Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หลอดเลือดดำอักเสบ (Thrombophlebitis) (ปัจจัยเสี่ยง (ประวัติเคยมีการอักเสบข…
หลอดเลือดดำอักเสบ (Thrombophlebitis)
ความหมาย
การอักเสบของเยื่อบุหลอดเลือดพร้อมกับการเกิดลิ่มเลือดเกิดการอุดตันของหลอดเลือดบางส่วน การอักเสบมักเกิดขึ้นบริเวณหลอดเลือดบริเวณขา (femoral thrombophlebitis) และการอักเสบของหลอดเลือดดาอุ้งเชิงกราน (pelvic thrombophlebitis)
สาเหตุ
เกิดการคั่งของเลือด
การแข็งตัวของเลือดง่ายกว่าปกติ
การบาดเจ็บของหลอดเลือด
ปัจจัยเสี่ยง
ประวัติเคยมีการอักเสบของหลอดเลือดดำมาก่อน
เคยผ่าตัดเกี่ยวกับช่องท้องและอุ้งเชิงกราน
ภาวะอ้วน
ได้รับบาดเจ็บจากการคลอด
มารดาคลอดยากเบ่งคลอดนานโดยขึ้นขาหยั่ง (lithotomy)
ได้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
สูบบุหรี่
ถูกจำกัดกิจกรรมบนเตียง
มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน หัวใจ โลหิตจาง
พยาธิสภาพ
สืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของการตั้งครรภ์ เช่น การยืดขยายของมดลูกที่กดลงบนหลอดเลือดดา การเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดอุ้งเชิงกรานที่ขยายระหว่างการตั้งครรภ์ แต่ในระยะหลังคลอดมดลูกลดขนาดลงเลือดที่ไหลผ่านลดลงทันที จึงส่งผลทาให้เกิดการคั่งของเลือด รวมทั้งระหว่างการคลอดเกิดการบาดเจ็บของหลอดเลือด โดยเฉพาะในรายที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ทาให้เกิดการอักเสบของหลอดเลือดดา เมื่อหลอดเลือดดาถูกทาลายจึงส่งเสริมให้เกิด การสร้างลิ่มเลือด
อาการและอาการแสดง
แบ่งตามชนิดของหลอดเลือดดาที่เกิดการอักเสบ
มีการอักเสบของหลอดเลือดดาบริเวณส่วนผิว
มีอาการปวดน่องเล็กน้อย บวม แดงร้อน หลอดเลือดดาที่ขาจะแข็ง
มีการอักเสบของหลอดเลือดดาส่วนลึก
มีไข้ต่าๆ ผิวหนังร้อน แต่มองไม่เห็นหรือคลาไม่ได้ กดหลอดเลือดดาส่วนลึก ดันปลายเท้าเข้าหาลาตัวให้ น่องตึงจะรู้สึกปวดมาก (Homan’s sign positive) กล้ามเนื้อน่องเกร็ง ปวดตื้อๆที่น่องหรือที่ขา มีอาการบวมบริเวณขาเนื่องจากหลอดเลือดดาอุดตัน
แบ่งตามตาแหน่งของอวัยวะที่เกิดหลอดเลือดดาอักเสบ
การอักเสบของหลอดเลือดดาบริเวณขา
เกิดประมาณ 10 วันหลังคลอด พบอาการมีไข้ หนาวสั่น ไม่สุขสบาย ปวดเมื่อยร่างกาย มักจะมีอาการปวด บวมที่ขาเนื่องจากสร้างลิ่มเลือดในหลอดเลือดดาที่ขา ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดไม่สะดวก ขาข้างที่เป็นจะมีอาการแข็ง เจ็บปวด แดงร้อน และบวม ผิวหนังบริเวณที่ถูกยืดจากการบวมของขามักมีลักษณะบวมตึงและมีสีขาวซีด
การอักเสบของหลอดเลือดดาที่อุ้งเชิงกราน
เกิดขึ้นประมาณ 2 สัปดาห์หลังคลอด เป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงใน ระยะหลังคลอด โดยเฉพาะเมื่อมีการติดเชื้อ มักพบอาการ เช่น มีไข้สูง หนาวสั่น ปวดบริเวณหน้าท้องส่วนล่าง หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว ปวดเมื่อยตามร่างกาย
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ
ประวัติเคยมีการอักเสบของหลอดเลือดดามาก่อน เคยผ่าตัดเกี่ยวกับช่องท้องและอุ้งเชิงกราน สูบบุหรี่ มีโรคประจาตัว เช่น เบาหวาน หัวใจ
โลหิตจาง มีภาวะอ้วน BMI เกิน มารดาคลอดยาก เบ่งคลอดนานโดยจัดท่าขึ้นขาหยั่ง (lithotomy) เป็นเวลานาน
การตรวจร่างกาย
มีไข้ มีหลอดเลือดดาขอดพองบริเวณขา เคยผ่าตัดเกี่ยวกับช่องท้องและอุ้งเชิงกราน และมีการติดเชื้อที่มดลูก ผิวหนังร้อน แต่มองไม่เห็นหรือคลาไม่ได้ ดันปลายเท้าเข้าหาลาตัวให้น่องตึงจะรู้สึกปวดมาก (Homan’s sign positive) กล้ามเนื้อน่องเกร็ง ปวดตื้อๆที่น่องหรือที่ขา
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ติดตามการแข็งตัวของเลือด การอัลตราซาวนด์ (doppler ultrasonography) การเอกซเรย์ดูเส้นเลือด (venography)
การรักษา
ให้ยาต้านการจับตัวเป็นลิ่มเลือด (anticoagulant therapy) ส่วนมากมักให้ heparin ทางหลอดเลือดดา
ยาปฏิชีวนะ แพทย์อาจจะรักษาด้วยยาปฏิชีวนะแบบครอบคลุมเชื้อได้กว้าง
การผ่าตัดในรายที่มีอาการรุนแรง ไม่ตอบสนองจากการรักษาด้วยยา แพทย์อาจพิจารณาให้ผ่าตัดเอาลิ่มเลือดออก
ยาบรรเทาปวด ในรายที่ปวดมากอาจให้ยาระงับปวด
นางสาวณัชนันท์ หอมไสย เลขที่19 ห้องA