Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะตกเลือดหลังคลอด (Postpartum hemorrhage: PPH) (Early PPH (การพยาบาล…
ภาวะตกเลือดหลังคลอด (Postpartum hemorrhage: PPH)
Early PPH
สาเหต (4T)
2.Trauma - การฉีกขาดของช่องทางคลอด
3.Tissue - รกหรือเศษรกค้างในโพรงมดลูก (Retained placenta)
1.Tone - มดลูกหดรัดตัวไม่ดี (Uterine antony)พบบ่อยสุด
Thrombin - ความผิดปกติในกลไกการแข็งตัวของเลือด
:
อาการและอาการแสดง
มีอาการแสดงของการเสียเลือด ได้แก่ ซีด ใจสั่น เหงื่ออก ตัวเย็น ชีพจรเบาเร็ว ความดันโลหิตต่ำ หายใจเร็วระยะแรกต่อไปจะช้าลง ปัสสาวะออกน้อย ไม่รู้สึกตัว และอาจเสียชีวิต
คลำหน้าท้อง พบยอดมดลูกอยู่เหนือระดับสะดือ มีขนาดใหญ่ นิ่ม
มีเลือดออก
ภาวะแทรกซ้อน
เกิด Sheehan's syndrome ทำให้ไม่มีน้ำนมหลังคลอด ไม่มีประจำเดือน เต้านมเล็กลง และการสร้างฮอร์โมนลดลง
เกิดภาวะซีด อ่อนเพลีย อาจเป็นลม หมดสติ ติดเชื้อหลังคลอดได้ง่าย
กรณี เลือดออกควบคุมไม่ได้ อาจต้องตัดมดลูก เลือดออกรุนแรงและรวดเร็ว อาจเสียชีวิตได้
การพยาบาล
ดูแลให้เลือดตามแผนการรักษา และสังเกตภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดได้ โดยเฉพาะอาการช็อก รวมถึงประเมินติดตาม Hematocrit หลังให้เลือด
ถ้าเลือดออกเนื่องจากมีการฉีกขาดของช่องคลอด ให้เย็บแผลที่ฉีกขาด
หากเลือดออกมากเนื่องจากมีเศษรกค้าง ให้รายงานแพทย์เพื่อเตรียมขูดมดลูก
ให้ออกซิเจน
ดูแลให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกตามแผนการรักษา
สังเกตปริมาณเลือดที่ออกทางช่องคลอด ถ้าเลือดออกมากให้สารน้ำทางหลอดเลือดทดแทน และรายงานแพทย์
ดูแลให้กระเพาะปัสสาวะว่าง หรือใส่สายสวนปัสสาวะ
จัดท่านอนหงายราบ หรือศีรษะต่ำ
ประเมินสัญญาณชีพทุก 15 นาที
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก คลึงมดลูกให้กลมแข็ง
บันทึกสารน้ำเข้า - ออกในร่างกายเพื่อประเมินความสมดุลย์ของสารน้ำในร่างกาย
การรักษา
รักษาโดยการประคับประคอง เช่น ให้เลือด หาสาเหตุและให้การรักษาตามสาเหตุ
กรณี
Uterine atony - ใส่สายสวนปัสสาวะ,คลึงมดลูก,ให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก (syntocinon,metherginee,cytotec),Bimanual uterine compression
:
รกค้าง - ให้ล้วงรก หรือขูดมดลูก
ช่องคลอดฉีกขาด - ให้เย็บซ่อม
ตกเลือดไม่หยุด - อาจต้องผ่าตัดผูกเส้นเลือดหรือตัดมดลูก
โพรงมดลูกอักเสบ - ให้ยาปฏิชีวนะ
การวินิจฉัย
ตรวจการหดรัดตัวของมดลูก
ตรวจร่างกายดูอาการแสดงของการเสียเลือด
คะเนปริมาณเลือดที่ออกทางช่องคลอดมากกว่า 500 มล.
ตรวจการฉีกขาดของช่องคลอดและปากมดลูก
ซักประวัติการตั้งครรภ์ การคลอด โรคประจำตัว
ตรวจดูรกว่าครบหรือไม่
ตรวจสอบการแข็งตัวของเลือด
ถ้ามีอาการช็อก โดยเลือดที่ออกทางช่องคลอดไม่ได้สัดส่วนกับปริมาณเลือดที่เสียไป แสดงว่าอาจมีภาวะมดลูกแตก
เกณฑ์การวินิจฉัยทางคลินิก
ความหมาย
การเสียเลือดตั้งแต่ 500 มล. ภายหลังจากสิ้นสุดระยะที่ 3 ของการคลอด (ภายหลังรกคลอด) หรือเมื่อมีการลดลงของ hematocrit ร้อยละ 10 หรือมากกว่าร้อยละ 1 ของน้ำหนักตัว
Delayed PPH
ความหมาย
การเสียเลือดภายหลังจากทารกเกิดแล้ว มากกว่า 500 มล. หรือเกินร้อยละ 1 ของน้ำหนักตัวมารดา ภายหลัง 24 ชม. ไปแล้วและภายใน 6 สัปดาห์หลังคลอด
สาเหตุ
มีการอักเสบของเยื่อบุโพรงมดลูก ปากมดลูก ช่องทางคลอด
มีการติดเชื้อในโพรงมดลูก
มีเศษรกค้าง หรือก้อนเลือดอยู่ในโพรงมดลูก
อาการและอาการแสดง
ความสูงของยอดมดลูกไม่ลดลงตามปกติ
เจ็บปวดบริเวณมดลูก อุ้งเชิงกรานและหลัง
มีเลือดออกทางช่องคลอด น้ำคาวปลาผิดปกติ (foul lochia)
มีไข้ และอ่อนเพลียและไม่สุขสบาย
การวินิจฉัย
ตรวจลักษณะน้ำคาวปลา สี กลิ่น ปริมาณ การเปลี่ยนแปลงแต่ละระยะ อาการเจ็บปวด
ตรวจบริเวณอุ้งเชิงกรานและหลัง อาการไข้ การกดเจ็บที่บริเวณมดลูก
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ ดูความเข้มข้นของเลือด หากลุ่มเลือด
ประเมินความรุนแรงของการเสียเลือด และระดับยอดมดลูก
มีเลือดออกทางช่องคลอด มักเกิดภายใน 3 สัปดาห์ (ส่วนมากมักเกิดในช่วง 4-9 วันหลังคลอด)
การพยาบาล
การให้เลือดทดแทน และการให้ยาเพิ่มการหดรัดตัวของมดลูก และยาปฏิชีวนะ
ส่งเสริมความสุขสบาย การพักผ่อน การรับประทานอาหาร ครบ 5 หมู่ โดยเเฉพาะอาหารที่มีธาตุเหล็กและโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ นม ไข่ ตับ ถั่ว แครอท ฟักทอง เป็นต้น
ประเมินความรุนแรงของการเสียเลือด วัดระดับยอดมดลูก และสังเกตลักษณะของน้ำคาวปลา
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเพื่อส่งเสริมให้ร่างกายฟื้นฟูโดยเร็ว และการสังเกตอาการผิดปกติที่ต้องมาพบแพทย์ รวมถึงคำแนะนำในการเลี้ยงดูบุตร
หากมีเลือดออกเรื่อย ๆ มักได้รับการรักษาโดยการขูดมดลูก ถ้าเลือดออกไม่หยุด แพทย์อาจพิจารณาตัดมดลูก
การดูแลทางจิตใจ เปิดโอกาสให้ซักถามข้อมูลเกี่ยวกับภาวะที่เป็นและการรักษาเสมอ