Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Postpartum hemorrhage ตกเลือดหลังคลอด (การตกเลือดหลังคลอดทันที (Primary or…
Postpartum hemorrhage ตกเลือดหลังคลอด
ความหมาย
ภาวะที่มีการเสียเลือดทางช่องคลอดตั้งแต่ 500 ml ขึ้นไป หลังจากสิ้นสุดระยะที่ 3 ของการคลอด(ภายหลังรกคลอด) หรือเมื่อมีการลดลงของ hematocrit ร้อยละ 10 หรือมากกว่าร้อยละ 1 ของน้ำหนักตัว
การตกเลือดหลังคลอดทันที (Primary or early postpartum hemorrhage)
สาเหตุ (ใช้หลัก 4T)
Trauma
การฉีกขาดของช่องทางคลอด พบร้อยละ 20
ปัจจัยมารดา
หลอดเลือดขอด
ช่องทางคลอดอ่อน
แผลเก่า
ปัจจัยทารก
ตัวโต
ท่าผิดปกติ
ส่วนนำผิดปกติ
วิธีทำคลอด
Tissue
รกหรือเศษรกค้างในโพรงมดลูก (Retained placenta) พบร้อยละ 10
Thrombin
ความผิดปกติในกลไกการแข็งตัวของเลือด พบร้อยละ 1
ยา Heparin
DIC (Disseminated Intravascular Coagulation) หรือภาวะเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดแบบแพร่กระจาย
ITP (Immune thrombocytopenic purpura) เป็นโรคที่มีเกล็ดเลือดต่ำซึ่งเป็นผลมาจากร่างกายสร้างภูมิต้านทานต่อต้านเกล็ดเลือด
Anemia
Tone
มดลูกหดรัดตัวไม่ดี (uterine atony) พบบ่อยที่สุด ร้อยละ 70
กล้ามเนื้อขยายมากไป
แฝด
แฝดน้ำ
ตัวโต
การคลอดผิดปกติ
คลอดนาน พลังงานหมด
คลอดเฉียบพลัน มดลูกหดรัดตัวเร็ว
มดลูกหดรัดตัวไม่ดีระหว่างคลอด
กระเพาะปัสสาวะเต็ม
ตกเลือดก่อนคลอด
รกเกาะต่ำ
รกลอกตัวก่อนกำหนด
สาเหตุขัดขวาง
มดลูกปริ้น
เนื้องอก
มดลูกรูปร่างผิดปกติ
ตั้งครรภ์บุตรเกิน 5 คน
ได้ยาที่ทำให้มดลูกคลายตัว
MgSO4
turbutaline
อาการและอาการแสดง
มีเลือดออก
เศษรกค้าง
แดงคล้ำ
ฉีกขาด
ไหลซึม/พุ่ง
เลือดสด
มดลูกหดรัดตัวไม่ดี
สีคล้ำ
มีลิ่มปน
มดลูกปริ้น
มีลิ่มเลือดปน
ไหลพุ่ง
มีอาการแสดงของการเสียเลือด
กระสับกระส่าย
ความดันต่ำ
เพลีย
ชีพจรเบา เร็ว
หน้าซีด ตัวเย็น
หายใจเร็ว
คลำหน้าท้อง พบยอดมดลูกอยู่เหนือระดับสะดือ มีขนาดใหญ่ นิ่ม
ปวดท้องน้อย
ลักษณะน้ำคาวปลา
ติดเชื้อ
เหม็น
คล้ำ
ภาวะแทรกซ้อน
เกิดภาวะซีด อ่อนเพลีย อาจเป็นลม หมดสติ ติดเชื้อหลังคลอดได้ง่าย
เกิด Sheehan's syndrome s syndrome ทาให้ไม่มีน้านมหลังคลอด ไม่มีประจำเดือน เต้านมเล็กลง เนื่องจากต่อมใต้สมองส่วนหน้าขาดเลือดไปเลี้ยง และการสร้างฮอร์โมนลดต่ำลง
อาจต้องตัดมดลูก ถ้าการตกเลือดควบคุมไม่ได้
อาจเสียชีวิต กรณีเลือดออกรุนแรงและรวดเร็ว
การวินิจฉัย
ซักประวัติการตั้งครรภ์ การคลอด โรคประจำตัว
คะเนปริมาณเลือดที่ออกทางช่องคลอดมากกว่า 500 ml.
