Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
CANCER (Lymphoma มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (การแบ่งระยะของ Hodgkin's…
CANCER
Leukemia
มะเร็งเม็ดเลือดขาว
เป็นโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดถึง1ใน3ของมะเร็งในเด็ก
สาเหตุ
การได้รับรังสีเป็นจำนวนมาก เช่น ระเบิดปรมาณู การได้รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ยังต้องรอการศึกษายืนยัน ทางพันธุกรรม เช่น เด็ก Down’ syndrome ผู้ที่ทำงานสัมผัสสารเคมี เช่น benzene
พยาธิสรีรวิทยา
เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวก่อกำเนิดมาจากเซลล์ต้นกำเนิด (Stem cell) ในไขกระดูก เมื่อเม็ดเลือดขาวซึ่งเป็นตัวอ่อน (Blast cell) เกิดขึ้นกผ้จะถูกาส่งออกไปสู่กระแสเลือดไปสะสมอยู่ในอวัยวะหรือเนื้อเยื่อของร่างกาย ผลจากการที่มีการสร้างเซลล์ตัวอ่อนของเม็ดเลือดขาวจำนวนมากนี้ จะส่งผลให้การทำงานของไขกระดูกผิดปกติไปคือ มีการสร้างเม็ดเลือดแดงลดลง
อาการทางคลินิก
1.ซีด จาการที่ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงน้อย ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว
2.เลือดออกจากการที่ไขกระดูกสร้างเกล็ดเลือดลดลง
3.ติดเชื้อ เช่น มีไข้ หรือแผลติดเชื้อจากการที่ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดขาวลดลง
4.ตับโต ม้ามโต ต่อมน้ำเหลืองโตและปวดกระดูก
5.มีอาการทางระบบประสาท เช่น ปวดศีรษะ
6.น้ำหนัดลด เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน
การรักษา
1.การรักษาจำเพาะ
1.4.ระยะการรักษาเพื่อให้โรคสงบตลอดไป
1.3.ระยะการป้องกันการเกิดมะเร็งที่ระบบประสาทส่วนกลาง
1.2.ระยะให้การรักษาแบบเข้ม
1.1.ระยะชักนำให้โรคสงบ
2.การรักษาแบบประคับประคอง
คือรักษาตามอาการ ในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดและรังสีรักษาจะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาได้มาก
3.การเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก
เป็นการรักษาทางโลหิตวิทยา โดยใช้วิธีฉายรังสีทั่วตัวร่วมกับการให้ยาต้านมะเร็งในขนาดสูง แล้วนำไขกระดูกที่ได้มาจากผู้บริจาคให้แก่เด็กป่วยทางหลอดเลือดดำ
ความหมาย
มะเร็งเม็ดเลือดขาวคือโรคมะเร็งของระบบโลหิต ซึ่งมีการแบ่งตัวของเม็ดเลือดขาวผิดปกติ ทำให้เกิดมีจำนวนเม็ดเลือดขาวมาก ลักษณะของเม็ดเลือดขาวส่วนใหญ่เป็นเม็ดเลือดขาวตัวอ่อนซึ่งไม่เจริญเต็มที่เซลล์มะเร็งเหล่านี้จะไปอยู่ตามอวัยวะต่างๆทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร และมีภูมิคุ้มกันต่ำ เนื่องจากเซลล์ไม่สามารถทไงานได้เหมือนเซลล์ทั่วไป
Lymphoma
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
ความหมาย
มะเร็งที่เกิดจากการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดเลือดขาวชนิด lymphocyte ในระบบน้ำเหลือง (lymphatic system) ซึ่งเป็นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ต่อมน้ำเหลืองโตเร็วมาก โดยไม่มีอาการเจ็บปวด
