Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การติดเชื้อหลังคลอด (Puerperal infection) (ปัจจัยเสี่ยง…
การติดเชื้อหลังคลอด
(Puerperal infection)
ความหมาย
การมีไข้หลังคลอด
(Puerperal fever)
BT > 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป ติดต่อกันอย่างน้อย 4 ครั้งต่อวัน
ช่วง 2 ใน 10 วันแรกหลังคลอด ซึ่งไม่นับ 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด
การติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์หลังคลอด (Puerperal sepsis)
BT > 38 องศาเซลเซียส นานเกิน 24 ชั่วโมง หรือเกิดซ้ำตั้งแต่วันที่ 2-10 หลังคลอด
หรือหลังการแท้ง ร่วมกับอาการดังต่อไปนี้อย่างน้อย 1 อาการ หรือมากกว่า
ปวดอุ้งเชิงกราน
มดลูกลดขนาดลงช้าหลังคลอด
ตกขาวผิดปกติทางช่องคลอดหรือเป็นหนอง
การติดเชื้อหลังคลอด
(Puerperal infection)
การติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์ร่วมกับ
การติดเชื้อในระบบอื่นๆ
ระบบทางเดินอาหาร
มาลาเรีย
ระบบทางเดินหายใจ
ไทฟอยด์
ระบบทางเดินปัสสาวะ
ปัจจัยเสี่ยง
การทำคลอดโดยใช้สูติศาสตร์หัตถการ
เทคนิคการทำคลอดไม่ถูกต้อง
ทำหัตถการล้วงรก
เศษรกค้างในโพรงมดลูก
ระยะเจ็บครรภ์และการคลอดยาวนาน
การประเมิน FHR ชนิด internal fetal heart monitoring
การตรวจภายในบ่อยในระยะรอคลอด
การดูแลแผลฝีเย็บไม่ถูกต้อง
ภาวะทุพโภชนาการ
การรักษา
การรักษาอาการทั่วไป
จัดท่านอน Fowler position
ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
รักษาภาวะช็อก
การรักษาและการเลือกใช้ยาปฏิชีวนะ
กรณที่มีอาการไม่รุนแรง
ให้ยาปฏิชีวนะแบบรับประทาน
รักษาแบบผู้ป่วยนอก
กรณที่มีอาการรุนแรง
Admit โรงพยาบาล
ให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ
กรณีที่มีการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน
ให้ยาปฏิชีวนะที่ครอบคลุมเชื้อได้กว้าง
การประเมินและการวินิจฉัย
ตรวจร่างกาย
อ่อนเพลียมากกว่าปกติ ซีด
มีไข้สูง ตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป ติดต่อกันอย่างน้อย 2 ใน 10 วันแรกหลังคลอด
ชีพจรเร็ว หายใจเร็ว
กดเจ็บบริเวณท้องน้อย
กรณีที่มีการติดเชื้อของเยื่อบุมดลูก
น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็นและมีปริมาณมาก
แผลฝีเย็บมีเลือดคั่ง ร้อน บวมแดง แผลแยก
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
และตรวจพิเศษ
การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
ส่งตรวจ CBC, gram stain
ซักประวัติ
หาปัจจัยเสี่ยงในระยะคลอด
การแตกของถุงน้ำคร่ำ
ระยะเวลาและชนิดของการคลอด
หาปัจจัยเสี่ยงในระยะหลังคลอด
ภาวะสุขภาพ
ภาวะโภชนาการก่อนตั้งครรภ์
แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
การติดเชื้อเฉพาะที่
การติดเชื้อที่แผลฝีเย็บ ปากช่องคลอด ช่องคลอด และปากมดลูก
อาการและอาการแสดง
อาการทั่วไป
ไข้ต่ำกว่า 38 องษาเซลเซียส
อาจมีอาการปัสสาวะลำบาก
อาการเฉพาะ
ปากมดลูก
