Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ฝีหนองที่เต้านม (breast abscess) (สาเหตุ (หัวนมแตกหรือมีแผลที่หัวนม,…
ฝีหนองที่เต้านม (breast abscess)
สาเหตุ
หัวนมแตกหรือมีแผลที่หัวนม
ท่อน้ำนมอุดตัน
การติดเชื้อที่เต้านม
เต้านมคัดตึง หรือมีน้ำนมคั่งในเต้านม
มีประวัติการติดเชื้อที่เต้านมหรือหัวนม
มีความผิดปกติที่เต้านมหรือได้รับการผ่าตัดเต้านม
ตั้งครรภ์ครั้งแรก
อายุ > 30 ปี
ประวัติสูบบุหรี่
มารดาหลังคลอดที่ทำงานนอกบ้าน
ความหมาย
ภาวะที่เกิดการอักเสบติดเชื้อแล้วเกิดน้ำหนองรวมกันเป็นกลุ่มในเต้านม ทำให้ผิวหนังเหนือบริเวณที่เกิดฝีหนองเปลี่ยนแปลงมีลักษณะคล้ำหรือช้ำเลือดช้ำหนองมักเกิดขึ้นใน ช่วง 2 – 3 สัปดาห์หลังคลอด
พยาธิ
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อย ได้แก่ สแตปฟีโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) โดยเชื้อแบคทีเรียจะเข้าไปในเต้านมผ่านทางหัวนมและลานนมที่ถลอกหรือหัวนมแตก และทาให้เกิดการอักเสบติดเชื้อตามมา (mastitis) ในระยะแรกจะมีการอักเสบติดเชื้อเพียงส่วนเดียวของเต้านม (lobe) ซึ่งน้านมเป็นอาหารอย่างดีในการเพาะเลี้ยงเชื้อแบคทีเรียที่เข้าไปในเต้านม ซึ่งจะส่งผลให้แบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดีและแพร่กระจายไปยัง lobe อื่นได้ หากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสมก็จะกลายเป็นฝีหนองตามมา (breast abscess) และจะพบหนองไหลออกมาผ่านทางน้านมได้
อาการ
เต้านมบวมแดง ร้อน และปวดมาก
คลำได้ก้อนตึง กดเจ็บมาก และผิวหนังเหนือบริเวณที่มีก้อนเปลี่ยนเป็นสีแดง
มีไข้ อุณหภูมิกายมากกว่า 38.4 องศาเซลเซียส หนาวสั่น
ปวดศีรษะ หัวใจเต้นเร็ว คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว
ต่อมน้ำเหลืองที่ใต้รักแร้ข้างเดียวกับเต้านมข้างที่เป็นฝีจะโตและกดเจ็บ
ฝีแตกและมีหนองไหลออกมาได้
การประเมินและการวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย
เต้านมข้างที่เป็นฝีจะบวมแดง ร้อน คลำได้ก้อนตึง กดเจ็บมาก มีไข้ อุณหภูมิกายมากกว่า 38.4องศาเซลเซียส ต่อมน้ำเหลืองที่ใต้รักแร้ข้างเดียวกับเต้านมข้างที่เป็นฝีจะโตและกดเจ็บ อาจพบหนองไหลออกมาจากเต้านม
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
ส่งตรวจ CBC ส่งเพาะเชื้อจากน้ำนมหรือของเหลวที่ออกจากเต้านม การอัลตราซาวนด์เต้านม เพื่อหาตำแหน่งหนองและเจาะดูดหนองหรือสารคัดหลั่งบริเวณที่มีฝีหนอง
ซักประวัติ
มารดาหลังคลอดที่ให้นมบุตรไม่ถูกวิธี,หัวนมแตกหรือมีแผลที่หัวนม ท่อน้ำนมอุดตัน เต้านมคัดตึง มารดาที่ทำงานนอกบ้าน
การรักษา
บรรเทาอาการปวด ให้รับประทานยาแก้ปวดลดไข้ (analgesics and antipyretics)
ให้ยาปฏิชีวนะ
การระบายเอาหนองที่เต้านมออกโดยการ needle aspiration หรือincision and drainage ควบคู่ไปกับการให้ยาปฏิชีวนะ
**สามารถให้นมลูกข้างที่เต้านมเป็นฝีที่ระบายเอาหนองออกแล้ว ยกเว้นกรณีที่มีอาการเจ็บมากหรือการผ่าเป็นแผลขนาดใหญ่ใกล้ลานนม ควรปั้มนมออกไม่ให้นมคัดตึง เมื่อแผลดีขึ้นกลับมาให้นมได้ หรือเมื่อแพทย์อนุญาต มักใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน
นางสาวณัชนันท์ หอมไสย เลขที่19 ห้องA