Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Antenatal Care การฝากครรภ์ (ข้อมูลทั่วไป (Data) (ประวัติมารดา…
Antenatal Care การฝากครรภ์
ข้อมูลทั่วไป (Data)
การตรวจครรภ์
การดู : ขนาดหน้าท้องสมมาตรกับอายุครรภ์ 2/4 มากกว่าสะดือ ขนาดมดลูกโตตามยาว
การคลำ : ใช้วิธีของ Leopold hand grip
Fundal grip : การคลำหาระดับยอดมดลูก ประมาณ 2/4 มากกว่าสะดือ
Pawlik’s grip : การหาส่วนนำของทารกได้ Vertex presentation
Bilateral inguinal grip : Head float
Umbilical grip : คลำหา Large part/Small part และทารกอยู่ในแนว Longitudinal lie
ประวัติการตั้งครรภ์
เคยตั้งครรภ์มาแล้ว 1 ครั้ง
ลูกคนแรก เพศชาย คลอดเมื่อวันที่ 30/11/2554 วิธีคลอด Normal labor น้ำแรกเกิด 3,500 กรัม ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ปัจจุบันแข็งแรงดี
ผลทางห้องปฏิบัติการ
ค่าโปรตีนในปัสสาวะมีค่า 3+
(30/03/2563)
CBC
Hb=12.7 % Hct.=39.5%
MCV=73.6 fL
(ภรรยา : 17/10/63)
Hb E screening
Positive (ภรรยา)
(17/10/2563)
Hb typing
Hb E trait (สามี)
Hb E trait (ภรรยา)
Positive (สามี)
(31/10/2563)
MCV=84.8 fL
(สามี : 31/10/63)
VDRL=negative HIV=negative HBsAg=negative (17/10/63)
ABO group : B RH : positive (17/10/63)
ประวัติมารดา
หญิงตั้งครรภ์ ชาวไทย อายุ 35 ปี G2P1001 GA 30 wks 3 days
LMP : 31 สิงหาคม 2562
EDC by date : 6 มิถุนายน 2563
ประวัติการผ่าตัด : ปฏิเสธ
ประวัติการการเจ็บป่วย : ปฏิเสธ
ประวัติการการแพ้ยา : ปฏิเสธ
ประวัติครอบครัว : ปฏิเสธ
ประวัติการฉีดวัคซีนบาดทะยัก : ฉีดไปแล้ว 2 เข็ม เมื่อวันที่ 23/01/2563 เหลืออีก 1 เข็ม
น้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์ 84.4 kg ส่วนสูง 165 cm BMI 31.02 kg/m2
น้ำหนักปัจจุบัน 98.2 kg ส่วนสูง 165 cm BMI 36.07 kg/m2
การตรวจร่างกาย Head to Toe
ศีรษะ : หนังศีรษะปกติ ไม่พบรอยแผล ไม่มีรังแค
ตา : ตาปกติ เยื่อบุตาสีชมพู ไม่ซีด ไม่เหลือง ตาไม่พร่ามัว
จมูก : จมูกสมมาตรกันดี ไม่มีปีกจมูกบาน
ช่องปากและฟัน : ช่องปากสะอาด ริมฝีปากชุ่มชื้น ไม่แห้ง ไม่มีฟันผุ
ลำคอ : ต่อมไทรอยด์และต่อมน้ำเหลืองปกติ ไม่บวมโต
เต้านม : เต้านมทั้งสองข้างสมมาตรกันดี หัวนมไม่สั้น ไม่บอด ไม่แบน ไม่บุ๋ม ไม่พบก้อนเนื้อ
แขนและมือ : ปกติ ไม่มีภาวะบวม ไม่มีรอยแผลเป็น
หน้าท้อง : พบ Striae gravidarum สีเงิน เห็น Linea nigra ชัดเจน ไม่มีรอยแผลเป็น
