Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การประเมินสุขภาพทารกในครรภ์ (Non Stress Test (NST) :<3:…
การประเมินสุขภาพทารกในครรภ์
Non Stress Test (NST) :<3:
เป็นการตรวจดูการตอบสนองของระบบประสาทอัตโนมัติของทารก (fetal condition) ซึ่งแสดงออกด้วยลักษณะ
การเต้นของหัวใจทารกเมื่อทารกเคลื่อนไหว
FHR Baseline = 110-160 bpm
ข้อบ่งชี้ในการตรวจ NST
มารดาที่ตรวจพบว่าน้ำคร่ำน้อยกว่าปกติ
มารดาตั้งครรภ์เกินกำหนด (42 สัปดาห์)
ทารกในครรภ์มีการเจริญเติบโตช้ากว่าอายุครรภ์
มารดาเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
หรือเป็นโรคหัวใจร่วมด้วย
มารดาที่รู้สึกว่าลูกดิ้นน้อยลงหรือหยุดดิ้น
มารมารดามีประวัติทารกตายคลอด
วิธีการตรวจ NST
3.ติดเครื่อง electronic fetal monitoring โดยติดหัวตรวจ tocodynamometer เพื่อบันทึกการหดรัดตัวของมดลูก ไว้ที่ตำแหน่งยอดมดลูก และหัวตรวจ FHR ไว้ที่ตำแหน่งหลังของทารกที่ได้ยินเสียงการเต้นของหัวใจชัดที่สุด
4.บันทึก นาน 20นาที ถ้ายังแปลผลไม่ได้ให้บันทึกต่ออีก 20 นาที รวมเป็น 40 นาที
2.วัดความดันโลหิต
1.จัดท่า semi-Fowler หรือ ท่านอนตะแคงซ้าย จะดีกว่าท่านอนหงายซึ่งมักทำให้เกิด supine hypotension มีผลต่อการแปลผล NST
การแปลผล
Reactive
Reactive หมายถึง การเพิ่มขึ้นของ FHR มากกว่าหรือเท่ากับ 15 bpm และนานกว่า 15 วินาที อย่างน้อย 2 ครั้งในช่วงการตรวจ 20 นาที อาจเกิดในช่วงใดของการตรวจภายใน 40 นาทีก็ได้ โดยระหว่างที่ตรวจสามารถกระตุ้นการเคลื่อนไหวด้วย artificial larynx กระตุ้นครั้งละ 1-2 วินาทีที่หน้าท้องมารดาซึ่งสามารถทำซ้ำได้ 3 ครั้ง ถ้าอายุครรภ์น้อยกว่า 32 สัปดาห์ ให้ลดเกณฑ์ลง ให้มีการเพิ่มขึ้นของ FHR อย่างน้อย 10 bpm และนานกว่า 10 วินาที ก็ถือว่า reactive เช่นเดียวกัน โดยที่ FHR baseline อยู่ในช่วง 110-160 bpm และ baseline variability อยู่ในช่วง 5-25 bpm
Non-Reactive
การเพิ่มขึ้นของ FHR ไม่เป็นไปตามเกณฑ์หรือไม่มีการเพิ่มขึ้นของ FHR เลยในการตรวจนาน 40 นาที
ปัจจัยที่มีผลต่อ NST
ปัจจัยทางมารดา
ได้รับยาลดความดัน เช่น beta-blocking agent จะลดระดับ baseline FHR ให้ต่ำลงและลดความถี่ของการเกิด acceleration ได้
ยากดประสาท เช่น barbiturate opiate จะทำให้ระยะ 1F ยาวนานขึ้น ทำให้ variability และ acceleration ลดลง
