Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ.๒๕๖๒ (หมวด ๑ บททั่วไป (หมวด ๒ …
พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ.๒๕๖๒
มาตรา ๑
พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. ๒๕๖๒ ”
มาตรา ๔
ให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๒
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓
ในพระราชบัญญัตินี้
ผู้ดูแลเด็กปฐมวัย
บิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ซึ่งเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
ศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์บริการช่วยเหลือ ระยะแรกเริ่มของเด็กพิการหรือเด็กซึ่งมีความต้องการพิเศษ สถานรับเลี้ยงเด็ก และสถานสงเคราะห์ ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็กซึ่งมีเด็กปฐมวัยอยู่ในความคุ้มครองดูแล หรือสถานพัฒนา เด็กปฐมวัยที่เรียกชื่ออย่างอื่น รวมทั้งโรงเรียน ศูนย์การเรียน หน่วยงานการศึกษา หรือหน่วยงานอื่น ของรัฐหรือเอกชน และสถาบันศาสนา ที่มีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษาให้แก่เด็กปฐมวัย
การพัฒนาเด็กปฐมวัย
การดูแล การพัฒนา และการจัดการเรียนรู้สำหรับ เด็กปฐมวัย หญิงตั้งครรภ์ หรือผู้ดูแลเด็กปฐมวัย
คณะกรรมการ
คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย
เด็กปฐมวัย
เด็กซึ่งมีอายุต่ำกว่าหกปีบริบูรณ์ และให้หมายความรวมถึง เด็กซึ่งต้องได้รับการพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาในระดับประถมศึกษา
หมวด ๑
บททั่วไป
มาตรา ๖
ให้หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ที่เกี่ยวข้อง มีภารกิจร่วมกันดำเนินการเพื่อให้มีการพัฒนาเด็กปฐมวัย และดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐาน และแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามที่คณะกรรมการกำหนด รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้ดูแลเด็กปฐมวัยจัดให้เด็กปฐมวัยซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการพัฒนาตามมาตรฐานและแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับ การพัฒนาเด็กปฐมวัยดังกล่าว
มาตรา ๗
บิดา มารดา และผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้เด็กปฐมวัยซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับ การพัฒนาตามแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
มาตรา ๕
การพัฒนาเด็กปฐมวัยตามพระราชบัญญัตินี้ มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
(๑) ให้มารดาได้รับการดูแลในระหว่างตั้งครรภ์เพื่อให้บุตรที่อยู่ในครรภ์มีสุขภาวะและพัฒนาการที่ดี
(๒) ให้เด็กปฐมวัยอยู่รอดปลอดภัยและได้รับความคุ้มครองให้พ้นจากการล่วงละเมิดไม่ว่าในทางใด
(๓) ให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการที่ดีรอบด้านทั้งทางร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย เพื่อให้เกิดทักษะพื้นฐานในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สามารถเรียนรู้อย่างสอดคล้องกับหลักการพัฒนาศักยภาพของแต่ละบุคคลและความต้องการจ าเป็นพิเศษ
(๔) สร้างคุณลักษณะให้เด็กปฐมวัยมีอุปนิสัยใฝ่ดี มีคุณธรรม มีวินัย ใฝ่รู้ มีความคิดสร้างสรรค์ และสามารถซึมซับสุนทรียะและวัฒนธรรมที่หลากหลายได้
(๕) บ่มเพาะเจตคติของเด็กปฐมวัยให้เคารพคุณค่าของบุคคลอื่น มีจิตวิญญาณของการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเสมอภาค และมีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก
(๖) ให้ผู้ดูแลเด็กปฐมวัยได้รับความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดีในการพัฒนาเด็กปฐมวัย
มาตรา ๘
การจัดการเรียนรู้ของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยต้องเป็นไปเพื่อเตรียมความพร้อม
ของเด็กปฐมวัย แต่ต้องไม่เป็นการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการสอบแข่งขันระหว่างเด็กปฐมวัย
หมวด ๒
คณะกรรมการนโยบายการพัฒนา
เด็กปฐมวัย
มาตรา ๑๐
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๙ (๓) ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะ ต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปี
(๓) ไม่เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
(๔) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๕) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
(๖) ไม่เป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่ง ที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง
(๗) ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานของเอกชน เพราะทุจริตต่อหน้าที่
มาตรา ๑๑
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๙ (๓) มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี
และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้
มาตรา ๑๒
นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๙ (๓)พ้นจากตำแหน่ง
(๓) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๐
(๔) ขาดประชุมคณะกรรมการสามครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(๒) ลาออก
(๕) นายกรัฐมนตรีให้ออกเพราะบกพร่องต่อหน้าที มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือ หย่อนความสามารถ
(๑) ตาย
มาตรา ๑๓