ขาและเท้า : มีภาวะบวม 2+ ไม่มีรอยแผลเป็น
BP 160/100 mmHg , Pulse 78 bpm
ผู้จัดทำ นศพต.เนติธร ใจงิ้วคำ ชั้นปีที่3 เลขที่ 30 วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ
Problem list
หญิงตั้งครรภ์มีภาวะไม่สุขสบายในไตรมาสที่ 3 ของการครรภ์
มีภาวะบวม 2+
การพยาบาล
แนะนำให้บริหารกล้ามเนื้อบริเวณขาและข้อเท้า เพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี
แนะนำให้หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสเค็ม
แนะนำให้นอนยกปลายเท้าสูงกว่าสะโพกหรือนอนตะแคงซ้าย เพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี
ให้สังเกตอาการผิดปกติ ถ้าบวมมากขึ้นเกินระดับหัวเข่า/บวมบริเวณหน้า ลำตัว ให้รีบมาพบแพทย์ทันที
แนะนำให้หลีกเลี่ยงการยืน/นั่งท่าเดียวนานๆและการนั่งไขว่ห้าง
ปวดศีรษะ
ค่าโปรตีนในปัสสาวะมีค่า 3+
(30/03/2563)
BP 160/100 mmHg
(30/03/63)
หญิงตั้งครรภ์มีภาวะ Severe preeclampsia
การรักษา
ป้องกันภาวะชัก
ให้ยา MgSO4 2 dose
does แรก (Loading dose)
ให้ยาเพื่อควบคุมการชักต่อไป (Maintanance dose)
การพยาบาลที่สำคัญ
ประเมินการหายใจ RR>14 bpm
ประเมิน Deep tendon reflex ต้อง> 1+
วัด BP Diastolic BP > 90 mmHg
ถ้าพบว่าหญิงตั้งครรภ์หยุดหายใจ ขณะฉีด MgSO4
1 more item...
record urine ต้องออกไม่น้อยกว่า 25 ml/hr
ให้ยา Hydralazine
2.ยุติการตั้งครรภ์โดยเร็ว
พิจารณาการคลอด
Caseนี้ อายุครรภ์อยู่ในช่วงระหว่าง 24-34 สัปดาห์ : ให้ Corticosteroid for fetal lung maturity จากนั้นหากไม่มีข้อห้ามในการ Expectant management ให้พิจารณา Expectant management จนถึง 34 สัปดาห์
หลักในการดูแลสตรีตั้งครรภ์ด้วย Expectant management
วัดความดันโลหิต และประเมินอาการปวดศีรษะ/ตามัว/จุกลิ้นปี่ ทุก 2-4 ชั่วโมง
บันทึก fluid intake/ urine output อย่างเข้มงวด
ให้ MgSO4 นาน 48 ชม. หากอาการของสตรีตั้งครรภ์คงที่ ไม่เกิด Severe feature ขึ้นอีก สามารถหยุด MgSO4 ได้
ตรวจติดตาม Lab: CBC c platelet, BUN/Cr, Electrolyte, AST/ALT อย่างน้อยสัปดาห์ละสองครั้ง แต่หากพบความผิดปกติ ควรตรวจซ้ำทุก 6-12 ชม หากดูแนวโน้มไม่ดีขึ้นภายใน 12 ชม ควรพิจารณาให้คลอด
ให้ Admit ตลอดการตั้งครรภ์ เพื่อเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนของมารดาและทารกอย่างใกล้ชิด
การติดตามสุขภาพทารกในครรภ์
1 more item...
