Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลหญิงตั้งครรภ์ ANC (NOTOFY (Obesity (ผลกระทบ (ต่อหญิงตั้งครรภ์…
การดูแลหญิงตั้งครรภ์
ANC
ข้อมูลผู้ป่วย
หญิงตั้งครรภ์
อายุ 35 ปี
G2P1-0-0-1
GA 30 wk 3 day by date
EDC : 6 มิถุนายน 2563
LMP : 31 สิงหาคม 2562
ครรภ์แรก Full term Normal Labor เพศชาย น้ำหนักแรกคลอด 3500 กรัม ปัจจุบันแข็งแรงดี
ประวัติการเจ็บป่วย : ปฎิเสธ
ประวัติการผ่าตัด : ปฎิเสธ
ประวัติการแพ้ยา : ปฎิเสธ
ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว : ปฎิเสธ
ได้รับวัคซีนบาดทะยักยังไม่ครบ 3 เข็ม :
ครั้งที่ 1 : 26 ธันวาคม 2562
ครั้งที่ 2 : 23 มกราคม 2563
30 มี.ค. 63
ตรวจปัสสาวะ พบ Albumin +3
ความดันโลหิต 160/100 mmHg
ตรวจพบอาการบวมระดับ +2
น้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์ 84.4 kg ส่วนสูง 165 cm
BMI 31.02 kg/m2 (Obesity)
น้ำหนักปัจจุบัน 98.2 kg
Total weight 13.8 kg
ปกติแล้วในการตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์ต้องมีน้ำหนักขึ้นได้ไม่เกิน 7-11.5 kg
การตรวจร่างกาย
ตรวจครรภ์
2/4 > สะดือ Vertex presentation OA HF FHS = 130 bpm
ตรวจร่างกายตามระบบ
-ศีรษะ คลำไม่พบก้อน ไม่พบบาดแผล
มีอาการปวดศีรษะ
-ตา เยื่อบุใต้ตาไม่ซีด
-จมูก ไม่พบอาการอักเสบในโพรงจมูก
-ปาก ไม่พบฟันผุ ไม่พบอาการอักเสบบริเวณเหงือก
-เต้านม ปกติดี คลำไม่พบก้อน ไม่พบหัวนมบอด บุ๋ม สั้น
-แขนขา พบ
บวม ระดับ 2+
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจคัดกรอง
คัดกรองธาลัสซีเมีย
couple counseling
หญิงตั้งครรภ์
Hb E Screening : Positive
Hb typing : Hb E trait
MCV : 73.6 ต่ำกว่าปกติ ค่าปกติ = 79.9-97.6
(หญิงตั้งครรภ์มีพาหะธาลัสซีเมีย)
หลังจากตรวจพบว่าสามี-ภรรยาเป็นพาหะธาลัสซีเมีย
มีโอกาสที่ทารกจะเป็นโรคเท่ากับ 25%
โอกาสที่ทารกจะมียีนแฝงเท่ากับ 50%
โอกาสลูกจะปกติเท่ากับ 25%
สามี
Hb E Screening : Positive
Hb typing : Hb E trait
MCV : 84.8 ปกติ
(สามีเป็นพาหะธาลัสซีเมีย)
คัดกรองเบาหวาน
BS 50 gm
ครั้งที่ 1
17 ตุลาคม 2562
ผล : 132 mg/dL ค่าปกติ < 140
ครั้งที่ 2
20 กุมภาพันธ์ 253
ผล : 117 mg/dL ค่าปกติ < 140
ผลตรวจ โลหิตวิทยา
17 ตุลาคม 2562
Hb 12.7
Hct 39.5
VDRL Non-reactive
HBs Ag Negative
HIV Ab Negative
ABO Group B
Rh group Positive
Ab Screening Negative
ผลตรวจ ปัสสาวะ
17 ตุลาคม 2562
Glucose Negative
Albumin Negative
14 พฤศจิกายน 2562
Glucose Negative
Albumin Negative
30 มีนาคม 2563
Glucose Negative
Albumin +3
NOTOFY
Intramural posterior myoma ขนาด 3.8 cm
เนื้องอกโตในกล้ามเนื้อมดลูกด้านหลัง
อาการที่พบได้บ่อย
มีเลือดประจำเดือนออกมากผิดปกติ
คลำพบก้อนในท้อง หรือ รู้สึกว่าท้องโตขึ้น
อาการปวดหน่วงท้องน้อย บางรายมีอาการปวดประจำเดือนร่วมด้วย
อาการที่เกิดจากกดเบียดของก้อนเนื้องอกต่ออวัยวะใกล้เคียง ถ้าโตมาด้านหน้า ( anterior ) จะกดเบียดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้มีอาการปัสสาวะบ่อยได้ , ถ้าโตมาด้านหลัง ( posterior ) จะกดเบียดลำไส้ใหญ่ ทำให้มีอาการท้องผูกได้
