Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตรวจพิเศษทารกในครรภ์ ANC (CST (Contraction Stress Test) :<3:…
การตรวจพิเศษทารกในครรภ์
ANC
NST ( Nonstress Test) :<3:
วิธีการตรวจ
เปิดหน้าท้องใช้เข็มขัดรัดที่หน้าท้องของมารดา เพื่อฟังหัวใจของทารก และการบีบตัวของมดลูก และการดิ้นของทารก
มารดาจะได้รับปุ่มสำหรับกดเมื่อได้รู้สึกถึงการดิ้นของทารกในครรภ์
เครื่องมือจะบันทึกการเต้นของหัวใจของทารกเป็นเวลาประมาณ 20 นาที
ผลจะแสดงเป็นรูปกราฟ
เมื่อมารดากดปุ่มผลของการตรวจก็จะถูกแปลตามสภาวะนั้น
ให้ผู้ป่วยนอนบนเตียงในท่าศีรษะสูง
จะน่าเชื่อถือเมื่อ
ทำใน 6 – 8 สัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์
ช่วงเวลาที่ทารกมีการเคลื่อนไหวมากที่สุดของแต่ละวัน (เช่นหลังจากมารดา รับประทานอาหาร 1-2 ชั่วโมง)
ความหมาย
การตรวจสุขภาพของทารกโดยที่จะตรวจเมื่อทารกอายุมากกว่า 28 สัปดาห์
วัดนาน 20-30 นาที
มีการติดตัวรับสัญญานที่ผนังหน้าท้องของมารดาสองจุดคือที่ ส่วนยอดของมดลูก และบริเวณที่สามารถได้ยินหัวใจของทารกเต้น
ความปลอดภัยทั้งแม่และลูก
วัตถุประสงค์การตรวจ
การตรวจนี้จะบันทึกการการเต้นของหัวใจที่ตอบสนองต่อการเคลื่อนไหว หัวใจของทารกจะเต้นเร็วขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหว แต่เมื่อพักหัวใจทารกจะเต้นลดลง ซึ่งจะบ่งบอกว่าออกซิเจนไปเลี้ยงทารกปกติหรือไม่
การแปลผล
Reactive
ทารกเคลื่อนไหวอย่างน้อยสองครั้งใน 20 นาที
ในสองครั้งที่ทารกมีการ เคลื่อนไหวอัตราการเต้นของหัวใจจะเพิ่มขึ้นอีก ประมาณ 15 ครั้งต่อนาทีและสูงขึ้นอย่างน้อย 15 วินาที
Non-Reactive
ทารกไม่มีการเคลื่อนไหวหรือ ไม่มีการเพิ่มขึ้นของการเต้นของหัวใจ ในระหว่างที่ทำ
บ่อยครั้งในการตรวจที่จะได้ผล Nonreactive เนื่องจากทารกไม่มีการเคลื่อนไหวเพียงพอ ที่เครื่องจะทำการอ่านผลได้ แพทย์จะทำการตรวจซ้ำอีกครั้งเมื่อเด็ก Active มากขึ้น แต่ถ้าผลยังคงเป็น Nonreactive ก็จะทำการตรวจอัลตร้าซาวด์แบบที่เรียกว่า Biophysical แต่ถ้าผลยังคงไม่ชัดเจนแพทย์ก็จะต้องทำ Contraction Stress Test (CST) และถ้าหากผลการตรวจแสดงว่าทารกมีสุขภาพไม่แข็งแรงแพทย์อาจแนะนำให้ ทำการคลอดก่อนกำหนด
บุคคลที่ควรได้รับการตรวจ
มารดาที่รู้สึกว่าลูกดิ้นน้อยลงหรือหยุดดิ้น
ทารกในครรภ์มีการเจริญเติบโตช้ากว่าอายุครรภ์
มารดาที่ตรวจพบว่าน้ำคร่ำน้อยกว่าปกติ
มารดาตั้งครรภ์เกินกำหนด (42 สัปดาห์ )
มารดาเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หรือเป็นโรคหัวใจร่วมด้วย
มารดามีประวัติทารกตายคลอด
การพยาบาล
อธิบายขั้นตอนการทำ NST อย่างคร่าวๆ
จัดหญิงตั้งครรภ์อยู่ในท่า Semi-fowler
บันทึกความดันโลหิตก่อนทำ เพื่อตรวจสอบภาวะ supine hypotension
ใช้ tocodynamometer ของ external monitor คาดหน้าท้องมารดาเพื่อบันทึกการหดรัดตัวของมดลูกที่เกิดเองหรือเด็กดิ้น
ใช้ Doppler FHR transducer คาดเข้ากับหน้าท้องหญิงตั้งครรภ์ เพื่อบันทึก FHR ตลอดเวลาการทำ
ให้หญิงตั้งครรภ์ กด mark ทุกครั้งเมื่อเด็กดิ้น
เมื่อครบ 20 ครั้ง อ่านผลได้ และปลด tocodynomometer และ Doppler FHR transducer ออกจากหน้าท้องมารดา
