Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะฝีหนองที่เต้านม Breast abscess (🌀 สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง…
ภาวะฝีหนองที่เต้านม
Breast abscess
☠️ พยาธิสภาพ
พยาธิสภาพเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียซึ่งเชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อย ได้แก่ สแตปฟิโลค็อกคัสออเรียส (Staphylococcus aureus) โดยเชื้อแบคทีเรียจะเข้าไปในเต้านมผ่านทางหัวนมและลานนมที่ถลอกหรือหัวนมแตกและทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อตามมา (mastitis) ในระยะแรกจะมีการอักเสบติดเชื้อเพียงส่วนเดียวของเต้านม (lobe) ซึ่งน้ำนมเป็นอาหารอย่างดีในการเพาะเลี้ยงเชื้อแบคทีเรียที่เข้าไปในเต้านมซึ่งจะส่งผลให้แบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดีและแพร่กระจายไปยัง lobe อื่นได้หากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสมก็จะกลายเป็นฝีหนองตามมา (breast abscess) และจะพบหนองไหลออกมาผ่านทางน้ำนมได้
🌐 ความหมาย
ภาวะที่เกิดการอักเสบติดเชื้อแล้วเกิดน้ำหนองรวมกันเป็นกลุ่มในเต้านมเกิดขึ้นในช่วง 2-3 สัปดาห์หลังคลอด
🌀 สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
เต้านมคัดตั้งหรือมีน้ำนมคั่งในเต้านม
ตั้งครรภ์ครั้งแรกอายุ 30 ปี
มีความผิดปกติที่เต้านมหรือได้รับการผ่าตัดเต้านม
หัวนมแตกหรือมีแผลที่หัวนม
มารดาหลังคลอดที่ทำงานนอกบ้าน
ท่อน้ำนมอุดตัน
ประวัติสูบบุหรี่
การติดเชื้อที่เต้านม
🔅 อาการและอาการแสดง
เต้านมข้างที่เป็นฝีจะมีลักษณะบวมแดงร้อนและเจ็บปวดมากคลำได้ก้อนดัง
ต่อมน้ำเหลืองที่ใต้รักแร้ข้างเดียวกับเต้านมข้างที่ป็นสิจะโตและกดเจ็บถ้าหากปล่อยไว้ไม่รักษาบางครั้งอาจทำให้ฝีแตกและมีหนองไหลออกมาได้
หนาวสั่นปวดศีรษะปวดเมื่อยตามตัว
คลื่นไส้อาเจียน
หัวใจเต้นเร็ว
อุณหภูมิกายมากกว่า 38. 4 องศาเซลเซียส
กดเจ็บมากและผิวหนังเหนือบริเวณที่มีก้อนเปลี่ยนเป็นสีแดง
🔆 การรักษา
บรรเทาอาการปวดให้รับประทานยาแก้ปวดลดไข้ (analgesics and antipyretics)-เช่นพาราเซตามอล (paracetamol) ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) เป็นต้นตามความเหมาะสม
ให้ยาปฏิชีวนะเพื่อช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดฝีถ้ารับประทานยาปฏิชีวนะแล้วมีอาการดีขึ้นให้รับประทานยาปฏิชีวนะนาน 1-2 สัปดาห์หากอาการยังไม่ดีขึ้นภายใน 3 วันหลังจากรับประทานยาปฏิชีวนะควรไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลซึ่งการรักษาจำเป็นต้องได้รับการผ่าระบายเอาหนองออก
การระบายเอาหนองที่เต้านมออกโดยการใช้เข็มขนาดใหญ่ (เบอร์18) หรือผ่าตัดโดยใช้มีดกรีดผิวหนังระบายเอาหนองออกค่ารให้ยาปฏิชีวนะการเจาะดูดเอาหนองออกอาจต้องทำการเจาะดูดออกทุกวันจนปริมาณหนองที่ออกมาลดลงจนต์กว่า10ซีซีแล้วนัดฟางขึ้นเป็น 3 วัน 5 วัน 7 วันจนกว่าหนองจะหมด
สามารถให้นมลูกได้ในข้างที่เต้านมเป็นฝีที่ระบายเอาหนองออกแล้วยกเว้นในกรณีที่มีอาการเจ็บมากหรือการผ่าเป็นแผลขนาดใหญ่ใกล้ลานนมและให้ลูกดูดนมจากเต้าข้างที่ปกติอย่างสม่ำเสมอเมื่อผู้ขึ้นหรือแผลเริ่มหายก็สามารถกลับมาให้นมข้างนั้นได้อีกครั้งซึ่งมักใช้เวลาประมาณ 2-3 วันดีขึ้น
🛑 การประเมินและวินิจฉัย
การซักประวัติ
มารดาหลังคลอดที่ให้นมบุตรไม่ถูกวิธีหัวนมแตกหรือมีแผลที่หัวนม
เชื้อที่เต้านมหรือหัวนมมารดาตั้งครรภ์ครั้งแรก
ท่อน้ำนมอุดตันเต้านมคัดตึงเคยมีประวัติการติดซื้อที่เต้านมหรือหัวนม
การตรวจร่างกาย
เต้านมข้างที่เป็นฝีจะบวมแดงร้อนคลำได้ก้อนถึงกดเจ็บมากและผิวหนังเหนือบริเวณที่มีก้อนจะเปลี่ยนเป็นสีแดง
ต่อมน้ำเหลืองที่ใต้รักแร้ข้างเดียวกับเต้านมข้างที่เป็นฝีจะโตและกดเจ็บร่วมด้วยและกรณีที่มีการติดเชื้อรุนแรงอาจพบหนองไหลออกมาจากเต้านม
ไข้อุณหภูมิกายมากกว่า 38. 4 องศาเซลเซียสหนาวสันปวดเมื่อยตามร่างกาย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
CBC ส่งเพาะเชื้อจากน้ำนมหรือของเหลวที่ออกจากเต้านม
การอัลตราซาวนด์เต้านมเพื่อหาตำแหน่งหนองและเจาะดูดหนองหรือสารคัดหลังบริเวณที่มีฝีหนอง
ส่งเพาะเชื้อจากหนองตรวจหาความไวของเชื้อ
นายอภิวัฒน์ วงษา ชั้นปีที่ 3 เลขที่ 68 25A