Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พระราชบัญญัติ การพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. ๒๕๖๒ (หมวด ๒ คณะกรรมการนโยบายการพัฒน…
พระราชบัญญัติ การพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. ๒๕๖๒
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. ๒๕๖๒ ”
หมวด ๔ การพัฒนาเด็กปฐมวัย
มาตรา ๒๓ ในการผลิตครูหรือพัฒนาครูด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัย ให้สถาบันอุดมศึกษา จัดให้มีการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างจิตวิญญาณของความเป็นครู มีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะ และความสามารถในการจัดการเรียนการสอนเพื่อดูแลและพัฒนาเด็กปฐมวัยตามหลักการและ ปรัชญาของการพัฒนาเด็กปฐมวัย
มาตรา ๒๖ หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือภาคเอกชน ที่มีหน้าที่ใน การพัฒนาเด็กปฐมวัย ต้องจัดสวัสดิการและให้บริการด้านการคุ้มครองสิทธิแก่เด็กปฐมวัย รวมทั้ง ติดตามดูแลเด็กปฐมวัยให้ได้รับสวัสดิการและบริการด้านการคุ้มครองสิทธิอย่างทั่วถึง
มาตรา ๒๔ สถานพยาบาลของหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือภาคเอกชน ที่มีหน้าที่ให้บริการสาธารณสุขแก่หญิงตั้งครรภ์และเด็กปฐมวัย ต้องจัดให้มีการให้บริการสุขภาพแก่ มารดาและบุตรอย่างทั่วถึง โดยให้บริการวางแผนครอบครัว การอนามัยเจริญพันธุ์ การฝากครรภ์ การเตรียมความพร้อมการเป็นบิดามารดา ตลอดจนให้บริการการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน การส่งเสริม โภชนาการ การส่งเสริมพัฒนาการ และการส่งเสริมการให้นมมารดาแก่บุตรตั้งแต่แรกเกิดอย่างน้อย หกเดือน
มาตรา ๒๕ สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีหน้าที่จัดการศึกษาให้แก่เด็กปฐมวัย ต้องจัดให้มี การอบรมเลี้ยงดู เพิ่มพูนประสบการณ์ ส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ และจัดการศึกษาแก่เด็กปฐมวัย อย่างทั่วถึง รวมทั้งจัดให้มีการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยที่เหมาะสมในช่วงรอยต่อตั้งแต่ก่อน ระดับอนุบาลจนถึงระดับประถมศึกษาอย่างต่อเนื่อง
มาตรา ๒๗ นอกจากการดำเนินการตามมาตรา ๒๔ มาตรา ๒๕ และมาตรา ๒๖ หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน ที่มีหน้าที่ให้บริการสาธารณสุข จัดการศึกษา และจัดสวัสดิการและให้บริการด้านการคุ้มครองสิทธิแก่เด็กปฐมวัย
มาตรา ๒๘ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเด็กปฐมวัย หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน อาจดำเนินการแบบบูรณาการโดยจัดให้มีบริการสาธารณสุข จัดการศึกษา หรือจัดสวัสดิการและให้บริการด้านการคุ้มครองสิทธิแก่เด็กปฐมวัยในหน่วยงานเดียวกันได้
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
มาตรา
๓ ในพระราชบัญญัตินี
“เด็กปฐมวัย” หมายความว่า เด็กซึ่งมีอายุต่ำากว่าหกปีบริบูรณ์ และให้หมายความรวมถึง เด็กซึ่งต้องได้รับการพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาในระดับประถมศึกษา
“การพัฒนาเด็กปฐมวัย” หมายความว่า การดูแล การพัฒนา และการจัดการเรียนรู้สำหรับ เด็กปฐมวัย หญิงตั้งครรภ์ หรือผู้ดูแลเด็กปฐมวัย “ผู้ดูแลเด็กปฐมวัย” หมายความว่า บิดา
“ผู้ดูแลเด็กปฐมวัย” หมายความว่า บิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ซึ่งเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
“สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย” หมายความว่า ศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์บริการช่วยเหลือ ระยะแรกเริ่มของเด็กพิการหรือเด็กซึ่งมีความต้องการพิเศษ สถานรับเลี้ยงเด็ก และสถานสงเคราะห์ ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็กซึ่งมีเด็กปฐมวัยอยู่ในความคุ้มครองดูแล หรือสถานพัฒนา เด็กปฐมวัยที่เรียกชื่ออย่างอื่น รวมทั้งโรงเรียน ศูนย์การเรียน หน่วยงานการศึกษา หรือหน่วยงานอื่น ของรัฐหรือเอกชน และสถาบันศาสนา ที่มีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษาให้แก่เด็กปฐมวัย
คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย
หมวด ๒ คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย
มาตรา ๙ ให้มีคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย
(๑) นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ
