Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การสำรวจและการผลิตปิโตรเลียม (1.2) ปิโตรเลียม (1.2.1 องค์ประกอบและประเภทขอ…
การสำรวจและการผลิตปิโตรเลียม
1.2) ปิโตรเลียม
1.2.1 องค์ประกอบและประเภทของปิโตรเลียม
ปิโตรเลียมประกอบที่สำคัญ คือธาตุไฮโดรเจน ธาตุคาร์บอน และมีก๊าซชนิทอื่นๆปนอยู่ด้วยเล็กน้อย Ex. ก๊าซไนโตรเจน ซัลไฟด์ ก๊าซออกซิเจน และโลหะหนักบางชนิด เช่น ปรอท เป็นต้น
ปิโตรเลียมแบ่งตามสถานะได้ 2 ประเภท คือ น้ำมันดิบ (Crude Oil) และก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas)
1.) น้ำมันดิบ เป็นปิโตรเลียมที่มีสถานะเป็นของเหลว มีองค์ประกอบที่ซับซ้อน น้ำมันดิบมีสีน้ำตาลจนถึงสีดำ มีค่าความหนาแน่นระหว่าง 0.79 - 0.95 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร
2.) ก๊าซธรรมชาติ ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน กับธาตุไฮโดรเจน ก๊าซธรรมชาติประกอบด้วยก๊าซมีเทนเป็นส่วนใหญ่ และอาจมีก๊าซอีเทน ก๊าซโพรเพน และก๊าซบิวเทน ปนอยู่บ้าง ก๊าซธรรมชาติบริสุทธิ์จะไม่มีสี ไม่มีกลิ่น
1.2.2 หินต้นกำเนิดปิโตรเลียมและหินกักเก็บปิโตรเลียม
1.) หินต้นกำเนิดปิโตรเลียม (Source Rock) หินต้นกำเนิดปิโตรเลียมเป็นหินตะกอนหรือหินชั้นที่มีสารอินทรีย์แทรกปนอยู่ Ex. หินดินดาน กับหินโคลน
2.) หินกักเก็บปิโตรเลียมหรือหินอุ้มปิโตรเลียม (Reservoir Rock) Ex. หินทราย กับหินปูน การเคลื่อนย้ายแหล่งสะสมตัวของปิโตรเลียมเกิดจากสาเหตุต่างๆ Ex. เกิดจากการไหวตัวของเปลือกโลกหรือด้วยความดันที่เกิดจากน้ำหนักของชั้นหินหรือชั้นตะกอนต่างๆ
1.2.3 หินปิดกั้นปิโตรเลียมและแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม
1.) หินปิดกั้น (Seal) Ex. หินดินดาน หินโคลน หินปูน ซึ่งล้วนเป็นหินที่มีเนื้อละเอียดแน่น เรียกลักษณะโครงสร้างที่ปิโตรเลียมถูกกักเก็บอยู่ในหินกักเก็บปิโตรเลียมและมีหินปิดกั้นปิดทับไว้นี้ว่า แหล่งกักเก็บปิโตรเลียม (Petroleum Trap)
โครงสร้างแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมมีอยู๋หลายแบบ Ex. แหล่งกักเก็บปิโตรเลียมโครงสร้างรูปโค้งประทุนคว่ำ (Anticline Trap) , แหล่งกักเก็บปิโตรเลียมโครงสร้างรูปรอยเลื่อนของชั้นหิน (Fault Trap) , แหล่งกักเก็บปิโตรเลียมโครงสร้างรูปโดม , แหล่งกักเก็บปิโตรเลียมโครงสร้างประดับชั้น
1.3 การสำรวจปิโตรเลียม
แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1.) การสำรวจทางธรณีวิทยา 2.) การสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ และ 3.) การเจาะสำรวจ
ขั้นที่ 1 การสำรวจทางธรณีวิทยา (Geological Exploration) เพื่อนำมาวิเคราะห์หาองค์ประกอบการกำเนิดเป็ฯแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม ได้แก่ ต้นกำเนิดปิโตรเลียมหินที่มีสมบัติในการกักเก็บปิโตรเลียม และ โครงสร้างที่มีแนวโน้ม จากนั้นจึงจะมีการสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ต่อไป
ขั้นที่ 2 การสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ (Geophysics Exploration) เป็นการสำรวจหาข้อมูลรูปแบบการวางตัวของชั้นหินใต้ผิวโลกโดยอาศัยสมบัติทางกายภาพที่แตกต่างกันของชั้นหิน