CST (Contraction Stress Test) :<3:
ความหมาย
การประเมินสภาพของทารกในครรภ์จากภายนอก ผ่านจากมารดาโดยการ บันทึกการเต้นของหัวใจของทารกในขณะที่มีการบีบตัวของมดลูก อัตราการเต้นของ หัวใจของทารกและการบีบตัวของมดลูกจะถูกบันทึกไว้
การบีบตัวของมดลูกจะทำให้เลือดมาเลี้ยงทารกน้อยลงเป็นช่วงเวลาสั้นๆ จากการสังเกตอัตราการเต้นของหัวใจของทารกขณะที่มีการบีบตัวของมดลูก แพทย์จะสามารถบอกได้ว่าทารกสามารถรับมือกับสภาวะตึงเครียดของการบีบตัวของมดลูก นั้นได้ดีเพียงใด
การตรวจสอบภาวะสุขภาพของทารกในครรภ์ในขณะที่มีการหดรัดตัวของมดลูก
การตรวจจนี้แสดงถึง fetoplacental reserve ในภาวะปกติเมื่อมีการหดรัดตัวของมดลูกจะทำให้ปริมาณเลือดไปเลี้ยงมดลูก รกและทารกลดลง
ทารกในครรภ์ที่มีภาวะสุขภาพดีจะ สามารถทนต่อภาวะนี้ได้โดยไม่แสดงการเปลี่ยนแปลงของอัตราการเต้นของหัวใจ
ทารกที่สุขภาพไม่แข็งแรง หรือรกทำงานลดลง (placental insufficiency) ก็จะทนภาวะนี้ไม่ได้ ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ลดลงในช่วงระยะหลังของการหดรัดตัวของมดลูกแต่ละครั้ง (Iate deceleration)
จะตรวจเมื่อ
เมื่อ Nonstress Test ได้ผล Nonreactive
เมื่อผลของการตรวจ Biophysical profile ได้คะแนนต่ำ
เมื่อแพทย์สงสัยว่าทารกอยู่ในสภาวะที่มีความเสี่ยงสูง
วัตถุประสงค์
เพื่อตรวจสอบภาวะสุขภาพทารกในครรภ์
เพื่อความปลอดภัยของทารกในครรภ์
การแปลผล
Negative
การหดรัดหัวของมดลูก 3 ครั้งใน 10 นาที โดยไม่มี Late deceleration หรือ Variable deceleration
Positive
late deceleration ในการหดรัดตัวส่วนใหญ่(ครึ่งหนึ่งหรือมากกว่า)
โดนไม่มีการ หดรัดตัวมากเกินไป
ถ้ามี persistent late deceleration เกิดก่อนที่จะได้
การหดรัดตัวที่เพียงพอ
Late deceleration มากกว่า 50 % เมื่อมดลูกมีการหดรัดหัว (แม้ว่าการหดรัดหัวของมดลูกน้อยกว่า 3 ครั้งใน 10 นาที)
Equivocal
Suspicious
มี Late deceleration หรือ Variable deceleration น้อยกว่า 50%
Hyperstimulation
พบมี Late deceleration โดยมีมดลูกหดรัดหัวถี่กว่าทุก 2 นาที หรือหดรัดหัวนานกว่า 90 วินาที หรือหดรัดหัวตลอดเวลา (Tetanic contraction)
Unsatisfactory
ไม่สามารถอ่านผลของ FHR ได้หรือการหดรัดหัวของ มดลูกไม่พอเพียงคือ น้อยกว่า 3 ครั้งใน 10 นาที
วิธีการตรวจ
Nipple stimulation test
อาศัยกลไกการหลั่ง Oxytocin จากการกระตุ้นหัวนม
เมื่อมีการกระตุ้นหัวนมของหญิงมีครรภ์ จะทำให้กาส่งสัญญาณประสาทไปสู่ไขสันหลังผ่านไปยัง hypothalamus กระตุ้นให้ต่อมใต้สมองส่วนหลังให้หลั่ง hormone oxytocin เข้าสู่กระแสเลือด มีผลกระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบ มีฤทธิ์กระตุ้นมดลูกส่วน fundus มากกว่าปากมดลูก จะทำให้มดลุกมีการหดรัดตัว โดยจะเพิ่มแรงบีบ เพิ่มความถี่โดยมีระยะพักหลังมีการหดรัดตัวมดลูก
วิธี
จัดให้ผู้ป่วยนอนหงายหรือนอนตะแคงในท่าที่สบายและเหมาะสม
ติดสายรัด external FHR mornitor และ uterine activity