มีการฉีกขาดปากมดลูก อาจลึกเข้าไปถึงฐานของ broad ligament
เป็นจุดตั้งต้นของหลอดน้ำเหลืองอักเสบ parametritis และ bacteremia
ช่องคลอด
เยื่อบุช่องคลอดจะบวมแดง เนื้อเน่าหลุดออก
อาจเกิดน้ำเหลืองอักเสบ และแพร่กระจายไปอวัยวะอื่นได้
แผลฝีเย็บ และปากช่องคลอด
ขอบแผลเป็นสีน้ำตาลแดง เนื้อเยื่อบวม ขอบแผลเน่า มีน้ำเหลืองไหลแล้วเป็นหนอง แผลแยก
การรักษา
อบแผลจะช่วยในการบรรเทาอาการปวด
ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะ และยาระงับปวด
ดูแล Hot sit bath
ถอดไหมออก เปิดแผลให้หนองระบายได้ดี
การติดเชื้อที่เยื่อบุโพรงมดลูก
หรือการติดเชื้อของมดลูก
อาการและอาการแสดง
,มดลูกเข้าอู่ช้า มีเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อย
น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็นหรือมีหนองปน โดยเฉพาะการติดเชื้อ anaerobes
มีไข้สูง ระหว่าง 38.5-40 องศาเซลเซียส ชีพจรเร็ว หนาวสั่น
ปวดท้องน้อย บริเวณมดลูกและปีกมดลูก
เชื้อแบคทีเรียจะเพาะตัวที่เยื่อบุมดลูก (decidua) บริเวณที่รกเกาะ อาการจะเริ่มต้นใน 48 ชั่วโมงแรกหลังคลอด
มักจะลุกลามเข้าสู่ชั้นกล้ามเนื้อมดลูก (myometritis)
การรักษา
ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะ ชนิด broad spectrum ทางหลอดเลือดดำ และชนิดรับประทาน
ดูแลให้ได้รับยาระงับปวด
พบบ่อยที่สุดในระยะหลังคลอด
การติดเชื้อลุกลามออกไปนอกมดลูก
การแพร่กระจายไปตามหลอดเลือดดำ
อาการและอาการแสดง
ปวดท้องน้อยข้างใดข้างนึง หรือทั้งสองข้าง
ปวดกล้ามเนื้อน่อง เมื่อกระดกปลายเท้า
ไข้สูงลอย ทั้งที่ได้รับยาปฏิชีวนะ
เกิด femoral thrombophlrbitis
มีอาการขาบวมตึง กดไม่บุ๋ม
การรักษา
ภาวะ
Septic pelvic thrombophlebitis
แพทย์มักรักษาด้วย heparin
ถ้าตอบสนองได้ดีภายใน 48-72 ชั่วโมง และให้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย ดูแลให้ครบ 10 วัน หากไม่ตอบสนองต่อการรักษา อาจต้องได้รับการผ่าตัดทางหน้าท้อง
ภาวะ
Femoral thrombophlebitis
ดูแลให้ยาปฏิชีวนะ
ยาระงับปวด ให้ heparin ให้นอนยกขาสูง ห้ามเดินจนกว่าอุณหภูมิจะลดลง 1 สัปดาห์
infected emboli หลุดไปตามกระแสเลือด ทำให้เกิด pelvic thrombophlebitis, femoral thrombophlebitis, pyemia ถ้า emboli ก้อนใหญ่หลุดไปอุดเส้นเลือดในปอด จะทำให้เสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน
การแพร่กระจายไปตามระบบน้ำเหลือง
เนื้อเยื่ออุ้งเชิงกรานอักเสบ เยื่อบุช่องท้องอักเสบ
เนื้อเยื่ออุ้งเชิงกรานอักเสบ
อาการและอาการแสดง
ปวดท้องน้อย อาจเป็นข้างเดียวหรือสองข้าง
เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
กดเจ็บที่มดลูก
อาจคลำพบก้อนบริเวณ broad ligament หรือก้อนข้างตัว
มีไข้สูงลอย
การรักษา
ให้ยาปฏิชีวนะ
หากเป็นก้อนฝีหองในช่องท้อง ต้องผ่าระบายออก
การติดเชื้อของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันในอุ้งเชิงกราน โดยมักจะกระจายอยู่ส่วนล่างของ broad ligament