มีบุตรยาก หรือ แท้งบุตรบ่อย เกิดจากเนื้องอกมดลูกที่กดเบียดในโพรงมดลูก
หญิงตั้งครภ์ไม่พบอาการ
มี 3 ชนิด
Subserous myoma
เนื้องอกที่โตยื่นออกไปจากตัวมดลูก
Submucous myoma
เนื้องอกที่โตในโพรงมดลูก
Intramural myoma
เนื้องอกที่โตในกล้ามเนื้อมดลูก
ผลกระทบ
เนื้องอกมดลูกที่มีขนาดน้อยกว่า 3 เซนติเมตรไม่พบว่ามีผลกระทบต่อภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์
ถ้ามีขนาดมากกว่า 5 เซนติเมตรอาจจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและเสียเลือดมากในระหว่างคลอดบุตร
เนื้องอกมดลูกที่มีขนาดมากกว่า 10 เซนติเมตรอาจทำให้เกิด fetal compression syndrome ได้โดยจำกัดการขยายของโพรงมดลูกทำให้ทารกถูกกดเบียดและอาจเกิดความพิการได้
การรักษา
ไม่กดเบียดมดลูก
ขนาดระหว่าง 3-5 พิจารณาเป็นกรณี
ขนาด > 5 cm myomectomy
กดเบียดมดลูก
มักจะทำ การตัดเฉพาะเนื้องอกมดลูก ( myomectomy ) เพื่อลดความเสี่ยงเมื่อเนื้องอกมีขนาด > 5 cm ในกรณีที่มีบุตรเพียงพอแล้ว อาจทำ ตัดมดลูก ( hysterectomy )
Obesity
ผลกระทบ
ต่อหญิงตั้งครรภ์
ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (gestational diabetes mellitus)
ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ (hypertensive disorders)
ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน (thromboembolic disorders)
การคลอดล่าช้า (prolonged labor)
และการชักนำการคลอด (inductionof labor)
การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง (cesarean section)
ความยากลำบากในการใช้ยาระงับความรู้สึก (obstetric anesthesia)
ต่อทารก
ภาวะแท้งบุตร (miscarriage)
ทารกเสียชีวิตในครรภ์ (fetal death) และเกิดไร้ชีพ (stillbirth)
ความผิดปกติทางโครงสร้างของ ทารกในครรภ์ (fetal structural abnormality)
ทารกตัวโต (macrosomia) และ น้ำหนักตัวมากกว่าอายุครรภ์
(large for gestational age)
สาเหตุสำคัญ
ภาวะไม่สมดุลของพลังงานที่ร่างกายได้รับจากการรับประทานอาหาร
การใช้พลังงานของร่างกาย อาจเกิดขึ้นในกรณีที่รับประทานอาหารที่ให้พลังงานมากกว่าการใช้พลังงานของร่างกาย หรือมีการใช้พลังงานลดลง
ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยง
การรับประทานอาหารที่มีพลังงานสูง (energy-dense foods)
มีกิจกรรมประจำวันที่เคลื่อนไหวร่างกายน้อย (sedentary lifestyle)
การรับประทานอาหารจานใหญ่/แก้วใหญ่ (large portion sizes)
การรับประทานอาหารตามร้านอาหารหรือภัตตาคารบ่อยครั้ง
พันธุกรรม
ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ
แนวทางการดูแล
ประเมินค่า BMI หญิงตั้งครรภ์ทุกรายในครั้งแรกที่มาฝากครรภ์ โดยช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการประเมิน คือ น้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์หรืออายุครรภ์น้อยกว่า 10สัปดาห์ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการวางแผนการพยาบาลที่เหมาะสม รวมทั้งควรส่งเสริมความรู้ด้วยการให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบ และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับมารดาและทารก รวมถึงน้ำหนักตัวที่ควรเพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์ในแต่ละไตรมาสและตลอดการตั้งครรภ์