พบมากเป็นอันดับ 3 รองจากมะเร็งเม็ดเลือดขาวและเนื้องอกในสมอง
สาเหตุ
ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่าการติดเชื้อ Mononucleosis และ Epstien-Barr virus (EBV) เด็กระบบอิมมูนบกพร่องมาแต่กำเนิด การได้รับรังสี การได้รับยากดระบบอิมมูนมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคนี้
พยาธิสรีรวิทยา
HL:
เป็นเนื้องอกของ Lymphoid Tissue เกิดจากเซลล์ที่เรียกว่า Reed-Sternberg Cell ซึ่งมีลักษณะเป็นเซลล์ขนาดใหญ่ มีนิวเคลียสหลายอัน ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรคมะเร็งชนิดนี้ การเกิดโรคอาจจะเกิดที่ Lymphoid Tissue ในต่อมน้ำเหลือง
NHL:
เกิดจากความผิดปกติของการแบ่งตัวของทั้ง B-Lymphocyte และ T-Lymphocyte ทำให้ต่อมน้ำเหลืองโตขึ้น มะเร็งชนิดนี้มีลักษณะเฉพาะคือ โรคมักจะแพร่แบบกระจาย (diffuse) มากกว่าแพร่แบบก้อน (nodular)
ลักษณะอาการทางคลินิก
HL:
มักมาด้วยอาการต่อมน้ำเหลืองที่คอโตมาเป็นปี ระยะแรกต่อมจะโตทีละต่อม มักพบเป็นซีกเดรยวของร่างกาย ลักษณะต่อมน้ำเหลืองที่โตแข็งเหมือนยางลบ กดไม่เจ็บ และเคลื่อนได้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลก อ่อนเพลีย ตับ ม้ามโต มีไข้ เหงื่อออกมาก
NHL:
มักมาด้วยเริ่มมีก้อนโตบริเวณช่องท้องอย่างรวดเร็ว อาการจะคล้ายกับ HL แต่เนื่องจากโรคนี้มีการดำเนินโรคเร็ว และมีการแพร่กระจายมาก โดยเฉพาะผู้ที่มีการกระจายไปยังระบบประสาทส่วนกลาง
การแบ่งระยะของ Hodgkin's Lymphoma : HL
ระยะที่1
รอยโรคจะเกิดกับต่อมน้ำเหลืองต่อมเดียว
ระยะที่2
พบรอยโรคที่ต่อมน้ำเหลือง 2ต่อมหรือมากกว่า 2ต่อมขึ้นไป
ระยะที่3
พบรอยโรคที่ต่อมน้ำเหลืองทั้ง 2 ด้านของกระบังลมหรือพบมี่อวัยวะนอกต่อมน้ำเหลือง 1 แห่งหรือพบทั้ง2ลักษณะที่กล่าวมา
ระยะที่4
มีการแพร่กระจายของโรคไปทั่วร่างกายหรือพบในอวัยวะอื่นๆ โดยอาจมีต่อมน้ำเหลืองโตหรือไม่ก็ได้
การรักษา
HL:
นิยมใช้รังสีรักษาหรือเคมีบำบัด หรือรักษาโดยใช้รังสีรักษาร่วมกับเคมีบำบัด จุดมุ่งหมายเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งให้มากที่สุด
NHL:
ใช้ยาเคมีบำบัดเป็นหลัก โดยใช้ยาเคมีบำบัดหลายชนิดร่วมกัน นอกจากนี้ควรมีการรักษาแบบประคับประคองเช่นเดียวกับการรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาว
Wilm’s tumor /
Nephroblasyoma /
Renal embryoma
มะเร็งไต
ความหมาย
มะเร็งของเนื้อเยื่อเริ่มแรกหรือต้นกำเนิดโรคในเนื้อไตที่ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ตามปกติ โดยพบมีความผิดปกติของโครโมโซม
สาเหตุ
ส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน เชื่อว่ามีสาเหตุจากกรรมพันธุ์ พบในพี่น้องท้องเดียวกัน พบในคู่แฝดประมาณ 15-20%
พยาธิสรีรวิทยา
