Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ที่มีภาวะวิตกกังวล (ความวิตกกังวลระดับต่ำ (mild anxiety)…
การพยาบาลผู้ที่มีภาวะวิตกกังวล
ความวิตกกังวลระดับต่ำ (mild anxiety)
สถานการณ์
นักศึกษา ก รู้สึกกังวล เนื่องอีกหนึ่งอาทิตย์จะเป็นการสอบปลายภาควิชาผดุงครรภ์ และในการสอบกลางภาควิชาผดุงครรภ์ นักศึกษา ก สอบตก และกลัวว่าตนเองจะสอบตกอีก
เหตุผล
เพราะว่าการสอบเป็นสิ่งที่เราต้องพบเจออยู่ในชีวิตประจำวัน ถ้าหากยังเป็นนักศึกษา และการที่นักศึกษากังลงใจกลัวจะสอบตก จะเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้นักศึกษาปรับตัวและรับมือกับการสอบ เพื่อที่จะไม่ได้สอบตกอีก จึงทำให้กรณีศึกษานี้มี ความวิตกกังวลระดับต่ำ (mild anxiety)
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินความวิตกกังวล โดยการสัมภาษณ์ สังเกตอาการอาการแสดง หรือการใช้แบบประเมิน
2.ประเมินหรือคาดการณ์สถานการณ์ที่ทําให้เกิดความมวิตกกังวล เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความวิตกกังวลมีความรุนแรงมากขึ้น
3.เปิดโอกาสให้ระบายความรู้สึก เพื่อให้นักศึกษาลดความวิตกวังกล
4.แนะนำเทคนิคการอ่านหนังสือ หรือแนะนำให้เพื่อนช่วยติวให้
5.ให้กำลังใจในการอ่านหนังเตรียมสอบ
ความวิตกกังวลระดับปานกลาง (moderate anxiety)
สถาการณ์
ขณะที่นักศึกษา ข รอคิวในการเตรียมสอบสาธิตย้อนกลับการตรวจครรภ์กับอาจารย์ นักศึกษา ข ลุกล้ีลุกลน เดินไปเดินมา เหงื่อออกมาก และบ่นปวดศีรษะ ไม่ค่อยมีสมาธิ มีการซ้อมสอบและถามข้อมูลกับเพื่อนทสอบไปแล้วซ้ำๆ
เหตุผล
เพราะนักศึกษา ข มีอาการ ลุกล้ีลุกลน เดินไปเดินมา ไม่ค่อยมีสมาธิ และถามข้อมูลกับเพื่อนที่สอบไปแล้วซ้ำๆ สนใจเฉพาะสิ่งที่ทําให้วิตกกังวล; ไม่สามารถที่จะตั้งใจจดจอได้ดี ทำให้กรณีศึกษานี้มี ความวิตกกังวลระดับปานกลาง (moderate anxiety)
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินความวิตกกังวล โดยการสัมภาษณ์ สังเกตอาการอาการแสดง การใช้แบบประเมิน
2.ประเมินหรือคาดการณ์สถานการณ์ที่ทําให้เกิดความมวิตกกังวล เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความวิตกกังวลมีความรุนแรงมากขึ้น
3.ประเมินวิธีจัดการกับความเครียดของนักศึกษา
4.กระตุ้นให้นักศึกษาพูดถึงความรู้สึกและความกังวลใจ เมื่อผู้ป่วยได้พูดถึงสิ่งที่กังวลใจออกมา จะนําไปสู่การอภิปรายเกี่ยวกับปัญหา
5.การพูดคุยควรใช้ประโยคสั้น ๆ กระชับ ไม่ซับซ้อน และเข้าใจง่าย ตลอดจนต้องประเมินวาเขาสามารถรับรู้ข้อมูลในการพูดคุย
6.ช่วยให้มีการพัฒนาการวิธีการแก้ไขปัญหาที่หลากหลายผ่านการใช้บทบาทสมมติหรือการใช้ตัวแบบ นักศึกษาควรได้รับการกระตุ้นให้ลองใช้วิธีการแก้ปัญหาที่เลือกไว้
แนะนำวิธีการผ่อนคลายความเครียด
ความวิตกกังวลระดับรุนแรง (severe anxiety)
สถาการณ์