ส่งเสริมและสนับสนุนให้หญิงตั้งครรภ์ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปกติ
ด้านการบริโภคอาหาร (dietary therapy)
** กลุ่มข้าว-แป้ง ควรรับประทานในรูปคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ได้แก่ ธัญพืช ข้าวไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ เป็นต้น
** กลุ่มอาหารประเภทกากใย ได้แก่ ผัก และผลไม้ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดการดูดซึมน้ำตาล ไขมัน และโคเลสเตอรอล โดยแนะนำให้รับประทานเป็นประจำทุกวัน และมีสีที่หลากหลายเพื่อให้ได้วิตามินและเกลือแร่ครบถ้วน แต่ทั้งนี้ต้องหลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีรสชาติหวาน เพราะมีปริมาณน้ำตาลสูงเกินความจำเป็น
** กลุ่มแคลเซียม เช่น ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแห้ง และนม โดยเน้นให้ดื่มนมไขมันต่ำ นมจืดพร่องมันเนย หรือนมขาดมันเนยเป็นประจำทุกวัน
** กลุ่มอาหารประเภทโปรตีน ได้แก่ เนื้อสัตว์ควรเลือกรับประทานให้หลากหลายชนิด แต่หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ติดมัน เช่น หมูสามชั้น หนังไก่ สำหรับ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ไขมันอิ่มตัว รวมทั้งเลือกอาหารที่ปรุงด้วยวิธีการต้ม นึ่ง ปิ้ง ยำแทนการทอดหรือผัดด้วยน้ำมัน
** น้ำดื่ม ควรเลือกดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีรสหวาน หรือมีปริมาณน้ำตาลเป็นส่วนประกอบสูง รวมถึงงดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
** กระตุ้นให้สตรีตั้งครรภ์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม เช่น หลีกเลี่ยงการกินขนม หรือของจุบจิบขณะดูทีวีหรือนั่งทำงาน การกินอาหารเพราะรู้สึกเสียดาย และการนั่งหรือนอนหลังรับประทานอาหารอิ่ม เป็นต้น
** แนะนำอาหารเสริมเท่าที่จำเป็นเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ โฟลิค 5 มิลลิกรัม/วัน ครั้งแรก ที่มาฝากครรภ์และไอโอดีนเสริม 150 ไมโครกรัม/วัน เพื่อช่วยในการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางระบบ ประสาทที่ดีป้องกันทารกผิดปกติแต่กำเนิด
ด้านกิจกรรมทางกาย(physical activity)
** แนะนำและกระตุ้นให้ควบคุมกำกับตนเอง ให้เคลื่อนไหวร่างกายในชีวิตประจำวันอย่างต่อเนื่อง มากกว่าการนั่งหรือนอนเป็นเวลานานๆ
** แนะนำหญิงตั้งครรภ์ในเรื่อง การออกกำลังกาย ควรทำอย่างสม่ำเสมอ และ ควรออกกำลังในระดับปานกลางที่ไม่หักโหมจนเกินไป ใช้เวลาวันละประมาณ 30 นาทีหรือมากกว่า ก่อนออกกำลังกายทุกครั้ง ควรมีการอบอุ่นร่างกายอย่างน้อย 5 - 10 นาที เพื่อป้องกันการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ
ภาวะอ้วน (obesity) หมายถึงการมีเนื้อเยื่อไขมันมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ ผู้ชาย มากกว่าร้อยละ 20 และ ผู้หญิง มากกว่าร้อยละ 30 หรือมีดัชนีมวลกาย 30 กก./ม.2 หรือมากกว่า
