Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (พ.ศ.2547 (หมวด 1 คกก…
พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ.2547
หมวดที่ 9 การอุทธรณ์และการร้องทุกข์
ม.123 ผู้ใดเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือมีความคับข้องใจเนื่องจากการกระทําของผู้บังคับบัญชาหรือการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยให้ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ต่ออ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา อ.ก.ค.ศ.ที่ ก.ค.ศ. ตั้ง หรือ ก.ค.ศ. แล้วแต่กรณี
หมวดที่ 8 การออกจากราชการ
ม.107 ออกจากราชการเมื่อ ตาย, พ้นจากราชการด้วยบำเน็จบำนาญ, ลาออก, ถูกสั่งให้ออก,ถูกสั่งปลดออกหรือไล่ออก, ถูกเพิกถอนใบประกอบ
หมวดที่ 7 การดำเนินการทางวินัย
ม.98 การสอบสวนกรณีที่ถูกกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรงให้ผู้มีอํานาจตามมาตรา 53 เป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน และต้องมีกรณีอันมีมูลว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงเท่านั้น
หมวดที่ 6 วินัยและการรักษาวินัย
ความผิดวินัยร้ายแรง ได้แก่
:warning:ม.84 การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้
:warning:ม.85 จงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบแบบแผนของทางราชการและหน่วยงานการศึกษา มติคณะรัฐมนตรีหรือนโยบายของรัฐบาล ประมาทเลินเล่อ หรือขาดการเอาใจใส่ระมัดระวังรักษาประโยชน์ของทางราชการ
:warning:ม.86 การขัดคำสั่ง หรือหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหนา้ที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
:warning:ม.87 ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุอันสมควรเกิน 15 วัน
:warning:ม.90 การกระทำมุ่งหมายให้เป็นการซื้อขายเพื่อให้ได้ดำรงตำแหน่งหรือวิทยาฐานะโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
:warning:ม.91 คัดลองหรือลอกเลียนผลงานทางวิชาการของผู้อื่นโดยมิชอบ หรือนำผลงานทางวิชาการผู้อื่น จ้าง วานให้ผู้อื่นทำผลงาน
:warning:ม.92 เป็นกก.ผจก.หรือผจก.ในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
:warning:ม.93 เข้าไปข้องเกี่ยวกับการทุจริตโดยการซื้อสิทธิขายเสียงในการเลือกตั้ง
:warning:ม.94 กระทำผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกหรือโทษหนักกว่าจำคุก หรือพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เสพยาเสพติดหรือสนับสนุนใหผู้อื่นเสพยาเสพติด เล่นการพนันเป็นอาจิณ หรือกระทำการล่วงละเมิดทางเพศต่อผู้เรียนหรือนักศึกษา
ม.96 โทษทางวินัย มี 5 สถาน คือ ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดขั้นเงินเดือน ปลดออก ไล่ออก *โทษปลดออกมีสิทธิได้รับเหน็จบำนาญเสมือนผู้นั้นลาออกจากราชการ
หมวด 5 การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ
ม.73 การเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษา พิจารณาโดยยึดหลักคุณธรรม มีความเที่ยงธรรม เปิดเผย โปร่งใส ผลการปฏิบัติงาน ความประพฤติในการรักษาวินัย คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ
หมวดที่ 4 การบรรจุและการแต่งตั้ง
ม.58 การเลื่อนวิทยฐานะเป็นไปตามมาตรฐานวิทยฐานะซึ่งผ่านการประเมินและต้องคำนึงถึงความประพฤติด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ ประสบการณ์ คุณภาพการปฏิบัติงาน ความชำนาญ ความเชี่ยวชาญ ผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ด้านการเรียนการสอนตามหลักเกณฑ์ที่ก.ค.ศ.กำหนด
หมวด 3 การกำหนดตำแหน่ง
ม.38 ตำแหน่งข้าราชการครูมี 3 ประเภท (ก)
1.เป็นผู้สอนในหน่วยงานการศึกษา : ครูผู้ช่วย,ครู,อาจารย์,ผศ.,รศ.,ศ.