ภาวะที่เป็นข้อห้ามในการดูแลด้วย Expectant management (พิจารณาให้คลอดทันทีโดยไม่คำนึงถึงอายุครรภ์หรือไม่ต้องรอให้ Corticosteroid ครบ course)
มีภาวะชัก (Eclampsia)
มีภาวะ Pulmonary edema ยังมีอาการปวดศีรษะ/ ตาพร่ามัว หรือจุกแน่นลิ้นปี่อยู่ตลอดเวลา
ความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ด้วยยา (Uncontrollable severe hypertension)
มีภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด (Abruptio placenta)
Non-reassuring fetal testing ได้แก่ Persistent abnormal fetal heart rate testing, น้ำหนักทารกน้อยกว่าเปอร์เซนไทล์ที่ 5 ของอายุครรภ์, Oligohydramnios หรือ Persistent absent or reversed diastolic flow on umbilical artery Doppler ในทารกที่มีภาวะ IUGR เดิม
มีภาวะไตวาย กล่าวคือ Serum Creatinine เพิ่มขึ้น 1 mg/dl จาก baseline เดิม หรือ Urine output < 0.5 ml/kg/hr นานอย่างน้อย 2 ชม ซึ่งไม่ตอบสนองต่อการให้ IV 500 ml ผ่านหลอดเลือด 2 เส้น
สัญญาณชีพของมารดาไม่คงที่ เช่น ช็อค
ผลเลือดผิดปกติที่แสดงถึง Preeclampsia with severe feature ได้แก่ AST/ALT > 2 เท่าของ upper normal limit, Thrombocytopenia (Plt < 100,000 cells/mcL) หรือ Coagulopathy
แนวทางการดูแลทารกในครรภ์
แนะนำให้ทำ Fetal surveillance ด้วย NST 2 ครั้ง/สัปดาห์ เริ่มตั้งแต่อายุครรภ์ 28-32 สัปดาห์
มีการตรวจ Ultrasonography เพื่อประเมินอายุครรภ์ที่แน่นอน เพราะมีความสำคัญในการตัดสินใจเลือกเวลาให้คลอด(4)โดยเฉพาะหากมีภาวะแทรกซ้อน เช่น Uncontrolled CHT หรือ Preeclampsia with severe feature
เฝ้าระวังภาวะทารกโตช้าในครรภ์ (Intrauterine growth restriction; IUGR) โดยเฉพาะในรายที่มีภาวะ Preeclampsia ด้วยการตรวจ Ultrasonography เพื่อประเมิน Fetal growth เริ่มที่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ และติดตามทุก 2-4 สัปดาห์
การพยาบาล
การพักผ่อน (bed rest) โดยนอนพักบนเตียงให้มากที่สุดและช่วยทำให้ลดความดันโลหิตโดยเฉพาะท่านอนตะแคงซ้ายจะเป็นประโยชน์ต่อทารกในครรภ์ช่วยให้เลือดไหลเวียนไปสู่มดลูกและรกเพิ่มมากขึ้น
จัดสภาพแวดล้อมให้สงบและลดการกระตุ้นผู้ป่วยทั้งจากแสง เสียง สัมผัส (Reduce sensory stimulation)
วางแผนการพยาบาลอย่างมีระบบจำกัดบุคลากรที่ให้การพยาบาลเท่าที่จำเป็น เพื่อลดการกระตุ้นจากภายนอก
วัดความดันโลหิต และ Deep tendon reflex ทุก 2-4 ชั่วโมง เพื่อประเมินความรุนแรงของโรค
ประเมิน Headache, visual disturbance, epigastric pain อาการคลื่นไส้หรืออาเจียน เพื่อประเมินความรุนแรงของโรค
เก็บ Urine Protein 24 ชั่วโมงตามแผนการรักษา เพื่อประเมินการทำงานของไต การวินิจฉัยโรคและให้การดูแลรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม
ประเมินและให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะของโรค แนวทางการดูแลรักษา อาการผิดปกติหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น และการปฏิบัติตัวในการดูแลตนเองและทารกในครรภ์เมื่อมีภาวะความดันโลหิตสูงในระยะคลอด
