Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 13 การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนทางการพยาบาล (ลักษณะการนำ e-Learning…
บทที่ 13
การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนทางการพยาบาล
ความหมายของสื่อการเรียนการสอน
ความหมายของสื่อการเรียนการสอน (Instructional Media) สื่อ (Media) หมายถึง ตัวกลางที่ใช่ถ่ายทอดหรือนำความรู้ ในลักษณะต่าง ๆ จากผู้ส่งไปยังผู้รับให้เข้าใจ ความหมายได้ตรงกันในการเรียนการสอนสื่อที่ใช้เป็นตัวกลางนำความรู้ในกระบวนการสื่อความหมายระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนเรียกว่าสื่อการสอน (Instruction Media)
ในทางการศึกษามีคำที่มีความหมายแนวเดียวกันกับสื่อการเรียนการสอน เช่น สื่อการสอน (Instructional Media or Teaclning Media) สื่อการสอน (Educational media) อุปกรณ์ช่วยสอน (Teaching Aids) ในปัจจุบันนักการศึกษามักจะเรียกการนำสื่อการเรียนการสอนชนิดต่าง ๆ มารวมกันว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา(Educational) ซึ่งหมายถึงการนำเอาวัสดุอุปกรณ์และวิธีการมาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบในการเรียนการสอน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสอน
เนื้อหา (content)
เนื้อหาถือเป็นองค์ประกอบสําคัญที่สุดสําหรับ e-Learning การที่ผู้เรียนจะบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนใน ลักษณะนี้ได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับการออกแบบการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ใน e-Learning ในการออกแบบประกอบไปด้วย รายละเอียดของเนื้อหาและความรู้ต่างๆ ที่ผู้สอนได้จัดเตรียมไว้ ให้แก่ผู้เรียน ผู้เรียนมีหน้าที่ในการแปลงเนื้อหา (convert content) ที่ผู้สอนเตรียมไว้ให้เกิดเป็นความรู้ โดยผ่านการคิด วิเคราะห์อย่างมีหลักการและเหตุผลด้วยตัวเอง คำว่า “เนื้อหา” ในองค์ประกอบของ e-Learning ไม่จำกัดเฉพาะสื่อการสอน หรือคอร์สแวร์เท่านั้น แต่ยังหมายถึงองค์ประกอบสำคัญอื่นๆ ที่ e-Learning จำเปํนต้องมีเพื่อให้เนื้อหา มีความสมบูรณ์
องค์ประกอบของ e-Learning
องค์ประกอบของ e-Learning องค์ประกอบในการสร้าง e-Learning ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ เนื้อหา ระบบบริหารจัดการรายวิชา โหมดการติดต่อสื่อสาร และแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบ โดย มีรายละเอียด
ระบบบริหารจัดการรายวิชา (learning management system: LMS)
ระบบบริหารจัดการเป็นเสมือนระบบที่รวบรวมเครื่อง มือซึ่งออกแบบไว้เพื่อให้สะดวกแก่ผู้ใช้ในการจัดการเรียน การสอนด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้สอน ผู้เรียน และผู้บริหารเครือข่าย (network administrator) เครื่องมือกำ หนดระดับของสิทธิใน การเข้าใช้ที่แตกต่างกัน ตามลักษณะการใช้งานของแต่ละกลุ่ม เครื่องมือที่ระบบจัดไว้ให้ ได้แก่ พื้นที่และเครื่องมือสำ หรับการช่วยผู้เรียนในการเตรียมเนื้อหาบทเรียน พื้นที่และเครื่องมือ สำ หรับการทำ แบบทดสอบ การจัดการแฟ้มข้อมูลต่างๆ นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารไว้สำ หรับผู้ใช้ระบบ ได้แก่ e-mail, web board และ chat เป็นต้น บางระบบจัดหา องค์ประกอบพิเศษอื่นๆ เพื่ออำ นวยความสะดวก เช่น การจัด ให้ผู้ใช้สามารถเข้าดูคะแนนการทำแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบ ดูสถิติการใช้งานในระบบของผู้เรียน การอนุญาตให้ผู้เรียนสร้าง ตารางเรียน ปฏิทินการเรียน
