Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 9 ระบบสารสนเทศในระบบสุขภาพ (ระบบสารสนเทศในระบบสุขภาพ…
บทที่ 9
ระบบสารสนเทศในระบบสุขภาพ
ระบบสารสนเทศในระบบสุขภาพ
สารสนเทศที่เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยของประชาชน รวมถึงข้อมูลด้านทรัพยากรสาธารณสุขและกิจกรรมสาธารณสุข
หนึ่งในประเด็นสำคัญที่กำหนดไว้คือการยกเครื่องระบบสารสนเทศด้านสุขภาพเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ ในอนาคต ซึ่ง "นพ.ปิยะ หาญวรวงศ์ชัย" หนึ่งในกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข ได้ขยายความถึงเรื่องดังกล่าวว่า โดยหลักการแล้ว เป้าหมายการปฏิรูปก็เพื่อวางระบบสารสนเทศด้านสุขภาพเพื่อสนับสนุนทำให้ประชาชน สังคม ประเทศ มีความรู้และปัญญาในการจัดการปัญหาสุขภาพ ฟังดูอาจจะเป็นคำกว้างๆ ซึ่งหากพูดให้ละเอียดขึ้นอีกคืออยากเห็นการจัดการระบบข้อมูลเชื่อช่วยแก้ปัญหาระบบบริการ ทั้งการทำข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ ลดเวลา ลดภาระให้บุคลากร
ขณะเดียวกัน ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพที่ดียังควรส่งต่อข้อมูลไปถึงประชาชน ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าประชาชนเข้าไม่ถึงข้อมูล ยกตัวอย่างเช่น เมื่อไปโรงพยาบาล ข้อมูลการรักษาก็อยู่ที่โรงพยาบาล ไปคลินิกข้อมูลก็อยู่ที่คลินิก หรือไปโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ข้อมูลส่วนหนึ่งก็อยู่ที่ รพ.สต. แต่ถ้าอยากดูข้อมูลในภาพรวมกลับทำไม่ได้ หรือกรณีไปหาหมอที่หนึ่งแล้วจะส่งต่อไปอีกที ผลแล็ปก็ไม่ตามไปด้วย หมอที่โรงพยาบาลใหม่ก็ต้องไปตรวจใหม่ เป็นทั้งภาระต่อผู้ป่วยและระบบ
ส่วนในระดับของโรงพยาบาลต่างๆ
โดยระบบสารสนเทศในระบบสุขภาพ
แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่
ข้อมูลด้านประชากร เศรษฐกิจและสังคม
ข้อมูลด้านสถานสุขภาพ
ข้อมูลด้านทรัพยากรสาธารณสุข
4.ข้อมูลด้านกิจกรรมสาธารณสุข
ข้อมูลด้านการบริหารจัดการ
ประโยชน์ของสารสนเทศสุขภาพ
ประโยชน์ของสารสนเทศสุขภาพ คือ ทำให้ทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและสาธารณสุข เช่น สถานสุขภาพ ปัญหาสุขภาพ ปัญหาสุขภาพอนามัยของประชากร ปัญหาและอุปสรรคในการให้บริการสาธารณสุข ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงานบริการสาธารณสุข เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวางแผนเพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุขได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
การจัดระบบสารสนเทศสุขภาพ
กำหนดผู้ใช้
กำหนดความต้องการของผู้ใช้
กำหนดวัตถุประสงค์ของระบบสารสนเทศ
กำหนดสารสนเทศที่ต้องการจากระบบ
กำหนดรายการข้อมูลที่จำเป็น
กำหนดแหล่งข้อมูลหรือวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและพิจารณาคุณภาพของข้อมูล
สร้างฐานข้อมูลและจัดการฐานข้อมูล
วิเคราะห์ข้อมูล
กำหนดรูปแบบการนำเสนอสารสนเทศ
องค์ประกอบที่สำคัญในการสร้างสารสนเทศ
ประกอบด้วย ความรู้ในศาสตร์รวมทั้งสาขาที่เกี่ยวข้อง เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคม และสถิติศาสตร์
ระบบสารสนเทศสาธารณสุข
จำแนกตามภารกิจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
ระบบสารสนเทศสาธารณสุขเพื่อการบริการ เกี่ยวกับการจัดการทางการแพทย์และสาธารณสุข เช่น
ระบบสารสนเทศการบริการ เกี่ยวกับการจัดการเกี่ยวกับผู้ป่วย การรับผู้ป่วย การจำหน่ายผู้ป่วย การส่งต่อ การนัดหมายผู้ป่วย
ระบบสารสนเทศทางคลินิก เช่น ระบบเวชทะเบียนผู้ป่วย ระบบแพทย์บันทึกข้อมูล วินิจฉัยและสั่งยา
ระบบสารสนเทศสาธารณสุขเพื่องานวิชาการ
เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ด้านสาธารณสุขทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น ระบบการประชุมวิชาการทางไกลทางด้านสาธารณสุข ระบบเครือข่ายสารสนเทศสุขภาพชุมชน ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพสำหรับประชาชน เผยแพร่ความรู้ด้านโรคภัยไข้เจ็บและการดูแลรักษาตัวเอง การเก็บรวบรวมข้อมูลทางด้านสาธารณสุข นั้นทำได้โดยเก็บจากการทำสำมะโน เก็บจากการสำรวจตัวอย่าง และเก็บจากลงทะเบียน
ระบบสารสนเทศสาธารณสุขเพื่อการบริหาร
จัดทำขึ้นเพื่อการบริหารของหน่วยงานและเป็นการจัดการข้อมูลเพื่อการวางแผน ระบบที่ใช้ทั่วไปได้แก่ ระบบสารบรรณ ระบบบัญชี ระบบคลัง ระบบบริหารงานบุคคล ระบบเงินเดือน ระบบรับผู้ป่วย ระบบจองห้อง