2.ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา : รองผอ.และผอสถานศึกษา.,รองผอและผอ.สนง.เขตพื้นที่การศึกษา,รองอธิการบดีและอธิการบดี
3.บุคลากรทางการศึกษาอื่น : ศน.,ตำแหน่งที่เรียกชื่ออื่นตามที่ก.ค.ศ.กำหนด
ม.39 ตำแหน่งครู มี 4 วิทยฐานะ
ครูชำนาญการ
ครูชำนาญการพิเศษ
ครูเชี่ยวชาญ
ครูเชี่ยวชาญพิเศษ
หมวด 2 บททั่วไป
ม.29 การดําเนินการตามพรบ.นี้ให้เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีโดยยึดถือระบบคุณธรรม ความเสมอภาคระหว่างบุคคล และหลักการได้รับการปฏิบัติและการคุ้มครองสิทธิอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน
ม.30 ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาสําหรับการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ซึ่งจะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้ต้องมีคุณสมบัติทั่วไป เช่น สัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นนักการเมือง ฯลฯ
หมวด 1 คกก.บริหารงานบุคคลของข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษา
:check:ม.7 ให้มีกก.บริหารงานบุคคลของข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษา เรียกว่า คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา หรือ ก.ค.ศ.
:check:ม.16 การประชุมก.ค.ศ.ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
:check:ม.17 ก.ค.ศ. มีอำนาจตั้งคณะอนุกรรมการวิสามัญ เรียกว่า "อ.ก.ค.ศ.วิสามัญ" เพื่อทำการใดๆแทนก.ค.ศ.
:check:ม.21 ให้มีคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษา เรียกว่า "อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา"
ส่วนนำ
ม.1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547"
ม.4
:red_flag:“ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณแผ่นดิน งบบุคลากรที่จ่ายในลักษณะเงินเดือนในกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม หรือกระทรวงอื่นที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา
:red_flag:“ข้าราชการครู” หมายความว่า ผู้ที่ประกอบวิชาชีพซึ่งทําหน้าที่่หลักทางด้านการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ ในสถานศึกษาของรัฐ
:red_flag:"คณาจารย์” หมายความว่า บุคลากรซึ่งทําหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาของรัฐ
:red_flag:"บุคลากรทางการศึกษา” หมายความว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทําหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ การบริหารการศึกษา และปฏิบัติงานอื่นในหน่วยงานการศึกษา
:red_flag:“วิชาชีพ” หมายความว่า วิชาชีพครูวิชาชีพบริหารการศึกษา และวิชาชีพบุคลากรทางการศึกษาอื่น
ฉบับที่ 2 พ.ศ.2551
หมวด 1 คกก.บริหารงานบุคคลของข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษา
ม.3 (แก้ไขม.7) :star:กรรมการโดยตำแหน่งจำนวนแปดคน ได้แก่ ปลัดกก.ปลัดวธ. เลขาธิการก.พ. เลขาธิการคกก.การศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคกก.อาชีวศึกษา เลขาธิการคกก.อุดมศึกษา เลขาธิการ ก.ค.ศ. และเลขาธิการคุรุสภา
ม.4 (แก้ไขม.15) :star: เพิ่ม (6) มิได้เป็นผู้ดำรงตำแหน่งหรือเป็นผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริการการศึกษา ผู้สอนในหน่วยงานการศึกษา หรือบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามที่ตนได้รับเลือก
หมวดที่ 9 การอุทธรณ์และการร้องทุกข์
ม.15 (แก้ไขม.123) :star: เพิ่ม (ข้อความเป็นวรรค 2 และ 3) ในกรณีที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดเห็นว่า อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาหรือ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ. ตั้ง มีมติไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรม ให้ผู้นั้นมีสิทธิ์ร้องทุกข์ต่อ ก.ค.ศ. มติของ ก.ค.ศ. ตามวรรคสอง ให้เป็นที่สุด
ฉบับที่ 3 พ.ศ.2553
หมวด 1 คกก.บริหารงานบุคคลของข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษา
ม.4 (ยกเลิกวรรคหนึ่งของม.21และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน) :star:ให้มีคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เรียกโดยย่อว่า "อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การประถมศึกษา" และคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เรียกโดยย่อว่า "อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่มัธยมศึกษา" สำหรับแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา แล้วแต่กรณี