เยื่อบุช่องท้องอักเสบ
อาการและอาการแสดง
ปวดท้องรุนแรง ท้องโป่งตึง กดเจ็บ มี rebound tenderness, bowel sound ลดลง
เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
ไข้สูง หนาวสั่น ชีพจรเร็ว
มีฝีในอุ้งเชิงกราน ถ้าไม่ได้รับการรักษา ฝีจะแตก หนองเข้าสู่ช่องท้อง เกิด septic shock
การรักษา
ให้ยาปฏิชีวนะ ชนิด broad spectrum
ในรายที่ท้องอืดมาก ดูแลทำ nasogastric suction
ในรายที่รุนแรง ต้องได้รับการผ่าตัด
การติดเชื้อของมดลูกกระจายทางท่อน้ำเหลืองของมดลูก ลุกลามไปถึงเยื่อบุช่องท้อง
สาเหตุ
การติดเชื้อจากภายนอก
มักมาจากระบบทางเดินหายใจ
โดยการปนเปื้อนของน้ำมูก น้ำลาย
หรือการไม่ได้ล้างมือ
การติดเชื้อจากโรงพยาบาล
การติดเชื้อจากตัวผู้ป่วงเอง
ภาวะแทรกซ้อน
ผลกระทบต่อมารดา
เป็นหมัน
หลอดเลือดปอดอุดตัน
ตกเลือดหลังคลอด
ช็อกจากการติดเชื้อ
มดลูกเข้าอู่ช้า
การจับตัวของลิ่มเลือด
การติดเชื้อจากมารดาสู่ทารก
กรณีรุนแรงมาก ทำให้ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต
ผลกระทบต่อทารก
การติดเชื้อในกระแสเลือด
ปอดอักเสบ
Birth asphysia
การพยาบาล
กรณีที่มีการติดเชื้อที่แผลฝีเย็บแลปากช่องคลอด
ดูแลทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกและแผลฝีเย็บ
อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หรือเมื่อมีสารคัดหลั่งมาก รวมทั้งเปลี่ยนผ้าอนามันเมื่อเปียกชุ่ม
ดูแลทำ Hot sitz bath วันละ 2-3 ครั้ง นาน 10-15 นาที
และอบแผลฝีเย็บด้วย infra red light วันละ 2-3 ครั้ง นาน 3-5 นาที
กรณีที่มีการติดเชื้อที่เยื่อบุโพรงมดลูก
สังเกตการหดรัดตัวของมดลูกอย่างน้อย ทุก 8 ชั่วโมง ถ้าพบว่ามดลูกหดรัดตัวไม่ดี ต้องคลึงมดลูกไล่ก้อนเลือดและน้ำคาวปลาที่คั่งในโพรงมดลูกออกให้หมด
วัดสัญญาณชีพ ทุก 4 ชั่วโมง รวมทั้งสังเกตภาวะแทรกซ้อนจากการขูดมดลูก
แนะนำให้นอนคว่ำ โดยใช้หมอนรองบริเวณท้องน้อย
เพื่อให้น้ำคาวปลาไหลสะดวก อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง นาน 30 นาที
จัดให้มารดานอนท่า Fowler's position เพื่อส่งเสริมการไหลของน้ำคาวปลา
ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
กรณีที่มีการอักเสบที่เยื่อบุช่องท้อง
วัดสัญญาณชีพ ทุก 4 ชั่วโมง
ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
จัดให้มารดานอนท่า Fowler's position
กรณที่มีอาการท้องอืด และแน่นท้องมาก อาจต้องใช้ continuous gastric suction
เพื่อดูดเอา gastric content ออก เช่น เศษอาหาร ก๊าซ และน้ำย่อยจากกระเพาะอาหาร และดูแลความสะอาดของช่องปาก สังเกตลักษณะและปริมาณของ gastric content
กรณีที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ แพทย์อาจเจาะเอาหนองออกทาง cul de sac
หรือผ่าตัดระบายเอาหนองออกทางหน้าท้อง ให้การดูแลเช่นเดียวกับผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัดทั่วไป
นางสาวเบญจพร วงศ์ศรีชา เลขที่ 31 ชั้นปีที่ 3 ห้อง A