Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 12 การออกแบบสื่อการเรียนการสอนทางการพยาบาล (ลักษณะการนำ e-Learning…
บทที่ 12
การออกแบบสื่อการเรียนการสอนทางการพยาบาล
การจัดการเรียนการสอนด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์
(e-Learning)
การจัดการเรียนการสอนด้วยสื่อ e-Learning หมายถึง รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ซึ่งมีการถ่ายทอดเนื้อหาความรู้ผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบการเรียนที่คุ้นเคย เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) การสอนบนเว็บ (web-based instruction) การเรียนออนไลน์ (on-line learning)
ลักษณะสำคัญการจัดการเรียนการสอนด้วยสื่อ e-Learning ประกอบไปด้วยลักษณะสำคัญ 4 ประการ
ทุกสถานที่ ทุกเวลา (anywhere, anytime) หมายถึง การที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้หรือเข้าไปศึกษาผ่านบทเรียนออนไลน์ได้
มัลติมีเดีย (multimedia) หมายถึง นำเสนอเนื้อหาโดยใช้ประโยชน์จากสื่อผสมเพื่อช่วยในการประมวลผลสารสนเทศของผู้เรียน เพื่อให้เกิดความคงทนในการจดจําและเรียนรู้ได้ดีขึ้น
การเชื่อมโยง (non-linear) หมายถึง ผู้เรียนสามารถเขาถึงเนื้อหาตามความต้องการของตนเอง เช่น ผู้เรียนที่เรียนชาหรือไม่เข้าใจในเนื้อหา
การโต้ตอบ (interaction) หมายถึง การเปิดโอกาสใหม่ให้เรียนได้มีการโต้ตอบ
องค์ประกอบในการสร้าง e-Learning
ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ
องค์ประกอบสำคัญอื่นๆ ที่ e-Learning จำเป็นต้องมีเพื่อให้เนื้อหา
มีความสมบูรณ์ด้วยองค์ประกอบ ดังนี้
1.โฮมเพจ หรือหน้าแรกของเว็บไซต์
2.หน้าแสดงรายชื่อรายวิชาหลังจากที่ผู้เรียนได้มีการเข้าสู่ระบบแล้ว
3.เว็บเพจของรายวิชา
โปรแกรมที่ใช้สร้างระบบ LMS ในปัจจุบันมีให้เลือก 2 ประเภท คือ
1.กลุ่มซอฟท์แวร์ฟรี (open Source LMS) ที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก
2.กลุ่มซอฟร์แวร์เอกชน เพื่อธุรกิจที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก
เนื้อหา (content) เนื้อหาถือเป็นองค์ประกอบสําคัญที่สุด สําหรับ e-Learning การที่ผู้เรียนจะบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนใน ลักษณะนี้ได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับการออกแบบการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ใน e-Learning ในการออกแบบประกอบไปด้วย รายละเอียดของเนื้อหาและความรู้ต่างๆ ที่ผู้สอนได้จัดเตรียมไว้ ให้แก่ผู้เรียน ผู้เรียนมีหน้าที่ในการแปลงเนื้อหา (convert content) ที่ผู้สอนเตรียมไว้ให้เกิดเป็นความรู้ โดยผ่านการคิด วิเคราะห์อย่างมีหลักการและเหตุผลด้วยตัวเอง
โหมดการติดต่อสื่อสาร (Modes of communication)
1.การประชุมทางคอมพิวเตอร์ หรือ ติดต่อสื่อสารแบบต่างเวลา
2.จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) เป็นองค์ประกอบสำคัญเพื่อให้ ผู้เรียนสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้สอน หรือ ผู้เรียนแบบรายกลุ่มหรือรายบุคคล
ลักษณะการนำ e-Learning มาใช้ในการเรียนการสอน
สื่อเติม เป็นการนำ e-Learning มาใช้ในลักษณะเพิ่มเติมจากวิธีการสอนภายในชั้นเรียนนอกเหนือจากการบรรยายในห้องเรียน
สื่อหลัก เป็นการนำ e-Learning มาใช้ในลักษณะแทนที่การบรรยายในห้องเรียน โดยผู้เรียนต้องศึกษาเนื้อหาทั้งหมดใน e-Learningและโต้ตอบกับเพื่อนและผู้เรียนอื่น ๆ
สื่อเสริม การนำ e-Learning มาใช้ในลักษณะนี้ ผู้สอนเพียงต้องการใช้
ข้อเสนอแนะเพื่อการนำ ไปใช้
2.ผู้สอนควรเห็นความสำคัญของการจัดการเรียนการสอนด้วยสื่อ e-Learning เห็นความสำคัญของการพัฒนาทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 และเปิดใจยอมรับกับแนวการเรียนการสอนใหม่ๆ
3.ผู้เรียนต้องเข้าใจวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง (activelearning) เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ด้วยสื่อ e-Learning และเข้าใจแนวทางในการพัฒนาทักษะ
ผู้บริหารควรเห็นความสำคัญของการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วย e-Learning โดยอาจส่งเสริมในลักษณะของสื่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ
สรุป
การจัดการเรียนการสอนด้วยสื่อ e-Learning เป็น วิธีการจัดการเรียนการสอนวิธีการหนึ่งที่นำ มาใช้เพื่อการเรียน การสอนแบบ active learning ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที ทุกเวลา ตามความต้องการ สอดคล้องกับยุคสมัย การนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้สอนว่า จะเลือกใช้ในลักษณะใด โดยก่อนการนำ ใช้ควรมีการออกแบบ การจัดการเรียนการสอนด้วยการวิเคราะห์ความจำ เป็นของ การนำมาใช้ออกแบบรูปแบบการเรียนการสอน