดวงอาทิตย์ไว้ทั้งหมด เวลานั้นแม้เป็นกลางวันแต่โลกก็จะมืดลงไปชั่วขณะ และเมื่อดวงจันทร์ผ่านพ้นไป ดวงอาทิตย์ก็จะกลับมาส่องสว่างอีกครั้ง ดังนั้น การเกิดสุริยุปราคาจึงเป็นปรากฏการณ์ที่ต้องประกอบไปด้วยดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก เรียงตัวอยู่ในระนาบเดียวกัน ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากจันทรุปราคาที่เป็นปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ เรียงตัวอยู่ในระนาบเดียวกัน ตามลำดับ
สุริยุปราคามี 4 ประเภท ได้แก่
สุริยุปราคาบางส่วน มีลักษณะ: มีเพียงบางส่วนของดวงอาทิตย์เท่านั้นที่ถูกบัง
สุริยุปราคาเต็มดวง มีลักษณะ : ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์หมดทั้งดวง
สุริยุปราคาวงแหวน มีลักษณะ: ดวงอาทิตย์มีลักษณะเป็นวงแหวน เกิดเมื่อดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งที่ห่างไกลจากโลก ดวงจันทร์จึงปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์
สุริยุปราคาผสม มีลักษณะ : ความโค้งของโลกทำให้สุริยุปราคาคราวเดียวกันกลายเป็นแบบผสมได้ คือ บางส่วนของโลกเห็นสุริยุปราคาเต็มดวง บางส่วนเห็นสุริยุปราคาวงแหวน บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาเต็มดวง เป็นส่วนที่อยู่ใกล้ดวงจันทร์มากกว่า
จันทรุปราคา
จันทรุปราคา หรือ จันทรคราส เกิดขึ้นจากดวงจันทร์โคจรผ่านเข้าไปในเงาของโลก เราจึงมองเห็นดวงจันทร์แหว่งหายไปในเงามืดแล้วโผล่กลับออกมาอีกครั้ง
จันทรุปราคาจะเกิดขึ้นเฉพาะในคืนวันเพ็ญ 15 ค่ำ หรือคืนวันพระจันทร์เต็มดวง จึงมีโอกาสที่จะเกิดจันทรุปราคาเพียงปีละ 1 - 2 ครั้ง