ให้มารดาใช้มือกระตุ้น คลึงเบา ๆ บริเวณยอด nipple ทำสลับ ซ้าย – ขวา โดยคลึงข้าง ละ 2 นาที แล้วหยุดพัก 3 นาที จึงเปลี่ยนไปกระตุ้นอีกข้างโดยวิธีเดียวกัน ทำไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งเริ่มมี Ut. Contraction จะแปลผลได้เมื่อมี contraction อย่างน้อย 3 ครั้งใน 10 นาที แต่ละครั้งกินเวลานาน 40-60 นาที
Oxytocin challenge test
เป็นการชักนำให้เกิดการหดรัดตัวของมดลูกโดยให้ Oxytocin ทาง intravenous drip
วิธี
จัดหญิงมีครรภ์นอนในท่า semi-Fowler’s หรือเอียงขวา (โดยยกสะโพกข้างหนึ่งขึ้นประมาณ 4 นิ้ว ด้วยหมอนแข็ง ๆ ) ไม่ให้มี supine hypotension
วัดความดันโลหิตเป็น base line ในระหว่างทดสอบเพื่อให้แน่ใจว่าไม่ supine Hypotension
ติด tocodynamometer และ Doppler FHR reactivity เข้ากับหน้าท้องมารดาและปรับให้ได้สัญญาณที่ดีที่สุด
เฝ้าสังเกต 15 – 20 นาที ประเมิน ประเมิน FHR reactivity ขณะที่มีการหดรัดตัวของมดลูกที่เกิดขึ้นเองโดยกำหนด ไว้ว่าการ หดรัดตัวของมดลูกที่เพียงพอคือ มี 3 ครั้ง ใน 10 นาทีDuration 40-60 วินาที
ถ้ามีการหดรัดตัวเองก็ไม่ต้องให้ oxytocin กระตุ้น ถ้าหากมีการหดรัดตัวเอง โดยไม่ได้ขนาด
เพียงพอแต่มี late deceleration เกิดขึ้นทุกครั้ง หรือเกือบทุกครั้งของการหดรัดตัวถือเป็นข้อบ่งห้ามในการกระตุ้นด้วย oxytocin ต่อ
ถ้าไม่มีการหดรัดตัวของมดลูกเริ่มให้ oxytocin โดยใช้ Infusion pump ในอัตรา 0.5 มิลลิยูนิต/นาที เพิ่มอัตราการให้อย่างช้า ๆ เช่น 2 เท่า ทุก ๆ 15 นาที จนกระทั่งได้ การหดรัดตัว 3 ครั้งใน 10 นาที แต่ละครั้งกินเวลานาน 40-60 นาที
ถ้าพบมี Iate deceleration เกิดขึ้นทุกครั้งที่หดรัดตัวแม้ว่าการหดรัดตัวยังไม่เพียงพอก็สรุปได้ว่า เป็นผลบวก และหยุดทดสอบได้
หลังหยุดให้ Oxytocin แล้วให้ Monitor การหดรัดตัวต่อไปจนกว่าการหดรัดตัวกลับคืนมาสู่ภาวะปกติ ใช้เวลาในการทดสอบราว 1-2 ชั่วโมง
ความเสี่ยง
อาจทำให้คลอดก่อนกำหนดดังนั้นจึงไม่ทำในรายที่เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด
ข้อห้าม
เคยมีการผ่าตัดคลอดโดยลงมีดในแนวตั้ง
อาจทำให้รกลอกตัวจากมดลูกดังนั้นจะไม่ทำในกรณีที่สงสัยว่ารกอาจลอกตัวก่อนกำหนด
จะไม่ตรวจในทารกแฝด
ในรายที่รกเกาะต่ำเพราะจะทำให้มีเลือดออก
การพยาบาล
จัดให้มารดานอนพักทำตะแคงซ้าย ศีรษะสูง 30 องศา เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงมดลูกเพิ่มขึ้น
ประเมินการหดรัดหัวของมดลูก ทุก 15 นาทีและควบคุมการหดรัดหัวของมดลูก ไม่ให้เกิน 60 วินาทีหรือหดรัดหัวไม่เกิน 3 ครั้งต่อ 10 นาที เพื่อให้การคลอดปกติ
ประเมินการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ทุก 15-30 นาที
ประเมินความหันโลหิต ชีพจรและการหายใจ ทุก 15 นาที
แนะนำการดูแลตนเองระหว่างและหลังการตรวจเพื่อให้สามารถดูแลตนเองมากขึ้น
เตรียมการให้ออกซิเจนและการฟื้นคืนชีพแก่ทารกแรกเกิดระหว่างการชักนำการคลอด
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจพบต่างๆ และการช่วยเหลือที่มารดาจะได้รับ เพื่อให้ มารดามั่นใจต่อการดูแลยิ่งขึ้น
BPP (Biophysical Profile) :<3:
ความหมาย