มะเร็งที่ไตหรือเนื้องอกที่ไตเป็นเนื้องอกที่มีขนาดใหญ่ มีเปลือกหุ้มชัดเจน อาจเกิดตรงกลางของไตแล้วลามออกไปทั่วไตหรืออกไปนอกไต ถ้าลุกลามไปส่วนของอุ้งเชิงกรานอาจกระจายไปต่อมน้ำเหลือง
ลักษณะอาการทางคลินิก
1.มีก้อนในช่องท้อง มีขอบเขต ลักษณะก้อนเรียบ ไม่เคลื่อนไหวตามจังหวะหายใจ กดไม่เจ็บ
2.ปัสสาวะเป็นเลือดสด (microscopic hematuria)
3.มักมีความดันโลหิตสูง อาการไม่รุนแรง เชื่อว่าเกิดจากการหลั่ง rennin เพิ่มขึ้นจากก้อนมะเร็ง
4.อาการซีดอาจเกิดภายหลังจากที่มีเลือดออกในก้อนมะเร็ง
5.อาการอื่นๆ เช่น ปวดท้อง เบื่ออาหาร ซึม อ่อนเพลีย
6.มีอาการแพร่กระจายของโรคไปที่ปอดเช่น ไอ เหนื่อย หายใจลำบาก
7.อาจพบความผิดปกติอื่นๆร่วมด้วย เช่น มีไตเป็นรูปเกือกม้า
การแบ่งระยะของมะเร็งไต
ระยะที่1
มะเร็งมีขอบเขตจำกัดอยู่ที่ไต ยังไม่กระจายออก และผ่าตัดออกได้หมด
ระยะที่2
มะเร็งกระจายออกนอกไต และสามารถผ่าตัดออกได้หมด
ระยะที่3
มะเร็งกระจายออกนอกไต ไปบริเวณช่องท้อง แต่ยังไม่กระจายไปตามกระแสเลือด
ระยะที่4
มะเร็งกระจายไปตามกระแสเลือด ไปยังอวัยวะที่อยู่ไกลออกไป มักไปที่ปอด รองลงมาคือ ตับ สอมง กระดูก ต่อมน้ำเหลือง
ระยะที่5
พบโรคที่ไตทั้งสองข้าง
การรักษา
1.การรักษาโดยการผ่าตัด
2.การรักษาด้วยรังสี
3.การรักษาด้วยเคมีบำบัด
Brain tumor
เนื้องอกในสมอง
ความหมาย
ภาวะที่มีเนื้องอกของสมองหรือระบบประสาท (sentral nervous system : CNS) ซึ่งเกิดจากเซลล์ในระบบประสาทที่แบ่งตัวผิดปกติหรืออาจเกิดจากเซลล์มะเร็งนอกระบบประสาทกระจายออกมาสู่ระบบประสาท
สาเหตุ
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของโรค แต่พบว่าอาจะมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
1.ปัจจัยสิ่งแวดล้อม ได้แก่การได้รับการฉายรังสี การที่ร่างกายภูมิต้านทานบกพร่อง เช่น ติดเชื้อ HIV
2.ปัจจัยพันธุกรรม เกิดจากความผิดปกติของยีนซึ่งอาจพบได้ในโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม
3.ปัจจัยร่วมสิ่งแวดล้อมและพันธุกรรม เช่น การบริโภคสารอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ทำให้สามารถลดความสามารถในก่อเกิดสารก่อมะเร็งของสารเคมีที่ปนเปื้อนได้
ลักษณะอาการทางคลินิก
1.อาการที่เกิดจากเนื้องอกสมองไปรบกวนการทำงานที่ปกติของสมองเฉพาะจุด เช่น ชัก กระตุก หรือเกร็ง ปวดศรีษะ คลื่นไส้ อาเจียน
2.อาการที่เกิดจากเนื้องอกสมองรบกวนการทำงานของสมองทั้งสองซีก
3.อาการที่เกิดจากการไหลเวียนของน้ำในสมองผิดปกติ
4.อาการเฉพาะในเด็กเล็กที่กระหม่อมยังไม่ปิด อาจทำให้ขนาดศีรษะโตกว่าเด็กปกติและพัฒนาการล่าช้า
การแบ่งโดยใช้กลไกการปรับตัวของสมอง
1.อาการและอาการแสดงที่เกิดขึ้นกับสมองแบบค่อยเป็นค่อยไป เช่น อาการตาเหล่ อาการเดินเซ เป็นต้น
2.อาการและอาการแสดงที่เกิดขึ้นกับสมองแบบทันทีทันใด เช่น อาการชักบ่อยๆ ซึมลงรวดเร็ว เป็นต้น