ตรวจร่างกายดูอาการแสดงของการเสียเลือด
ตรวจการหดรัดตัวของมดลูก
ตรวจการฉีกขาดของช่องทางคลอดและปากมดลูก
ตรวจรกว่าครบหรือไม่
ตรวจสอบการแข็งตัวของเลือด
ถ้ามีอาการช็อก โดยเลือดที่ออกทางช่องคลอดไม่ได้สัดส่วนกับปริมาณเลือดที่เสียไป แสดงว่าอาจมีภาวะมดลูกแตก
การรักษา
รักษาแบบประคับประคอง เช่น ให้เลือด หาสาเหตุและให้การรักษาตามสาเหตุ
กรณี uterine atony – ใส่สายสวนปัสสาวะ, คลึงมดลูก, ให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก (syntocinon,methergine,cytotec) Bimanual uterine compression
กรณีรกค้าง ให้ล้วงรกหรือขูดมดลูก
กรณีช่องคลอดฉีกขาด ให้เย็บซ่อมแซม
กรณีตกเลือดไม่หยุด อาจต้องผ่าตัดผูกเส้นเลือดหรือตัดมดลูก
ให้ยา antibiotic กรณีมีการอักเสบในโพรงมดลูก
การพยาบาล
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก คลึงมดลูกให้กลมแข็ง
ประเมิน vital sign ทุก 15 นาที
จัดให้นอนหงายราบหรือศีรษะต่ำ
ดูแลให้กระเพาะปัสสาวะว่าง
สังเกตปริมาณเลือดที่ออกทางช่องคลอด ถ้าเลือดออกมากให้สารน้าทางหลอดเลือดทดแทนและรายงานแพทย์
ดูแลให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกตามแผนการรักษา
ถ้าเลือดออกมากเนื่องจากมีเศษรกค้าง ให้รายงานแพทย์เพื่อเตรียมขูดมดลูก
ถ้าเลือดออกเนื่องจากมีการฉีกขาดของช่องทางคลอด เย็บแผลที่ฉีกขาด
ดูแลให้เลือดตามแผนการรักษาและสังเกตภาวะแทรกซ้อน ประเมิน Hct . หลังให้เลือด
ประเมินและเฝ้าระวังอาการแสดงของภาวะช็อก
ให้ออกซิเจน
ใส่สายสวนปัสสาวะคาไว้Record urine output
เกณฑ์การวินิจฉัยทางคลินิก
ปริมาณเลือดที่เสีย 500-1000 มล./ร้อยละ 10-15
ความดันโลหิต ปกติ
อาการ ใจสั่น มึนงง ชีพจรเร็ว
ปริมาณเลือดที่เสีย 1000-1500 มล./ร้อยละ 15-25
ความดันโลหิตต่ำเล็กน้อย 80-100
อาการ อ่อนแรง เหงื่อออก ชีพจรเร็ว
ปริมาณเลือดที่เสีย 1500-2000 มล./ร้อยละ 25-35
ความดันโลหิต 70-80
อาการ กระสับกระส่าย ซีด ปัสสาวะออกน้อย
ปริมาณเลือดที่เสีย 2000-3000 มล./ร้อยละ 35-45
ความดันโลหิต 50-70
อาการ หมดสติ ขาดอากาศ ไม่มีปัสสาวะ
ตกเลือดภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด
การตกเลือดแบบทุติยภูมิ (delayed postpartum hemorrhage )
การตกเลือดแบบทุติยภูมิ เป็นการเสียเลือดภายหลังจากทารกเกิดแล้วมากกว่า 500มล. หรือเกินร้อยละ1 ของน้าหนักตัวมารดา ภายหลัง 24 ชม. ไปแล้วและภายใน 6 สัปดาห์หลังคลอด
