Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคและระบุกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (6WS และ 1H (1…
วิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคและระบุกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
พฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer Behavior)
ลักษณะนิสัย การใช้ชีวิต หรือ กิจกรรมในแต่ละวันของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการใช้สินค้าหรือบริการ โดยอาจเป็นการแสดงออกที่รู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ได้
ทฤษฎีของมาสโลว์ (Maslow’s Hierarchy of Needs) ซึ่งอธิบายระดับของความต้องการของมนุษย์เอาไว้ 5 ระดับ
1.Self Actualization ความต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต
2.Esteem needs ความต้องการเคารพยกย่อง
3.Love and belonging ความต้องการเป็นที่รักและส่วนหนึ่ง
4.Safety needs ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย
5.Physiological needs ความต้องการขั้นพื้นฐาน
เรามีการนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ต่อจะทำให้เรามีความเข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้ง หรือที่เรียกกันว่า Consumer Insight/Customer Insight ซึ่งก่อนที่เราจะทำการตลาดไปยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เราควรทำความเข้าใจข้อมูลเหล่านี้เสียก่อน เพื่อหาแนวทางตอบสนองสิ่งที่ลูกค้าต้องการมี (Want) ไม่ใช่แค่การตอบสนองแค่ความจำเป็น (Need)
6WS และ 1H
1.ใครอยู่ในตลาดเป้าหมาย (Who is in the target market?)
2.ผู้บริโภคซื้ออะไร (What does the consumer buy?)
3.ทำไมผู้บริโภคจึงซื้อ (Why does the consumer buy?)
4.ใครมีส่วนร่วมในการตัดสินใจซื้อ (Who participates in the buying?)
5.ผู้บริโภคซื้อเมื่อใด (When does the consumer buy?)
6.ผู้บริโภคซื้อที่ไหน (Where does the consumer buy?)
7.ผู้บริโภคซื้ออย่างไร (How does the consumer buy?)
การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย
1.วิเคราะห์จุดเด่นของคู่แข่ง วิเคราะห์ดูว่าสินค้าของเขาคืออะไร จุดเด่นที่สำคัญของตัวสินค้าเขาคืออะไร มีอะไรที่แตกต่างจากคู่แข่งคนอื่น ๆ หรือการลงมือทำ SWOT ของคู่แข่งแต่ละคนก็จะช่วยให้เห็นภาพรวมของคู่แข่งที่เราจะต้องเจอได้ง่ายขึ้น
2.คอนเทนต์หรือสื่อการตลาดที่คู่แข่งสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าเป็นอย่างไร แล้วเอามาเปรียบเทียบกับสิ่งที่เราทำ
3.ช่องทางการสื่อสาร คู่แข่งใช้ช่องทางการสื่อสารไหนบ้าง กลุ่มลูกค้าของเขาส่วนใหญ่เป็นใคร แต่การดูว่าคู่แข่งเราใช้ช่องทางไหนบ้างจะทำให้เราสามารถนำเอาข้อมูลมาวิเคราะห์ได้ว่า ช่องทางไหนที่เวิร์คหรือช่องทางไหนควรใส่คอนเทนต์อะไรลงไป
STP
เป็นหลักการวิเคราะห์การตลาดเพื่อนำเสนอหรือสร้างจุดแข็งให้แก่สินค้าให้มีความสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายหลักของธุรกิจที่องค์กรได้กำหนดเอาไว้ เนื่องจากไม่มีสินค้าใดเพียงอย่างเดียวที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ครบทุกเพศ ทุกวัย
S = Segmentation
การแบ่งส่วนการตลาด สามารถทำได้หลากหลายแบบ โดยมีสิ่งสำคัญที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการแบ่งส่วนการตลาดคือการจับคู่ลักษณะของสินค้ากับกลุ่มเป้าหมายให้สอดคล้องกันสามารถทำได้ตามหลัก
ประชากรศาสตร์ (Demographic)
ภูมิศาสตร์ (Geographic)
จิตวิทยา (Psychological)
พฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral)
T = Targeting
การแบ่งกลุ่มตลาดเป้าหมาย เป็นการสรุปเลือกกลุ่มเป้าหมายหลังจากที่ได้แบ่งส่วนการตลาดไว้ตามลักษณะของสินค้า
P = Position
การกำหนดจุดยืนของแบรนด์หรือสินค้า เป็นการกำหนดคุณลักษณะ และภาพลักษณ์ของสินค้าให้มีความโดดเด่นสามารถดึงดูดความสนใจซื้อของกลุ่มเป้าหมายและตลาดเป้าหมายที่องค์กรได้กำหนดเอาไว้ก่อนหน้าตลอดจนทำให้กลุ่มเป้าหมายตัดสินใจซื้อสินค้า
จุดยืนด้านอารมณ์ (Emotional)
จุดยืนด้านความแตกต่าง (Differentiation)
จุดยืนด้านการใช้งาน (Functional)
วิเคราะห์คู่แข่งในตลาด
1.Mass Market
ตลาดมวลชนหรือตลาดที่มีจำนวนคนมาก ๆ เป็นการเน้นปริมาณไม่ได้เน้นคุณภาพสักเท่าไหร่
2.Niche Market
เป็นตลาดขนาดเล็ก ซึ่งมีลูกค้าที่เฉพาะกลุ่ม จะเป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีความชอบ รสนิยม