เป็นการตรวจ ultrasound ร่วมกับการตรวจ nonstress test (NST) เพื่อที่จะประเมินสุขภาพของทารกในช่วงการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3
ตรวจนี้เมื่อสงสัยสุขภาพของทารกว่ายังดีหรือไม่จากการตรวจด้วยวิธีอื่น หรืออาการอื่นๆ
ลักษณะที่สำคัญของทารก
การหายใจ
ปกติ
หายใจ 1 ครั้งใน 30 นาที
ผิดปกติ
ไม่มีการหายใจใน 30 นาที
การเคลื่อนไหว
ปกติ
มีการเคลื่อนไหวมากกว่า 2 ครั้งใน 30 นาที
ผิดปกติ
การเคลื่อนไหวน้อยกว่า2 ครั้งใน 30 นาที
Muscle Tone
ปกติ
มีการงอแขนหรือเหยียดแขนอย่างน้อย 1 ครั้ง
ผิดปกติ
มีการงอหรือเหยียดอย่างช้า
อัตราการเต้นของหัวใจ
ปกติ
มีการตอบสนองของหัวใจอย่างน้อย 2ครั้งใน 30 นาที
ผิดปกติ
หัวใจไม่ตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวอย่างน้อย 1 ครั้งใน 30 นาที
น้ำคร่ำ
ปกติ
มีถุงน้ำคร่ำมากกว่า1ถุง
ผิดปกติ
ไม่มีถุงน้ำคร่ำ
ข้อใดที่อยู่ในช่องปกติจะได้คะแนนเท่ากับ 2
ค่าใดที่ผิดปกติจะให้คะแนนเท่ากับ 0
ค่าปกติจะอยู่ระหว่าง 8-10
คะแนนต่ำกว่า 6 จะต้องมีการประเมินการตรวจอื่น
เมื่อไรควรตรวจ
จะตรวจในทารกที่อายุครรภ์มากกว่า 32 สัปดาห์
ตั้งครรภ์แฝด
คนท้องที่มีโรคประจำตัวเช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง โรคเลือด โรค SLE โรคไทรอยด์ โรคไต โรคหัวใจ
อายุครรภ์เกินกำหนดคลอด
เคยมีประวัติทารกเสียชีวิต
ทารกเคลื่อนไหวน้อยกว่าปกติ หรือการเจริญเติบโตน้อยกว่าปกติ
ปริมาณน้ำคร่ำมากหรือน้อยกว่าปกติ
มีปัญหาเรื่องกลุ่มเลือด Rh
มีปัญหาในการตรวจชนิดอื่น
วัตถุประสงค์
เพื่อตรวจสุขภาพทารกในครรภ์
วิธีการตรวจ
การตรวจ NST ซึ่งมีสายรัดหน้าท้องคนตั้งท้องโดยจะติดตามการเต้นของหัวใจทารก และสายรัดอีกเส้นหนึ่งจะวัดการบีบตัวของมดลูก จะทำการบันทึกการเคลื่อนไหวของทารก หัวใจของทารก การตอบสนองการเต้นของหัวใจเมื่อทารกเคลื่อนไหวโดยใช้เวลาวัด 20-30นาที
การทำ ultrasound เพื่อตรวจส่วนที่สำคัญ
เทคนิคการตรวจ
พิจารณาอายุครรภ์ที่คาดว่าถ้าผลการทดสอบพบว่าผิดปกติก็จะพิจารณาให้คลอดคือเริ่มตั้งแต่ 26-32 สัปดาห์
ในการทดสอบ BPP แต่ละครั้งควรตรวจวัดสัดส่วนอื่นๆ ด้วย (BPD, HC, AC, FL) และคัดกรองภาวะพิการโดยกำเนิด รวมทั้งรกไปด้วย
ตรวจวัดแอ่งน้ำคร่ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในแนวดิ่ง ในกรณีน้ำคร่ำมากพอ (แม้จะมี cord รวมด้วยก็ไม่เป็นไร) แต่ในรายน้ำคร่ำน้อยให้วัดแอ่งน้ำคร่ำในบริเวณที่ไม่มีสายสะดือรวมอยู่
ให้ใช้หัวตรวจคลื่นความถี่สูงตรวจแนวแกนยาวตามลำตัวทารก ซึ่งทำให้สามารถเห็นหน้า, แขนท่อนล่าง, มือ, ทรวงอก, จับเวลาเฝ้าสังเกตทารกจนกระทั่งสรุปได้ว่าทารกมี activity หรือจนครบ 30 นาที
ข้อดีและขีดจำกัด
ผู้ตรวจที่ได้รับการฝึกอบรมมาโดยเฉพาะจะใช้เวลาในการทดสอบโดยเฉลี่ย 20 นาที
เมื่อเทียบ CST แล้วมีผล false nagrative rate น้อยมากพอๆ กัน แต่ช่วยลด false positive ลง
ให้ข้อมูลที่มีประโยชน์อื่นๆ เช่น จำนวนทารก, ท่า, ความเสี่ยงของ IUGR, ตำแหน่งรก และ grading
อาจพบความพิการโดยกำเนิดสำคัญที่ไม่ได้ตรวจพบมาตั้งแต่ระยะแรกของการตั้งครรภ์
สามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวาง
ให้ความมั่นใจถึงความปกติของทารกในครรภ์ที่มีความเสี่ยง ทำให้สามารถประคับประคอง ยืดอายุครรภ์ไปจนเหมาะสม ป้องกันการทำ Intervention เร็ว โดยไม่จำเป็น
ช่วยในการ moniter การติดเชื้อในรายถึงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด จึงป้องกัน sepsis ทั้งในมารดาและทารก
Ultrasound :<3:
วัตถุประสงค์
การอัลตราซาวด์ในไตรมาสที่ 2
ตรวจความสมบูรณ์ของโครงสร้างศีรษะและโครงสร้างสมอง
ตรวจความสมบูรณ์ของอวัยวะบนใบหน้า
ตรวจความสมบูรณ์ของอวัยวะในช่องอก
ตรวจความสมบูรณ์ของอวัยวะในช่องท้อง
ตรวจความสมบูรณ์ของรูปทรงแขนขา
ตรวจความสมบูรณ์ของกระดูกสันหลังและพื้นผิว
ตรวจดูเพศของทารก
การอัลตราซาวด์ในไตรมาสที่ 3
ตรวจการเจริญเติบโตของทารก
ตรวจตำแหน่งและลักษณะของรก
ตรวจความผิดปกติที่เกิดขึ้นช่วงหลังของการตั้งครรภ์
การตรวจหลอดเลือดแบบพิเศษ (เฉพาะกรณีสงสัยการเจริญเติบโตผิดปกติ)
ตรวจวัดปริมาณน้ำคร่ำ
ความหมาย
เป็นวิธีการตรวจสอบเพื่อเช็คสภาพการเจริญเติบโตและความแข็งแรงของลูกที่อยู่ในครรภ์รวมถึงสภาพร่างกายของคุณแม่ด้วยภาพ
กลไกการตรวจ
การตรวจอัลตราซาวด์จะทำให้สามารถเห็นคลื่นอัลตราโซนิกเป็นภาพได้ ดังนั้นจึงสามารถตรวจสอบได้ด้วยการดูที่จอมอนิเตอร์หรือปริ้นท์ภาพออกมา และในบางโรงพยาบาลอาจจะสามารถขอให้ช่วยบันทึกภาพเป็นวีดีโอได้
มักจะถูกนำไปเปรียบเทียบกับเครื่องหาปลา คลื่นอัลตราโซนิกที่เป็นคลื่นความถี่สูงนั้น มีคุณสมบัติสะท้อนเส้นขอบอวัยวะภายในและเนื้อเยื่อเมื่อผ่านของเหลว
มีการนำเทคโนโลยีนี้มาประยุกต์ใช้ในทะเลโดยสร้างเป็นเครื่องหาปลา และมีการนำไปประยุกต์ใช้ในท้องของคุณแม่ที่เต็มไปด้วยน้ำคร่ำโดยนำไปตรวจสอบระหว่างการตั้งครรภ์
ประเภท
ใช้หัวตรวจ
อัลตราซาวด์ทางช่องคลอด
สอดอุปกรณ์ส่งคลื่นอัลตราโซนิกในรูปแบบแท่งที่เรียกกันว่าหัวตรวจทางช่องคลอดเข้าไปในช่องคลอด
ถูกนำมาใช้ตรวจอัลตราซาวด์ในครั้งแรกเป็นหลัก เนื่องจากวิธีการนี้จะถูกใช้จนถึงประมาณ 11 - 12 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์
การสอดเข้าไปในช่องคลอดจะช่วยให้เห็นมดลูกในตำแหน่งที่ใกล้กับลูกในครรภ์มากกว่า จึงสามารถได้ภาพที่ละเอียด และไม่เพียงแต่ได้ตรวจสภาพของลูกเท่านั้น แต่ยังสามารถตรวจสภาพความแข็งแรงของมดลูกและรังไข่ของคุณแม่ได้อีกด้วย
หัวตรวจจะมีการฆ่าเชื้อ และใส่ถุงยางอนามัยเฉพาะทางให้ทุกครั้ง จึงมีความสะอาดมาก
อัลตราซาวด์ทางหน้าท้อง
ทำตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์
ใช้หัวตรวจตรวจจากภายนอกท้อง โดยจะทาเจลสำหรับช่วยให้คลื่นอัลตราโซนิกผ่านได้ดีที่ท้อง และค่อย ๆ เลื่อนหัวตรวจเท่านั้น
ไม่มีความเจ็บปวด มีเพียงแค่จะรู้สึกเจลเย็นเล็กน้อย และจะต้องเปลี่ยนท่าทางและการหายใจตามคำสั่งให้ตรงกับตำแหน่งและการเคลื่อนไหวของลูก
การตรวจอัลตราซาวด์
Ultrasonotomography
เป็นวิธีที่แสดงข้อมูลที่ได้รับจากการสะท้อนของคลื่นอัลตราโซนิกเป็นภาพ 2 มิติ (แนวราบ)
เป็นวิธีการตรวจที่ใช้กันมากที่สุด มีทั้งแบบตรวจทางช่องคลอดและทางหน้าท้อง
Color Doppler Image
เป็นวิธีการตรวจอัลตราซาวด์ที่สามารถตรวจวัดปริมาณและความเร็วของกระแสเลือด
