Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
W6 Digital Marketing (17-21 Feb) (การออกแบบผลิตภัณฑ์ความหมายและปัจจัยที่เก…
W6 Digital Marketing (17-21 Feb)
การออกแบบผลิตภัณฑ์ความหมายและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง (Product Design)
การออกแบบผลิตภัณฑ์ความหมายและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง (Product Design)
ปัจจัยที่เกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยหลักๆ มีอยู่ 4 ประการ
คุณภาพของผลิตภันต์
วัสดุและกระบวนการผลิต
ความต้องการของผู้บริโภค
คุณค่าทางความสวยงาม
1.กลุ่มเป้าหมายคือใคร
ต้องเข้าใจผู้ที่จะใช้งาน รวมถึงความสามารถในการจับจ่ายใช้สอย
ความแปลกใหม่
ไม่ซ้ำกับสิ่งที่มีอยู่ในตลาด หรือมีการนำเสนอในด้านใหม่ๆ
ประโยชน์ใช้สอย
ทำหน้าที่ได้ถูกต้องตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ได้จริง
รูปลักษณ์ที่ดึงดูด
สวยงาม น่าสนใจ เพราะจะเป็นสิ่งแรกที่ผู้บริโภคเห็น
เรื่องราวความเป็นมา
เพิ่มความน่าสนใจและมูลค่าไปในตัวผลิตภัณฑ์
ความปลอดภัยเมื่อใช้งาน
และหากสามารถก่อให้เกิดอันตรายได้ ควรมีคำอธิบายชัดเจน
ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคในยุคปัจจุบันให้ความสำคัญมากขึ้น
ราคาที่เหมาะสม
เมื่อเปรียบเทียบกับคุณภาพ และเหมาะสมกับผู้บริโภคเป้าหมาย
การออกแบบสินค้าคืออะไร?
การออกแบบสินค้า คือ การเข้าใจสิ่งที่ตลาดต้องการโดยการออกแบบและสร้างสรรค์สินค้าที่สามารถแก้ปัญหาหรือตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะของลูกค้าในตลาดที่เลือกไว้
ปัจจัยที่สร้างความสำเร็จให้การออกแบบสินค้า คือ การเข้าใจผู้ใช้ชั้นปลาย (End User) หรือลูกค้าผู้ใช้งานสินค้า ผู้ออกแบบสินค้าควรแก้ปัญหาที่แท้จริงสำหรับผู้ใช้งานจริงโดยใช้ความเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น (Empathy) และการเข้าใจในมุมมองชองลูกค้า เช่น พฤติกรรมและความต้องการ
เป็นต้น
นวัตกรรมกับการออกแบบสินค้า
นวัตกรรม คือ การใช้วิธีการใหม่ๆ มาสร้างความแตกต่าง จนเกิดเป็นผลงาน หรือวิถีปฏิบัติที่ไม่ซ้ำกับสิ่งที่มีอยู่เดิม เพื่อสร้างประโยชน์ทางสังคมและเศรษฐกิจ เมื่อรวมเข้ากับแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือสินค้า ก็เกิดเป็นนวัตกรรมในการออกแบบสินค้า ซึ่งหมายถึงการคิดสร้างสรรค์เพื่อประดิษฐ์สินค้าหรือบริการ โดยใช้วิธีการที่แตกต่างไปจากเดิม ไม่ว่าจะในขั้นตอนการผลิต หรือในแง่การใช้งานจริง จนสามารถทำให้ผู้อื่นรับรู้ได้ถึงประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ที่เราสร้างขึ้น
มีความเสี่ยงที่ทำให้เกิดผลกระทบกับธุรกิจได้มากเช่นกัน เนื่องจากนวัตกรรมเป็นสิ่งใหม่ที่มีคนเคยทำไม่มาก โอกาสผิดพลาดจึงสูง นอกจากนี้ การสร้างนวัตกรรมใหม่มักจะต้องการการลงทุนที่สูงพอสมควร
ใช้ Design Thinking เป็นพื้นฐานสำหรับการออกแบบสินค้า
เรากำลังแก้ปัญหาอะไร
ใครเป็นคนที่เดือดร้อนกับปัญหานี้
เราต้องการอะไรเป็นผลลัพธ์
การหาคำตอบให้คำถามเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ออกแบบเข้าใจถึงประสบการณ์ของผู้ใช้ (User Experience) ในการใช้สินค้าทั้งหมด โดยการหาทางแก้ปัญหาแบ่งได้เป็น 5 ช่วง คือ
Empathize (เอาใจใส่)
ศึกษาเพื่อเข้าใจพฤติกรรม ความต้องการ และความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมาย/ผู้ใช้สินค้าของเรา โดยห้ามมีอคติและต้องเป็นกลางเพื่อความเข้าใจอันลึกซึ้ง
Define (นิยาม)
สร้างมุมมองจากความต้องการและความเข้าใจของกลุ่มเป้าหมาย/ผู้ใช้สินค้า
Ideate (หาไอเดีย)
