Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอด (Postpartum hemorrhage: PPH)…
การพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอด
(Postpartum hemorrhage: PPH)
หมายถึง
การเสียเลือดตั้งแต่ 500 มิลลิลิตรภายหลังการคลอดปกติและหากมีการเสียเลือดมากกว่า 1, 000 มิลลิลิตร เรียกภาวะตกเลือดหลังคลอดรุนแรงสำหรับการผ่าตัดคลอดจะให้การวินิจฉัยภาวะตกเลือดหลังคลอดเมื่อมีการเสียเลือดจากการผ่าตัดมากกว่า 1,000 มิลลิลิตร
การจำแนกชนิดของภาวะการตกเลือดหลังคลอด (Classification of PPH) โดยแบ่งได้เป็น 2 แบบ ตามระยะเวลาของการเกิดตกเลือดหลัง
Primary or early postpartum hemorrhage (การตกเลือดหลังคลอดในระยะแรก) คือการตกเลือดที่เกิดขึ้นภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมงที่แรกหลังคลอดสาเหตุ ได้แก่ 4T 's
4 Thrombin: abnormal thrombin clotting time
ความผิดปกติของเกร็ดเลือดและระบบการแข็งตัวของเลือด
3 Tissue: placental tissue การเหลือค้างของ ผลผลิตจากการตั้งครรภ์เช่นรกทารกเป็นต้น
1 Tone: uterine tone
ความผิดปกติของการหดรัดตัวของมดลูก
2 Trauma: genital tract trauma
การบาดเจ็บที่ช่องทางคลอดและอวัยวะสืบพันธุ์
Secondary or Late postpartum hemorrhage
(การตกเลือดหลังคลอดในระยะหลัง)
คือ การตกเลือดที่เกิดขึ้นภายหลังคลอด 24 ชั่วโมงจนถึง 12 สัปดาห์หลังคลอดสาเหตุได้แก่
ภาวะติดเชื้อภายในโพรงมดลูกผู้ป่วยมักมีอาการของการติดเชื้อให้เห็นเช่น มีไข้น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็นปวดท้องน้อยมดลูกไม่เข้าอู่
เลือดออกจากแผลภายในช่องคลอดมักเกิดจากการติดเชื้อบริเวณแผล ภายในช่องคลอด
มีก้อนเลือดหรือเศษรกค้างอยู่ภายในโพรงมดลูกซึ่งเป็นสาเหตุที่พบ ได้บ่อยที่สุดมักเกิดภายหลังคลอดประมาณ 1-2 สัปดาห์
การพยาบาลเพื่อการป้องกันการตกเลือดหลังคลอดทันที
ระหว่างคลอด
ทำสูติศาสตร์หัตถการเมื่อมีข้อบ่งชี้ชัดเจน
การบริหารยา Uterotonic drugs เป็นขั้นตอนแรกของ AMTSL: Active management of third stage of labor (WHO, 2012) แนะนำให้บริหารยาเมื่อคลอดไหล่หน้าของทารก หรือเมื่อคลอดทารกแล้วยาที่ใช้บ่อยมี 3 กลุ่ม
-ให้ Oxytocin 10 unit IM หรือ 10 20 unit per titre V drip at 100-150 cc. / hr.
