Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความสำคัญของโภชนาการต่อสุขภาพและการคำนวณปริมาณและพลังงานสารอาหาร…
ความสำคัญของโภชนาการต่อสุขภาพและการคำนวณปริมาณและพลังงานสารอาหาร
ความหมายของอาหารและโภชนาการ
อาหาร (Foods)สิ่งใดก็ตามที่รับเข้าสู้ร่างกายโดยวิธีการดื่ม การกิน หรือการฉีด เป็นต้น และสามารถให้สารอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายๆ อย่างที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายในด้านการเสริมสร้างความเจริญเติบโต แข็งแรง และสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข
โภชนาการ (Nutrition)กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับระบบการเปลี่ยนแปลง ทางเคมีของอาหารในร่างกายของสิ่งมีชีวิต เช่น การย่อย การดูดซึม การนำไปใช้ รวมทั้งการพัฒนาการของร่างกายอันเกิดจากการใช้สารอาหารเพื่อไปหล่อเลี้ยงเซลล์ เนื้อเยื่อ และควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกาย และการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย
สารอาหาร (Nutrients) เป็นสารเคมีที่ได้จากอาหาร มีความสำคัญและจำเป็นต่อร่างกาย เพื่อการเจริญเติบโตในวัยทารกและวัยเด็ก และรักษาคงไว้ซึ่งสภาพและหน้าที่ของร่างกายในวัยผู้ใหญ่
สารที่ไม่ใช่สารอาหาร (Non nutrients) เป็นสารที่ได้จากอาหารแต่ไม่ใช่สารอาหาร บางชนิดมีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น เส้นใยอาหาร สารพฤกษเคมี เป็นต้น บางชนิดขัดขวางการดูดซึมของสารอาหารในร่างกาย เช่น ไฟเตท ออกซาเลท แทนนิน บางชนิดเป็นโทษต่อร่างกาย เช่น โลหะหนัก
ภาวะโภชนาการดี (Desirable nutritional status) เป็นภาวะที่ได้รับสารอาหารทั้งชนิดและปริมาณเพียงพอตามที่ร่างกายต้องการ ปริมาณความต้องการสารอาหารแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับเพศ วัยและน้ำหนักตัว
ภาวะโภชนาการไม่ดี (Poor nutritional status) ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือได้รับเพียงพอแต่ร่างกายไม่
ด้านสุขภาพกาย อาหารทำให้ร่างกายเจริญเติบโต และทำให้ร่างกายทำงานได้อย่างปกติ
ด้านสุขภาพจิต โภชนาการที่ดีทำให้จิตใจแข็งแรง มีความมั่นคงในอารมณ์ แจ่มใส กระตือรือร้น วุฒิภาวะทางอารมณ์เจริญเร็วกว่าผู้มีภาวะโภชนาการไม่ดี
ไขมัน
โคเลสเตอรอล(cholesterol) เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สารประกอบที่สำคัญ ได้แก่ ฮอร์โมนเพศ และวิตามินดี
ฟอสฟอลิปิด (phospholipids) มีบทบาทหน้าที่ทางสรีระวิทยาและชีวเคมีในร่างกาย คือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ เมมเบรนของเซลล์
ไขมันี่สำคัญในอาหาร ประกอบด้วย ไตรกลีเซอไรด์ (triglycerides)
โคเลสเตอรอล(cholesterol)
สารอินทรีย์กลุ่มหนึ่งที่ไม่สามารถละลายน้ำได้ในน้ำเเต่ละลายในน้ำมันและไขมัน
หน้าที่และความสำคัญ
ไขมันในอาหารช่วยให้อาหารมีรส กลิ่น และเนื้อสัมผัสที่ดี ทำให้อิ่มท้องนาน
ไขมันช่วยในการดูดซึมของวิตามินที่ละลายในไขมัน (fat soluble vitamins)