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก ติดตามความก้าวหน้าของการคลอด (Assess uterine contraction and signs of labor) และให้ข้อมูลความก้าวหน้าของการคลอดแก่ผู้ป่วย
ประเมินและติดตามอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ (Assess and Monitor Fetal Heart Rate) เพื่อเฝ้าระวังทารกในครรภ์ และให้การช่วยเหลือเมื่อเกิดภาวะผิดปกติได้อย่างทันท่วงที
ประเมินความเครียดหรือความวิตกกังวล (Assess stress or anxiety) ของผู้ป่วย และช่วยเหลือประคับประคองด้านจิตใจของผู้ป่วย เพื่อคลายความวิตกกังวลหรือความเครียดและส่งผลให้ความดันโลหิตลดลง
ลด Stress จากความเจ็บปวดในระยะคลอดที่ก่อให้เกิดความดันโลหิตสูง โดยแนะนำและฝึกวิธีการบรรเทาความเจ็บปวดในระยะคลอด เช่น การฝึกควบคุมการหายใจ การลูบหน้าท้องและการนวดผ่อนคลาย
ดูแลและช่วยเหลือผู้ป่วยในการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ
ดูแลและส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง (High protein dietary intake) เพื่อสร้างเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกายและทดแทนโปรตีนที่สูญเสียออกทางปัสสาวะ
ประเมินภาวะสมดุลของน้ำในร่างกายผู้ป่วย (fluid intake and output)
ประเมิน Level of conscious เพื่อประเมิน Magnesium sulfate toxicity ในรายที่ให้ MgSO4
ประเมินอาการบวม ความรุนแรง สิ่งที่ตรวจพบ ดังนี้ +1 บวมที่เท้าเล็กน้อย , +2 บวมที่เท้าและบริเวณใต้หัวเข่าลงมา , +3 บวมที่เท้า ขา ใบหน้า มือและก้นกบ , +4 บวมทั้งตัว
Notify
Elderly pregnancy
หญิงตั้งครรภ์ ชาวไทย อายุ 35 ปี
ทฤษฎี
นิยาม
"สตรีอายุมาก" (Advanced maternal age) ว่าหมายถึงสตรีตั้งครรภ์อายุ 35 ปีขึ้นไป
ผลต่อการตั้งครรภ์
ระยะก่อนการฝังตัว (Pre-conception)
ภาวะมีบุตรยาก (infertility)
ช่วงต้นของการตั้งครรภ์ (Early pregnancy)
การแท้งบุตร (Miscarriage)
การตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic pregnancy)
การตั้งครรภ์แฝด (Multiple gestation)
ผลต่อทารกในครรภ์
ความผิดปกติของยีน (Gene abnormalities)
ความผิดปกติแต่กำเนิด (Congenital anomalies)
ความผิดปกติของหัวใจ
ความผิดปกติอื่นๆ
hypospadias
craniosynostosis
esophageal atresia
ความผิดปกติของจำนวนโครโมโซม (Chromosome abnormality)
พบบ่อยที่สุดคือ autosomal trisomy ได้แก่ Down's syndrome
ผลต่อมารดาในการตั้งครรภ์
ความผิดปกติของรก (Placental problems)
Placental abruption
Placenta previa
การคลอดและการผ่าตัดคลอด (Labor & cesarean section)
Perinatal mortality
Fetal death
Neonatal death
Maternal mortality
ภาวะทุพพลภาพของมารดาและภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรม (Maternal morbidity & pregnancy-related complication)