การได้รับสารกระตุ้นบางอย่าง เช่น cocaine nicotine จะเพิ่ม baseline FHR แต่ละความแรงของ acceleration ทำให้ระยะเวลานาการตรวจนานขึ้น
ปัจจัยทางด้านทารกในครรภ์
อายุครรภ์ ถ้าก่อนกำหนดมาก ก็จะมี acceleration น้อย
การเกิด acute hypoxemia จะมีผลทันทีทำให้ทารกเคลื่อนไหวลดลง และไม่ค่อยมี acceleration ของ FHR
chronic hypoxia จะค่อยเกิด มักตรวจไม่เจอในทันทีต้องใช้เวลาเป็นวันหรือสัปดาห์
ขึ้นกับความรุนแรง
Contraction Stress Test (CST) :star:
คือการฟัง FHS กับการหดรัดตัวของมดลูก
จะทำในรายที่เป็น Non-reactive NST โดยวิธีการทำต้องมีการหดรัดตัวของมดลูกร่วมด้วย ซึ่งมีวิธีการชักนำอยู่ 2 วิธี คือการกระตุ้นด้วย oxytocin หรือ nipple stimulation วิธีนี้ไม่สามารถทำได้ทุกรายเนื่องจากต้องกระตุ้นให้มีการหดรัดตัวของมดลูก
วิธีการตรวจ CST
2.วัดความดันโลหิต
3.ติดเครื่อง electronic fetal monitoring โดยติดหัวตรวจ tocodynamometer เพื่อบันทึกการหดรัดตัวของมดลูก ไว้ที่ตำแหน่งยอดมดลูก และหัวตรวจ FHR ไว้ที่ตำแหน่งหลังของทารกที่ได้ยินเสียงการเต้นของหัวใจชัดที่สุด
1.จัดท่า semi-Fowler หรือ ท่านอนตะแคงซ้าย จะดีกว่าท่านอนหงายซึ่งมักทำให้เกิด supine hypotension มีผลต่อการแปลผล NST
4.บันทึกรูปแบบการเต้นของหัวใจ ระหว่างที่มีการหดรัดตัวของมดลูก ซึ่งควรมี 3 ครั้งใน 10 นาที นานครั้งละ 40-60 วินาที ถ้าไม่มีให้ชักนำด้วยวิธีดังต่อไปนี้
การทำ nipple stimulation โดยใช้มือคลึงที่หัวนมทั้งสองข้างอย่างต่อเนื่อง หรือ คลึงไปมาที่หัวนมข้างเดียวนาน 2 นาที แล้วหยุด 5 นาที ถ้าการหดรัดตัวยังไม่ถึงเกณฑ์ให้กระตุ้นแบบเดิมต่อ
กระตุ้นด้วย oxytocin โดยให้ทางหลอดเลือดดำ เริ่มที่ 0.5 mU/เพิ่มได้ทีละ 2 เท่า ทุก 15-20 นาที จนกระทั่งมี การหดรัดตัวของมดลูก 3 ครั้งใน 10 นาที แต่ละครั้งนาน 40-60 วินาที หรือ
6.หลังหยุด สังเกตการหดรัดตัวของมดลูกจนหายไป
5.late deceleration ของ FHR ทุกครั้งที่มีการหดรัดตัวของมดลูก ถึงแม้จะยังไม่ถึง 20 นาที หรือไม่ถึงเกณฑ์การหดรัดตัวที่น่าพอใจก็ให้หยุดทดสอบได้
ข้อห้ามในการทำ CST
Preterm labor หรือมีความเสี่ยงสูงในการเกิด preterm labor.
Preterm premature rupture of membrane
มีประวัติผ่าตัดมดลูกหรือ classic cesarean delivery.