โหมดการติดต่อสื่อสาร (Modes of communication)
การประชุมทางคอมพิวเตอร์ หรือ ติดต่อสื่อสาร แบบต่างเวลา (asynchronous) เช่น การแลกเปลี่ยนข้อความ ทางกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (web board) เป็นต้น หรือ ติดต่อสื่อสารแบบเวลาเดียวกัน (synchronous) เช่น การสนทนาออนไลน์ หรือที่คุ้นเคยกันดีในชื่อของ chat หรือบาง ระบบอาจจัดให้มีการถ่ายทอดสัญญาณภาพและเสียงสด (live broadcast) ผ่านเว็บ เป็นต้น ในการดำ เนินการเรียนการสอน ผู้สอนสามารถเปิดสัมมนา ในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาใน คอร์ส ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของการบรรยาย สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ การเปิดอภิปราย
จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) เป็นองค์ประกอบสำคัญเพื่อให้ผู้เรียนสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้สอนหรือ ผู้เรียนแบบรายกลุ่มหรือรายบุคคล ในลักษณะการส่งการบ้าน การแสดงความคิดเห็น การสะท้อนกลับ การให้คาแนะนำหรือ ปรึกษาทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน อย่างต่อเนื่องและเกิดการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกัน
ลักษณะการนำ e-Learning มาใช้ในการเรียน
สื่อเติม (complementary) เป็นการนำ e-Learning มาใช้ในลักษณะเพิ่มเติมจากวิธีการสอนภายใน ชั้นเรียน นอกเหนือจากการบรรยายในห้องเรียน ผู้สอนได้ออกแบบ เนื้อหาให้ผู้เรียนเข้าไปศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติมจาก e-Learning โดยเนื้อหาที่ผู้เรียนเรียนจาก e-Learning ผู้สอนไม่จำเป็นต้องสอนซ้ำอีก ตัวอย่าง ในหัวข้อการสอน ก. ซึ่งเป็นหัวข้อที่มีเนื้อหามาก แต่ได้ชั่วโมงการสอน จำนวน 1 ชั่วโมง ผู้สอนสามารถ ออกแบบการเรียนการสอนโดยในชั่วโมงเรียน ผู้สอนอธิบาย เฉพาะเนื้อหาที่สำคัญ เข้าใจได้ยากหรือเนื้อหาซับซ้อน ส่วนเนื้อหาที่ผู้เรียนสามารถศึกษาได้เอง อาจมอบหมายงานให้เข้าไป ศึกษาเองใน e-Learning โดยอาจจะมีคะแนนหรือไม่มีคะแนน
สื่อหลัก (comprehensive replacement) เป็นการนำ e-Learning มาใช้ในลักษณะแทนที่การบรรยายในห้องเรียน โดยผู้เรียนต้องศึกษาเนื้อหาทั้งหมดใน e-Learning และโต้ตอบกับเพื่อนและผู้เรียนอื่น ๆ ในชั้นเรียนผ่านทางเครื่องมือติดต่อสี่อสารต่าง ๆ ที่ e-Learning จัดเตรียมไว้ ตัวอย่าง ในรายวิชา ก. ผู้สอนได้จัดการเรียนการสอนด้วย e-Learning ทั้ง รายวิชา ผู้เรียนไม่จำ เป็นต้องมาเรียนด้วยตนเอง สามารถศึกษา ด้วยตนเองที่บ้านหรือที่ใดก็ได้
สื่อเสริม (supplementary) การนำ e-Learning มาใช้ในลักษณะนี้ ผู้สอนเพียงต้องการใช้ e-Learning เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำ หรับผู้เรียนในการเข้าถึงเนื้อหา โดยเนื้อหาการสอนหลักอยู่ที่วิธีการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน หากผู้เรียนไม่เข้าใจเนื้อหาในระหว่างการเรียนการสอนสามารถเข้า มาเรียนรู้เพิ่มเติมหรือเรียนเสริมได้ใน e-Learning ผู้สอนมีหน้า ที่ในการจัดเตรียมสื่อความรู้ต่างๆ ในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถทบทวนความรู้นอกเวลาได้ตลอดเวลาตาม ความต้องการของผู้เรียน ตัวอย่าง ในรายวิชา ก. ผู้สอนได้มีการ รวบรวมความรู้จากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือต่างๆ สื่อวิดีทัศน์ที่ น่าสนใจหรือสื่อมัลติมีเดีย มาจัดไว้ใน e-Learning โดย ประชาสัมพันธ์ให้ผู้เรียนเข้าไปเรียนเสริมด้วยตนเอง โดยไม่มีการ บังคับหรือให้คะแนน
ข้อดี