-Ergometrine or Melthylergome trine (Methergine) 0. 2 mg. IM
-ProstaglandinE1: (Cytotec) 400-600 microgram สอดช่องคลอด
มีการใช้ Pathograph เพื่อติดตามการเจ็บครรภ์คลอดเพื่อป้องกันการเจ็บครรภ์ คลอดที่เนิ่นนานมีการพิจารณาให้ยากระตุ้นการคลอดโดยแพทย์อย่างสมเหตุผล (Rational Drug Use: RDU) ตามข้อบ่งชี้รวมทั้งฟังเสียงหัวใจทารกอย่าง สม่ำเสมอสังเกตเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด
ควรทำคลอดรกให้ถูกวิธีในระยะเวลาที่สั้นที่สุดและ ทำการตรวจรกทุกครั้งว่าครบหรือไม่
ในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงต่อการตกเลือดหลังคลอดให้งดน้ำและอาหารทางปาก ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำและเตรียมเลือดไว้อย่างน้อย 2 ยูนิต ร่วมกับการตรวจ หาระดับความเข้มข้นของเลือด
หลีกเลี่ยงการใช้ยาสลบประเภท Halo thane
ตรวจสอบแผลฝีเย็บช่องทางคลอดและปากมดลูกทุก ครั้งภายหลังรกคลอด
ระยะก่อนตั้งครรภ์
ผู้ป่วยที่มีประวัติตกเลือดหลังคลอดและมีบุตรเพียงพอแล้วสมควรที่จะได้รับการทำหมัน
ระยะหลังคลอด
ในกรณีที่ให้ Oxytocin หยดเข้าทางหลอดเลือดดำเมื่อทารกคลอดแล้วควรให้ต่ออย่างน้อย 1-2 ชั่วโมงและภายหลังคลอดควรเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดตรวจการหดรัดตัวของมดลูกแผลฝีเย็บปริมาณเลือดที่ออกและดูแลกระเพาะปัสสาวะให้ว่างและบันทึกสัญญาณชีพทุก 15 นาที 4 ครั้งทุก 30 นาทีอีก 2 ครั้งและทุก 1 ชั่วโมงจนกว่าอาการจะปกติ
ให้การดูแลเเบบ AMTSL: Active manage ment of third stage of labor (WHO, 2012) เพื่อลดเวลาของระยะที่ 3 ของการคลอดซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด
การทำคลอดรกด้วยวิธี Controlled cord traction เพราะช่วยลดเวลาในระยะที่ 3 ของการคลอดทำให้เสียเลือดลดลง
การนวดคลึงมดลูกด้วยมือทันทีหลังรกคลอดประเมินการแข็ง ตัวของมดลูกทุก 15 นาทีจนครบ 2 ชั่วโมงภายหลังคลอด
การให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกตั้งแต่ระยะที่ 2 ของการคลอดกับมารดาทุกรายโดยใช้ Oxytocin 10 ยูนิตให้ทางน้ำเกลือหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อต้นแขนกรณีที่ไม่สามารถให้ Oxytocin ได้ให้ใช้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกตามความเหมาะสม ได้แก่ Melthylergometrine (Methergine), misoprostol (Cytotec)
ระหว่างตั้งครรภ์
ประเมินและเตรียมสตรีตั้งครรภ์แต่ละรายเพื่อหาความเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอดเช่นมดลูกขนาดใหญ่ เช่น ครรภ์แฝด ทารกตัวโต ครรภ์แฝดน้ำ ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการหดรัดตัวไม่ดีของมดลูกหลังคลอด เคยผ่าตัดคลอดมาก่อน เคยตกเลือดหลังคลอดมาก่อน มีภาวะรกเกาะต่ำหรือรกลอกตัวก่อนกำหนดมีภาวะ severe preeclampsia หรือ HELLP syndrome ได้รับการชักนำการคลอดได้รับ Oxytocin นานระยะคลอดยาวนานหรือคลอดเร็วเกินไปมีภาวะติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำคลอดโดยการใช้หัตถการช่วยคลอด
หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวควรได้รับการให้คำปรึกษาในการดูแลตนเอง การเตรียมตัวคลอดเตรียมความพร้อมสำหรับภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น
ตรวจคัดกรองและแก้ไขภาวะซีดในสตรีตั้งครรภ์ถ้าพบว่าสตรีตั้งครรภ์มีภาวะซีดให้หาสาเหตุและรักษาภาวะดังกล่าวให้ดีขึ้น เช่นแนะนำให้กินอาหารที่มีประโยชน์และเสริมวิตามินธาตุเหล็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นกลุ่มความเสี่ยงสูง
การวินิจฉัยการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก
ตรวจการหดรัดตัวของมดลูกโดยใช้มือคลำหน้าท้อง
ตรวจดูการฉีกขาดของซ่องคลอดและปากมดลูก
อาการแสดงของการเสียเลือด ได้แก่ ความดันโลหิตต่ำ ชีพจรเบาเร็ว หน้าซีด เหงื่อออก ตัวเย็น ใจสั่น มีอาการช็อก
ตรวจดูรกที่อาจจะค้างอยู่โดยตรวจรกอย่างละเอียดและ ใช้มือตรวจในโพรงมดลูก
การวัดปริมาณเลือดที่ออกทางช่องคลอดภายหลังทารกคลอดรวมทั้งที่ซึม ผ้าถุงผ้ารองก้นหรือไหลนองพื้นแล้วมากกว่า 500 มิลลิลิตร
ตรวจเลือดเพื่อหาสาเหตุจากความผิดปกติในกลไกการแข็งตัวของเลือด
การพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอด
ตรวจหาความเข้มข้นเลือดขณะตั้งครรภ์
การดูแลรักษาภาวะโลหิตจาง
การประเมินปัจจัยเสี่ยงเพื่อการเฝ้าระวังและเตรียมการช่วยเหลือให้พร้อม
ระมัดระวังในการทำคลอดที่ถูกวิธี
รายที่มีภาวะเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอดควรให้สารน้ำทางหลอดเลือดไว้ก่อนคลอด
ถ้าพบว่ามีรกลอกตัวสมบูรณ์ให้ทำคลอดรกทันทีไม่ปล่อยทิ้งไว้เพราะเลือดจะออกมากหลังทำคลอดรกต้องคลึงมดลูกให้แข็งตัวหลังทารกคลอดฉีดยาช่วยให้มดลูกหดรัดตัวทันที่ทุกราย
ไม่คลึงนวดมดลูกก่อนรกคลอดเพราะจะทำให้มดลูกหดรัดตัวรบกวนการลอกของรกและปากมดลูกหดเกร็งทำให้รกคลอดไม่ได้
ดูแลผู้คลอดในระยะ 2 ชั่วโมงหลังคลอดให้ถูกต้องโดยเฉพาะการหดรัดตัวของมดลูกสังเกตเลือดที่ออกจากช่องคลอดและการมีกระเพาะปัสสาวะเต็มซึ่งขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูก
ถ้าคาดว่าจะมีการตกเลือดให้เตรียมยาสารน้ำและอุปกรณ์กู้ชีวิตไว้ให้พร้อมใช้งานได้ทันที
รายที่มีประวัติทารกตายในครรภ์นาน ๆ มีภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดควรตรวจระดับไฟบริโนเจนและจองเลือด
การพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอดหลักสำคัญ 4 ประการ
ค้นหาสาเหตุเพื่อป้องกันและขจัดสาเหตุ
ค้นหาอาการในระยะเริ่มแรก
เตรียมสารน้ำยาที่จำเป็นและอุปกรณ์ช่วยชีวิตให้พร้อม
ให้การพยาบาลอย่างรวดเร็วนิ่มนวลคำนึงถึงผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ใช้กระบวนการพยาบาล โดยเน้นความปลอดภัยของผู้คลอดและความสุขสบายทั้งทางกายและทางใจ
การพยาบาลขณะตกเลือดหลังคลอด
สังเกตและบันทึกรายงานสัญญาณชีพการหดรัดตัวของมดลูกปริมาณเลือดที่ออกทุก 15 นาที
จัดให้นอนในท่าที่สบายคลึงมดลูกให้แข็งตัว-ดูแลการให้สารน้ำและยาช่วยการหดตัวของมดลูกอย่างสมเหตุผล (RDU)
ถ้าความดันโลหิตต่ำให้ผู้คลอดนอนราบไม่ต้องใช้หมอนหนุนศีรษะเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้อย่างเพียงพอ