Placenta previa
Polyhydramnios
Multiple gestation
การแปลผล
ผล Positive หมายถึง มี Late deceleration มากกว่าครึ่งหนึ่งของการทดสอบที่มีการหดรัดตัวของมดลูก
ผล Equivocal มี 3 แบบ
Suspicious หมายถึง มี Late deceleration น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของการทดสอบ
Hyperstimulation หมายถึง มี Late deceleration ขณะที่มีหรือตามหลังการหดรัดตัวของมดลูกที่นานกว่า 90 วินาที หรือบ่อยกว่าทุก 2 นาที แต่ถ้ามีการหดรัดตัวบ่อยโดยที่ไม่มี late deceleration ให้แปลผลเป็น negative
Unsatisfied หมายถึงไม่สามารถทำ ให้มีการหดรัดตัวของมดลูกที่เหมาะสมได้ หรือคุณภาพการบันทึกไม่ดี แปลผลไม่ได้
ผล Negative หมายถึง ไม่มี deceleration ในขณะทำการทดสอบ โดยมีการหดรัดตัวของมดลูกอย่างน้อย 3 ครั้ง
ใน 10 นาที นานครั้งละอย่างน้อย 40-60 วินาที
Doppler Ultrasound
:green_cross:
เป็นการตรวจอัลตราซาวด์ และพัฒนาใช้คลื่นเสียงดอพเลอร์ มาแสดงการไหลเวียนของเลือดที่ไหลผ่าน ทำให้ทราบถึงพยาธิสภาพของการไหลเวียนเลือดที่ทารกและรก โดยสามารถวิเคราะห์จากการวัดความเร็วโดยตรงหรือวิเคราะห์รูปคลื่น ซึ่งการตรวจสามารถทำได้ทั้งที่ทารกในครรภ์และมารดา ส่วนใหญ่จะตรวจในรายที่มีปัญหา fetal growth restriction
การวิเคราะห์รูปคลื่นของเส้นเลือดในสตรีตั้งครรภ์
Uterine artery
การไหลเวียนของเลือดที่มดลูกจะมากขึ้น เพราะความต้านทานของหลอดเลือดจะลดลงตามอายุครรภ์ โดยเฉพาะช่วงต้นของไตรมาสที่สอง ในรายที่มีปัญหาการไหลเวียนของมดลูกที่ไม่ดี ก็จะพบความผิดปกติของรูปคลื่นเสียงดอพเลอร์ได้ ในภาวะปกติช่วงไตรมาสแรกจะพบลักษณะ
early diastolic notch ได้
การวิเคราะห์รูปคลื่นของเส้นเลือดในทารก
Umbilical artery
มีการใช้อย่างแพร่หลายและสามารถทำได้ง่ายเมื่อเทียบกับเส้นเลือดที่ตำแหน่งอื่น ๆ ของทารก
ความผิดปกติของรูปคลื่นเสียงนี้ อาศัยหลักการที่ เมื่อมีปัญหา uteroplacental insufficiency การไหลเวียนของเลือดที่รกจะลดลง ความต้านทานของรกจะเพิ่มขึ้น ทำให้การไหลเวียนของเลือดในจังหวะคลายตัวน้อยลง ลักษณะรูปคลื่นที่ผิดปกติจะเห็น diastole(d) wave ต่ำลง ถ้าในรายที่รุนแรง ลักษณะของ d wave จะหายไป หรือคือ absent end diastolic velocity(AEDV) หรืออาจะจะมีการสะท้อนหรือไหลย้อนกลับเป็น reverse end diastolic velocity(REDV) ได้
ซึ่งถ้าพบลักษณะ REDV ควรพิจารณาให้คลอดให้เร็วที่สุด เพราะสัมพันธ์กับทารกเสียชีวิตในครรภ์สูง ถ้าเป็นการวัดเชิงปริมาณ ให้ดูจากค่าดัชนีคลื่นเสียงดอพเลอร์ ถ้ามากกว่า 2 เท่า
ของแต่ละอายุครรภ์ก็แปลผลว่าผิดปกติ เช่นกัน
Middle cerebral artery