การพยาบาล
ไตรมาส 1 และ 2
สตรีตั้งครรภ์ควรรับทราบความเสี่ยงของการเกิดทารกมีความผิดปกติของโครโมโซม (aneuploidy)
การค้นหาความผิดปกติ มี 2 วิธี
Invasive methods
การเจาะน้ำคร่ำหรือการเจาะชิ้นเนื้อรก
Non-invasive methods
การเจาะเลือดมารดาเพื่อตรวจหาระดับฮอร์โมน หรือการตรวจหาเซลล์จากทารก (Cell-free fetal DNA) ร่วมกับการอัลตราซาวด์ดูอวัยวะสำคัญในร่างกายของทารก
สตรีตั้งครรภ์อายุมาก โดยเฉพาะในรายที่มีน้ำหนักเกิน ควรได้รับการตรวจคัดกรองหาภาวะเบาหวาน(ก่อนการตั้งครรภ์หรือเบาหวานขณะตั้งครรภ์) ตั้งแต่ครั้งแรกที่มาฝากครรภ์ ควรให้ความรู้ในการปฏิบัติตัว และเฝ้าระวังการเกิดภาวะเบาหวานและความดันโลหิตสูงตลอดการตั้งครรภ์
สตรีตั้งครรภ์ควรได้รับการตรวจอัลตราซาวด์อย่างละเอียดในช่วงไตรมาส 2 เพื่อค้นหาความผิดปกติของอวัยวะสำคัญของทารก โดยเฉพาะหัวใจ
ไตรมาส 3
การประเมินสุขภาพทารกในครรภ์
สตรีตั้งครรภ์ควรได้รับการอัลตราซาวด์ในช่วงอายุครรภ์ 38-39 สัปดาห์เพื่อประเมินปริมาณน้ำคร่ำ และควรทำ antepartum testing สัปดาห์ละ 2 ครั้ง โดยทำสลับกันระหว่าง nonstress test และ biophysical profile (BPP) ร่วมกับการนับลูกดิ้น เน้นความสำคัญของการนับลูกดิ้นว่าเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินสุขภาพทารกในครรภ์ หากการทดสอบอย่างใดอย่างหนึ่งผิดปกติ อาจทำการทดสอบอื่นเสริมหรือพิจารณาชักนำการคลอดทันทีหากสามารถทำได้
การชักนำการคลอด
การดูแลระยะคลอด
การชักนำการคลอดทำได้ตามปกติ โดยเฝ้าระวังเป็นพิเศษในกรณีที่สตรีตั้งครรภ์มีโรคร่วม เช่น ความดันโลหิตสูงหรือเบาหวาน
เฝ้าระวังภาวะคลอดติดขัด และอาจต้องเตรียมความพร้อมในการพิจารณาผ่าตัดคลอดในรายที่ไม่สามารถคลอดได้
การดูแลหลังคลอด
เฝ้าระวังเป็นพิเศษในกรณีที่สตรีตั้งครรภ์มีโรคร่วมและให้การดูแลรักษาตามภาวะเหล่านั้น
วางแผนการตั้งครรภ์ครั้งต่อไปหรือการคุมกำเนิด โดยต้องพิจารณาจากน้ำหนัก เชื้อชาติ และโรคร่วมต่างๆ
Obesity
BMI 31.02 kg/m2
(17/10/62)
ตรวจคัดกรองเบาหวานด้วย BS 50 gm ผลได้ 132 gm (17/10/62)
ถ้าตรวจคัดกรองเบาหวานอีกทีเมื่อ GA 24 wks ด้วย BS 50 gm ผลได้ 117 gm (20/02/63)
ปกติ
หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงต่อภาวะเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ (GDM)
การพยาบาลในระยะตั้งครรภ์
ดูแลให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
อธิบายให้หญิงตั้งครรภ์เข้าใจถึงความสำคัญและความจำเป็นในการมารับบริการฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
ประเมินสภาพของหญิงตั้งครรภ์ทุกครั้งที่มาฝากครรภ์เกี่ยวกับการตรวจหาน้ำตาลในเลือดและคีโตนในปัสสาวะ
ติดตามการเจริญเติบโตและภาวะสุขภาพของทารกในครรภ์ รวมทั้งเตรียมตรวจและติดตามผลการตรวจพิเศษต่างๆ