ให้ออกซิเจน
ดูแลความสุขสบายทั่วไป
ให้การประคับประคองจิตใจลดความกลัวและวิตกกังวลอธิบายให้เข้าใจกิจกรรมการรักษาพยาบาลทุกครั้งเพื่อเกิดความมั่นใจลดความวิตกกังวล
การพยาบาลการตกเลือดหลังคลอดทันทีแบ่งออกเป็น 2 ระยะ
การดูแลการตกเลือดก่อนรกคลอดสาเหตุอาจมี ได้หลายประการดังนั้นต้องทำคลอดรกโดย
1 ตรวจดูว่ารกลอกตัวสมบูรณ์แล้วหรือไม่ถ้าลอก ตัวสมบูรณ์แล้วรีบทำคลอดรกทันที
2 สวนปัสสาวะเพื่อให้การหดตัวของมดลูกดีขึ้น คาสายสวนปัสสาวะไว้อย่างน้อย 24 ชั่วโมงเพื่อวัด ปริมาณของปัสสาวะที่ออกมา
3 ตรวจวัดสัญญาณชีพการหดรัดตัวของมดลูกปริมาณเลือดที่ออกทุก 15 นาที
4 ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ได้แก่ NSS หรือ ARI 1, 000
มิลลิลิตรร่วมกับ Oxytocin 10-20 ยูนิตโดยเร็วพร้อมทั้งเจาะเลือด มารดาเพื่อตรวจหาระดับความเข้มข้นของเลือดและขอเลือดเตรียมไว้อย่างน้อย 2 ยูนิต
5 ให้ Methergin 0. 2 มิลลิกรัมเข้าทางกล้าม เนื้อ (ยกเว้นในรายที่มีภาวะความดันโลหิตสูง)
6 ทำคลอดรกโดยวิธี Controlled cord traction
ถ้ารกไม่คลอดให้ล้วงรก
7 ภายหลังรกคลอดแล้วให้สำรวจภายในโพรงมดลูกอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้แน่ใจว่า ไม่มีเศษรกค้างอยู่และมดลูกไม่ทะลุแล้วจึงตรวจดูว่ารกคลอดครบหรือไม่และใน ระหว่างนี้ต้องคลึงมดลูกให้แข็งตัวตลอดเวลา
การดูแลการตกเลือดภายหลังรกคลอด
1 ตรวจดูการหดรัดตัวของมดลูกถ้ามดลูกหดรัดตัวไม่ดีและมีเลือดไหลออก มาตลอดเวลาโดยพบว่ามีทั้งน้ำเลือดและก้อนเลือดสาเหตุของการตกเลือดใน กรณีนี้น่าจะเกิดจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดีให้ปฏิบัติดังนี้
1). คลึงมดลูกให้หดรัดตัวตลอดเวลา
2). สวนปัสสาวะออกให้หมดและคาสายปัสสาวะไว้
3). ให้ NSS หรือ ARI 1, 000 มิลลิลิตรซึ่งมี Oxytocin 10-20 ยูนิตผสมอยู่หยดเข้าทางหลอดเลือดดำโดยเร็วและขอเลือดเตรียมไว้ 2-4 ยูนิต
4). ให้ Methergin 0. 2 มิลลิกรัมเข้าทางกล้ามเนื้อ
5). วางกระเป๋าน้ำแข็งบริเวณหน้าท้องและคลึงให้มดลูกหดรัดตลอดเวลา
2 ตรวจดูการฉีกขาดของช่องทางคลอดถ้ามดลูกหดรัดตัวดีแล้วแต่ยังมีเลือดไหลออกเรื่อย ๆ และมีสีค่อนข้าง แดงสดให้ใช้เครื่องมือถ่างขยายช่องคลอดให้เห็นภายในช่องคลอดและปากมดลูกตรวจหารอยฉีกขาดให้เย็บรอย ฉีกขาดเหล่านั้นโดยใช้ไหมละลายการเย็บปากมดลูกต้องระวังไม่เย็บมากเกินไปเพราะอาจเกิดการปิดของรูปาก มดลูกตามมาภายหลังได้หลังจากที่มดลูกเข้าอู่ตามปกติแล้ว
3 กรณีทำตามข้อที่ 2. 1, 2. 2 แล้วเลือดยังออกเรื่อย ๆ ให้ตรวจภายในโพรงมดลูกภายใต้การดม ยาสลบโดยงดเว้นการใช้ฮาโลเทนเพื่อค้นหาก้อนเลือดหรือเศษรกตกค้างอยู่หรือไม่ถ้ามีพยายามล้วง ออกให้หมดและถ้าพบว่ามดลูกมีรอยฉีกขาดหรือทะลุให้รีบผ่าตัดเปิดช่องท้องทันที
4 กรณีที่ทำตามข้อ 2. 1, 2. 2, 2. 3 แล้วเลือดยัง ออกเรื่อย ๆ ให้การรักษาดังนี้
1). ตรวจเลือดหา Venous clotting time, Clot retraction time และ Clot lysis โดยเฉพาะในกรณีที่เลือดออกเป็นสีน้ำเลือดไม่แข็งตัวเป็นก้อนถ้าพบว่า Venous clotting time เกิน 15 นาทีหรือมี Clot lysis เกิดขึ้นภายในเวลา 1-2 ชั่วโมงแสดงว่าเกิดภาวะไฟบริโนเจนในเลือดต่ำแก้ไขโดยให้พลาสมาสดหรือพลาสมาสดแช่แข็งหรือ Cryopre cipitate