เป็นการวัดการไหลเวียนของเลือดในสมองของทารก ในรายที่มีปัญหา uteroplacental insufficiency ถึงแม้การไหลเวียนของเลือดในร่างกายจะลดลง แต่การไหลเวียนที่ไปยังสมองจะเพิ่มขึ้นตรงข้ามกันกับ umbilical artery เป็นผลของ brain sparing effect ที่เลือดพยายามไหลเวียนไปยังอวัยวะที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต จึงทำให้การไหลเวียนที่สมอง หัวใจ ต่อมหมวกไต ต่าง ๆ เหล่านี้เพิ่มขึ้น ลักษณะรูปคลื่นจึงเห็น d wave สูงขึ้น หรือ ถ้าเป็นการวัดเชิงปริมาณ ให้ดูจากค่าดัชนีคลื่นเสียงดอพเลอร์ ถ้ามากกว่า 2 เท่า ของแต่ละอายุครรภ์ก็แปลผลว่าผิดปกติ จึงนำมาใช้ในการตรวจสุขภาพภาวะทารกโตช้าในครรภ์ร่วมกับ umbilical artery
จะเพิ่มความแม่นยำมากยิ่งขึ้น
Ductus venosus และ umbilical vein
เป็นการตรวจคลื่นเสียงดอพเลอร์ในเส้นเลือดดำ ซึ่งจะเป็นตัวที่บ่งชี้ถึงการทำงานของหัวใจ ในรายที่มีการทำงานของหัวใจล้มเหลวจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น ทารกโตช้าในครรภ์ชนิดรุนแรง หัวใจพิการ เป็นต้น หรือเป็นทารกบวมน้ำ (Hydrops fetalis) การตรวจดู venous Doppler ไม่ว่าจะเป็น ductus venosus หรือ inferior vena cava จะประเมินความรุนแรงของโรคได้
วิธีการตรวจและการเตรยมตัวก่อนตรวจ
ให้ดื่มน้ำและกลั้นปัสสาวะก่อนตรวจ ถ้าตรวจ Ultrasound ทางหน้าท้องจะเปิดหน้าท้องแล้วใช้ครีมทาหน้า้องและใช้หัวนำเสียงวางบนครีม
การคัดกรองและวินิจฉัยดาวน์ซินโดรม :warning:
ตรวจคัดกรอง
ไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ (First-trimester sceening)
ตรวจเมื่ออายุครรภ์ 11-13สัปดาห์ ประกอบด้วยการวัดความหนาแน่นของน้ำที่สะสมบริเวณต้นคอทารกโดยใช้อัลตร้าซาวด์ ร่วมกับการตรวจหาค่าสารชีวเคมีในกระแสเลือดของสตรีตั้งครรภ์ 2 ชนิด คือ BHCG และ PAPP-A สามารถคัดกรองทารกดาวน์ซินโรมได้ประมาณ 80%
ไตรมาสสองของการตั้งครรภ์(Second-trimester sceening)
สำหรับตรวจเมื่ออายุครรภ์ 14-16 สัปดาห์ มี 2 ทางเลือกคือ Triple screening สามารถคัดกรองทารกดาวน์ซินโดรมได้ประมาณ 60 % และ Quadruple screening สามารถคัดกรองทารก
ดาวน์ซินโดรมได้ประมาณ 80 %
กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการที่ทารกในครรภ์เป็นดาวน์ซฺนโดรมให้ตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดด้วยวิธีการเจาะน้ำคร่ำ(Amniocentesis)
ข้อบ่งชี้ทั่วไปของการเจาะน้ำคร่ำ
มารดาที่มีอายุ 35 ีขึ้นไป ณ วันกำหนดคลอด
มีผลความเสี่ยงสูงจากผลการคัดกรองความเสี่ยงทารกดาวน์ซินโดรม
อัลตราซาวด์พบว่าทารกมีความผิดปกติ
ทารกหรือครรภ์ก่อนหน้านี้มีความผิดปปกติของโครโมโซม
บิดามารดาเป็นคู่เสี่ยงที่จะมีทารกเป็นโรคธาลัสซีเมียอย่างรุนแรง
ไตรมาสแรกร่วมกับวิธีคัดกรองในช่วงไตรมาสสองของการตั้งครรภ์
(Sequential first and second -trimester screening)
หญิงตั้งครรภ์ที่มาพบแพทย์ตั้งแต่ไตรมาสแรกแนะนำให้ตรวจวิธีนี้เนื่องงจากสามารถคัดกรองทารก
ดาวน์ซินโดรมได้ประมาณ 90 %
ถ้าตรวจวิธีคัดกรองในช่วงไตรมาสแรกพบเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำให้ตรวจ Quadruple screening ในไตรมาสสองต่อ ถ้าพบเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงให้ตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดด้วยการ
