Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 18 พระราชบัญญัติ ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ.2550…
บทที่ 18 พระราชบัญญัติ ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ.2550
มาตรา 1 พรบนี้ เรียกว่า "พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ.2550"
มาตรา 3 ให้ยกเลิกพรบ ส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ.2521
ให้ไว้ ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ.2550
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้
เด็ก หมายความว่า บุคคลซึ่่งมีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
เยาวชน หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุตั้งแต่18 ปีบริบูรณ์ถึง25 ปีบริบูรณ์
คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ
คณะบริหาร หมายความว่า คณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนอำเภอ คณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด คณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร และคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย
สำนักงาน หมายความว่า สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็กเยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สุงอายุ
รัฐมนตรี หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพรบนี้
หมวด 1 บททั่วไป
มาตรา 6 ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีหน้าที่ในการพัฒนาเด็กและเยาวชน รวมทั้งแก้ไขปัญหาที่อาจมีผลกระทบในทางลบต่อเด็กและเยาวชน โดยมีหลักการดังต่อไปนี้
2.เด็กและเยาวชนทุกคนมีสิทธิในการได้รับการศึกษา
3.เด็กพิการ เด็กที่มีข้อจำกัดทางการเรียนรู้ และเด็กที่มีความสามารถพิเศษ มีสิทธิในการได้รับการศึกษาที่รัฐจัดให้เป็นพิเศษที่เหมาะสม
1.การพัฒนาเด็กและเยาวชน
เด็กและเยาวชนมีสิทธิในการรับบริการทางการสาะารณสุขที่ได้มาตรฐานสุงสุดเท่าที่มีการให้บริการทางด้านนี้
5.เด็กและเยาวชนมีสิทธิในการเล่นมีเวลาพักผ่อน และเข้าร่วมกิจกรรมการละเล่นทางนันทนาการเที่เหมาะสมตามวัยของเด็กและเยาวชน
มีสุขภาพและพลานามัยแข็งแรง รู้จักป้องกันตนเองจากโรคและสิ่งแวดล้อม
มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ตามสมควรแก่วัย จริยธรรม และคุณธรรม
มีความผูกพันต่อครอบครัว ภาคภูมิใจในความเป้นไทย มีวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย
ให้มีทักษะและเจคคติที่ดีต่อการทำงาน มีศักดิ์ศรีและความภาคภูมิใจในการทำงานสุจริต
ให้รู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและมุ่งมั่นพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
ให้รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น โดยมีจิตสำนึกในการให้และการอาสาสมัคร
มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อผู้อื่นและต่อส่วนรวมตามสมควรแก่วัย
มาตรา 7 ให้เด็กและเยาวชนทุคนมีสิทธิได้รับการจดทะเบียนรีบรองการเกิด การพัฒนา การยอมรับ การคุ้มครองและโอกาสในการมีส่วนร่วมตามที่บัญญัติในพรบนี้
มาตรา 8 ให้สำนักงานหรือสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ร่วมมือ ส่งเสริม และประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำแผนพัฒนาเด็กและเบาวชนในระดับท้องถิ่นจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ
มาตรา 9 ให้หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือ ส่งเสริม และสนับสนุนการดำเนินงานของเด็กและเยาวชนอำเภอ สภาเด็กและเยาวชนจังหวัด สภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานครและสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย
หมวด 2 คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ
มาตรา 10 ให้มีคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติประกอบด้วย
นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกฯมอบหมายเป็นประธาน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป้นรองประธาน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นรองประธานกรรมการ คนที่ 2
กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ ปลักกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติะรรม ปลัดกระทรวงแรงงาน ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงสาะารณสุข และประธานสภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชน
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจากนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ ซึ่งต้องเป็นผู้ปฏิบัติงานในภาคเอกชน จำนวน ไม่เกิน 5 คน
ุ6. ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเลือกกันเอง จำนวน 1 คน
ึ7. ผู้แทนเด็กและเยาวชน ซึ่งได้รับเลือกจากสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทยจำนวน 2 คน ชาย 1 คน หญิง 1 คน
**.ให้ผู้อำนวยการเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้ผู้อำนวยการแต่งตั้งข้าราชการของสำนักงานจำนวนไม่กิน 2 สอง เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
มาตรา 11 คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1.เสนอนโยบาบและแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติต่อครม.