ทำให้รู้ถึงความผิดปกติของจำนวนเส้นเลือดในสายสะดือและรูปร่างหัวใจของลูก
3D
เป็นวิธีที่ช่วยให้เห็นรูปร่างจริงแบบ 3 มิติของลูกในท้อง ราวกับได้แอบมองลูกผ่านหน้าต่าง
4D
แสดงเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีมิติเวลาเพิ่มจากวิธี 3D โดยจะสามารถเห็นการเคลื่อนไหวเบา ๆ สบาย ๆ ราวกับลูกกำลังเดินสำรวจอวกาศอยู่ในน้ำคร่ำ
ขั้นตอนการตรวจ
ไม่ต้องมีการเตรียมตัวใดๆ ยกเว้น
กรณีอายุครรภ์น้อยกว่า 3 เดือน อาจต้องดื่มน้ำหลายๆ แก้วและกลั้นปัสสาวะ เพื่อให้มีน้ำอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ จะทำให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น
หากมีความจำ เป็นต้องตรวจผ่านทางช่องคลอด ให้ปัสสาวะทั้งก่อนการตรวจ
ส่วนใหญเ่ป็นการตรวจผ่านทางหน้าท้อง จะมีการทาเจลใสๆ บริเวณที่จะวางหัวตรวจลงไป
ภาพของมดลูก ทารก รก น้ำคร่่ำ หรืออวัยวะอื่นๆ จะปรากฏบนจอภาพ ส่วนใหญ่เป็นภาพขาวดา เคลื่อนไหวได ้อาจมีการบันทึกภาพ หรือพิมพ์เป็นภาพถ่ายขนาดเล็กและข้อมูลการตรวจออกมา
การเจาะน้ำคร่ำ Amniocentesis :<3:
หมายถึง
การตรวจคัดกรองในระหว่างการตั้งครรภ์ที่แพทย์อาจแนะนำให้คุณแม่ตรวจเพื่อวิเคราะห์สุขภาพของทารกในครรภ์
จะใช้ในกรณีที่ต้องการตรวจหาความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น ดาวน์ซินโดรม เป็นต้น
เป็นการตรวจพิเศษในกรณีที่แพทย์เจ้าของครรภ์สงสัยว่าทารกในครรภ์มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดความผิดปกติทางพันธุกรรม
ทว่าการตรวจด้วยวิธีเจาะน้ำคร่ำจะไม่สามารถระบุความพิการแต่กำเนิดในด้านร่างกายได้ เช่น การทำงานที่ผิดปกติของหัวใจ หรือภาวะปากแหว่ง เพดานโหว่ เป็นต้น เนื่องจากการตรวจนี้จะเน้นในด้านสารเคมีและพันธุกรรม อีกทั้งความผิดปกติของร่างกายนั้นแพทย์สามารถเห็นได้ตั้งแต่การตรวจอัลตราซาวด์ครรภ์ของคุณแม่ในช่วงไตรมาสที่ 2
วัตถุประสงค์
ช่วยให้แพทย์สามารถระบุความผิดปกติ หรือโรคทางพันธุกรรมได้หลายโรค
โรคที่เกี่ยวข้องกับโครโมโซม
กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม
กลุ่มอาการพาทัวซินโดรม (Patau's Syndrome)
เทอเนอร์ซินโดรม (Turner Syndrome)
โดยการเจาะน้ำคร่ำจะทำให้แพทย์ระบุกลุ่มอาการเหล่านี้ได้ยกเว้นการระบุความรุนแรงของอาการ
โรคทางพันธุกรรม
โรคซีสติกไฟโบรซีส (Cystic Fibrosis)
โรคธาลัสซีเมีย
การเจาะน้ำคร่ำจะไม่สามารถระบุโรคในคราวเดียวกันได้ โดยจะต้องนำตัวอย่างน้ำคร่ำไปตรวจหาโรคทีละโรคจึงจะเห็นผลชัดเจน
ปัญหาในการตั้งครรภ์
กรณีที่มารดาเคยมีปัญหาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์มาก่อนอาจต้องเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจดูความแข็งแรงของครรภ์ และความเสี่ยงอื่น ๆ ร่วมด้วย
ข้อห้าม
มีการติดเชื้อบริเวณผิวหนัง
ที่ต้องเจาะเข็มเพื่อดูดน้ำคร่ำออกมา เพราะอาจทำให้การติดเชื้อลามเข้าไปภายในครรภ์ได้
ความผิดปกติของระดับน้ำคร่ำและมดลูก
ในรายที่คุณแม่มีภาวะน้ำคร่ำน้อย หรือมีตำแหน่งของรกที่ผิดปกติ การเจาะน้ำคร่ำอาจประสบความสำเร็จ ในขณะที่หากมดลูกหดตัวก็อาจส่งผลกระทบได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ว่าจะสามารถเจาะได้หรือไม่