ดูแลให้หญิงตั้งครรภ์ปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องและควบคุมความเสี่ยงที่จะเกิดโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ควบคุมอาหาร โดยปกติควรได้รับพลังงานอย่างน้อย 2,200 แคลลอรี หรือประมาน 30-35 กิโลแคลลอรี/กิโลกรัม มีสัดส่วนเป็นพลังงานจากคาร์โบไฮเดรต 50% โปรตีน 20% ไขมัน 30% ควรให้วิตามิน แร่ธาตุและอาหารเสริมตามความต้องการของหญิงตั้งครรภ์ รวมทั้งหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสหวานจัด อาหารมัน รสจัด และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
ควบคุมน้ำหนัก โดยควบคุมน้ำหนักให้เพิ่มขึ้นทั้งหมดประมาณ 11-12 กิโลกรัม และไม่ควรลดน้ำหนักเอง ควรปรึกษาแพทย์
ตรวจหาน้ำตาลและคีโตนในปัสสาวะ โยในเฉพาะไตรมาส 3 มักพบคีโตนในปัสสาวะได้ง่าย รวมทั้งการปฏิบัติตัวเมื่อพบความผอดปกติ เพื่อช่วยให้การควบคุมโรคได้ผลดีและรวดเร็ว
การพักผ่อนและการออกกำลังกาย ควรได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 20-45 นาที สัปดาห์ละประมาณ 3 ครั้ง เพื่อช่วยให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้น ส่งเสิมการเผาผลาญและนำกลูโคสไปใช้ให้มากขึ้น
การรักษาความสะอาดของร่างกายละอวัยวะสืบพันธุ์ ควรดูแลให้สะอาดอยู่เสมอ เนื่องจากอาเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย
การป้องกันอันตรายและอุบัติเหตุ ควรระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุโดยเฉพาะที่อวัยวะส่วนปลาย
การสังเกตภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้แก่ การติดเชื้อ UTI ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว คลื่นไส้อาเจียนรุนแรง มีเลือดออกทางช่องคลอด หรือเจ็บครรภ์คลอด รวมทั้งภาวะ Hypogiycemia ให้รับประทานของหวานหรือดื่มน้ำตาลทันทีและภาวะ Hyperglycamia
สังเกตความผิดปกติของทารกในครรภ์ ควรนับจำนวนลูกดิ้นทุกวัน ถ้าดิ้นน้อยหรือดิ้นแรงผิดปกติให้รีบมาพบแพทย์ทันที
ดูแลให้หญิงตั้งครรภ์คลายความวิตกกังวลและให้ความร่วมมือในการรักษาพยาบาล โดยอธิบายให้หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวให้ทราบถึงขั้นตอนการดูแลรักษาต่างๆ
ทฤษฎี
ความหมาย
ภาวะอ้วนเป็นภาวะที่พบบ่อยในหญิงตั้งครรภ์ มี BMI >= 30 kg/m2
น้ำหนักตัวที่เหมาะสมที่ควรเพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์จะเพิ่มขึ้นประมาณ 2-3 kg ตลอดทั้งไตรมาสแรกและจะเพิ่มเร็วขึ้นในช่วงไตรมาส 2-3 คือจะเพิ่มขึ้นประมาณ 2 kg/month หรือ ประมาณ 0.5-1 kg/wk
ผลต่อการตั้งครรภ์
ภาวะแท้ง (Pregnancy loss)
ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ (Antepartum complication)
ความดันโลหิตสูงและภาวะครรภ์เป็นพิษ
การทำงานของระบบหัวใจผิดปกติ
เบาหวานขณะตั้งครรภ์
ภาวะโปรตีนรั่วในปัสสาวะ
ความผิดปกติของการคลอด
ภาะไขมันพอกตับชนิดที่ไม่สัมพันธ์กับแอลกอฮอล์
ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ
ภาวะแทรกซ้อนระหว่างช่วงเจ็บครรภ์คลอด (Intrapartum complication)