2). ทำ Bimanual compression โดยสอดกำมือขวาเข้าไปในช่องคลอดกดบริเวณ Anterior fornix และใช้มือซ้ายคลึงมดลูกบริเวณหน้าท้องกดและบีบผนังมดลูกให้เข้าหากันร่วมกับการคลึงมดลูกให้หดรัดตัวตลอดเวลาใช้เวลาประมาณ 30 นาทีขึ้นไป
3). กรณีตกเลือดหลังคลอดทันทีจากการหดรัดตัวของมดลูกไม่ดีและทำตามขั้นตอนดังกล่าวแล้วเลือดยังไม่หยุดควรพิจารณาฉีด Prostaglandin ได้แก่ Sulprostone (Nalador) ในขนาด 0. 5 มิลลิกรัมฉีดเข้ากล้ามเนื้ออาจฉีดซ้ำทุก 10-15 นาทีได้ไม่เกิน 6 ครั้ง
ถ้าทำตามข้อ 2. 1 ถึง 2. 4 แล้วยังคงมีเลือดออกอยู่เรื่อย ๆ ถ้าอายุมากหรือมีบุตรเพียงพอแล้วให้ตัดมดลูกออกกรณีอายุน้อยและยังต้องการมีบุตรอีกให้ทำการผ่าตัดช่วยเช่นผูกหลอดเลือด
การพยาบาลการตกเลือดหลังคลอดระยะหลัง
รายที่มีเศษรกหรือก้อนเลือดค้างอยู่ภายในโพรงมดลูก ให้ Oxytocin แล้วทำการขูดมดลูกด้วยความระมัดระวัง
รายที่มีการติดเชื้อในโพรงมดลูกพิจารณาให้ Methergin เพื่อช่วยให้ มดลูกหดรัดตัวดีร่วมกับยาปฏิชีวนะ
รายที่มีเลือดออกจากบริเวณแผลในช่องคลอดให้ทำความสะอาดและเย็บ
แผลให้เลือดหยุดถ้าเนื้อเยื่อบริเวณแผลยุ่ยมากเย็บแล้วเลือดไม่หยุดอาจ ต้องกดไว้หรือใส่ Vaginal packing ร่วมกับการให้ยาปฏิชีวนะ
การรักษาด้วยยา
Oxytocin (Syntocinon®) Oxytocin 10 ยูนิต / มล. ใช้เป็นยาตัวแรกเพราะอาการข้างเคียงน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับยาตัวอื่น ๆ Oxytocin อาจให้โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือทางหลอดเลือดดำคือ 10 – 40 ยูนิตต่อ 1000 มิลลิลิตรปรับอัตราตามการหดรัดตัวของมดลูกต่อเนื่องด้วยอัตราเร็ว 100-150 มิลลิลิตรต่อชั่วโมงไม่มีข้อห้ามในการใช้ยาแต่มีผลข้างเคียงของยาในด้าน antidiuretic effect ทำให้มีน้ำเกินในร่างกายความดันโลหิตต่ำชีพจรเต้นเร็ว
Ergot alkaloids (Methergine) Methylergonovine 0. 2 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรเป็น ergot alkaloids ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (ห้ามให้ทางหลอดเลือดดำ) ให้ซ้ำได้ทุก 2 ชั่วโมง (max 5 amp / day) ข้อบ่งห้ามของการใช้ยาคือห้ามให้ในผู้คลอดที่มีความดันโลหิตสูงมากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอทเนื่องจากอาจเกิดปัญหาความดันโลหิตสูงอย่างรุนแรงและกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
Prostaglandins
Misoprostol (Cytotec) เป็น synthetic prostaglandin E1 analogue (100 หรือ 200 ไมโครกรัม / เม็ด) ขนาดยาที่ใช้คือ 800-1000 ไมโครกรัมเหน็บทางทวารหนักครั้งเดียวอาการข้างเคียงอาจทำให้มีให้มีไข้หนาวสั่นห้ามใช้ยาตัวนี้ร่วมกับ Nalador เนื่องจากอาจทำให้เกิด Arrhythmia
Prostaglandin E2 (Prostin E2°) เป็น naturally occuring oxytocin ประกอบด้วย dinoprostone 20 มิลลิกรัมซึ่งอาจจะให้โดยการสอดทางช่องคลอดหรือทางทวารหนักอาการข้างเคียงคือทำให้มีไข้
