Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตรวจพิเศษ jer5XMABUPLUN (U/S (Ultrasound) (ประโยชน์ของการตรวจอัลตราซาวด…
การตรวจพิเศษ
NST
การทำ non-stress test คือ วิธีการตรวจสอบสุขภาพทารกในครรภ์วิธีหนึ่งด้วยเครื่องอิเลคโทรนิค เป็นวิธีที่ปลอดภัย ไม่มีข้อห้ามในการทำ และเชื่อถือได้ค่อนข้างมาก อายุครรภ์ที่เหมาะสมในการตรวจสุขภาพทารกด้วยวิธีนี้คืออายุครรภ์ตั้งแต่ 34 สัปดาห์ขึ้นไปยกเว้นบางรายที่อาจทำตั้งแต่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ โดยจะวัดนาน 20-30 นาที
-
การตรวจจะบันทึกการเต้นของหัวใจที่ตอบสนองต่อการเคลื่อนไหว หัวใจของทารกจะเต้นเร็วขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหว แต่เมื่อพักหัวใจทารกจะเต้นลดลง ซึ่งจะบ่งบอกว่าออกซิเจนไปเลี้ยงทารกปกติหรือไม่
-
การแปลผล
Reactive : ทารกเคลื่อนไหวอย่างน้อยสองครั้งใน 20 นาที ในสองครั้งที่ทารกมีการเคลื่อนไหวอัตราการเต้นของหัวใจจะเพิ่มขึ้นอีก ~15 ครั้งต่อนาทีและสูงขึ้นอย่างน้อย 15 วินาที
-
การพยาบาล
- เปิดหน้าท้องให้หญิงตั้งครรภ์และทำการติดสายวัดเครื่องอิเลคโทรนิคสำหรับฟังเสียงหัวใจทารกและวัดการบีบรัดตัวของมดลูก
- แนะนำให้มารดากดสัญญาณบันทึกเด็กดิ้นเมื่อรู้สึกว่าเด็กดิ้นแต่ละครั้งเมื่อครบระยะเวลาในการตรวจแพทย์จะแปลผลการตรวจจากแผ่นกราฟที่บันทึกการดิ้นของทารกและอัตราการเต้นของหัวใจ ผลการตรวจจะบอกได้ว่าทารกอยู่ในสภาวะปกติหรือผิดปกติ
- จัดท่าให้หญิงตั้งครรภ์นอนบนเตียงในท่าศีรษะสูง
CST
-
วัตถุประสงค์ของการตรวจ
- เพื่อตรวจสอบภาวะสุขภาพทารกในครรภ์
- เพื่อประเมินความปลอดภัยของทารกในครรภ์
การแปลผล
Positive : ผลผิดปกติ เป็นการทำนายว่ามารกอยู่ในสภาวะผิดปกติ หมายถึงการมี late deceleration มากกว่าร้อยละ 50 เมื่อมดลูกมีการหดรัดตัว
Negative : ผลปกติ เป็นการทำนายว่าทารกอยู่ในครรภ์ในสภาวะปกติ หมายถึงไม่มี Late deceleration เกิดขึ้นเลย แนะนำให้มาตรวจซ้ำภายใน 24 ชั่วโมง
-
-
การพยาบาล
- ใช้ tocodynamometer ของ external monitor คาดหน้าท้องหญิงตั้งครรภ์เพื่อบันทึกการหดรัดตัวของมดลูกที่เกิดเองหรือเด็กดิ้น
- ใช้ Doppler FHR transducer คาดเข้ากับหน้าท้องหญิงตั้งครรภ์เพื่อบันทึก FHR ตลอดเวลาการทำ
- บันทึกความดันโลหิตก่อนทำเพื่อตรวจสอบภาวะ supine hypotension
- แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์กด mark ทุกครั้งเมื่อเด็กดิ้น
- จัดให้หญิงตั้งครรภ์อยู่ในท่า Semi-fowler ศีรษะสูงประมาณ 30 องศา
- ประเมินการหดรัดหัวของมดลูกทุก 15 นาทีและควบคุมการหดรัดหัวของมดลูกไม่ให้เกิน 60 วินาทีหรือหดรัดหัวไม่เกิน 3 ครั้งต่อ 10 นาที เพื่อให้การคลอดปกติ
- ประเมินการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ทุก 15-30 นาที และประเมินความดันโลหิต ชีพจรและการหายใจหญิงตั้งครรภ์ทุก 15 นาที
BPP