หญิงตั้งครรภ์มี BMI 31.02 kg/m2
Elderly Pregnancy
แนวทางการดูแล
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น
โรคธาลัสซีเมีย เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการให้กำเนิดทารกที่เป็นโรคธาลัสซีเมีย
แนะนำการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่จำเป็นก่อนการตั้งครรภ์ เช่น การฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน หรือไวรัสตับอักเสบบี
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับความเสี่ยง และภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ที่พบได้ในสตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุมาก รวมทั้งแนวทางการป้องกันแก้ไข
แนะนำมารดาให้มาตรวจตามนัดอย่างตรงเวลา
การตรวจประเมินทารกในครรภ์
การตรวจด้วยอัลตราซาวนด์
การตรวจกรองทารกกลุ่มอาการดาวน์
ตรวจครั้งเดียวในไตรมาสแรก (Combined Test) ทำได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 11-13 สัปดาห์ โดยการตรวจอัลตราซาวนด์วัดความหนาของต้นคอทารกร่วมกับการตรวจเลือด
ตรวจครั้งเดียวในไตรมาสที่ 2 (Quadruple Test) ในกรณีที่มาฝากครรภ์หลังไตรมาสแรกสามารถตรวจเลือดในช่วงอายุครรภ์ 15-20 สัปดาห์
นิฟตี้เทสต์ (NIFTY Test) เป็นเทคโนโลยีใหม่ในการตรวจกรองทารกกลุ่มอาการดาวน์ โดยการตรวจดีเอ็นเอของทารกในเลือดหญิงตั้งครรภ์
การเจาะน้ำาคร่ำ
ตรวจในช่วงอายุครรภ์ 18-20 สัปดาห์
การตรวจอื่นๆ ตามความเห็นของแพทย
เช่น การตัดชิ้นเนื้อจากรก การเจาะเลือดจากสายสะดือทารกในครรภ์ การตรวจการทำงานของหัวใจทารก (non-stress test: NST)
มารดาปฎิเสธการเจาะน้ำคร่ำเพื่อประเมินทารกในครรภ์
แพทย์ได้ส่งตัวมารดาเพื่อปรึกษา MFM ได้ทำ
Anomaly scan
Anomaly scan
ครั้งที่ 1
วันที่ 7 ม.ค. 63
GA 18 wk 3 day by U/S
ทารกในครรภ์ปกติดี
Anomaly scan
ครั้งที่ 2
และ Fetal wellbeing
วันที่ 4 ก.พ. 63
GA 22 wk 2 day by U/S
ทารกในครรภ์ปกติดี และ มีการเจริญเติบโตที่ปกติ
ตรวจในไตรมาส 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อ
ตรวจหาความผิดปกติของทารกในครรภ์
ตรวจดูการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
Problem risk
น้ำหนักของหญิงตั้งครรภ์เพิ่มมากขึ้นเกินมารตรฐาน
หญิงตั้งครรภ์มีน้ำหนักขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ 13.8 kg
ในครั้งนี้หญิงตั้งครรภ์มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 1.1 kg
มารดามีอายุ 35 ปี
เสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์
การพยาบาล
แนะนำหญิงตั้งครรภ์ในเรื่องการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย ดังนี้
อธิบายหญิงตั้งครรภ์ในเรื่องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือใกล้เคียงตลอดการตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ และไม่ให้ทารกตัวโตเกินไป