Sulprostone (Nalador) Sulprostone 500 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรขนาดที่ใช้คือ 500 ไมโครกรัมใน NSS 100 มิลลิลิตรหยดทางหลอดเลือดดำใน 1 ชั่วโมงต่อเนื่องด้วยอัตรา 100 ไมโครกรัมต่อชั่วโมง (สูงสุด 1500 ไมโครกรัมต่อ 24 ชั่วโมง) ห้ามฉีดโดยไม่มีการเจือจางก่อน
การพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการตกเลือดหลังคลอด
การพยาบาลเมื่อมีภาวะช็อกจากการเสียเลือด (Haemorrhage shock)
ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ได้แก่ RLS 1, 000 มิลลิลิตรปรับหยดของชุดให้สารน้ำให้ ไหลเต็มที่ (Free flow) หากหมดต่อด้วย RLS 1, 000 มิลลิลิตรอัตรา 80 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง
จัดท่านอนให้เหมาะสมให้ผู้คลอดนอนราบไม่ต้องใช้หมอนหนุนศีรษะเพื่อให้
เลือดไปเลี้ยงสมองได้อย่างเพียงพอห่มผ้าให้ความอบอุ่นเพื่อบรรเทาอาการ
หนาวสั่นและช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น
สังเกตระดับความรู้สึกตัวและอาการผิดปกติเช่น หน้ามืด ใจสั่น เหงื่อออก ตัวเย็นซีด
ประเมินการตอบสนองของร่างกายรายที่ไม่รู้สึกตัวดูให้ทางเดินหายใจโล่ง เช่น การดูดเสมหะกรณีหายใจลำบากมีอาการขาดออกซิเจนให้ออกซิเจน
ประเมินและบันทึกสัญญาณชีพทุก 15 นาทีจนมีอาการปกติหลังจากนั้นบันทึก ทุก 4 ชั่วโมงเพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติและให้การช่วยเหลือได้ทันที
ใส่สายสวนคาปัสสาวะเพื่อให้กระเพาะปัสสาวะว่างไม่ขัดขวางการหดรัดตัวของ
มดลูกและบันทึกปริมาณปัสสาวะทุก 1 ชั่วโมงเพื่อดูการทำงานของไตถ้าเกิดภาวะ
ช็อกปัสสาวะจะออกน้อยกว่า 30 มิลลิลิตรต่อชั่วโมงและบันทึกจำนวนน้ำที่ได้รับ เพื่อประเมินความสมดุลของน้ำในร่างกายป้องกันภาวะได้รับสารน้ำเกิน
ค้นหาสาเหตุของการมีเลือดออกและรีบแก้ไขตามสาเหตุนั้น ๆ
สังเกตลักษณะสีและจำนวนเลือดที่ออกทางช่องคลอด
ดูแลให้ได้รับเลือด (PRC ประกอบด้วยเซลล์เม็ดเลือดแดงซึ่งแยกส่วนของ พลาสมาออก) ตามแผนการรักษาเพื่อช่วยเพิ่มปริมาณของเม็ดเลือดแดงระมัดระวัง ไม่ให้เลือดผิดกลุ่มและสังเกตอาการแทรกซ้อนระหว่างการได้รับเลือด
ให้การพยาบาลประคับประคองตามอาการเมื่อผู้คลอด
พ้นภาวะตกเลือดและช็อก
ให้คำแนะนำเสริมสร้างกำลังใจประคับประคองให้สามารถเผชิญ
ความเครียดและสามารถปรับตัวในการเป็นมารดาได้อย่างเหมาะสม
การพยาบาลเมื่อมีภาวะติดเชื้อหลังคลอด (Peurperal infection)
การให้คำแนะนำในการรักษาสุขภาพสุขวิทยาส่วนบุคคล
การทำคลอดที่ถูกวิธีและเทคนิคที่ถูกต้อง
ประเมินอาการของการติดเชื้อคือการมีไข้หลังคลอดอุณหภูมิสูง 38 องศาเซลเซียสหรือ สูงกว่าติดต่อกัน 2 วันในช่วง 10 วันแรกไม่นับ 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด
ตรวจดูแลแผลฝีเย็บว่ามีอาการบวมเลือดแผลฝีเย็บบวมแดงร้อนมี หนองกดเจ็บรอบ ๆ แผลปวดมากขณะถ่ายปัสสาวะหรือไม่
ตรวจดูลักษณะของน้ำคาวปลาว่ามีกลิ่นเหม็นน้ำ คาวปลาไม่เปลี่ยนสีมีสีน้ำตาลแดงหรือเป็นหนอง
มีอาการปวดท้องรุนแรงกดเจ็บหน้าท้องแข็งตึงมดลูกมีขนาดใหญ่