(๒) กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุข ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายกสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย นายกสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย และนายกสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบล แห่งประเทศไทย
(๓) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนแปดคน ซึ้งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัย ด้านการศึกษา ด้านการศึกษาพิเศษ ด้านการสาธารณสุข ด้านสังคมสงเคราะห์ และด้านสื่อสารมวลชน ด้านละหนึ่งคน และด้านการบริหารสถานพัฒนา เด็กปฐมวัยจำนวนสองคน ซึ่งมาจากสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยภาครัฐหนึ่งคนและภาคเอกชนหนึ่งคน
มาตรา ๑๐ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๙ (๓) ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะ ต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๔) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๕) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิด ที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๓) ไม่เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
(๖) ไม่เป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่ง ที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง ที่ปรึกษาพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง
(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปี
(๗) ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงาน ของเอกชน เพราะทุจริตต่อหน้าที่
(๑) มีสัญชาติไทย
มาตรา ๑๑ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๙ (๓) มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้
มาตรา ๑๒ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๙ (๓) พ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๔) ขาดประชุมคณะกรรมการสามครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามหลักเกณฑ์ที่ คณะกรรมการกำหนด
(๕) นายกรัฐมนตรีให้ออกเพราะบกพร่องต่อหน้าที ่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือ
หย่อนความสามารถ
(๓) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๐
(๒) ลาออก
(๑) ตาย
มาตรา ๑๓ ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๙ (๓) พ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตำแหน่งที่ว่างภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งว่างลง และให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน เว้นแต่ วาระของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒินั้นเหลือไม่ถึงเก้าสิบวันจะไม่แต่งตั้งกรรมการแทนก็ได้ โดยในระหว่าง ที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการเท่าที่เหลืออยู่
มาตรา ๑๔ คณะกรรมการมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
(๘) กำหนดสมรรถนะและตัวชี้วัดการพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๙) ติดตามและส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด าเนินการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศของ
เด็กปฐมวัยอย่างเป็นระบบ
(๗) กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรับเด็กปฐมวัยเข้าศึกษาในระดับอนุบาลและระดับ
ประถมศึกษา เพื่อมิให้มีผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
(๑๐) ส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัยและการสร้างนวัตกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๖) กำหนดมาตรฐานและแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๑๑) ส่งเสริมให้ผู้ดูแลเด็กปฐมวัยและครูอาจารย์สามารถดูแลและพัฒนาเด็กปฐมวัยได้อย่าง
มีคุณภาพตามหลักการและปรัชญาของการพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๑๒) ประสานงานและให้ข้อมูลแก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วย กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือเด็กปฐมวัยซึ่งขาดแคลน ทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาสได้รับการพัฒนาทางร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ให้สมกับวัย