การตรวจ biophysical profile เป็นการตรวจ ultrasound ร่วมกับการตรวจ NST เพื่อที่จะประเมินสุขภาพของทารกในช่วงการตั้งครรภ์ไตรมาศที่ 3 การตรวจนี้เมื่อสงสัยสุขภาพของทารกว่ายังดีหรือไม่จากการตรวจด้วยวิธีอื่น
-
การตรวจ biophysical profile ดูลักษณะที่สำคัญของทารก 5 ประการและให้คะแนนระหว่างการตรวจ หากปกติจะได้ 2 คะแนน ส่วนที่ผิดปกติจะ 0 คะแนน
- อัตราการเต้นของหัวใจ : มีการตอบสนองของหัวใจอย่างน้อย 2ครั้งใน 30 นาที = 2 คะแนน หัวใจไม่ตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวอย่างน้อย 1 ครั้งใน 30 นาที = 1 คะแนน
- น้ำคร่ำ : มีถุงน้ำคร่ำมากกว่า 1 ถุง = 2 คะแนน ไม่มีถุงน้ำคร่ำ = 0 คะแนน
- Muscle Tone : มีการงอแขนหรือเหยียดแขนอย่างน้อย 1 ครั้ง = 2 คะแนน มีการงอหรือเหยียดอย่างช้า = 0 คะแนน
- การหายใจ : หายใจ 1 ครั้งใน 30 นาที = 2 คะแนน ไม่มีการหายใจใน 30 นาที = 0 คะแนน
- การเคลื่อนไหว : มีการเคลื่อนไหวมากกว่า 2 ครั้งใน 30 นาที = 2 คะแนน การเคลื่อนไหวน้อยกว่า2 ครั้งใน 30 นาที = 0 คะแนน
หากได้ 8-10 คะแนน โดยที่ปริมาณน้ำคร่ำปกติ แปลผลว่าทารกในครรภ์ยังปกติดี ไม่จำเป็นต้องรีบให้คลอด หากได้ 6-8 คะแนน ให้พิจารณาตามปริมาณน้ำคร่ำ ถ้าน้ำคร่ำปกติโอกาสเกิด asphyxia น้อย ต้องตรวจซ้ำใน 24 ชั่วโมง แต่ถ้าน้ำคร่ำน้อย โอกาสเกิด asphyxia จะสูงขึ้น ถ้าหากได้ 0-4 คะแนน ทารกอยู่ในภาวะคับขัน ควรรีบให้คลอด
การพยาบาล
- ดูแลจัดท่าให้หญิงตั้งครรภ์นอนบนเตียงอย่างปลอดภัย
- เปิดหน้าท้องให้หญิงตั้งครรภ์และทำการติดสายวัดเครื่องอิเลคโทรนิคสำหรับฟังเสียงหัวใจทารกและวัดการบีบรัดตัวของมดลูก
- แนะนำให้มารดากดสัญญาณบันทึกเด็กดิ้นเมื่อรู้สึกว่าเด็กดิ้นแต่ละครั้ง ในการตรวจแพทย์จะแปลผลการตรวจจากแผ่นกราฟที่บันทึกการดิ้นของทารกและอัตราการเต้นของหัวใจ
- ช่วยแพทย์ในการเตรียมอุปกรณ์ในการทำ u/s เช่น ทาเจลบริเวณหน้าท้องของหญิงตั้งครรภ์
U/S (Ultrasound)
การพยาบาล
- ช่วยในการจัดเปลี่ยนท่าหากแพทย์ต้องการ เช่น อาจให้หญิงตั้งครรภ์นอนตะแคง
- ดูแลเช็ดทำความสะอาดเจลที่หน้าท้องและคลุมหน้าท้องให้เรียบร้อยเมื่อแพทย์ u/s เสร็จเรียบร้อย
- เปิดผ้าหรือชุดคลุมของหญิงตั้งครรภ์เพื่อให้แพทย์ทำการ u/s
- ดูแลและจัดท่าให้หญิงตั้งครรภ์นอนบนเตียงตรวจเพื่อ u/s
-
เป็นการตรวจที่อาศัยคลื่นความถี่สูง (สูงกว่า 20,000 เฮิร์ต) ส่งคลื่นเสียงผ่านหัวตรวจไปยังเนื้อเยื่อ/อวัยวะที่ต้องการตรวจ เมื่อคลื่นเสียงกระทบกับเนื้อเยื่อร่างกายต่างชนิดกันจะหักเหสะท้อนกลับมาสู่หัวตรวจต่างกันตามชนิดของเนื้อเยื่อ จากนั้นเครื่องจะนำคลื่นเสียงที่สะท้อนกลับแปลงเป็นภาพ 2 มิติ ซึ่งเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องตามการเคลื่อนที่ของหัวตรวจในขณะนั้น
-
วิธีการตรวจ
หญิงตั้งครรภ์นอนเพื่อรับการตรวจในท่านอนหงาย เปิดหบริเวณหน้าท้องขึ้น แพทย์จะนำหัวตรวจมาแตะที่หน้าท้อง แล้วเลื่อนหัวตรวจไปมาเพื่อตรวจครรภ์
-
-
-