ภาวะล้มเหลวจากการให้คลอดบุตรทางช่องคลอด
ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
การคลอดบุตรด้วยการผ่าตัดทางหน้าท้อง
แผลฉีกขาดหรือแผลแยก และเส้นเลือดดำอุดตัน
ภาวะแทรกซ้อนหลังคลอดและผลกระทบระยะยาว (Postpartum complication and long term outcome)
เพิ่มความเสี่ยงในกลุ่มโรคของเมตาบอลิก มีน้ำหนักเกินกว่าปกติก่อนการตั้งครรภ์ต่อไปในอนาคต
ภาวะซีดหลังคลอด
ภาวะซึมเศร้า
ภาวะแทรกซ้อนของทารกและเด็กที่คลอดจากมารดาที่มีภาวะอ้วนในขณะตั้งครรภ์ (Fetal complications and childhood morbidities)
เพิ่มความเสี่ยงแก่ทารกตัวโตมากกว่าปกติและมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ
การดูแลรักษาผู้ป่วยก่อนคลอดและระหว่างตั้งครรภ์
ควรมีการดูแลควบคุมน้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นรักษาด้วยการผ่าตัดหรือวิธีอื่นๆ ซึ่งพบว่าการลดน้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์เพียงเล็กน้อยก็จะช่วยเพิ่มผลลัพธ์ที่ดีของการตั้งครรภ์
ไม่แนะนำให้ใช้ยาเพื่อควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากอาจมีผลต่อความปลอดภัยและผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในช่วงก่อนและระหว่างตั้งครรภ์
การใช้ยาที่มีผลยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ของตับอ่อน ซึ่งจะลดการดูดซึมของไขมันบริเวณที่ลำไส้เล็ก
การใช้ยาเมทฟอร์มิน (Metformin) ที่ช่วยในการลดการสร้างน้ำตาลที่ตับ และมีผลในการลดน้ำหนักได้
ไม่แนะนำให้ใช้ยาเพื่อควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากอาจมีผลต่อความปลอดภัยและผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในช่วงก่อนและระหว่างตั้งครรภ์
การควบคุมน้ำหนักในช่วงระหว่างตั้งครรภ์สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์ปกติและภาวะอ้วน
การประเมิน BMI ชั่งน้ำหนัก
ควรประเมินจากระดับ BMI ก่อนการตั้งครรภ์ หากหญิงตั้งครรภ์มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ปกติ (BMI 25-29.9) นำหนักที่ควรเพิ่มทั้งหมดขณะตั้งครรภ์ 6.8-11.3 kg ไม่ควรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว >2.9 kg/month
ชั่งน้ำหนักและบันทึกความเปลี่ยนแปลงทุกสัปดาห์ เพื่อประเมินค่า BMI
อาหาร
โปรตีน ได้จากเนื้อสัตว์ทุกประเภท รวมทั้งไข่และถั่วต่างๆ ซึ่งจะช่วยสร้างเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย
แคลเซียม ได้จากอาหารประเภท นม งา แนะนำให้ดื่มนมสดอย่างน้อยวันละ 500 ml
วิตามิน เกลือแร่ มีในผัก ผลไม้ ช่วยให้ผิวพรรณสดชื่น และระบบขับถ่ายดีขึ้น
แป้ง น้ำตาล และไขมัน อาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย ให้รับประทานในปริมาณพอดีไม่ควรมากเกินไป
ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว
งดกาแฟ รวมทั้งเครื่องดื่มชูกำลัง
งดดื่มเครื่องแอลกอฮอล์ทุกชนิด งดสูบบุหรี่ เนื่องจากทำให้เกิดความพิการต่อทารกในครรภ์