2 .เสนอแนวทางปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับ ฯ ต่อครม. 3.กำหนดระเบียบและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนแก่หน่วยงานของรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง
4.ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการจัดสมัชชาการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
5.จัดการประเมินผลการดำเนินงานและเสนอรายงานต่อครมและรัฐสภาอย่างน้อยปีละครั้ง
มาตรา 12 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้
1.มีสัญชาติไทย 2.มีอายุไม่ต่ำกว่า 30 ปี บริบูรณ์
3.เป็นผู้ปฏิบัติงานในภาคเอกชนที่ใีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชนที่เป็นประจักษ์
4.ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
5.ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดใก้จำคุก
6.ไม่เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน
7.ไม่เคนถูกไล่ออก ปลอดออก หรือเลิกจ้างจากหน่วยงานรัฐหรือเอกชนเพราะทุจริตต่อหน้าที่
8.ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกิจการที่กระทำ
มาตรา 13 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี นับแต่วันที่อาจได้รับแต่ตั้งอีกได้ แต่ต้องไม่เกิน2 วาระติดต่อกัน
มาตรา 14 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
1.ตาย 2.ลาออก 3.นายกรัฐมนตรีให้ออกเพราะบกพร่องต่อหน้าที่ 4.ขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามมาตรา 12
มาตรา 15 ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
มาตรา 16 ให้นำความในมาตรา 13 มาตรา 14 (1)และ(2)และมาตรา15มาใช้บังคับแก่การดำรงตำแหน่งของกรรมการตามมาตรา 10 (6)และ(7)โดยอนุโลม
มาตรา 17 การประชุมของคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
-กรณีประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
-ถ้ารองประธานกรรมการคนหนึ่งไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการคนที่2 เป็นปรธานในที่ประชุม
-ถ้ารองประธานกรรมการทั้ง2คนไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการซึ่งมาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งขึ้นทำหน้าที่แทน
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
*
ให้มีการประชุมคณะกรรมการอย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง
มาตรา 18 ให้สำนักงานมีอำนาจแต่งตั้งที่ปรึกษาคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย คณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา 19 ให้สำนักงานมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชน และรับผิดชอบงานธุรการและวิชาการของคณะกรรมการ รวมทั้งให้มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1.จัดทำนโยบายและแผน
2.กำหนดแผนพัฒนาในด้านต่างๆ ให้สอดคล้องกับนโยบาบและแผน
3.พัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านเด็กและเยาวชน ตลอดจนส่งเสริมสนับสนุนและร่วมมือกับเอกชน
4.ศึกษาวิจัยหรือสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กและเยาวชน
5.สำรวจ ศึกษา รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ ติดตาม และประเมินผลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของเด็กและเยาวชนตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี ตลอดจนกฎหมายภายในประเทศ
6.สนับสนุนและประสานงานกับหน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อร่วมมือกันพัฒนาเด็กและเยาวชน
7.ส่งเสริมสื่อมวลชน และสานศึกษาในการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างจิตสำนึกในการให้และการอาสาสมัครให้แก่เด็กและเยาวชน
8.เป็นศูนย์กลางในการประสานงาน เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์งานและกิจการเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กและเยาวชน
9.ศึกษา วิเคราะห์ และวางแผนการงบประมาณและค่าใช้จ่าย เพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน โดยร่วมกับหน่วยงานอื่น
10.ดำเนินการจัดงานสมัชชาเด็กและเยาวชนแห่งชาติร่วมกับสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทยอย่างน้อยปีละครั้ง
11.ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนด ตามมติคณะกรรมการหรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
มาตรา 20 ให้สำนักงานจัดทำรายงานการพัฒนาเด็กและเยาวชนเสนอคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาเสนอคณะรัฐมนตรีอย่างน้อยปีละครั้ง โดยมีสารสำคัญดังต่อไปนี้
1.การใช้งบประมาณพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน
2.ผลการดำเนินงานของสภาเด็กและเยาวชนแห่ประเทศไทย
3.สภาพการณ์และแนวโน้มของปัญหาเด็กและเยาวชน