ในกลุ่มอาการที่เกิดแบบทันทีทันใดบ่งบอกว่าสมองไม่สามารถปรับตัวกับพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที ผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องได้รับการรักษาเบื้องต้นอย่างถูกต้องและรวดเร็ว
การรักษา
1.การผ่าตัด รักษาภาวะความในกระโหลกศีรษะที่สูงจากภาวะน้ำในสมองอุดตันฉับพลัน
2.การฉายแสง ผู้ป่วยที่อายุนอ้ยกว่า 3ขวบ ไม่แนะนำให้ฉายแสงเนื่องจากเป็นช่วงที่สมองกำลังเจริญเติบโตและผลข้างเคียงที่อาจเกิดการฉายแสงในระยะยาว
3.การให้ยาต้านเนื้องอก ได้แก่ ยาเคมีบำบัด ยาต้านการเจริญเติบโตของเส้นเลือด Immunotherapy
4.การให้ยากันชักในผู้ป่วยเนื้องอกสมอง
Neuroblastoma นิวโรบลาสโตมา
ความหมาย
เนื้องอกชนิดร้ายแรงในช่องท้อง ที่มีเซลล์ต้นกำเนิดมาจาก neuroblast cell/ neural crest cell แล้วพัฒนาเป็นระบบประสาท sympathetic ganglia
สาเหตุ
ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่พบว่ามีความสัมพันธ์กับความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 1,17
ตำแหน่งที่พบ
ตำแหน่งใดก็ได้ โดยมักพบตามแนว sympathetic nervous system เช่น ต่อมหมวกไต พบร้อยละ 30-40 รองลงมาคือในทรวงอกและลำคอ
พยาธิสรีรวิทยา
การที่มะเร็งเนื้อเยื่อ / ระบบประสาท เกิดขึ้นใน Neural Crest ซึ่งกลายไปเป็นต่อมอดรีนอล เมดดัลลา ประสาทซิมพาเธติก จึงพบว่าผู้ป่วยมาด้วยก้อนเนื้องอกที่ต่อมอดรีนอล พบในก้อนในท้อง หรือพบก้อนในบริเวณส่วนกลางของลำตัว
ลักษณะอาการทางคลินิก
1.พบมีก้อนในท้อง
2.อาการทางคลินิกของการที่ก้อนกดอวัยวะต่างๆ เช่น ก้อนกดไต กระเพาะปัสสวะ และท่อนำปัสสวะ ก็ทำให้เกิดการปัสสาวะบ่อย ไอ หายใจลำบาก
3.ถ้ามีการแพร่กระจายของมะเร็ง ก็อาจทำให้เกิดตาโปน มีรอยช้ำรอบๆ ตา ปวดกระดูก
4.เบื่ออหาร นเำหนักลด ซีด อ่อนเพลีย
5.หายใจเร็ว หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง
การแบ่งระยะของมะเร็งต่อมหมวกไต
ระยะที่1
ก้อนเนื้อร้ายจะอยู่เฉพาะอวัยวะหรือโครงสร้างของแหล่งกำเนิด
ระยะที่2
ก้อนเนื้อร้ายจะเริ่มแผ่ขยายออกมาจากอวัยวะที่เป็นแหล่งกำเนิดแต่ไม่ข้ามเส้นแบ่งกลางลำตัว
ระยะที่3
ก้อนเนื้อร้ายจะแผ่ขยายข้ามเส้นแบ่งกลางลำตัว
ระยะที่4
เซลล์เนื้อร้ายไปเกิดยังต่อมน้ำเหลือง กระดูก ไขกระดูก
ระยะที่5
ก้อนเนื้อร้ายอาจอยู่ในระยะที่ 1-2 แต่มีการแพร่กระจายไปยังตับ ผิวหนัง ไขกระดูก ซึ่งจะปรากฏมากในเด็กอายุต่ำกว่า1ปี
การรักษา
1.การผ่าตัดทำได้ในระยะที่ 1-2 ถ้าผ่าตัดหมดหรอืถ้าไม่แน่ใจว่าหมดมักใช้รังษีรักษาร่วมกับเคมีบำบัด
2.รังสีรักษา เนื้องอกชนิดนี้ไวต่ออาการรักษาด้วยรังสียกเว้นผู้ป่วยในระยะที่1 ซึ่งสามารถผ่าตัดออกได้หมด
3.เคมีบำบัด มักจะใช้รักษาร่วมกับการผ่าตัดหรือรังสีรักษา
4.การรักษาด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูก
นาย สมศักดิ์ อยู่เย็นดี 012 เลขที่ 10
นางสาว ปภาวรินท์ อ่อนฉ่ำ 115 เลขที่ 106