หน้าที่และความสำคัญของไขมัน
ไขมันในอาหารช่วยให้อาหารมีรส กลิ่น และเนื้อสัมผัสที่ดี ทำให้อิ่มท้องนาน
ไขมันช่วยในการดูดซึมของวิตามินที่ละลายในไขมัน (fat soluble vitamins)
ไขมันให้พลังงานแก่ร่างกายที่สูงที่สุดคือ 9 แคลอรีต่อ 1 กรัมของไขมัน และไขมันเป็น
ไขมันช่วยปกป้องและกันความร้อน
ไขมันช่วยป้องกันการกระเทือนของอวัยวะภายในร่างกาย
ไขมันเป็นส่วนประกอบสำคัญของเนื้อเยื่อประสาท
ไขมันเป็นส่วนประกอบของร่างกาย ไขมันรวมกับโปรตีน
หน้าที่และความสำคัญ
ช่วยร่างกายทำลายสารพิษ โดยน้ำตาลกลูโคสจะเปลี่ยนเป็นกรดกลูคูโรนิก (glucuronic acid) ทำปฏิกิริยาร่วมกับตับ
สงวนคุณค่าของโปรตีนไว้ไม่ให้เผาผลาญเป็นพลังงาน
ให้พลังงานแก่ร่างกาย คาร์โบไฮเดรต 1 กรัมให้พลังงาน4 กิโลแคลอรี
จำเป็นต่อการเผาผลาญไขมันในร่างกายเป็นไปตามปกติ
คาร์โบไฮเดรตในรูปเส้นใยอาหารจะช่วยอุ้มน้ำและเพิ่มมวลอุจจาระให้การขับถ่ายปกติ
คาร์โบไฮเดรต
จัดเป็นสารอาหารหลักที่สำคัญในการให้พลังงานกลูโคสซึ่งจะถูกดูดซึมผ่านผนังลำไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือดและส่งไปยังเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกายและถูกเผาผลาญให้เป็นพลังงานต่อไป
จำแนกชนิดคาร์โบไฮเดรตตามขนาดโมเลกุล ออกเป็น 4 กลุ่ม
โมโนแซคคาไรด์ (monosaccharide) น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวและจัดเป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลเล็กที่สุด ร่างกายสามารถดูดซึมผ่านผนังลำไส้เล็กได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านการย่อย ชนิดที่พบมากที่สุด
ไดแซคคาไรด์ (disaccharide) เป็นคาร์โบไฮเดรตที่ประกอบด้วยโมโนแซ็กคาไรด์ 2 โมเลกุลเชื่อมต่อกัน
โอลิโกแซคคาไรด์ (oligosaccharide) เป็นคาร์โบไฮเดรตที่ประกอบด้วยโมโนแซคคาไรด์ตั้งแต่ 3-10 โมเลกุล
โพลีแซคคาไรด์ (polysaccharide) แป้ง (starch) พบได้ในพืช และไกลโคเจน (glycogen) พบในอาหารจำพวกเนื้อสัตว์และเครื่องในสัตว์
เกลือแร่
เป็นเกลือแร่ที่พบมากในร่างกาย เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกและฟันโดยช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรงควบคุมการทำงานของระบบประสาท กล้ามเนื้อ และหัวใจ
ผลิตภัณฑ์จากนม ผักใบเขียว เนื้อสัตว์ประเภทที่กินได้ทั้งกระดูก เช่น กุ้งแห้ง ปลาเล็กปลาน้อย
ฟอสฟอรัส
พบฟอสฟอรัสสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ต่างๆ นม และไข่
กระบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมัน เป็นส่วนประกอบของสารพลังงานสูง (ATP)
โพแทสเซียม
ช่วยรักษาสมดุลกรดด่าง ควบคุมสมดุลของน้ำ
กระตุ้นการส่งสัญญาณประสาทสำหรับการหดตัวของกล้ามเนื้อ ทำให้หัวใจเต้นเป็นปกติ
โซเดียม
รักษาสมดุลกรดด่าง ทำหน้าที่ร่วมกับโพแทสเซียมในการควบคุมสมดุลน้ำ เกี่ยวข้องกับการหดตัวของกล้ามเนื้อ
คลอไรด์
ทำหน้าที่รักษาสมดุลกรดและด่างในเลือด
พบมากที่สุดในอาหารจำพวกเนื้อสัตว์และในอาหารอื่นๆ
แมกนีเซียม
การหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อ พบแมกนีเซียมมากในผักสีเขียว เนื่องจากคลอโรฟิลล์จะมีแมกนีเซียมเป็นส่วนหนึ่งของโมเลกุล
กำมะถัน
สำคัญในการรักษาผม ผิว เล็บให้แข็งแรง และยังช่วยในการสร้างโปรตีนคอลลาเจน
โครเมียม
ความสำคัญในกระบวนการเผาผลาญกลูโคส ช่วยกระตุ้นการสังเคราะห์กรดไขมันและโคเลสเตอรอล
ทองแดง
เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญโปรตีนและผลิตกรดไรโบนิวคลีอิก(RNA)
สังกะสี
ส่วนสำคัญอย่างมากต่อระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยการหดตัวของกล้ามเนื้อ ควบคุมการทำงานของอินซูลิน
พบมากในอาหารทะเล โดยเฉพาะหอยนางรม ตับ ตับอ่อน เนื้อสัตว์ไข่
น้ำ
การเผาผลาญสารอหารทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน ร่างกายขับน้ำออกทางปัสสาวะ อุจจาระ การระเหยทางผิวหนังและทางระบบเดินหายใจ
ความต้องการน้ำของร่างกาย
ในแต่ละวันร่างกายสูญเสียน้ำประมาณ 1,450-2,800 มิลลิลิตร
การเผาผลาญสารอาหารตามปกติประมาณวันละ 200-300 มิลลิลิตร
ดื่มน้ำ ประมาณ 500-1,500 มิลลิลิตร
การคำนวณปริมาณและพลังงานจากสารอาหาร
ปริมาณของพลังงานที่จำเป็นในการรักษาความสมดุลของการใช้พลังงานเพื่อรักษาขนาดของร่างกายองค์ประกอบของร่างกาย
ปริมาณพลังงานที่ควรได้รับในแต่ละวัน
ปริมาณพลังงานที่ร่างกายควรได้รับจากการบริโภคอาหารต่อวันสำหรับคนทั่วไปที่ทำงานหนักปานกลาง คือ ประมาณ 2,000 กิโลแคลอรี
วิธีการคำนวณพลังงาน
ความต้องการพลังงานสำหรับเพศชาย นิยมคำนวณที่ค่า 31
ความต้องการพลังงานสำหรับเพศหญิง นิยมคำนวณที่ค่า 27
การคำนวณอาหารแลกเปลี่ยนและพลังงานจากอาหารแลกเปลี่ยน
อาหารแลกเปลี่ยนช่วยในการวางแผนการจัดรายการอาหารให้เหมาะสมกับสุขภาพและความต้องการของแต่ละบุคคล
โปรตีน
โปรตีนประกอบด้วยกรดอะมิโนหลายชนิดในโมโลกุล เรียงต่อกันด้วยพันธะเปปไทด์
การจำแนกชนิดของโปรตีน โปรตีนจำแนกตามคุณสมบัติทางโภชนาการ เป็น 2 ชนิด
โปรตีนสมบูรณ์ โปรตีนที่มีอยู่ในเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์
โปรตีนไม่สมบูรณ์ ส่วนใหญ่โปรตีนที่พบในพืชเป็นโปรตีนที่ไม่สมบูรณ์
หน้าที่และความสำคัญของโปรตีน
เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต
สร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อ
ช่วยรักษาดุลน้ำในเซลล์ และหลอดเลือด
ควบคุมการทำงานต่างๆ ของร่างกาย สร้างสารเคมีต่างๆในร่างกาย ได้แก่ฮอร์โมน สารภูมิคุ้มกัน
รักษาสมดุลกรดด่างของร่างกาย เนื่
ให้พลังงาน โปรตีน 1 กรัมให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี
วิตามิน
วิตามินเอ (vitamin A) มีชื่อทางเคมีว่า เรตินอล(retinol) มีหน้าที่สำคัญ
ช่วยในการมองเห็น
การเจริญเติบโตและการพัฒนาของกระดูก ฟัน
รักษาเซลล์เยื่อบุผิวและผิว
ระบบภูมิคุ้มกัน
ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ
วิตามินดี
ร่างกายได้รับวิตามินดีจากอาหาร ได้แก่ ปลาที่มีไขมันมาก ไข่ ตับ นมและเนย ตับสัตว์ และจากการสังเคราห์ที่ผิวหนัง