การออกกำลังกาย
แนะนำการเดิน ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิค โยคะ ระมัดระวังอุบัติเหตุที่เกิดอันตรายต่อหน้าท้อง หากรู้สึกเหนื่อยให้หยุดกิจกรรมทันที
ผลกระทบต่อทารก
Congenital malformation
ทารกตายระหว่างคลอดและหลังคลอด
ทารกมีโอกาสเป็นเบาหวาน
ทารกมีขนาดใหญ่ (Large-for-gestational age fetus)
ทารกมีน้ำหนักน้อย (Small-for-gestational age fetus)
Pregnancy with Myoma
พบ Intramural myoma at posterior uterus size 3.8 cm
ทฤษฎี
ความหมาย
เป็นเนื้องอกของกล้ามเนื้อเรียบซึ่งพบได้ในอวัยวะทั่วร่างกายที่มีกล้ามเนื้อเรียบ ในอุ้งเชิงกรานตำแหน่งที่พบได้มากที่สุดคือ ตัวมดลูก (uterine corpus) บางครั้งอาจพบที่ปากมดลูก,ท่อนำไข่หรือ round ligament ได้
อุบัติการณ์
พบบ่อยที่สุดทางนรีเวช และยังเป็นเนื้องอกของมดลูกที่พบบ่อยที่สุดอุบัติการณ์สูงสุดในช่วง 40-50 ปี พบบ่อยในสตรีที่ยังไม่เคยตั้งครรภ์ (nullipara) อุบัติการณ์แน่นอนของโรคนี้ไม่ทราบ ประมาณว่า 20-25 % ของสตรีอายุมากกว่า 35 ปี มีเนื้องอกชนิดนี้อยู่ พบเนื้องอกนี้ในคนผิวดำมากกว่าผิวขาว 3-4 เท่า
สาเหตุ
สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบ เนื้องอกของกล้ามเนื้อมดลูกแต่ละก้อนมีต้นกำเนิดมาจากเซลล์กล้ามเนื้อมดลูกเพียงหนึ่งเซลล์ (monoclonal) พบประวัติเนื้องอกชนิดนี้ในครอบครัวได้บ่อย เนื้องอกโตขึ้นได้บ่อยในสตรีตั้งครรภ์และในสตรีที่รับประทานยาคุมกำเนิดชนิดที่มีเอสโตรเจนขนาดสูง ความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ลดลงในสตรีที่มีบุตรหลายคน สูบบุหรี่ ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นในสตรีที่ไม่เคยมีบุตร อ้วน
อาการและอาการแสดง
เลือดออกผิดปกติ
อาการจากการกดเบียด (Pressure symptoms)
อาการปวดท้องหรือถ่วง ๆ ในอุ้งเชิงกราน หรือ dyspareunia
Twisted pedunculated subserous leiomyoma
degeneration โดยเฉพาะอย่างยิ่ง carneous หรือ red degeneration
อาการปวดระดู (dysmenorrheal)
การติดเชื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง prolapsed pedunculated submucous type
การรักษา
ขึ้นกับ อายุ parity ความต้องการบุตร สุขภาพทั่วไปของผู้ป่วย ขนาดและตำแหน่งของเนื้องอก
การใช้ยารักษา
GnRH agonist
การผ่าตัด
พิจารณาในรายที่มีอาการผิดปกติ
เลือดระดูออกมากผิดปกติจนเกิดภาวะเลือดจาง
มีอาการเนื้องอกกดเบียดอวัยวะข้างเคียง เช่น มี obstructive uropathy
มีอาการปวดท้องหรือปวดระดูมากอย่างเรื้อรัง
ก้อนโตเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสตรีวัยหลังหมดระดู เพราะมีโอกาสเป็นมะเร็งได้
Pedunculated subserous leiomyoma เพราะอาจมี complication ขึ้น
ไม่แน่ใจการวินิจฉัย เช่น ไม่สามารถแยกจากเนื้องอกรังไข่ได้
มีพยาธิสภาพอื่น ๆ ในช่องเชิงกรานร่วมด้วย ซึ่งจำเป็นต้องผ่าตัด
ประวัติมีบุตรยาก หรือแท้งเป็นอาจิณที่ตรวจไม่พบสาเหตุอื่น ๆ
Expectant Therapy