4.ผลการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาการพัฒนาเด็กและเยาวชน
5.แนวทางในการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาและเยาวชน
มาตรา 21 เพื่อปฏิบัติการให้เป้นไปตามพระราชบัญญัตินี้ คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการหรือสำนักงาน อาจเชิญบุคคลใดมาให้ข้อเท็จริง คำอธิบาย คำแนะนำหรือความเห็นทางวิชาการได้เมือเห้นสมควร
หมวด 3 มาตรการส่งเสริมการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน
ส่วนที่ 1 สภาเด็กและเยาวชน
มาตรา 22 ให้มีคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนอำเภอ ประกอบด้วย
ประธานสภาคนหนึ่งและผู้บริหารอีกไม่เกิน 15 คน ซึ่งคัดเลือกกันเองผู้แทนนักเรียนหรือนักศึกษาจากสถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติที่อยู่ในเขตอำเภอ
*ในวาระเริ่มแรก ให้ดำเนินการจัดให้มีสภาเด็กและเยาวชนอำเภอให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา 23 การประชุมและการดำเนินงานของคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนอำเภอให้เป็นไปตามข้อบังคับที่คณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนอำเภอกำหนด ทั้งนี้ ต้องจัดให้มีการประชุมสามัญอย่างน้อยปีละครั้ง
มาตรา 24 สภาเด็กและเยาวชนอำเภอมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1.ส่งเสริม สนับสนุน และเป็นศูนยึดกลางการเรียนรู้ด้านวิชาการและกิจกรรมเกี่ยวกับ การศึกษา กีฬา และวัฒนธรรมในท้องถิ่นของเด็กและเยาวชน
2.จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชนในท้องถิ่น
3.เสนอแนะและให้ความเห้นต่อสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กและเยาวชนในท้องถิ่น
มาตรา 25 ให้มีสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด ซึ่งสมาชิกประกอบด้วย ผู้แทนจากคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนอำเภอ จำนวนไม่เกิน 5 คน จากแต่ละสภาเด็กและเยาวชนอำเภอจังหวัด
ในวาระเริ่มแรก ให้ดำเนินการจัดให้มีสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดให้เสร็จภายใน 180 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา 26 ให้มีคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด ประกอบด้วย ประธานสภาคนหนึ่งและผู้บริหารอีกไม่เกิน 20 คน ซึ่งคัดเลือกกันเองจากสมาชิกสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและผู้แทนองค์กรเอกชนหรือองคืกรชุมชนที่มีกิจกรรมหรือผลงานเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กและเยาวชน ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งจำนวนไม่เกิน 5 คน เป็นที่ปรึกษาคระบริหารสสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด
มาตรา 27 การประชุมและการดำเนินงานของสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดและคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่สภาเด็กและเยาวชนจังหวัดกำหนด ทั้งนี้ ต้องจัดให้มีการประชุมสามัญ อย่างน้อยปีละครั้ง
มาตรา 28 ให้สภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร ซึ่งสมาชิกประกอบด้วย 1.ผู้แทนนักเรียนหรือนักศึกษาจากสถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ดังต่อไปนี้
ก.ผู้แทนนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา ซึ่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาคัดเลือกจำนวนไม่เกิน 20 คน
ข.ผู้แทนนักเรียนหรือนักศึกษาในระดับอาชีวศึกษา ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาอาชีวศึกษาคัดเลือกจำนวนไม่เกิน 20 คน
ค.ผู้แทนนักศึกษาในระดับอุดมศุึกษา ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาคัดเลือกจำนวน ไม่เกิน 20 คน
2.ผู้แทนเด็กและเยาวชนซึ่งไม่ได้อยู่ในสังกัดสถานศึกษา ซึ่งสำนักงานคัดเลือกจากเด็กและเยาวชนที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน ไม่เกิน 40 คน
ในวาระเริ่มแรก ให้ดำเนินการจัดให้มีสภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานครให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา29 ให้มีคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ประะานสภาคนหนึ่งและผู้บริหารอีกไม่เกิน20 คน ซึ่งคัดเลือกกันเองจาสมาชิกสภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร
มาตรา 30 การประชุมและการดำเนินงานของสภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานครและคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่สภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานครกำหนด ทั้งนี้ ต้องจัดให้มีการประชุมสามัญอย่างน้อยปีละครั้ง