สาเหตุ
มีเศษรกค้าง
มีการอักเสบของเยื่อบุโพรงมดลูก ปากมดลูก ช่องทางคลอด
มีการติดเชื้อในโพรงมดลูก
อาการและอาการแสดง
มีเลือดออกทางช่องคลอด น้ำคาวปลาผิดปกติ ( foul lochia )
ความสูงของยอดมดลูกไม่ลดลงตามปกติ
อาการเจ็บปวดบริเวณมดลูก อุ้งเชิงกรานและหลัง
มีไข้ และอาการอ่อนเพลียและมีความไม่สุขสบาย
การวินิจฉัย
วินิจฉัยตามอาการและอาการแสดง คือการมีเลือดออกทางช่องคลอด และมักจะเกิดอาการภายใน
3สัปดาห์ ( ส่วนมากมักเกิดในช่วง 4-9วันหลังคลอด )
การดูแลรักษา
การตกเลือดในระยะทุติยภูมิ เป็นการตกเลือดที่พยาบาลต้องให้การดูแลมารดาอย่างใกล้ชิดในระยะหลังคลอดภายหลัง 24 ชม.
ต้องให้ความรู้มารดาหลังคลอดในการดูแลตนเองภายหลังกลับบ้านแล้ว และการสังเกตอาการผิดปกติที่ควรมาตรวจก่อนกาหนดนัด เมื่อมีการตกเลือดเกิดขึ้นพยาบาลมีบทบาทในการการซักประวัติ โดยการซักถามและศึกษาจากบันทึกเกี่ยวกับการหดรัดตัวของมดลูก การลดระดับของยอด
ลักษณะของน้าคาวปลา สี กลิ่น ปริมาณ การเปลี่ยนแปลงของน้ำคาวปลาแต่ละระยะ อาการเจ็บปวด
บริเวณอุ้งเชิงกรานและหลัง การกดเจ็บที่บริเวณมดลูก อาการไข้
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจดูระดับความเข้มข้นของเลือด หากลุ่มเลือด
การตรวจร่างกาย ประเมินความรุนแรงของการเสียเลือด ลักษณะน้ำคาวปลา ประเมินระดับยอดมดลูก
ประเมินสัญญาณชีพ
การพยาบาล
ถ้ายังมีเลือดออกเรื่อยๆ มักได้รับการรักษาโดยการขูดมดลูก ถ้าเลือดยังไหลไม่หยุดแพทย์อาจพิจารณาตัดมดลูกออก
สังเกตลักษณะของน้ำคาวปลา วัดระดับความสูงของยอดมดลูก
การให้เลือดทดแทน และการให้ยาส่งเสริมการหดรัดตัวของมดลูก และยาปฏิชีวนะ
ส่งเสริมความสุขสบาย ดูแลการพักผ่อน อาหารที่มีธาตุเหล็กและโปรตีนสูง
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเพื่อส่งเสริมให้ร่างกายกลับคืนสู่สภาพปกติและการสังเกตอาการผิดปกติที่ต้องมาตรวจก่อนกำหนดนัด แนะนำการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา การสร้างสัมพันธภาพกับทารกและสมาชิกอื่นๆในครอบครัว
การดูแลทางด้านจิตใจ
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเพื่อส่งเสริมให้ร่างกายกลับคืนสู่สภาพปกติและการสังเกตอาการผิดปกติที่ต้องมาตรวจก่อนกำหนดนัด
แนะนำการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา การสร้างสัมพันธภาพกับทารกและสมาชิกอื่นๆในครอบครัว