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๙ (๓) พ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตำแหน่งที่ว่างภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งว่างลง และให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน เว้นแต่ วาระของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒินั้นเหลือไม่ถึงเก้าสิบวันจะไม่แต่งตั้งกรรมการแทนก็ได้ โดยในระหว่าง ที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการเท่าที่เหลืออยู่
มาตรา ๙
ให้มีคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย
(๑) นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ
(๒) กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
มาตรา ๑๔
คณะกรรมการมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
(๒) อนุมัติแผนงบประมาณและแผนการดำเนินงานประจำปีแบบบูรณาการของหน่วยงานของรัฐ
(๑) จัดทำนโยบายระดับชาติด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัยซึ่งต้องสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วย การศึกษาแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ชาติ
(๓) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีในการพัฒนาเด็กปฐมวัยและการจัดการศึกษา ของเด็กปฐมวัย
(๔) เสนอให้มีหรือแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่จำเป็นเพื่อดำเนินการตามนโยบายระดับชาติ ด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัยและแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๕) บูรณาการการพัฒนาเด็กปฐมวัยของหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม
(๖) กำหนดมาตรฐานและแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๗) กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรับเด็กปฐมวัยเข้าศึกษาในระดับอนุบาลและระดับ ประถมศึกษา เพื่อมิให้มีผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
(๘) กำหนดสมรรถนะและตัวชี้วัดการพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๙) ติดตามและส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศของ เด็กปฐมวัยอย่างเป็นระบบ
(๑๐) ส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัยและการสร้างนวัตกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๑๑) ส่งเสริมให้ผู้ดูแลเด็กปฐมวัยและครูอาจารย์สามารถดูแลและพัฒนาเด็กปฐมวัยได้อย่าง มีคุณภาพตามหลักการและปรัชญาของการพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๑๒) ประสานงานและให้ข้อมูลแก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วย กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือเด็กปฐมวัยซึ่งขาดแคลน ทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาสได้รับการพัฒนาทางร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ให้สมกับวัย
(๑๓) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นหน้าที่หรืออำนาจ ของคณะกรรมการ หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
มาตรา ๑๕
การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของ จำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
มาตรา ๑๖
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ คณะกรรมการมีอ านาจแต่งตั้งที่ปรึกษาและคณะอนุกรรมการ เพื่อดำเนินการตามที่คณะกรรมการมอบหมายได้
มาตรา ๑๗
ให้มีคณะอนุกรรมการบูรณาการการพัฒนาเด็กปฐมวัยซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้ง มีหน้าที่และอำนาจในการเสนอแนะและให้ความเห็นต่อคณะกรรมการในเรื่อง ดังต่อไปนี้
(๒) กำหนดแนวทางบูรณาการการท างานร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้อง
(๓) จัดทำแผนงบประมาณและแผนการดำเนินงานประจำปีแบบบูรณาการของหน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๑) จัดทำแผนพัฒนาเด็กปฐมวัยให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนการปฏิรูปประเทศ
(๔) กำหนดแนวทางการติดตามผลการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๕) จัดทำมาตรฐานและแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๖) จัดทำสมรรถนะและตัวชี้วัดการพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๗) ปฏิบัติการอื่นใดที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๑๘
ให้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของ คณะกรรมการ รับผิดชอบงานธุรการ งานประชุม งานวิชาการ การศึกษาข้อมูลและกิจการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับงานของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ
หมวด ๓
แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย
มาตรา ๒๐
แผนพัฒนาเด็กปฐมวัยตามมาตรา ๑๙ ต้องกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลา การใช้บังคับแผน การบริหารและพัฒนาเด็กปฐมวัย วิธีปฏิบัติ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งระยะเวลา ในการดำเนินการให้ชัดเจน และอย่างน้อยต้องมีแนวทางการดำเนินการในเรื่อง ดังต่อไปนี้
(๓) การส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย ให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๔) การส่งเสริมและสนับสนุนการจัดสภาพแวดล้อมในครอบครัวและชุมชนที่เอื้อต่อการพัฒนา เด็กปฐมวัย