ขั้นที่ 3 การเจาะสำรวจ (Drilling) เมื่อมีการสำรวจทางธรณีวิทยาและทางธรณีฟิสิกส์ด้วยการวัดคลื่นไหวสะเทือนแล้ว จะได้ข้อมูลโครงสร้างชั้นหินใต้ผิวดิน และนำข้อมูลดังกล่าวมาพิจรณากำหนดตำแหน่งหลุมเจาะสำรวจ (Exploration Well)
1.1) เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์
เกิดจาก:การแปรสภาพของซากพืชซากสัตว์ที่ตายและสะสมทับถมอยู่ในชั้นตะกอนใต้ผิวโลกเป็นเวลาหลายล้านปี ภายใต้สภวะแวดล้อมที่มีอุณหภูมิและความดันสูง ทำให้สารอินทรีย์ในชั้นตะกอนเปลี่ยนสภาพเป็นเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
1.) ถ่านหิน (Coal) เกิดจากการสะสมตัวของซากพืชในบริเวณที่ลุ่ม ที่มีน้ำท่วมขังนิ่งอยู๋ตลอดเวลา ถูกแบคทีเรียและเชื้อราเปลี่ยนสภาพเป็นอินทรียวัตถุ
2.) หินน้ำมัน (Oil Shale) หินน้ำมันเกิดจากการแปลสภาพของซากพืชโดยเฉพาะพวกสาหร่ายและซากสัตว์ที่สะสมอยู่ในหินตะกอนเป็นเวลานาน
3.) ปิโตรเลียม (Petroleum) เกิดจากซากสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ที่สะสมทับถมปนอยู่กับตะกอนดินทั้งบนบกและในทะเลเมื่อหลายล้านปีก่อน มีก๊าซออกซิเจนน้อย
1.4 การผลิตปิโตรเลียม
เมื่อพบว่าแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมคุ้มค่ากับการลงทุนแล้ว ผู้ประกอบการวางแผนผลิตปิโตรเลียม โดยออกแบบการวางหลุมผลิตปิโตรเลียมให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมและออกแบบอุปกรณ์การผลิต เพื่อให้การผลิตปิโตรเลียมดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ การเจาะหลุมผลิตปิโตรเลียมมีทั้งการเจาะหลุมบนบกและในทะเล
1.5 แหล่งปิโตรเลียม
แหล่งปิโตรงเลียมที่ค้นพบแล้วทั่วโลกในปัจจุบันมีประมาณ30,000 แหล่ง ซึ่งกระจายอยู่ทั้งบนบกและในทะเล แหล่งปิโตรเลียมขนาดใหญ่และที่สำคัญของโลกส่วนมากพบที่
ในกลุ่มประเทศแถบตะวันออกกลาง ได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย อิหร่าน อิรัก คูเวต กาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมืเรตส์
ในกลุ่มประเทศแถบทะเลแคริบเบียน เช่น เวเนซุเอลา โคลอมเบีย เม็กซิโก ในทะเลเหนือ (North Sea) ในทวีปยุโรป และในในประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย เป็นต้น แหล่งปิโตรเลียมเหล่านี้อยู่ที่ระดับความลึกประมาณ 500 เมตร ถึง 4 กิโลเมตร
1.6 ผลกระทบที่เกิดจากการสำรวจและการผลิตปิโตรเลียมต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม และแนวทางแก้ไข
ในกระบวนการสำรวจ การผลิตและการขนส่งปิโตรเลียมนั้น บางกระบวนการหรือบางขั้นตอนจะมีการปล่อยสาร เช่าน การปล่อยน้ำจากกระบวนการผลิต
มาตรการแนวทางแก้ไขบรรเทาผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต
ปัจจุบันการผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทย สามารถอัดน้ำที่ได้จากกระบวนการผลิตกลับสู่โครงสร้างแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมได้ถึงร้อยละ 99
การตรวจติดตาม ศึกษาและวิเคราะห์ปริมาณสารปรอทในเนื้อเยื่อปลาที่อาศัยอยู่บริเวณรอบหลุมผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทย
การนำก๊าซธรรมชาติ เช่น ก๊าซมีเทน ที่ต้องเผาทิ้งนำกลับมาใช้ประโยชน์ โดยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการผลิต
การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการป้องกันและกำจัดคราบน้ำมันดิบกรณีที่มีการรั่วไหล