Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความดันโลหิตสูงเนื่องจากการตั้งครรภ์ (Pregnancy Induced Hypertension :…
ความดันโลหิตสูงเนื่องจากการตั้งครรภ์ (Pregnancy Induced Hypertension : PIH)
ความหมาย
การที่มีความดันโลหิตสูง Systolic มากกว่าเท่ากับ 140 mmHg.
และ Diastolic มากกว่าเท่ากับ 90 mmHg. โดยวัดอย่างน้อย 2 ครั้ง ห่างกัน 6 ชั่วโมง รวมถึงการมีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ โดยอาจจะมีหรือไม่มีภาวะบวมก็ได้
อาการ
ปัสสาวะออกน้อย
มีอาการบวม บริเวณใบหน้าหรือมือ
มีโปรตีนในปัสสาวะ
มองเห็นเป็นจุดดำ ๆ และเห็นภาพเปลี่ยนแปลงไป
การทำงานของตับผิดปกติ
ปวด จุกแน่นบริเวณลิ้นปี่
เกล็ดเลือดต่ำ
คลื่นไส้อาเจียนในช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์
ความดันโลหิตสูง
น้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว
ปวดหัวตลอดเวลา
หายใจลำบาก
ประเภท
1.Gestational hypertention ความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ ไม่พบโปรตีนในปัสสาวะ หรือ Trace หรือ Protein urea น้อยกว่า 300 mg. เมื่อติดตามจนหลังคลอด 12 สัปดาห์ ความดันโลหิตจะลดลงเป็นปกติ
2.Preeclampsia ความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ร่วมกับมีโปรตีนในปัสสาวะ
ชนิด
Severe preeclampsia ความดันโลหิตสูง Systolic มากกว่าเท่ากับ 160 mmHg. และ Diastolic มากกว่าเท่ากับ 110 mmHg. พบ Protein urea มากกว่าเท่ากับ 2 g./ปัสสาวะ 24 hr. หรือ dipstik 2+ มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือร่วมทั้งหมด ดังนี้ ตาพร่ามัว ปวดศีรษะ จุกแน่นลิ้นปี่ ปัสสาวะออกน้อย(น้อยกว่า 25ml/hr) พบ serum creatinin น้อยกว่า 1.2 g/dL เอนไซม์ตับเพิ่มขึ้น (ALT,AST) และมีภาวะปอดบวมน้ำ(Pulmonary edema)
การรักษาและการพยาบาล
ป้องกันชัก
ให้แมกนีเซียมซัลเฟตดังนี้
Loading dose : ให้แมกนีเซียม (MgSO4.7H2O, USP) 4 กรัมในสารละลาย 20% IV ด้วยอัตราไม่เกิน 1 กรัมต่อนาที maintenance ด้วยการหยดแมกนีเซียมทางหลอดเลือดดำอัตรา 2 กรัมต่อชม.
หยุดให้ maintenance magnesium sulfate เมื่อ
อัตราการหายใจช้ากว่า 12-14 ครั้งต่อนาที
ปัสสาวะออกน้อยกว่า 25 มล.ต่อชม.
pattelar reflex หายไป
หยุดให้แมกนีเซียมซัลเฟตเมื่อให้ครบ 24 ชั่วโมงหลังคลอด
ลดความดันโลหิต
ให้ยา
ยาอื่น ๆ ที่อาจเลือกใช้
Hydralazine: ซึ่งออกฤทธิ์โดยตรงต่อการคลายตัวของกล้ามเนื้อเรียบเส้นเลือดแดง เป็นยาที่มีประการณ์ใช้มามาก ให้ครั้งแรก 5 มก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ แล้ววัดความดันโลหิตทุก 5 นาที ถ้าหลังฉีดแล้ว 20 นาที ความดัน diastolic ยังสูงกว่า 110 ปรอท ให้ซ้ำได้อีก 10 มก. ควรระวังไม่ให้ความดันโลหิต diastolic ต่ำกว่า 90 มม.ปรอท เพราะจะทำให้เกิด fetal distress ได้ง่าย ฤทธิ์ข้างเคียงของ hydralazine ที่พบได้ เช่น ใจสั่น ปวดศีรษะ อาเจียน
Labetalol: ออกฤทธิ์กดทั้ง alpha และ beta-adrenergic ควบคุมความดันจาก PIH ได้ดี
Nifedipine (soft capsule) เช่น adalat, nelapine 10 mg sublingual หรือ Nifedipine (film-coated tablet) เช่น nifecard 10 mg oral
การเฝ้าระวัง
3 more items...
