Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การสร้างเสริมสุขภาพสำหรับ วัยรุ่น (พัฒนาการของวัยรุ่น (การเปลี่ยนแปลงและพ…
การสร้างเสริมสุขภาพสำหรับ
วัยรุ่น
วัยรุ่นเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิตที่กำลังเปลี่ยนสภาพจากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่ เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ ต้องปรับตัวยอมรับสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวัยรุ่น
วัยรุ่น หมายถึง ไว้ที่ก้าวย่างเข้าสู่ที่ภาวะทางเพศอย่างสมบูรณ์ สามารถเป็นบิดามารดาได้ มีอายุระหว่าง 13-21 ปี
ระยะของวัยรุ่น
การเข้าสู่วัยรุ่นขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของบุคคลเป็นสำคัญ ตลอดจนความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรม การเริ่มเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นในเด็กแต่ละคนจึงไม่เท่ากัน โดยทั่วไปเด็กหญิงมักเข้าสู่วัยรุ่นเร็วกว่าเด็กชายประมาณ 2 ปี เด็กผู้หญิงจะมีอายุประมาณ และเด็กผู้ชายอายุประมาณ 12 ถึง 22 ปีในประเทศไทย
พัฒนาการของวัยรุ่น
การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาด้านร่างกาย
ในระยะวัยรุ่นจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและสัดส่วนร่างกายอย่างมาก เนื่องจากการทำงานของฮอร์โมนไฮโปทาลามัส และต่อมพิทูอิทารี และต่อมเพศ เด็กผู้หญิงสูงขึ้นเร็วมากในช่วงอายุ สูงขึ้นเฉลี่ยปีละ 8 เซนติเมตร เด็กชายสูงเร็วมากในช่วงอายุ 13 ถึง 16 ปี สูงขึ้นเฉลี่ยปีละ 10 เซนติเมตร น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อายุ 15 ปี น้ำหนักเป็น 15 เท่าของแรกเกิดคือประมาณ 50 กิโลกรัม ช่วงแรกขาจะยาว มือใหญ่ เท้าหนา ต่อมาสะโพก หน้าอก และไหล่ขยายขึ้น สุดท้ายลำดับตัวและประสาทไขสันหลังยาว.
การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการด้านอารมณ์/จิตใจ
อารมณ์ในช่วงวัยรุ่นจะเป็นช่วงที่อารมณ์หวั่นไหวเปลี่ยนแปลงง่าย อารมณ์รุนแรง ไม่คงที่ไม่สม่ำเสมอ อารมณ์ค้าง หงุดหงิดกับความเปลี่ยนแปลงที่ยังยอมรับไม่ได้ โดยเฉพาะวัยรุ่นตอนต้นมักมีอารมณ์รุนแรง เปลี่ยนแปลงง่าย ในระยะวัยรุ่นตอนปลายจะมีการเรียนรู้จากสังคม รู้จักผ่อนคลายและควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดีขึ้น อารมณ์ในวัยรุ่นมีพบ 3 ลักษณะคือ อารมณ์สนุก อารมณ์ก้าวร้าวรุนแรง อารมณ์เก็บกด
การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการด้านสังคม
วัยรุ่นมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เห็นชัดที่สุดคือ ต้องการเป็นที่ยอมรับของเพื่อน กลุ่มเพื่อนคือกลุ่มที่สำคัญที่สุดและมีอิทธิพลมาก เชื่อและรับฟังเพื่อนมากกว่าพ่อแม่ วัยรุ่นจะรวมกลุ่มกันสร้างกฎระเบียบ ประเพณี ภาษา การแต่งกาย การแสดงออกเป็นอันหนึ่งอันเดียว
การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาด้านสติปัญญา
ในระยะนี้เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงของสมองจากการได้รับฮอร์โมนทางเพศ ทำให้มีความต้องการทางเพศการแสวงหาความตื่นเต้น ตลอดจนความรุนแรง
การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการด้านคุณธรรม
วัยรุ่นตอนต้นส่วนใหญ่จะพัฒนาอยู่ในระดับเกณฑ์ คือทำความดีให้เป็นที่ยอมรับของกลุ่มเพื่อน หรือตามกฎระเบียบของสังคม ในช่วงวัยรุ่นตอนปลาย วัยรุ่นจะมีพัฒนาการด้านศีลธรรมสูงขึ้นอยู่ในระดับเหนือเกณฑ์ คือมีความเข้าใจและทำตามกฎเกณฑ์ศีลธรรมที่สากลมากกว่าทำตามกลุ่มเพื่อน
ปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพวัยรุ่น
ปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงต่อวัยรุ่นด้านร่างกาย
ความผิดปกติเกี่ยวกับฮอร์โมน
ความผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์
-การมีประจำเดือนล่าช้า
-ความผิดปกติของประจำเดือน
-ปวดประจำเดือน
-การมีเต้านมโตของเพศชาย
ปัญหาต่อมเหงื่อและต่อมไขมันทำงานมากขึ้น
-สิว
-กลิ่นตัว
ปัญหาการรับประทานอาหาร
-ความไม่อยากอาหาร
-อาการหิวผิดปกติ
-ภาวะอ้วน
ปัญหาจากการออกกำลังกาย
-การขาดการออกกำลังกาย
-การบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย
ปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ
-การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
-เพศสัมพันธ์ในวัยรุ่น
ปัญหาด้านสุขภาพปากและฟัน
[ปัญหาอุบัติเหตุจากการจราจร
ปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงต่อวัยรุ่นด้านจิตใจ
-สับสนในภาพลักษณ์ของตนเอง
-สับสนในบทบาททางสังคม
-การทะเลาะวิวาท
-ปัญหาการฆ่าตัวตายในวัยรุ่น
ปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่นด้านสังคม
-ปัญหาการเข้าสังคมของวัยรุ่น
-การฝ่าฝืนกฎระเบียบ
ปัญหาจากสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่นด้านจิตวิญญาณ
-การใช้สารเสพติด
-ความขัดแย้งทางคุณธรรม
-
การประเมินสุขภาพและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพวัยรุ่น
ใช้ประเมินตามกรอบแนวคิดแบบแผนสุขภาพและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ จากการซักประวัติ การสังเกต และการตรวจร่างกาย ประกอบไปด้วยแบบแผนรับรู้และการดูแลอาหารและการเผาผลาญอาหาร การขับถ่าย การนอนหลับพักผ่อน สติปัญญาและการเรียนรู้
สิ่งที่ต้องคำนึงเกี่ยวกับการประเมินสุขภาพเด็กวัยรุ่น
ก่อนที่จะประเมินสภาพวัยรุ่น ต้องคำนึงถึงสถานที่ตรวจ มีความส่วนตัว ไม่ถูกรบกวน ผู้ประเมินควรมีทัศนคติที่ดีต่อวัยรุ่น ภาษาที่ใช้พูดควรเข้าใจง่าย
แนวทางการสร้างเสริมสุขภาพวัยรุ่น
การสร้างเสริมสุขภาพด้านร่างกาย
พยาบาลควรส่งเสริมให้แก่ผู้ปกครองในเรื่องเกี่ยวกับวัยรุ่น เช่น การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการวัยรุ่น ความรู้เรื่องเพศศึกษา ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย
ส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับวัยรุ่นและปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย
-สิว
-กลิ่นตัว
ส่งเสริมการรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับวัยรุ่น
ส่งเสริมการออกกำลังกาย
ส่งเสริมความรู้เรื่องเพศศึกษา
ส่งเสริมความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
ส่งเสริมความรู้การคุมกำเนิดในวัยรุ่น
การป้องกันอุบัติเหตุและอันตราย
การสร้างเสริมสุขภาพด้านจิตใจ
-การพัฒนาเอกลักษณ์ของตนเอง
-ลดความวิตกกังวลเกี่ยวกับรูปร่างหน้าตา
การสร้างเสริมสุขภาพด้านสังคม
-พัฒนาสัมพันธภาพระหว่างบุคคลในครอบครัว
-ส่งเสริมการเข้าสังคมกับเพื่อนฝูงที่ดี เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์สร้างสรรค์
-ส่งเสริมการปรับตัวและความยืดหยุ่น
-เปิดโอกาสให้วัยรุ่นมีเวลาส่วนตัว
-เพิ่มทักษะชีวิตในวัยรุ่น
-ส่งเสริมให้รู้จักแหล่งบริการสำหรับวัยรุ่นและการเข้าร่วมเป็นสมาชิกชมรมต่างๆ
การสร้างเสริมสุขภาพด้านจิตวิญญาณ
-การพัฒนาทักษะการป้องกันปัญหาการใช้สารเสพติด
-ส่งเสริมการเข้าถึงที่พึ่งทางจิตวิญญาณ