งดอาหารที่มีน้ำตาลสูง เพื่อจำกัดจำนวนน้ำตาลที่เข้าสู่ร่างกาย ได้แก่ น้ำตาล น้ำผึ้ง นมข้นหวาน ขนมหวานต่าง ๆ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
แนะนำหญิงตั้งครรภ์ให้เลือกอาหารที่เป็นธัญพืช เช่น ข้าวกล้องแทนข้าวขาว
งดรับประทานผลไม้ที่มีรสหวานจัด ได้แก่ ทุเรียน ลำไย ขนุน องุ่น มะม่วงสุก เป็นต้น ผลไม้ที่มีน้ำตาลน้อย เช่น มะละกอสุก แอปเปิ้ล แก้วมังกร ฝรั่ง มะพร้าว แตงโม ลูกพรุน
ควรรับประทานผักและผลไม้ให้ได้ 5 ส่วนต่อวัน และไม่ควรรับประทานผลไม้อบแห้ง หรือผักที่เป็นหัวเพราะจะมีคาร์โบไฮเดรตสูง เช่น มันฝรั่ง เผือก แครอท ถั่ว ฟักทอง เป็นต้น
โปรตีน ควรเน้นอาหารโปรตีนที่มาจากเนื้อสัตว์ที่มีไขมันต่ำ เช่น ปลา หมูเนื้อแดง ไก่ชนิดที่ไม่ติดหนัง เนื้อวัวไม่ติดมัน เป็นต้น สำหรับโปรตีนจากพืช เช่น ถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วลิสง และงา
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น หมูติดมัน หนังไก่ เป็นต้น และใช้ไขมันจากพืชเพื่อป้องกันภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง
แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ในเรื่อง การออกกำลังกาย ควรทำอย่างสม่ำเสมอ และ ควรออกกำลังในระดับปานกลางที่ไม่หักโหมจนเกินไป ใช้เวลาวันละประมาณ 30 นาทีหรือมากกว่า ก่อนออกกำลังกายทุกครั้ง ควรมีการอบอุ่นร่างกายอย่างน้อย 5 - 10 นาที เพื่อป้องกันการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ การออกกำลังกายขนาดปานกลางที่แนะนำ ได้แก่ โยคะคนท้อง ว่ายน้ำ ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ต้องอยู่ในท่านอนหงาย เนื่องจากหลอดเลือดดำใหญ่ (inferior vena cava)อาจถูกกดทับโดยมดลูกได้ และขณะออกกำลังกายถ้าเกิดการหดรัดตัวของมดลูก หรือมีเลือดออกจากช่องคลอดควรหยุดออกกำลังกายทันที
เสี่ยงต่อการเกิดคลอดก่อนกำหนด เนื่องจากมารดามีอายุมาก และมีอาการของ Severe preeclampsia
การพยาบาล
แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ ให้นับลูกดิ้นหลังรับประทานอาหาร 1 ชั่วโมงทุกมื้อ ทารกควรจะดิ้น 3-4 ครั้ง หรือทารกควรดิ้นอย่างน้อยวันละ 10 ครั้ง หากพบว่าทารกดิ้นน้อยลง หรือไม่ดิ้นเลย ให้มาพบแพทย์
การรับประทานอาหารและยา ให้หญิงตั้งครรภ์รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดอาหาร หวาน มัน เค็ม และหากหญิงตั้งครรภ์ขาดกรดโฟลิก จะทำให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดได้ อาหารที่มีกรดโฟลิก เช่น ส้ม ผักใบเขียว ธัญพืช เป็นต้น อย่างไรก็ตามหากหญิงตั้งครรภ์ได้รับวิตามินบางชนิดมากเกินไป อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ เช่น วิตามินเอ ถ้ารับประทานมากไปจะเพิ่มความผิดปกติต่อทารกในครรภ์เป็น 2 เท่า ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานยาที่มีส่วนประกอบของวิตามินเอ และไม่ควรรับประทานตับเกินวันะ 50 กรัม
ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว การได้รับน้ำเพียงพอจะช่วยลดการหลั่งสารแอนติไดยูเรติกฮอร์โมน (antidiuretic hormone) และออกซิโตซิน (oxytocin) จากต่อมใต้สมองซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