ชักนำการคลอด
ให้พรอสตาแกลนดินส์ เช่น misoprostol 25 มก.ทางช่องคลอด กรณีที่ปากมดลูกไม่พร้อม
การให้ยาชาทางไขสันหลัง (epidural block) สามารถให้ได้ด้วยความระมัดระวัง
ให้ oxytocin กรณีที่ปากมดลูกพร้อม
พิจารณาช่วยคลอดในระยะที่สองตามความเหมาะสม
เจาะถุงน้ำคร่ำเมื่อสามารถทำได้
การผ่าตัดทำคลอดทางหน้าท้องควรเป็นไปตามข้อบ่งชี้ทางสูติศาสตร์ทั่วไป หรือบางรายที่โรครุนแรงมาก ๆ ที่ปากมดลูกไม่พร้อม และคาดว่าการคลอดช้าจะเป็นผลเสียต่อมารดา อาจเลือกผ่าตัดได้เป็นราย ๆ ไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง HELLP syndrome ที่ปากมดลูกไม่พร้อม
ตรวจติดตามสุขภาพทารกในครรภ์ (continuous fetal heart rate monitoring)
ควบคุมความสมดุลย์ของสารน้ำและอีเลคโตรไลท์
การใส่สาย pulmonary artery catheterization ให้พิจารณาทำในรายที่ควบคุมสารน้ำลำบาก เช่น สงสัย pulmonary edema เป็นต้น
แก้ไข hemoconcentration เริ่มต้นด้วยการให้ lactated Ringer ในกลูโคส 5%
บันทึกปริมาณสารน้ำเข้า - ออก ทุกชั่วโมง
ป้องกันและภาวะแทรกซ้อน เช่น ไตล้มเหลว ตับ เลือดออกในสมอง DIC น้ำคั่งในปอด
การดูแลทั่วไป
ซักประวัติตรวจร่างกายอย่างละเอียด
ประเมินการทำงานของไต ตับ ตรวจจอตา และอื่น ๆ
รับไว้ในหน่วยคลอดครรภ์เสี่ยงสูง
พักผ่อนเต็มที่ (absolute bed rest) ควรนอนตะแคง
รับประทานอาหารธรรมดา
Mild preeclampsia ความดันโลหิตสูง Systolic มากกว่าเท่ากับ 140 mmHg. และ Diastolic มากกว่าเท่ากับ 90 mmHg. พบ Protein urea มากกว่าเท่ากับ 300 mg./ปัสสาวะ 24 hr. หรือ dipstik 1+
การรักษาและการพยาบาล
วัดความดันโลหิตทุก 6 ชั่วโมง (ยกเว้นช่วงเที่ยงคืนถึงตอนเช้า ในกรณีที่ความดันโลหิตตอนเที่ยงคืนไม่เพิ่มขึ้น) ไม่จำเป็นต้องให้ยาลดความดันโลหิต
เก็บปัสสาวะตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อตรวจหาโปรตีน (ควรหาอย่างน้อย 3 วัน)
ชั่งน้ำหนักทุก 2 วัน
ทดสอบการทำงานไต (ระดับ creatinine) ส่วนการทำงานของตับให้พิจารณาเลือกทำเป็นราย ๆ ไป
ให้ผู้ป่วยพักผ่อน (bed rest) ไม่จำเป็นต้องให้ยากล่อมประสาท
ประเมินอายุครรภ์ของทารก และตรวจติดตามสุขภาพทารกในครรภ์ โดยการนับลูกดิ้นอย่างถูกวิธี Utrasound เพื่อดูขนาดทารก ปริมาณน้ำค่ำ และทำNST
ซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียด ติดตามสังเกตอาการและอาการแสดงของ PIH ทุกวัน
รับประทานอาหารธรรมดา บันทึกปริมาณสารน้ำที่ได้รับและขับออกในแต่ละวัน
รับไว้รักษาในโรงพยาบาลทุกราย
พิจารณาให้ยุติการตั้งครรภ์ในกรณีที่
อายุครรภ์มากกว่า 37 สัปดาห์แล้ว
ควบคุมอาการและอาการแสดงของโรคไม่ได้ (เปลี่ยนเป็น severe PIH)
ถ้ามีอาการปวดศีรษะ หน้ามืด ตาพร่ามัว ให้งดการให้ Breast feeding
Eclampsia มีความดันโลหิตสูงร่วมกับการชัก หรือเกร็ง เกิดได้ในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด หรือหลังคลอด
การรักษาและการพยาบาล
พิจารณาตรวจ arterial blood gas และภาพรังสีทรวงอก
ยุติการตั้งครรภ์ (ภายหลังจากควบคุมชักได้ดีแล้ว 1-2 ชั่วโมง)
ให้ออกซิเจนผ่านทาง tent หรือ mask หรือ nasal catheter
ให้ผู้ป่วยอยู่ในห้องมืด สงบ และดูแลอย่างใกล้ชิด
ตรวจติดตามสุขภาพทารก ทำ intrauterine resuscitation
งดอาหารและน้ำทางปาก
ควบคุมความดันโลหิต
ระวังภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น การเกิดหัวใจล้มเหลว หรือน้ำคั่งในปอด
ระงับอาการชัก และป้องกันการชักซ้ำตามแนวทางของ severe PIH ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น การระงับชักอาจให้แมกนีเซียมซัลเฟต หรืออาจใช้ diazepam ก็ได้ (10-20 มก.ทางหลอดเลือดดำ)
ตรวจสมองด้วย CT หรือ MRI ในกรณีชักแบบผิดปกติ อาการแสดงทางประสาท หรือโคม่านาน
รักษาทางเดินหายใจให้โล่ง ระหว่างการชัก ใส่ mouth gag เพื่อป้องกันการกัดลิ้น ดูดมูกออกจากปาก คอ หลอดคอ
การดูแลอื่น ๆ เช่นเดียวกับ severe PIH เช่น ควบคุมความดัน แก้ไข hemoconcentration ช่วยเหลือการทำงานของไต ควรให้ lactated Ringer's ในสารละลายกลูโคส 5% ในอัตรา 60-120 มล./ชั่วโมง ยาขับปัสสาวะไม่มีความจำเป็น ยกเว้นในรายน้ำคั่งในปอด รักษาความสมดุลย์ของอีเลคโตรไลท์ คาสายสวนปัสสาวะ บันทึกปริมาณสารน้ำที่ได้รับและขับออก
ปัจจัยเสี่ยง
สตรีตั้งครรภ์ที่มีประวัติครรภ์เป็นพิษในครรภ์ครั้งก่อน
สตรีตั้งครรภ์มีญาติพี่น้องสายตรงมีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
ระยะห่างจากการตั้งครรภ์ก่อนมากกว่า 10 ปี
สตรีตั้งครรภ์มี่โรคประจำตัวก่อนตั้งครรภ์ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไตหรือไตเรื้อรัง โรคลูปัส โรคSLE เป็นต้น
ตั้งครรภ์ที่อายุน้อยกว่า 18 ปี หรือมากกว่า 35 ปี
สตรีตั้งครรภ์แฝด
ครรภ์แรกหรือตั้งครรภ์แรกกับคู่สมรสใหม่
ชนิดของความดันโลหิตในหญิงตั้งครรภ์
Pregnancy Induced Hypertension
เกิดในช่วงหลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ไปแล้ว
ระดับความดันโลหิต ลดลงสู่ปกติภายใน 12 สัปดาห์หลังคลอด
มีความดันโลหิตสูงครั้งแรกในระยะตั้งครรภ์ (ก่อนตั้งครรภ์ความดันโลหิตปกติ)
การที่มีความดันโลหิตสูง Systolic มากกว่าเท่ากับ 140 mmHg.และ Diastolic มากกว่าเท่ากับ 90 mmHg.
Chronic Hypertension
ภาวะความดันโลหิตสูงดำเนินต่อไปเกิน 12 สัปดาห์หลังคลอด
มักนำไปสู่ Superimpose preeclampsia (ความดันโลหิตสูงชนิดเรื้อรังมาก่อนแล้วมี protein urea มากกว่าเท่ากับ 300 mg./ปัสสาวะ 24 hr. หรือ dipstick 1+)
ภาวะความดันโลหิตสูงที่เกิดก่อนการตั้งครรภ์ หรือ เกิดขณะตั้งครรภ์แต่อายุครรภ์น้อยกว่า 20 สัปดาห์
สาเหตุ
ทฤษฎีที่น่าเชื่อถือที่สุด คือ two - stage disorder
ผลกระทบ
ต่อการตั้งครรภ์
เกิดการปวดศีระษะ ตาพร่ามัว และชักได้ เนื่องจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ
เลือดไปเลี้ยงตับได้ไม่ดี และภาวะเกร็ดเลือดต่ำ ก่อภาวะ Hemorrhage necrosis ได้ หากระดับเอนไซม์ตับเพิ่มขึ้นในรายที่มีภาวะ severe preeclampsiaและeclampsiaอาจเกิดภาวะ HELLP syndrome
เกิดลิ่มเลือด ทำให้เกร็ดเลือดและสารที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือดต่ำ ก่อภาวะ DIC
ประสิทธิภาพการกรองของไตลดลง โปรตีนรั่วออกมาในปัสสาวะ
เลือดไหลเวียนไม่ดี ไหลเวียนเข้าสู่รกลดลง เกิดเนื้อตายของรก หารกเติบโตช้า
ต่อทารกในครรภ์
เกิดภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด (Placenta abruption)
ทารกขาดออกซิเจน
ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า (IUGR)
คลอดก่อนกำหนด
Hypertension in Pregnancy