(๒) การบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการตามแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๕) การจัดให้มีการพัฒนาบุคลากรด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีความสามารถ ศักยภาพ และคุณธรรม
(๑) แผนงานและโครงการของหน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการใช้ งบประมาณด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างเป็นระบบ
(๖) การจัดทำฐานข้อมูลเด็กปฐมวัย
มาตรา ๒๑
เมื่อได้มีการประกาศแผนพัฒนาเด็กปฐมวัยแล้ว ให้หน่วยงานของรัฐและองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งมีหน้าที่ดำเนินการตามภารกิจที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย จัดทำ แผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเด็กปฐมวัยและปฏิบัติการให้เป็นไปตามแผนดังกล่าว
มาตรา ๑๙
ให้คณะกรรมการเสนอแผนพัฒนาเด็กปฐมวัยต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและประกาศให้ทราบเป็นการทั่วไป
มาตรา ๒๒
ให้คณะกรรมการติดตามให้หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีหน้าที่ปฏิบัติการตามแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย หรือภาคเอกชนที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ ตามแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย ปฏิบัติหรือดำเนินการตามแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย ในกรณีที่มีการไม่ปฏิบัติ หรือไม่ดำเนินการตามแผนดังกล่าว ให้คณะกรรมการแจ้งให้หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือภาคเอกชน แล้วแต่กรณี แก้ไขหรือระงับยับยั้งการกระทำที่ไม่เป็นไปตามแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย ภายในเวลาที่คณะกรรมการกำหนด เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว หากยังไม่มีการปฏิบัติหรือ ดำเนินการให้ถูกต้องครบถ้วน ให้คณะกรรมการมีหนังสือแจ้งผู้ซึ่งมีอำนาจกำกับดูแลทราบพร้อมด้วย เหตุผล เพื่อพิจารณาดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจต่อไป
หมวด ๔
การพัฒนาเด็กปฐมวัย
มาตรา ๒๗
นอกจากการดำเนินการตามมาตรา ๒๔ มาตรา ๒๕ และมาตรา ๒๖ หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน ที่มีหน้าที่ให้บริการสาธารณสุข จัดการศึกษา และจัดสวัสดิการและให้บริการด้านการคุ้มครองสิทธิแก่เด็กปฐมวัย ต้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) ให้ความรู้ ส่งเสริมทักษะ และสร้างเสริมเจตคติที่ดีแก่ผู้ดูแลเด็กปฐมวัยและบุคคลอื่น ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในเรื่องการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างทั่วถึง
(๒) จัดให้มีการคัดกรองที่เป็นระบบและได้มาตรฐานเพื่อค้นหาเด็กปฐมวัยที่พิการหรือ มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม หรือสติปัญญา หรือเด็กปฐมวัยที่ไม่มีผู้ดูแลหรือ ด้อยโอกาส หรือเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการการพัฒนาเป็นพิเศษอย่างทันท่วงที และจัดให้เด็กปฐมวัย เหล่านี้เข้าถึงสิทธิและได้รับโอกาสในการพัฒนาที่มีคุณภาพเป็นพิเศษ สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ และ บริการ รวมทั้งความช่วยเหลืออื่นใดทางการพัฒนาและการศึกษาที่สอดคล้องเหมาะสมกับความจำเป็น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๒๘
เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเด็กปฐมวัย หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน อาจดำเนินการแบบบูรณาการโดยจัดให้มีบริการสาธารณสุข จัดการศึกษา หรือจัดสวัสดิการและให้บริการด้านการคุ้มครองสิทธิแก่เด็กปฐมวัยในหน่วยงานเดียวกันได้
มาตรา ๒๖
หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือภาคเอกชน ที่มีหน้าที่ใน การพัฒนาเด็กปฐมวัย ต้องจัดสวัสดิการและให้บริการด้านการคุ้มครองสิทธิแก่เด็กปฐมวัย รวมทั้ง ติดตามดูแลเด็กปฐมวัยให้ได้รับสวัสดิการและบริการด้านการคุ้มครองสิทธิอย่างทั่วถึง
มาตรา ๒๕
สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีหน้าที่จัดการศึกษาให้แก่เด็กปฐมวัย ต้องจัดให้มี การอบรมเลี้ยงดู เพิ่มพูนประสบการณ์ ส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ และจัดการศึกษาแก่เด็กปฐมวัย อย่างทั่วถึง รวมทั้งจัดให้มีการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยที่เหมาะสมในช่วงรอยต่อตั้งแต่ก่อน ระดับอนุบาลจนถึงระดับประถมศึกษาอย่างต่อเนื่อง
มาตรา ๒๔
สถานพยาบาลของหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือภาคเอกชน ที่มีหน้าที่ให้บริการสาธารณสุขแก่หญิงตั้งครรภ์และเด็กปฐมวัย ต้องจัดให้มีการให้บริการสุขภาพแก่ มารดาและบุตรอย่างทั่วถึง
มาตรา ๒๓
ในการผลิตครูหรือพัฒนาครูด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัย ให้สถาบันอุดมศึกษา จัดให้มีการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างจิตวิญญาณของความเป็นครู มีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะ และความสามารถในการจัดการเรียนการสอนเพื่อดูแลและพัฒนาเด็กปฐมวัยตามหลักการและ ปรัชญาของการพัฒนาเด็กปฐมวัย
ผู้รับสนอง
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นางสาวอาวาติฟ บินมามะ
รหัสนักศึกษา 6220160459 เลขที่ 23