นาง เอ มาที่ รพ เพื่อตรวจโควิด 19 เนื่องจากนาง เอ ซึ่งกลับมาจากต่างประเทศ ขณะที่รอตรวจ มีอาการ เหงื่อออกมาก วิงเวียนศีรษะ บ่นคลื่นไส้ มีพยาบาลมาสอบถามข้อมูลและให้คำแนะ นางเอก็ไม่สนใจ ในการตอบคำถามก็พูดเร็วเสียงดัง และถามเรื่องต้องรอนานแค่ไหนว่าจะได้ตรวจ
เหตุผล
เพราะนาง เอ มีอาการเหงื่อออกมาก วิงเวียนศีรษะ บ่นคลื่นไส้ พยาบาลมาสอบถามข้อมูลและให้คำแนะ นางเอก็ไม่สนใจ สนใจเฉพาะข้อมูลปลีกย่อยหรือข้อมูลที่เฉพาะเจาะจง ทำให้กรณีศึกษานี้มี ความวิตกกังวลระดับรุนแรง (severe anxiety)
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินความวิตกกังวล โดยการสัมภาษณ์ สังเกตอาการอาการแสดง การใช้แบบประเมิน
สร้างสัมพันธภาพด้วยท่าทีที่สงบ ให้ผู้ป่วยเชื่อมั่น ไว้วางใจ และรู้สึกปลอดภัย
จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบ เรียบร้อย และมีความพร้อมที่จะช่วยเหลือ
ใช้คำพูดกระชับง่ายๆ ชัดเจน และอาจต้องพูดซ้ำๆ ด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวล ตลอดจนต้องประเมินวาเขาสามารถรับรู้ข้อมูลในการพูดคุย
อยูเป็นเพื่อนผู้ป่วย ไม่ทิ้งให้ผู้ป่วยอยู่ตามลำพัง และอธิบายขั้นตอนเกี่ยวกับการตรวจ เพื่อลดความวิตกกังวล
ความวิตกกังวลระดับตื่นตระหนก (panic anxiety)
สถาการณ์
นาง ค เคยประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์มา เมื่อ 2 เดือนที่แล้ว และหลังจากอุบัติเหตุครั้งนั้น เวลาที่ขึ้นไปนั่งบนรถยนต์ นาง ค จะมีอาการตื่นตระหนก หวานดกลัว รู้ชาที่ขา หายใจสั้น ตัวสั่น นั่งนิ่ง ไม่พูด
เหตุผล
เพราะว่านาง ค มีอาการ อาการตื่นตระหนก หวานดกลัว รู้ชาที่ขา หายใจสั้น ตัวสั่น นั่งนิ่ง ไม่พูด ทำให้กรณีศึกษานี้มี ความวิตกกังวลระดับตื่นตระหนก (panic anxiety)
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินความวิตกกังวล โดยการสัมภาษณ์ สังเกตอาการอาการแสดง การใช้แบบประเมิน
สร้างสัมพันธภาพด้วยท่าทีที่สงบ ให้ผู้ป่วยเชื่อมั่น ไว้วางใจ และรู้สึกปลอดภัย
จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบ เรียบร้อย และมีความพร้อมที่จะช่วยเหลือ
ใช้คำพูดกระชับง่ายๆ ชัดเจน และอาจต้องพูดซ้ำๆ ด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวล ตลอดจนต้องประเมินวาเขาสามารถรับรู้ข้อมูลในการพูดคุย
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยรับรู้ความเป็นจริง เช่น เขากำลังอยู่กับพยาบาล อยู่ที่โรงพยาบาล เป็นต้น
พยายามให้วได้พูดระบายความรู้สึก และฟังอย่างตั้งใจ
ดูแลความต้องการทางด้านร่างกายและความปลอดภัย
จำกัดพฤติกรรมผู้ป่วยในกรณีที่จะเป็นอันตรายต่อตัวเขาและผู้อื่น
ให้ผู้ป่วยได้ระบายออกด้วยกิจกรรมที่สร้างสรรค์ เช่น กายบริหาร เดิน ชกลูกบอล เป็นต้น
เมื่อผู้ป่วยสงบลงแล้วดูแลให้อาหารและสารน้ำให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยา ถ้าการช่วยเหลืออื่นๆไม่ได้ผล