การป้องกันการติดเชื้อโดยเฉพาะการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ เนื่องจากการขยายของมดลูกทำให้ความจุกระเพาะปัสสาวะลดลง และเกิดการติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้น หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ และดูแลความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ให้ถูกต้องเหมาะสม
การนอนหลับ หญิงตั้งครรภ์ควรนอนหลับอย่างเพียงพอในตอนกลางคืนอย่างน้อย 8 ชั่วโมง และในตอนกลางวัน 2-3 ชั่วโมง โดยเฉพาะช่วงปลายไตรมาสที่ 2 ถึงไตรมาสที่ 3 นอกจากนั้นควรนอนตะแคงซ้ายอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง เพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปสู่มดลูก ทำให้การหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกลดลง
การผ่อนคลาย หญิงตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด เนื่องจากภาวะเครียด จะทำให้สารแคทที่โดลามีน (catecholamine) หลั่งออกมามาก มีผลทำให้เลือดไปเลี้ยงมดลูกลดลงและทำให้โพลสตาแกลนดิน(prostaglandin) หลั่งออกมากระตุ้นให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์ควรหาวิธีการที่จะช่วยให้ร่างกายและจิตใจได้ผ่อนคลาย เช่น ฟังเพลงเบาๆที่ชอบ พูดคุยกับคนที่ทำให้สบายใ จการทำสมาธิ การสวดมนต์ตามศาสนาที่นับถือ เป็นต้น
การจำกัดกิจกรรมและการออกกำลังกาย หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด จำเป็นที่จะต้องหลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย และกิจกรรมงานบ้าน หรืองานอาชีพบางอย่าง ที่อาจทำให้เกิดการเจ็บครรภ์ตลอดก่อนกำหนดได้ เช่น การเดินขึ้นลงบันไดบ่อยๆ การเดินทางไกล การยืนนานๆ การทำงานอย่างหนัก หรือยกของหนัก เป็นต้น หลีกเลี่ยงการนั่งรถจักรยายนต์ เพราะอาจเกิดการกระทบกระเทือนระหว่างนั่งได้
หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติด หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ คาเฟอีน เพราะมีผลทำให้เลือดไปเลี้ยงมดลูกลดลง และทำให้พโพลสตาแกลนดินหลั่งออกมา กระตุ้นให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
งดการมีเพศสัมพันธ์ตลอดการตั้งครรภ์ การมีเพศสัมพันธ์จะทำให้มีหลั่งของโพลสตาแกลนดินทำให้เกิดการหดรัดตัวของมดลูก นอกจากนี้ การมีเพศสัมพันธ์ยังเป็นการนำเชื้อโรคเข้าสู่ปากมดลูกทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดเช่นกัน
หลีกเลี่ยงการกระตุ้นหัวนม เช่น หญิงตั้งครรภ์ที่ดึงบริหารหัวนม เพื่อแก้ไขปัญหาหัวนมสั้น เป็นต้น เพราะการกระตุ้นหัวนมจะกระตุ้นการหลั่งของออกซิโตซินทำให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอด
สังเกตอาการและอาการแสดงของการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ได้แก่
มดลูกบีบตัวแรงขึ้นและขึ้นมากกว่า 4 ครั้งใน 1 ชั่วโมงหรือทุก 15 นาทีแม้ในขณะที่นอนพักโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากการบีบรัดตัวเป็นจังหวะที่สม่ำเสมอ