วิตามินดีช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสในเลือด
วิตามินอี
ป้องกันไม่ให้วิตามินเอ วิตามินซี และกรดไขมันไม่อิ่มตัวถูกออกซิไดซ์ได้ง่าย
ช่วยลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคหัวใจโดยการช่วยลดโคเลสเตอรอลในเลือด ระบบภูมิคุ้มกัน กระบวนการเผาผลาญสารอาหาร สร้างฮอร์โมน และสร้างเม็ดเลือดแดง
แหล่งอาหาร ถั่วเปลือกแข็ง เช่น อัลมอนต์ น้ำมันพืชต่างๆ
การขาด เกิดจากการได้รับวิตามินอีจากอาหารน้อย และความบกพร่องร่างกายในการดูดซึมไขมัน อาการขาดวิตามินอี คือ เม็ดเลือดแดงแตกง่าย อาจเกิดภาวะโลหิตจาง
วิตามินเค
หน้าที่เป็นโคเอนไซม์ในการแข็งตัวของเลือด
ร่างกายสามารถสังเคราะห์วิตามินเคได้จากจุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่
แหล่งอาหาร ได้แก่ ผักใบเขียว เช่น ผักโขม กะหล่ำปลี ผักกาดหอม ดอกกะหล่ำ ได้รับจากปลา ตับหมู ตับวัว ไข่
วิตามินซี
เกิดความผิดปกติของกระดูกและฟัน และทำให้มีอาการเลือดออกตามไรฟันได้ง่าย วิตามินซีช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก และทำหน้าที่สำคัญในการต้านอนุมูลอิสระ
แหล่งอาหาร ได้แก่ ผักต่างๆ เช่น บร็อคโคลี กะหล่ำดอก ผักใบเขียว มะเขือเทศ พริก ผลไม้ต่างๆ
วิตามินบี 1
ทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ในกระบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตเเละช่วยในการทำงานระบบประสาท
กายขาดวิตามินบี 1 จะทำให้เกิดโรคเหน็บชา
แหล่งอาหาร ได้แก่ พืชตระกูลถั่ว ข้าวไม่ขัดสี ธัญพืช เนื้อหมูเครื่องในสัตว์ ไข่ และนม
วิตามินบี 2
ทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต และการเปลี่ยนวิตามินบี 6 และช่วยรักษาสภาพเยื่อบุผิวให้เป็นปกติ
การขาดวิตามินบี 2 จะมีอาการแสดงทาง ริมฝีปาก ผิวหนัง และตา
วิตามินบี 6
ทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ในกระบวนการเผาผลาญโปรตีน
สังเคราะห์แอนติบอดี้
สร้างฮีโมโกลิน
ช่วยในการำงานของระบบประสาท
การขาดวิตามินบี 6 อาจเกิดจากการได้รับจากอาหารไม่พอ หรือดื่ม สุราเรื้อรัง พบอาการซึมเศร้า สับสน ชา และเป็นตะคริว
แหล่งอาหาร พบมากในเนื้อปลา ไข่ นม ตับ ถั่ว ธัญพืช และผักใบเขียว
ไบโอติน
มีบทบาทสำคัญในปฎิกิริยาของกรดไขมันและกรดอะมิโน
การขาดไบโอตินจะพบอาการบกพร่องทางระบบประสาท และพบอาการทางผิวหนัง
ไบโอตินมีในอาหารทั่วไป แหล่งอาหารที่พบมาก ได้แก่ ไข่ขาว ตับ และผักชนิดต่างๆ
วิตามินบี 12
มีส่วนสำคัญต่อการทำงานของเซลล์โดยเฉพาะไขกระดูก ระบบประสาทส่วนกลาง และระบบทางเดินอาหาร และสร้างเม็ดเลือดเเดง
การขาดวิตามินบี 12 จะเกิดภาวะโลหิตจาง ชนิดเม็ดเลือดแดงโตและบกพร่องางประสาท
วิตามินบี 12 ถูกสังเคราะห์โดยจุลินทรีย์ในอาหารประเภทเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ไม่พบในผัก ผลไม้
โฟเลท
ทำหน้าที่ช่วยในการสังเคราะห์กรดนิวคลีอิกซึ่งเป็นสารพันธุกรรม
มีส่วนสำคัญในการสร้างเซลล์
ขาดโฟเลตจะทำให้เป็นโรคโลหิตจางชนิดเม็ดโลหิตใหญ่
พบมากในอาหารที่มาจากพืช ได้แก่ ผักใบเขียวสด ผลไม้ ถั่ว