ข้อบ่งชี้
เพื่อวินิจฉัยความผิดปกติทางโครโมโซม
Down syndrome
cystic fibrosis
เพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อในน้ำคร่ำ
เพื่อประเมินความแรงของปอดของทารก
ความผิดปกติของโครงสร้างของร่างกาย
Spina bifida (การเปิดของสันหลัง กระดูกสันหลังไม่ปิด)
Anencephaly (สภาวะที่สมองไม่สมบูรณ์ หรือไม่มีสมอง)
ขั้นตอนการเจาะน้ำคร่ำ
แพทย์จะทำการตรวจครรภ์โดยจะใช้เครื่องอัลตร้าซาวด์
อายุครรภ์ที่แน่นอน
จำนวนของทารก
การเต้นของหัวใจ
ท่าและตำแหน่งของทารก
ตำแหน่งของรก
ว่าอยู่ที่ตรงไหนเพื่อป้องกันไม่ให้เข็มแทงไปถูกทารก สายสะดือ หรือรก
ก่อนเจาะแพทย์จะเตรียมผิวหนังหน้าท้องบริเวณที่จะเจาะโดยทำความสะอาดด้วยยาฆ่าเชื้อ บางครั้งอาจจำเป็นต้องใช้ยาชาเฉพาะที่ฉีดใต้ผิวหนัง
แพทย์จะใช้เข็มเล็กๆ ยาวๆเจาะผ่านผนังหน้าท้อง ผ่านลงไปที่มดลูก เข้าไปในถุงน้ำคร่ำแล้วดูดเอาน้ำคร่ำปริมาณ 15 -30 ml. (1ml. / อายุครรภ์ 1 สัปดาห์) ออกมานำไปปั่นหาเซลล์ของทารก เพื่อตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมต่อไป
การเจาะน้ำคร่ำใช้เวลาเพียง 2 –3 นาที คุณแม่สามารถกลับบ้านได้เลย ไม่จำเป็นต้องนอนพักที่โรงพยาบาล ภายใน 12 ชั่วโมงร่างกายจะสร้างน้ำคร่ำมาทดแทนได้เหมือนเดิม
การเจาะน้ำคร่ำอาจมีความรู้สึกเจ็บเหมือนถูกเข็มแทงสัก 2 -3 วินาที แต่เมื่อเข็มแทงผ่านลงไปแล้วความรู้สึกนั้นก็จะหายไป ความกลัวเข็มและเกร็งหน้าท้องขณะทำจะทำให้เจ็บมากขึ้น คุณแม่บางท่านจะมีควมรู้สึกเหมือนถูกกดบริเวณท้องน้อยขณะที่มีการดูดน้ำคร่ำออกไป หลังจากเจาะน้ำคร่ำเสร็จแล้วบางรายอาจรู้สึกเกร็งเล็กน้อย การนอนพักสักระยะจะทำให้ดีขึ้น ผลการตรวจจะทราบภายใน 2 – 3 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับการพัฒนาของเซลล์ และขั้นตอนในห้องปฏิบัติการ
ผลข้างเคียงและความเสี่ยง
การติดเชื้อ
พบได้ง่ายที่สุด ซึ่งอาจเกิดจากการเชื้อแบคทีเรียบนผิวหนัง หรือที่อุปกรณ์ แต่พบได้น้อยมาก เนื่องจากแพทย์จะต้องทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่เจาะ และฆ่าเชื้ออุปกรณ์ให้สะอาดก่อนนำมาใช้ทุกครั้ง
ภาวะแท้ง
เป็นความเสี่ยงที่เกิดได้น้อยมาก โดยมีโอกาสในการเกิดเพียง 1 ใน 200 ถึง 1 ใน 400 ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดการแท้งจากการเจาะน้ำคร่ำอาจมาจากการติดเชื้อ ถุงน้ำคร่ำแตก หรือการคลอดก่อนกำหนด
ไม่สามารถระบุผลการตรวจได้ชัดเจน
แม้การตรวจด้วยวิธีเจาะน้ำคร่ำจะสามารถระบุความผิดปกติทางพันธุกรรมบางอย่างได้ แต่ไม่สามารถระบุได้ 100% ว่าเด็กจะมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์หรือไม่
มีรอยรั่วที่รก
ในการเจาะน้ำคร่ำอาจทำให้เกิดรอยรั่วที่รกได้ ซึ่งอาการดังกล่าวสามารถหายได้เองตามธรรมชาติ โดยไม่ส่งผลให้เกิดอาการอื่น ๆที่เป็นอันตราย แต่ในปัจจุบันนี้พบได้น้อยมาก เนื่องจากมีการตรวจอัลตราซาวด์ ทำให้แพทย์สามารถเจาะได้แม่นยำมากขึ้น
โรครีซัส (Rhesus Disease)