มาตรา 31 สภาเด็กและเยาวชนจังหวัดและสภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร มีอำนาขหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1.ประสานงานระหว่างสภาเด็กและเยาวชนอำเภอและแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านต่างๆ
2.เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และเผยแพร่ด้านวิชาการ การศึกษา กีฬาและวัฒนธรรม
3.ส่งเสริมและสนับสนุนให้สภาเด็กและเยาวชนอำเภอและสถานศึกษาในเขตจังหวัดหรือเขตกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี
4.ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการประชุมและการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่
มาตรา 33 ให้สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทยมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1.เป็นศูนย์กลางประสาน 2.ให้ความร่วมมือในการดำเนินงานของรัฐและองค์กรเอกชนหรือองค์กรชุมชน 3.ให้ความเห้นในการกำหนดนโยบาย แผนงาน และงบประมาณของหน่วยงานของรัฐ 4.เสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมการพัฒนาเด็กและเยาวชน 5.เสนอคณะกรรมการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของหน่วยงานรัฐและองคืกรเอกชนหรือองค์กรชุมชน
*สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทยต้องจัดให้มีการประชุมสามัญอย่างน้อยปีละครั้ง
มาตรา 32 ให้มีสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย ซึ่งสมาชิกประกอบด้วย
1.ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดทุกจังหวัด
2.ประธานสภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพนคร
3.ผู้แทนเด็กและเยาวชน ซึ่งมาจากการคัดเลือกกันเองจากกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ได้ลงทะเบียนไว้ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด โดยคำนึงถึงความหลากหลายของกลุ่มเด็กและเยาวชนจำนวน38 คน
ในวาระเริ่มแรก ให้ดำเนินการจัดให้มีสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทยให้แล้วเสร็จภายใน 270 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา 35 การประชุมและการดำเนินงานของสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย ให้เป้นไปตามข้อบังคับที่สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทยกำหนด
มาตรา 37 คณะบริหารมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับคัดเลือกประธานสภาหรือผู้บริหารซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งได้อีก แต่ต้องไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน
มาตรา 38 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ประธานสภาและผู้บริหารในคณะบริหารพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
1.ตาย 2.ลาออก 3.ขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามมาตรา 36
มาตรา 39 ในกรณีที่ประธานสภาหรือผู้บริหารในคณะบริหารพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระให้มีการคัดเลือกบุคคลอื่นแทนตำแหน่งที่ว่าง เว้นแต่วาระของคณะบริหารจะเหลือไม่ถึง 90 วัน และให้ผู้ได้รับคัดเลือกแทนตำแหน่งที่ว่างอยู่ในตำแหน่งที่ว่างอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของประะานสภาหรือผู้บริหารซึ่งตนแทน
มาตรา 40 ให้สำนักงานดำเนินการส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานการตั้งและการดำเนินกิจการของสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย และสภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร
ส่วนที่ 2 การส่งเสริมบทบาทขององคืกรเอกชนหรือองค์กรชุมชนในการพัฒนาเด็กและเยาวชน
มาตรา 42 องค์กรเอกชนหรือองคืกรชุมชนที่ได้จดทะเบียนตามมาตร 41 อาจได้รับเงินอุดหนุนความช่วยเหลือหรือการสนับสนุนจากรัฐในการดำเนินการ ดังต่อไปนี้
การจัดให้มีอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชนตามพรบนี้หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
2.การประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข้อมูลหรือข่าสาร
3.การจัดตั้งหรือดำเนินโครงการหรือกิจกรรม
4.การศึกษาวิจัย
5.การให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนในด้านอื่นๆ
มาตรา 41 สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชน ให้องค์กรเอกชนหรือองคืกรชุมชนที่มีกิจกรรมหรือผลงานเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กและเยาวชน
มาตรา 43 ให้องค์กรเอกชนหรือองค์กรชุมชนที่ได้รับความช่วยเหลือหรือสนับสนุนจากรัฐ ตามมาตรา 42 มีหน้าที่จัดทำรายงานผลการดำเนินงานเสนอต่อสำนักงานตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา 44 กำหนดให้รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งเพกถอนการจดทะเบียนหรือระงับการให้เงินอุดหนุน ความช่วยเหลือหรือการสนับสนุนที่ให้แก่องค์กรเอกชนหรือองค์กรชุมชนนั้นได้