อาการไข้สูงอ่อนเพลียหนาวสั่นหายใจเร็วอาเจียนเบื่ออาหาร
อุณหภูมิของร่างกายต่ำกว่า 36 องศาเซลเซียสแต่ชีพจรเร็วกว่า
100 ครั้งต่อนาทีแสดงว่าผู้ป่วยอยู่ในภาวะวิกฤต
ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้องตามแผนการรักษา
ทำแผลระบายหนองรายที่มีแผลอักเสบ
ดูแลแก้ไขอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ เช่นอาการปวดมีไข้การส่งเสริม การไหลของน้ำคาวปลาโดยจัดให้นอนท่า Fowler 's position
การพยาบาลเมื่อเกิดอันตรายที่เกิดจากผลของการรักษา (Hazards of therapy)
Fluid overlord มีอาการหายใจเร็วหายใจลำบากการพยาบาลคือลดจำนวนหยดของสารน้ำที่กำลังให้อยู่และรายงานแพทย์
Shock lung มีอาการหายใจช้าตื้นหายใจลำบากกระสับกระส่ายความดันโลหิตเพิ่มขึ้นเล็บมือเล็บเท้าเขียวหายใจเสียงดังการพยาบาลคือรีบรายงานแพทย์ควบคุม Ventilator ระหว่าง 50-70 มิลลิเมตรปรอท
Oxygen toxicity มีอาการกล้ามเนื้อเกร็งกระตุกซักการพยาบาลคือรายงานแพทย์ระวังอันตรายจากการชัก
การพยาบาลเมื่อเกิดภาวะเนื้อเยื่อของต่อมใต้สมองส่วนหน้าตาย (Postbirth anterior pituitary necrosis, Sheehan syndrome)
หมายถึง การมีเนื้อเยื่อของต่อมใต้สมอง (Pituitary) ส่วนหน้าตายเนื่องจากการขาดเลือดไปเลี้ยงเป็นเวลานานเนื่องจากปริมาณเลือดในร่างกายต่ำ (Hypovolumia) และผลจากเลือดไม่แข็งตัวทั่วร่างกาย (DIC) ทำให้เกิดความผิดปกติในการควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของต่อมต่าง ๆ ที่ถูกควบคุมโดย Anterior pituitary เช่นไทรอยด์ฮอร์โมนฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตและการทำงานของต่อมเพศทำให้สตรีผู้นั้นมี Sex characteristic เปลี่ยนไปคือเต้านมจะเรียวเล็กลง ไม่มีน้ำนมเลี้ยงบุตร ขนที่รักแร้และหัวเหน่าจะร่วงหลุดไปและไม่งอกออกมาอีกอวัยวะเพศภายนอกจะลีบเล็ก ไม่มีประจำเดือน แก่เร็ว เหนื่อยง่าย อารมณ์หงุดหงิดง่ายเป็นต้น
การให้คำแนะนำการปฏิบัติตนก่อนกลับบ้านตามหลัก D-M-E-T-H-O-D
D Diagnosis ให้ความรู้เรื่องโรคที่เป็นอยู่ถึง สาเหตุอาการ การปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง
M Medicine แนะนำการใช้ยาที่ตนเองได้รับอย่างละเอียดสรรพคุณของยาขนาดวิธีใช้ข้อควรระวังในการใช้ยาตลอดจนการสังเกตภาวะแทรกซ้อนรวมทั้งข้อห้ามการใช้ยาด้วย
E Environment/ Economic การจัดการสิ่งแวดล้อมที่บ้านให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการปัญหาด้านเศรษฐกิจบางรายอาจจะต้องฝึกฝนอาชีพใหม่
T Treatment ทักษะที่เป็นตามแผนการรักษาเช่นการทำแผลรวมถึงการเฝ้าสังเกตอาการตนเองและแจ้งให้พยาบาลทราบ
H Health การส่งเสริมฟื้นฟูสภาพทางด้านร่างกายและจิตใจตลอดจนการป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
O Out patient การมาตรวจตามนัดการติดต่อขอความช่วยเหลือจากสถานพยาบาลใกล้บ้านในกรณีเกิดภาวะฉุกเฉินตลอดจนการส่งต่อผู้ป่วยให้ได้รับการดูแลต่อเนื่อง
D Diet การเลือกรับประทานอาหารเหมาะสมกับโรคหลีกเลี่ยงหรืองดอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