(๕) บูรณาการการพัฒนาเด็กปฐมวัยของหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ให้เป็นไปตามนโยบายระดับชาติด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัยและ แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๔) เสนอให้มีหรือแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่จำเป็นเพื่อดำเนินการตามนโยบายระดับชาติ ด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัยและแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๓) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีในการพัฒนาเด็กปฐมวัยและการจัดการศึกษา ของเด็กปฐมวัยตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับประถมศึกษาให้เชื่อมโยงกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
(๒) อนุมัติแผนงบประมาณและแผนการดำเนินงานประจำปีแบบบูรณาการของหน่วยงานของรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๑) จัดทำนโยบายระดับชาติด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัยซึ่งต้องสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วย การศึกษาแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนการปฏิรูปประเทศ และให้ความเห็นชอบแผนพัฒนา เด็กปฐมวัย เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ เพื่อให้หน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง กับเด็กปฐมวัยได้นำไปปฏิบัติ
(๑๓) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นหน้าที่หรืออำนาจ ของคณะกรรมการ หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
มาตรา ๑๕ การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของ
จ านวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
มาตรา ๑๖ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ คณะกรรมการมีอ านาจแต่งตั้งที่ปรึกษา
และคณะอนุกรรมการ เพื่อด าเนินการตามที่คณะกรรมการมอบหมายได
มาตรา ๑๗ ให้มีคณะอนุกรรมการบูรณาการการพัฒนาเด็กปฐมวัยซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้ง
มีหน้าที่และอ านาจในการเสนอแนะและให้ความเห็นต่อคณะกรรมการในเรื่อง
มาตรา ๑๘ ให้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของ คณะกรรมการ รับผิดชอบงานธุรการ งานประชุม งานวิชาการ การศึกษาข้อมูลและกิจการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับงานของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ และมีหน้าที่และอำนาจ
หมวด ๑ บททั่วไป
มาตรา ๕ การพัฒนาเด็กปฐมวัยตามพระราชบัญญัตินี้ มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
(๒) ให้เด็กปฐมวัยอยู่รอดปลอดภัยและได้รับความคุ้มครองให้พ้นจากการล่วงละเมิดไม่ว่าในทางใด
(๓) ให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการที่ดีรอบด้านทั้งทางร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และ สติปัญญาให้สมกับวัย เพื่อให้เกิดทักษะพื้นฐานในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สามารถเรียนรู้ อย่างสอดคล้องกับหลักการพัฒนาศักยภาพของแต่ละบุคคลและความต้องการจำเป็นพิเศษ
(๑) ให้มารดาได้รับการดูแลในระหว่างตั้งครรภ์เพื่อให้บุตรที่อยู่ในครรภ์มีสุขภาวะและพัฒนาการที่ด
(๔) สร้างคุณลักษณะให้เด็กปฐมวัยมีอุปนิสัยใฝ่ดี มีคุณธรรม มีวินัย ใฝ่รู้ มีความคิด สร้างสรรค์ และสามารถซึมซับสุนทรียะและวัฒนธรรมที่หลากหลายได้
(๖) ให้ผู้ดูแลเด็กปฐมวัยได้รับความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดีในการพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๕) บ่มเพาะเจตคติของเด็กปฐมวัยให้เคารพคุณค่าของบุคคลอื่น มีจิตวิญญาณของการอยู่ร่วมกัน ในสังคมอย่างเสมอภาค และมีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก
มาตรา ๖ ให้หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ที่เกี่ยวข้อง มีภารกิจร่วมกันดำเนินการเพื่อให้มีการพัฒนาเด็กปฐมวัย และดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐาน และแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามที่คณะกรรมการกำหนด รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้ดูแล เด็กปฐมวัยจัดให้เด็กปฐมวัยซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการพัฒนาตามมาตรฐานและแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับ การพัฒนาเด็กปฐมวัยดังกล่าว
มาตรา ๗ บิดา มารดา และผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้เด็กปฐมวัยซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับ การพัฒนาตามแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