ปวดเกร็งท้องคล้ายปวดประจำเดือนอาจปวดแล้วหยุดหายไปหรืออาจปวดตลอด
ปวดบริเวณต้นขาหรือหลังช่วงล่างอาจปวดเป็นพักๆหรือปวดตลอด
ปวดถ่วงในอุ้งเชิงกรานหรือรู้สึกคล้ายกับทารกดันลงมา คล้ายปวดอุจจาระ
ท้องเสียหรือลำไส้บิดตัวจนปวดท้อง
มีสารคัดหลั่งออกจากช่องคลอด อาจเป็นมูก มูกปนเลือด เลือด หรือน้ำคร่ำ
การมาตรวจตามนัดเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องอธิบายให้หญิงตั้งครรภ์เข้าใจ เพื่อให้มาตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
ตรวจปัสสาวะ พบ Albumin +3
ความดันโลหิต 160/100 mmHg
ตรวจพบอาการบวม +2
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะชัก เนื่องจาก Severe preeclampsia
การพยาบาล
ให้หญิงตั้งครรภ์ Admit
ให้ MgSO4
ให้ Antihypertensive drug เพื่อลดความดันโลหิต
ประเมินมารดา
CBC, Coagulogram, Cr, AST, UA, 24hr urine protine
ประเมินทารกในครรภ์
NST or BPP, U/S for fetal growth/AF/placenta, Doppler
ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
ประเมินสัญญาณชีพทุก 15 นาที
Retained forley's catheter แล้ว I/O ทุก 4 ชั่วโมง
เฝ้าระวังภาวะชัก
ไม่ให้ยาขับปัสสาวะ ยกเว้นเกิดภาวะ Pulmonary edema
Record FHS
รักษาแบบประคับประคอง โดย
ให้ Corticosteroids
ให้ยากันชักนาน 48 ชั่วโมง
ให้คลอดเมื่ออายุครรภ์ มากกว่าหรือเท่ากับ 32 สัปดาห์ หรือมารดาอยู่ในภาวะเสี่ยง
Severe preeclampsia
คือ การมีอาการของ preeclampsia ร่วมกับมีอย่างน้อยข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
SBP>=160
หรือ DBP>=110
Proteinuria 3 + dipstick
มีอาการปวดศีรษะ
ตาพร่ามัว จุกแน่นลิ้นปี
ปัสสาวะออกน้อยกว่า 500 มล. ภายใน 24 ชั่วโมง
Serum creatinine เพิ่มขึ้น
เกล็ดเลือดต่ำ
Serum transaminase เพิ่มขึ้น
ทารกโตช้าในครรภ์
Pulmonary edema
ภาวะแทรกซ้อน
ต่อมารดา
ต่อทารก
รกเสื่อมทำให้แท้ง หรือทารกตายในครรภ์ได้
คลอดก่อนกำหนด
รกลอกตัวก่อนกำหนด
ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
ทารกหลังคลอดมีภาวะแทรกซ้อน
ภาวะชัก
ภาวะหัวใจทำงานล้มเหลว
เสียเลือด และ shock จากรกลอกตัวก่อนกำหนด และตกเลือดหลังคลอด
เกิดภาวะ HELLP syndrome และภาวะ DIC
ภาวะไตวายเฉียบพลัน
ผลกระทบ
ด้านร่างกาย
มารดา
การแท้งบุตร
เกิดภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อย เช่น ความดันโลหิต
สูง รกเกาะต่ำ และโรคเบาหวาน
ความผิดปกติของการตั้งครรภ์ เช่น ตั้งครรภ์แฝด(สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการใช้เทคโนโลยีช่วยการ
เจริญพันธุ์) เสี่ยงต่อการเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูก
ปัญหาในระยะคลอด เช่น การคลอดก่อนกำหนด (Preterm
labour) การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
ทารก
ความผิดปกติทางโครโมโซมของทารก
ทารกมีน้ำหนักน้อย (Low birth weight)
อัตราการตายปริกำ เนิดของทารก (Perinatal mortality rate) มากขึ้น
ด้านจิตสังคม
ความเครียดและความวิตกกังวล
ความรู้สึกไม่แน่นอนต่อการตั้งครรภ์และ การคลอด
การยอมรับการตั้งครรภ์
สัมพันธภาพกับสาม