หารือกับทีมและคิดวิธีแก้ปัญหาให้ได้มากที่สุดโดยปล่อยให้ขอบเขตของความคิดเป็นอิสระ
Prototype (ต้นแบบ)
สร้างแบบจำลองหรือต้นแบบขึ้นมาเพื่อทดลองข้อสมมติของเรา จะช่วยให้ผู้ออกแบบเช็คว่ากำลังออกแบบไปในลู่ทางที่ถูกต้องหรือไม่และการทำขั้นตอนนี้จะเห็นถึงประเด็นที่ผู้ออกแบบไม่ได้นึกถึงตอนแรก หรือเป็นการทดลองต้นแบบก่อนที่จะเป็นสินค้าจริงนั่นเอง
Test (ทดสอบ)
ให้กลุ่มเป้าหมาย/ผู้ใช้ทดสอบเพื่อรับฟังข้อเสนอแนะ สามารถประเมินความเป็นไปได้ ว่าตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ก่อนที่จะผลิตสินค้าจริง ขั้นตอนนี้ช่วยให้การประมาณการค่าใช้จ่ายมีเคียงความเป็นจริงมากที่สุด เพื่อใช้ในการวางแผนต่อไป
การทำ Flow Design Thinking นั้นไม่สามารถใช้กระบวนการ หรือ Flow เดิม ๆ ได้ ซึ่งแต่ละสินค้าจะใช้ Flow ที่แตกต่างกันไป อย่างไรก็ตามควร คำนึงได้ดังต่อไปนี้
ระบุวิสัยทัศน์สินค้า (Product Vision) และกลยุทธ์สินค้า (Product Strategy)
โดยตอบคำถามที่ว่า เรากำลังสร้างอะไร และเพื่ออะไร อีกทั้งยังช่วยให้การออกแบบอยู่ในแนวและทัศนคติเดียวกันด้วย
สิ่งที่ต้องทำในขั้นตอนนี้คือ
นิยามคุณค่าของสินค้า
คุณค่าของสินค้าช่วยให้ทีมและผู้มีส่วนร่วมเข้าใจตรงกันว่าสินค้าจะเป็นอย่างไร โดยครอบคลุมถึงคำถามดังนี้ : สินค้าคืออะไร, ใครเป็นคนใช้สินค้า, ที่ไหนและเมื่อไหร่ที่สินค้าจะถูกใช้
ตั้งเป้าหมายสำหรับความสำเร็จ
สิ่งสำคัญสำหรับการทำธุรกิจคือเป้าหมายของธุรกิจที่สามารถบรรลุได้ด้วยสินค้า ถ้าเราไม่รู้เป้าหมายทางธุรกิจและไม่สามารถวัดได้ว่าธุรกิจของเราจะประสบความสำเร็จได้อย่างไร จะกลายเป็นเรากำลังมีปัญหากับการทำธุรกิจ ดังนั้นเราต้องมีเกณฑ์ในการวัดความสำเร็จของธุรกิจ เช่น ยอดขายต่อเดือน KPI (Key Performance Indicators) และอื่น ๆ
นัดประชุมสำหรับการเริ่มต้นธุรกิจ
การประชุมจะเป็นการนัดรวมผู้มีส่วนร่วมสำคัญทางธุรกิจเพื่อประชุมหารือถึงแผนการดำเนินการธุรกิจ ตัวชี้วัดความสำเร็จของธุรกิจ (KPI) และอื่น ๆ
ทำการค้นคว้าสินค้า (Product Research)
การทำการค้นคว้าสินค้าเป็นขั้นตอนสำคัญอีกขั้นหนึ่งซึ่งเราควรจะทำการค้นคว้าให้ลึกซึ้งก่อนที่จะดำเนินการต่อไป สิ่งที่ควรเน้นย้ำคือเวลาที่ใช้ในการค้นคว้านั้นไม่เคยเสียเปล่า ดังนั้นเราสามารถใช้เวลาได้เต็มที่ในการค้นคว้าสินค้า
วิธีการค้นคว้าสินค้า
สัมภาษณ์ผู้ใช้งานสินค้า
Online Surveys
สอบถามบริบท (Contextual Inquiry)
ทำการค้นคว้าในตลาด
วิเคราะห์พฤติกรรมผู้ใช้สินค้า
หลังจากการค้นคว้า ทีมออกแบบสินค้าต้องวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มา โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกจากข้อมูลที่ได้เก็บไว้ในระหว่างขั้นตอนการค้นคว้าสินค้า
การตกผลึกความคิด
การตกผลึกความคิดเป็นขึ้นตอนที่ทีมจะร่วมมือกันช่วยคิดไอเดียที่จะช่วยทำให้เป้าหมายลุล่วง สิ่งสำคัญในขั้นตอนนี้นอกจากจะต้องหาไอเดียแล้ว จะต้องยืนยันว่าสันนิษฐานด้านการออกแบบสามารถใช้ได้จริง
ขั้นตอนตกผลึกความคิด
ตกผลึกความคิดจากวิธีการใช้งานสินค้าของลูกค้า
ช่วยกันคิดว่า User Interface (UI) จะเป็นอย่างไร
ตรวจสอบว่าไอเดียใช้ได้จริงหรือไม่
ออกแบบ
หลักจากผ่านขั้นตอนการตกผลึกความคิดแล้ว ทีมออกแบบสินค้าควรจะมีความเข้าใจในการออกแบบที่ชัดเจนว่าพวกเขาต้องทำอะไร ในขั้นตอนนี้ทีมออกแบบจะเริ่มออกแบบเพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งานของผู้ใช้สินค้าและแก้ปัญหาที่ผู้ใช้กำลังเผชิญ
การออกแบบแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนย่อย ได้แก่
การสร้างต้นแบบ (Prototyping)
การทบทวนเสียงตอบรับจากหุ้นส่วน (Reviewing)
การแก้ไขและปรับปรุง (Refining)