1.การถ่ายทอดเนื้อหาทาง multimedia ช่วยให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีกว่าการเรียนจากสื่อข้อความ เพียงอย่างเดียว
2.ติดตามพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียนได้อย่าง ละเอียดและตลอดเวลา
ข้อเสีย
เนื้อหาภายใน e-Learning ต้องมีการปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ หากไม่มีการปรับปรุงอาจทำให้ไม่น่าสนใจ หรือขาดแรงจูงใจในการเข้าใช้
สิ่งอํานวยความสะดวก (facilities) เช่น คอมพิวเตอร์ด้านความเร็ว และจุดบริการของอินเตอร์เน็ต
1.ผู้สอนควรมีความพรอมทางด้านทักษะคอมพิวเตอร์รับผิดชอบต่อการสอนมีความใส่ใจกับผู้เรียนโดยไม่ทิ้งผู้เรียน และต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้ให้ เนื้อหามาเป็น (facilitator)
สรุป
สรุป การจัดการเรียนการสอนด้วยสื่อ e-Learning เป็น วิธีการจัดการเรียนการสอนวิธีการหนึ่งที่นำ มาใช้เพื่อการเรียน การสอนแบบ active learning ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที ทุกเวลา ตามความต้องการ สอดคล้องกับยุคสมัย การนำ มาใช้ ในการจัดการเรียนการสอนขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้สอนว่า จะเลือกใช้ในลักษณะใด โดยก่อนการนำ ใช้ควรมีการออกแบบ การจัดการเรียนการสอนด้วยการวิเคราะห์ความจำ เป็นของ การนำ มาใช้ ออกแบบรูปแบบการเรียนการสอนโดยควรคำ นึง ถึงองค์ประกอบของ e-Learning การพัฒนาหรือเขียนโปรแกรม การนำ โปรแกรมไปใช้ และประเมินผลหลังการใช้ ตามหลักการ ของ ADDIE การออกแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีจะ มีส่วนช่วยดึงดูดความสนใจ และช่วยให้ผู้เรียน เรียนรู้ได้ง่ายขึ้น และสนุกกับกิจกรรมในการเรียนรู้ ดังนั้นผู้สอนควรเห็นความ สำคัญของหลักการออกแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ด้วยสื่อ e-Learning เพื่อที่สามารถนำ หลักการไปพัฒนาและ ปรับปรุงสื่อ e-Learning ให้เป็นสื่อที่ดีและมีประสิทธิภาพ ต่อไป
การนำไปใช้
ก่อนการเปิดการเรียนการสอนอาจารย์ผู้สอนประสานงานกับเจ้าหน้าที่ที่ดูแลระบบ เรื่องการเตรียมพร้อมรหัสผู้ใช้ (username) และรหัสผ่าน (password) และในวันแรกของการจัดการเรียนการสอนผู้สอนปฐมนิเทศการเรียนรู้ด้วยสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) ประกอบด้วย การเข้าถึงระบบโดย ผู้เรียนทุกคนทดลองใช้รหัสผู้ใช้และรหัสผ่านหากมีปัญหาดำเนิน ปรับแก้ไขในทันที วิธีการเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) ได้แก่ ช่องทางการดาวน์โหลดเอกสารประกอบการ สอน ช่องทางการส่งการบ้าน แบบทดสอบ ช่องทางการถาม ตอบข้อสงสัย วิธีการเพิ่มคำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง และสิ่งที่สำคัญ ที่สุดคือการอธิบายให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการเรียนรู้ด้วย ตนเอง (Active learning) ในขณะจัดการเรียนการสอน ผู้สอนควรเปลี่ยน บทบาทจากการเป็นผู้ให้ (impart) เนื้อหาแก่ผู้เรียน มาเป็น ผู้ช่วยเหลือและให้คําแนะนําต่าง ๆ (facilitator) แก่ผู้เรียน พร้อมกับเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองจาก e-Learning โดยอาจอยู่ในรูปแบบของการออกแบบการเรียนที่ เป็น active learning การกระตุ้นการเรียนรู้โดยการชี้ชวน ชักนำ สอบถามถึงปัญหา/อุปสรรค เปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยน เรียนรู้ในระหว่างการเรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองมาก ขึ้น ประสานงานและอำนวยความสะดวกให้แก่อาจารย์ผู้ร่วม สอนทุกท่านและผู้เรียนที่เกิดข้อสงสัยในระหว่างการจัดการ เรียนการสอน