เจาะน้ำคร่ำ(Amniocentesis)
การตรวจวินิจฉัย
การเจาะสายสะดือ Cordocentesis หรือ Percutaneous umbilical blood sampling (PUBS)
การเจาะดูดเลือดจากหลอดเลือดสายสะดือ
เพื่อตรวจโครโมโซม
เพื่อตรวจหาระดับสาร Bilirubin สำหรับตั้งครรภ์ที่สงสัยว่าทารกมีปัญหาซีด
เพื่อตรวจหาโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม
เพื่อตรวจหาความผิดปกติของสารชีวเคมีสำหรับรายที่มีประวัติในครอบครัว
การตัดชิ้นเนื้อรก
Chorionic villus sampling (CVS)
เป็นการตรวจโครโมโวมจากชิ้นเนื้อรก สามารถทำได้ด้วยการตัดชิ้นเนื้อรก ปริมาณ 15-30 กรัม จากหญิงตั้งครรภ์แล้วบรรจุในหลอดที่มีน้ำยาเลี่ยงเซลล์(cell culture media)ด้วยวิธีการปลอดเชื้อแล้วนำมาเพาะเลี้ยงเพิ่มจำนวนเซลล์หลังจากนั้น10-14วันจะถูกนำมาเตรียมโครโมโซมหยดลงแผ่นสไลด์เพื่อตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมต่อไป
ข้อห้ามในการตรวจ CVS
ตั้งครรภ์แฝด
มีปัญหาเรื่องเลือดออกในขณะตั้งครรภ์
ผู้ที่มีปัญหาเรื่องการติดเชื้อ
การเจาะน้ำคร่ำ(Amniocentesis)
เพื่อตรวจหาโครโมโซม เป็นกระบวนการนำน้ำคร่ำที่อยู่รอบตัวของทารกในโพรงมดลูกออกมา เพื่อทำการตรวจหาโครโมโซมของทารก โดยอายุครรภ์ที่เหมาะสมในการเจาะน้ำคร่ำคือ 15-20 สัปดาห์ ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือการแท้งบุตร
Biophysical profile (BPP) :fire:
เป็นการตรวจ Ultrasound ร่วมกับการตรวจ NST เพื่อที่จะประเมินสุขภาพของทารกในช่วงการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3 การตรวจนี้เมื่อสงสัยสุขภาพของทารกว่ายังดีหรือไม่จากการตรวจด้วยวิธีอื่นๆหรืออาการอื่นๆ
เมื่อไหร่จึงจะตรวจ BPP
คนท้องที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง โรคเลือด โรค SLE โรคไต โรคหัวใจ
อายุครรภ์เกินกำหนดคลอด
ตั้งครรภ์แฝด
เคยมีประวัติทารกเสียชีวิต
จะตรวจในทารกที่อายุครรภ์มากกว่า 32 สัปดาห์
ปริมาณน้ำคร่ำมากหรือน้อยกว่าปกติ
ความถี่ของการตรวจขึ้นกับภาวะของความเสี่ยง อาจจะสัปดาห์ละครั้ง หรือสองครั้ง หรือบ่อยกว่านั้น จนกระทั่งคลอด
มีปัญหาเรืื่องกลุ่มเลือด
วิธีการตรวจ BPP
การทำ Ulltrasound เพื่อตรวจส่วนที่สำคัญ
การตรวจ NST ซึ่งมีสายรัดหน้าท้อง โดยจะติดตามการเต้นของหัวใจทารก และสายรัดอีกเส้นจะวัดการบีบตัวของมดลูก จะทำการบันทึกการเคลืื่อนไหวของทารก หัวใจของทารก การตอบสนองการเต้นของหัวใจเมื่อทารกเคลื่อนไหวโดยใช้เวลาวัด 20-30 นาที
การตรวจ BPP
จะเฝ้าดูลักษณะที่สำคัญของทารก 5 ประการ และให้คะแนนระหว่างการตรวจ BPP
อัตราการเต้นของหัวใจ
การเคลื่อนไหว
ปกติ : มีการเคลื่อนไหวมากกว่า 2 ครั้งใน 30 นาที
ผิดปกติ : การเคลื่อนไหวน้อยกว่า 2 ครั้งใน 30 นาที
Muscle Tone
การหายใจ
ปกติ : หายใจ 1 ครั้ง ใน 30 นาที
ผิดปกติ : ไม่มีการหายใจใน 30 นาที
น้ำคร่ำ