Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนทางการพยาบาล ความหมายของสื่อการเรียนการสอน…
การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนทางการพยาบาล
ความหมายของสื่อการเรียนการสอน
ความหมายของสื่อการเรียนการสอน (Instructional Media) สื่อ (Media) หมายถึง ตัวกลางที่ใช่ถ่ายทอดหรือนำความรู้ ในลักษณะต่าง ๆ จากผู้ส่งไปยังผู้รับให้เข้าใจ ความหมายได้ตรงกันในการเรียนการสอนสื่อที่ใช้เป็นตัวกลางนำความรู้ในกระบวนการสื่อความหมายระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนเรียกว่าสื่อการสอน (Instruction Media)
สื่อการเรียนการสอน หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นบุคคล วัสดุ อุปกรณ์ ตลอดจนเทคนิควิธีการ ซึ่งเป็นตัวกลางทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของการเรียนการสอนที่กำหนดไว้ได้อย่างง่ายและรวดเร็วเป็นเครื่องมือและตัวกลางซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอนมีหน้าที่เป็นตัวนำความต้องการของครูไปสู่ตัวนักเรียนอย่างถูกต้อง
การจัดการเรียนการสอนด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) การจัดการเรียนการสอนด้วยสื่อ e-Learning หมายถึง รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ซึ่งมีการ ถ่ายทอดเนื้อหาความรู้ผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะ เป็นคอมพิวเตอร์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต
การจัดการเรียนการสอนด้วยสื่อ e-Learning ที่ดี ควรประกอบไปด้วยลักษณะสำคัญ 4 ประการ
ทุกสถานที่ ทุกเวลา (anywhere, anytime) หมายถึง การที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้หรือเข้าไปศึกษาผ่าน บทเรียนออนไลน์
มัลติมีเดีย (multimedia) หมายถึง นำเสนอเนื้อาหาโดยใช้ประโยชน์จากสื่อผสมเพื่อช่วยในการประมวลผล สารสนเทศของผู้เรียนเพื่อให้เกิดความคงทนในการจดจํา
การเชื่อมโยง (non-linear) หมายถึง ผู้เรียนสามารถเขาถึงเนื้อหาตามความต้องการของตนเอง เช่น ผู้เรียน ที่เรียนช้าหรือไม่เข้าใจในเนื้อหา สามารถเลือกเรียนเนื้อหาที่ ตนเองไม่เข้าใจได้บ่อยครั้งตามความต้องการ ผู้เรียนที่เรียนดี
การโต้ตอบ (interaction) หมายถึง การเปิด โอกาสใหผู้เรียนได้มีการโต้ตอบ (มีปฏิสัมพันธ์) กับเนื้อหาหรือ กับผู้อื่น
ระบบบริหารจัดการรายวิชา (learning management system: LMS)
ระบบบริหารจัดการเป็นเสมือนระบบที่รวบรวมเครื่อง มือซึ่งออกแบบไว้เพื่อให้สะดวกแก่ผู้ใช้ในการจัดการเรียน การสอนด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้สอน ผู้เรียน และผู้บริหารเครือข่าย (network administrator)
โหมดการติดต่อสื่อสาร (Modes of communication)
โหมดการสื่อสารเป็นการจัดให้ผู้เรียนสามารถติดต่อ สื่อสารกับผู้สอน วิทยากร ผู้เชี่ยวชาญอื่นๆรวมทั้งผู้เรียนด้วยกัน ในลักษณะที่หลากหลายและสะดวก เนื่องจากในระบบมีเครื่องมือ ที่จัดหาไว้ให้ผู้เรียนได้มากกว่า 1 รูปแบบ ดังนี้
การประชุมทางคอมพิวเตอร์ หรือ ติดต่อสื่อสาร แบบต่างเวลา (asynchronous)
จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) เป็นองค์ประกอบสำคัญเพื่อให้ผู้เรียนสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้สอนหรือ ผู้เรียนแบบรายกลุ่มหรือรายบุคคล
ลักษณะการนำ e-Learning มาใช้ในการเรียน
สื่อเสริม (supplementary) การนำ e-Learning มาใช้ในลักษณะนี้ ผู้สอนเพียงต้องการใช้ e-Learning เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำ หรับผู้เรียนในการเข้าถึงเนื้อหา
สื่อเติม (complementary) เป็นการนำ e-Learning มาใช้ในลักษณะเพิ่มเติมจากวิธีการสอนภายใน ชั้นเรียน นอกเหนือจากการบรรยายในห้องเรียน
สื่อหลัก (comprehensive replacement) เป็นการนำ e-Learning มาใช้ในลักษณะแทนที่การบรรยายในห้องเรียน โดยผู้เรียนต้องศึกษาเนื้อหาทั้งหมดใน e-Learning
ข้อดี
การถ่ายทอดเนื้อหาทาง multimedia ช่วยให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีกว่าการเรียนจากสื่อข้อความ เพียงอย่างเดียว
ติดตามพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียนได้อย่าง ละเอียดและตลอดเวลา
ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนหัวข้อใดก่อนก็ได้ โดยไม่ ต้องเรียงเนื้อหา (non-linear)
ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามจังหวะของตนหรือ ตามความต้องการของตน (self-paced learning)
สนับสนุนการเรียนการสอนแบบ Active learning และส่งเสริมทักษะของคนในศตวรรษที่ 21
สามารถลดต้นทุนในการจัดการศึกษาในกรณีที่ ผู้เรียนมีจำ นวนมาก
ข้อเสีย
ผู้สอนควรมีความพรอมทางด้านทักษะคอมพิวเตอร์รับผิดชอบต่อการสอนมีความใส่ใจกับผู้เรียนโดยไม่ทิ้งผู้เรียน และต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้ให้ เนื้อหามาเป็น (facilitator)
เนื้อหาภายใน e-Learning ต้องมีการปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ หากไม่มีการปรับปรุงอาจทำให้ไม่น่าสนใจ หรือขาดแรงจูงใจในการเข้าใช้
สิ่งอํานวยความสะดวก (facilities) เช่น คอมพิวเตอร์ด้านความเร็ว และจุดบริการของอินเตอร์เน็ต
การออกแบบสื่อ e-Learning ที่ไม่เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน
ผู้เรียนบางคนอาจชอบเรียนแบบดังเดิม (passive learning) ทำให้ปฏิเสธการเรียนการสอนผ่านสื่อ e-Learning