นมารดาที่มีกรุ๊ปเลือดพิเศษ อย่างอาร์เอชลบ Rh- แต่ทารกมีกรุ๊ปเลือด Rh+ หากเลือดของทารกเข้าสู่กระแสเลือดของมารดาจากการเจาะน้ำคร่ำ อาจทำให้ร่างกายของมารดามีการสร้างแอนติบอดีเพื่อทำลายทารกได้ หากไม่รักษาอาจทำให้ทารกเกิดโรครีซัสได้ในที่สุด
โรคเท้าปุก
เป็นความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับการเจาะน้ำคร่ำก่อนสัปดาห์ที่ 15 ของการตั้งครรภ์ หากได้รับการตรวจในช่วงเวลาดังกล่าวอาจทำให้เด็กเสี่ยงมีความผิดปกติที่เท้า และกลายเป็นลักษณะผิดปกติแต่กำเนิดได้ ดังนั้น แพทย์จะไม่แนะนำให้เจาะน้ำคร่ำในช่วงเวลาดังกล่าวเพื่อความปลอดภัย
การพยาบาลหลังเจาะน้ำคร่ำ
หลังเจาะน้ำคร่ำเสร็จแล้ว แพทย์อาจตรวจสอบทารกในครรภ์ (External Fetal Monitor) เพื่อให้แน่ใจว่าเด็กยังคงมีอาการปกติ หากแพทย์มั่นใจแล้วว่าทารกในครรภ์ไม่มีปัญหาอะไร ว่าที่คุณแม่ก็จะสามารถกลับบ้านได้ทันที ซึ่งการวินิจฉัยอาจต้องใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์จึงจะทราบผล
ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจรู้สึกปวดท้องคล้ายกับอาการปวดประจำเดือน หรือมีเลือดออกมาจากช่องคลอดเล็กน้อยใน 1-2 วันแรกหลังจากการตรวจ
ความรุนแรงของอาการปวดนั้นจะแตกต่างกันไป ซึ่งอาการเจ็บจะมาจากการใช้เข็มเจาะ แต่ในกรณีที่มีการฉีดยาชาร่วมด้วยอาจจะทำให้รู้สึกเจ็บมากขึ้นเมื่อยาชาหมดฤทธิ์แล้ว
อาจใช้ยาแก้ปวดอย่าง พาราเซตามอล เพื่อบรรเทาอาการได้ แต่ไม่ควรใช้ยาไอบูโพรเฟนหรือแอสไพริน เพราะอาจส่งผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย
ควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมหนัก ๆ ชั่วคราวจนกว่าอาการปวดจะดีขึ้น
:<3: การตรวจคัดกรองภาวะดาวน์ซินโดรม
วิธีการตรวจ
ไตรมาสแรก
ตรวจเมื่ออายุครรภ์ 11-13 สัปดาห์
มีการวัดความหนาแน่นของน้ำที่สะสมบริเวณต้นคอทารกโดยวิธีอัลตราซาวด์ร่วมกับการตรวจหาค่าสารเคมี 2 ชนิด คือ BHCG และ PAPP- ในกระแสเลือดของสตรีตั้งครรภ์
ไตรมาสที่ 2
ตรวจเมื่ออายุครรภ์ 14-16 สัปดาห์
วิธีการตรวจ
Triple Screening
เป็นการตรวจโดยการเจาะเลือดของมารดาเพื่อหาค่าของสารเคมีในเลือด 3 ชนิด
AFP
โปรตีนที่สร้างจากตัวอ่อน
hCG
ฮอร์โมนที่ผลิตจากรก
striol
ฮอร์โมนที่ผลิตจากทารกและรก
เป็นการตรวจเลือดมารดาเพื่อหาสารเคมีในเลือดมารดา 4 ชนิด
AFP
hCG
Estriol
Ihibin-A
โปรตีนผลิตจากรกและรังไข่
ช่วงไตรมาสแรกร่วมกับไตรมาสที่ 2
หากพบว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่ำตั้งแต่ไตรมาสแรก ให้ตรวจ Quadruple screening ในไตรมาสที่ 2 ถ้าพบว่าเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงให้ตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดด้วยการเจาะน้ำคร่ำ Amniocentesis
ข้อบ่งชี้
มารดาอายุ 35 ปีขึ้นไป
เคยมีบุตรที่มีโครโมโซมผิดปกติ
มีประวัติครอบครัวมีโครโมโซมผิดปกติ
U/S พบทารกท่าผิดปกติ
เคยคลอดทารกที่มีความพิการหลายอย่างและยังไม่ได้รับการวินิจฉัย
ภาวะแทรกซ้อน
มีการติดเชื้อของทารกและถุงน้ำคร่ำ
มีน้ำเดินก่อนกำหนด
มีเลือดออกทางช่องคลอด
คำแนะนำหลังตรวจ
งดกิจกรรมหนักที่ต้องออกแรงมาก
อาบน้ำได้ตามปกติ ไม่ต้องล้างแผล
รับประทานยาแก้ปวดบรรเทาอาการปวดได้