มาตรา ๘ การจัดการเรียนรู้ของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยต้องเป็นไปเพื่อเตรียมความพร้อมของเด็กปฐมวัย แต่ต้องไม่เป็นการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการสอบแข่งขันระหว่างเด็กปฐมวัย
หมวด ๓ แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย
มาตรา ๑๙ ให้คณะกรรมการเสนอแผนพัฒนาเด็กปฐมวัยต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณา ให้ความเห็นชอบและประกาศให้ทราบเป็นการทั่วไป
มาตรา ๒๐ แผนพัฒนาเด็กปฐมวัยตามมาตรา ๑๙ ต้องกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลา การใช้บังคับแผน การบริหารและพัฒนาเด็กปฐมวัย วิธีปฏิบัติ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งระยะเวลา ในการดำเนินการให้ชัดเจน และอย่างน้อยต้องมีแนวทางการดำเนินการในเรื่อง ดังต่อไปนี้
(๒) การบูรณาการการท างานร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการตามแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๓) การส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
ให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๑) แผนงานและโครงการของหน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการใช้
งบประมาณด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างเป็นระบบ
(๔) การส่งเสริมและสนับสนุนการจัดสภาพแวดล้อมในครอบครัวและชุมชนที่เอื้อต่อการพัฒนา เด็กปฐมวัย รวมทั้งให้เด็กปฐมวัยอยู่รอดปลอดภัยและได้รับความคุ้มครองให้พ้นจากการล่วงละเมิด ไม่ว่าในทางใด
(๕) การจัดให้มีการพัฒนาบุคลากรด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีความสามารถ ศักยภาพ
และคุณธรรม
(๖) การจัดทำฐานข้อมูลเด็กปฐมวัย
มาตรา ๒๑ เมื่อได้มีการประกาศแผนพัฒนาเด็กปฐมวัยแล้ว ให้หน่วยงานของรัฐและองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งมีหน้าที่ดำเนินการตามภารกิจที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย จัดทำ แผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเด็กปฐมวัยและปฏิบัติการให้เป็นไปตามแผนดังกล่าว
มาตรา ๒๒ ให้คณะกรรมการติดตามให้หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีหน้าที่ปฏิบัติการตามแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย หรือภาคเอกชนที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ ตามแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย ปฏิบัติหรือดำเนินการตามแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย ในกรณีที่มีการไม่ปฏิบัติ หรือไม่ดำเนินการตามแผนดังกล่าว ให้คณะกรรมการแจ้งให้หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือภาคเอกชน แล้วแต่กรณี แก้ไขหรือระงับยับยั้งการกระทำที่ไม่เป็นไปตามแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย ภายในเวลาที่คณะกรรมการกำหนด เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว หากยังไม่มีการปฏิบัติหรือ ดำเนินการให้ถูกต้องครบถ้วน ให้คณะกรรมการมีหนังสือแจ้งผู้ซึ่งมีอำนาจกำกับดูแลทราบพร้อมด้วย เหตุผล เพื่อพิจารณาดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจต่อไป
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๒๙ ในวาระเริ่มแรก ให้คณะกรรมการประกอบด้วย กรรมการตามมาตรา ๙ (๑) และ (๒) และให้เลขาธิการสภาการศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อน จนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๙ (๓) ทั้งนี้ ต้องไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๓๐ ในวาระเริ่มแรก ให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณให้แก่สำนักงาน เลขาธิการสภาการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องตามความจำเป็น เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๓๑ ในระหว่างที่คณะกรรมการยังมิได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ ตามมาตรา ๒๗ (๒) ให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับการเข้าถึงสิทธิและได้รับโอกาสในการพัฒนาที่มีคุณภาพ สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ และบริการ รวมทั้งความช่วยเหลืออื่นใดทางการพัฒนาและการศึกษา ที่สอดคล้องเหมาะสมกับความจำเป็นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการและกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ มาใช้บังคับไปพลางก่อนจนกว่าคณะกรรมการ จะได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตามพระราชบัญญัตินี้