Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
อธิบายความสัมพันธ์ของสภาพทางภูมิศาสตร์บนโลกกับความหลากหลายของไบโอม…
อธิบายความสัมพันธ์ของสภาพทางภูมิศาสตร์บนโลกกับความหลากหลายของไบโอม
ไบโอมบนบก
ใช้เกณฑ์ปริมาณน้ำฝนและอุณหภูมิเป็นตัวกำหนด ไบโอมบนบกที่มีอยู่ในโลกนี้ที่สำคัญที่จะกล่าวถึง ได้แก่ ป่าดิบชื้น ป่าผลัดใบในเขตอบอุ่น ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น สะวันนา ป่าสน ทะเลทราย และทุนดรา เป็นต้น
ทุ่งหญ้า
ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น
พบในทวีปอเมริกาเหนือ เรียกว่า แพรรี่ ( prairie ) ในเขตยูเรเชีย เรียก สเต็ปป์ (steppe) และในทวีปอเมริกาใต้เรียก แพมพา (pampa)
มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 25 – 50 เซนติเมตรต่อปี มักมีฝนตกในช่วงฤดูร้อน และแห้งแล้งในฤดูหนาว
มีไม้พุ่มที่มีหนาม มีไม้ต้นทนแล้ง และทนไฟป่า
เหมาะสำหรับการทำกสิกรและปศุสัตว์ เพราะดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงมีหญ้าหลายชนิดขึ้นอยู่ ส่วนใหญ่พบมีการทำเกษตรกรรมควบคู่ในพื้นที่นี่ด้วย
พืชที่พบ : เบาบับ (baobab) กระถิน (acacia)
สัตว์ที่พบ : ช้าง ม้าลาย สิงโตในแอฟริกา หมีโคลา จิงโจ้ และนกอีมูในออสเตรเลีย
สะวันนา
พบได้ในทวีปแอฟริกา ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปออสเตรเลีย และพบบ้างทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย
มีอากาศร้อน ในฤดูร้อนมักเกิดไฟป่า ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 30 – 50 เซนติเมตรต่อปี
“ทุ่งสะวันนาในทวีปแอฟริกาเป็นพื้นที่ที่มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่หลากหลายสายพันธุ์มากที่สุดในโลก”
พืชที่พบ : ต้นอาเคเชีย (Acacia) ต้นเบาบับ (Baobab)และหญ้า
สัตว์ที่พบ : ละมั่ง ควายป่า นกกระจอกเทศ ช้าง แรด ยีราฟ สิงโต เสือดาว ไฮยีน่า
บริเวณที่พบในไทย : อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จังหวัดพิษณุโลก,เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร จังหวัดตาก
ป่าไม้
ป่าดิบชื้น
พบได้ในบริเวณใกล้เขตเส้นศูนย์สูตรของโลกในทวีปอเมริกากลาง ทวีปอเมริกาเอเชียตอนใต้ และบริเวณบางส่วนของหมู่เกาะแปซิฟิก
มีอากาศร้อนและชื้น มีฝนตกชุกตลอดปีเกือบตลอดปี และมีความชุ่มชื้นในดินค่อนข้างสูงสม่ำเสมอตลอดทั้งปี มีปริมาณน้ำฝนมากที่สุดเฉลี่ย 200-400 เซนติเมตรต่อปี
พืชที่พบ : ไม้พุ่ม พืชล้มลุก ระกำ หวาย ไผ่ เฟิร์น กล้วยไม้
สัตว์ที่พบ : สมเสร็จ แรด กระจงควาย เก้ง ช้างป่า วัวแดง
บริเวณที่พบในไทย : อุทยานแห่งชาติไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี, ป่าฮาลา-บาลา จังหวัดนราธิวาส
ป่าผลัดใบในเขตอบอุ่น
พบกระจายทั่วไปในละติจูดกลาง ซึ่งมีปริมาณความชื้นเพียงพอที่ต้นไม้ใหญ่จะเจริญเติบโตได้ดี ทั้งในเขตอบอุ่น และเขตร้อนของโลก เช่น ในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป ประเทศจีน และในประเทศไทย
โดยมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 100 เซนติเมตรต่อปี และมีอากาศค่อนข้างเย็น
ต้นไม้จะทิ้งใบหรือผลัดใบก่อนฤดูหนาว และจะเริ่มผลิใบอีกครั้งเมื่อฤดูหนาวผ่านพ้นไปแล้ว
พืชที่พบ : ไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก เมเปิล โอ๊ก ยูคาลิปตัส เชลท์นัท
สัตว์ที่พบ : กวางเอลก์ สุนัขจิ้งจอก ตัวตุ่น
บริเวณที่พบในไทย : อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จังหวัดพิษณุโลก
ป่าสน
ป่าประเภทไม่ผลัดใบ เป็นป่าเขตหนาวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก และ“จัดเป็นสังคมสิ่งมีชีวิตบนบกที่มีขนาดกว้างใหญ่กว่าไบโอมอื่นๆ”
พบในเขตละติจูดตั้งแต่ 45 – 67 องศาเหนือ ทางตอนใต้ของประเทศแคนาดา ทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปเอเชียและยุโรป
เป็นป่าประเภทเขียวชอุ่มตลอดปี มีฤดูหนาวยาวนาน มีอากาศเย็นและแห้ง ดินมีความเป็นกรดสูงไม่ค่อยมีความอุดมสมบูรณ์
ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 25-75 เซนติเมตรต่อปี ส่วนใหญ่จะตกในฤดูร้อน
พืชที่พบ : เป็นไม้เนื้ออ่อน จำพวกไพน์ (pine) เฟอ (fir) สพรูซ (spruce) เฮมลอค (hemlock)
สัตว์ที่พบ : นกฮูกเทาใหญ่ กวางเอลก์ หมีสีน้ำตาล ฮันนี่แบดเจอร์ บีเวอร์
บริเวณที่พบในไทย : ป่าสนวัดจันทร์ จังหวัดเชียงใหม่, อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว จังหวัดอุตรดิตถ์
ทะเลทราย
พบได้ทั่วไปในโลก ในพื้นที่ที่มีปริมาณฝนตกเฉลี่ยน้อยกว่า 25 เซนติเมตรต่อปี “จัดเป็นไบโอมที่มีปริมาณน้ำฝนน้อยที่สุด” และบางช่วงอาจไม่มีฝนตกยาวนานถึง 8-10 ปี
บางแห่งอาจมีอุณหภูมิเหนือผิวดินสูงถึง 60 องศาเซลเซียสตลอดวัน เช่น ทะเลทรายซาฮาราในอัฟริกา ทะเลทรายโซโนรันในเม็กซิโก และบางแห่งมีอากาศค่อนข้างหนาวเย็น เช่น ทะเลทรายโกบีในมองโกเลียอาจมีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งยาวนานในฤดูหนาว
พืชมีการป้องกันการสูญเสียน้ำ โดยใบลดรูปเป็นหนาม ลำต้นอวบ เก็บสะสมน้ำดี
สัตว์ส่วนใหญ่หากินกลางคืนเพื่อหลีกเลี่ยงอากาศร้อนในตอนกลางวัน
พืชที่พบ : กระบองเพชร อินทผาลัม
สัตว์ที่พบ : งู กิ้งก่า สปริงบ็อก อูฐ หมาจิ้งจอกทะเลทราย กิ้งก่าหนาม
ทุนดรา
มีอาณาเขตตั้งแต่ละติจูดที่ 60 เหนือขึ้นไปจนถึงขั้วโลก พบทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ และยูเรเซีย เช่น พื้นที่ของรัฐอะลาสก้า และไซบีเรีย
มีฤดูหนาวค่อนข้างยาวนานฤดูร้อนช่วงสั้น ๆ ประมาณ 2-3 เดือน มีหิมะปกคลุมเกือบตลอดปี อุณหภูมิในฤดูร้อนเฉลี่ยต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูหนาวมีอากาศหนาวจัด อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งยาวนานกว่า 6 เดือน ฝนตกน้อยมาก ปริมาณหยาดน้ำฟ้าประมาณ 500 มิลลิเมตร ส่วนใหญ่ตกในรูปของหิมะ
ชั้นของดินชั้นบนลงไปจะจับตัวเป็นน้ำแข็งอย่างถาวร จึงทำให้ในฤดูร้อนน้ำแข็งที่ละลายบริเวณผิวหน้าดินไม่สามารถซึมผ่านลงไปในชั้นน้ำแข็งได้จึงท่วมขังอยู่บนผิวดิน ทำให้ปลูกพืชได้ในระยะสั้น ๆ
ในช่วงฤดูหนาวสัตว์จะจำศีล หรือหลบอยู่ใต้หิมะและใต้ก้อนน้ำแข็ง ส่วนพืชจะหยุดชะงักการเจริญเติบโต
ชุมชนแบบทุนดราเป็นชุมชนแบบง่ายๆ ไม่ยั่งยืนและไม่สมดุล จึงทำให้“พบพืชและสัตว์อาศัยอยู่น้อยกว่าไบโอมอื่นๆ”
พืชที่พบ : มอส กก หญ้าเซดจ์(Sedge) และไม้พุ่มเตี้ย เช่น วิลโลแคระ
สัตว์ที่พบ : กวางคาริบู กวางเรนเดียร์ กระต่ายป่าขั้วโลก หนูเลมมิง สุนัขป่าขั้วโลก นกทามิแกน นกเค้าแมวหิมะ
ไบโอมในน้ำ
ไบโอมแหล่งน้ำจืด
เป็นแหล่งน้ำที่มีเกลือน้อยกว่าร้อยละ 0.1 หรือน้อยกว่า 1 ppt
โดยทั่วไปประกอบด้วยแหล่งน้ำนิ่งซึ่งได้แก่ ทะเลสาบ สระ หนอง หรือบึง กับแหล่งน้ำไหล ได้แก่ ธารน้ำไหลและแม่น้ำ เป็นต้น
ช่วงรอยต่อของแหล่งน้ำจืดและน้ำเค็มที่มาบรรจบกัน เรียกว่า น้ำกร่อย ซึ่งมักจะพบตามปากแม่น้ำ
“ไบโอมแหล่งน้ำจืดจะแตกต่างจากน้ำเค็มตรงที่ไม่มีน้ำขึ้นน้ำลงเป็นปัจจัยกายภาพสำคัญ”
มีความสำคัญมากเนื่องจากเราต้องใช้น้ำในการอุปโภค-บริโภค
พืชที่พบ : จอก สาหร่าย แหน
สัตว์ที่พบ : หอย ปลาต่างๆ กุ้ง
ไบโอมแหล่งน้ำเค็ม
เป็นแหล่งน้ำที่มีเกลือเฉลี่ยร้อยละ 3.5 หรือ 35 ppt
โดยทั่วไปประกอบด้วยทะเลและมหาสมุทร ซึ่งพบในปริมาณมากถึงร้อยละ 71 ของพื้นที่ผิวโลกและมีความลึกมาก โดยมีความลึกเฉลี่ย 3750 เมตร
พืชที่พบ : ไม้โกงกาง แสม ลำพู
สัตว์ที่พบ : แมลงสาบทะเล หอยนางรม ลิ่มทะเล หอยหมวกเจ๊ก เม่นทะเล ปูลม
บริเวณที่พบในไทย : หมู่เกาะพีพีและหมู่เกาะลันตา จังหวัดกระบี่ , อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จังหวัดตรัง
ความหมาย
ไบโอม (biomes) หรือชีวนิเวศ คือ ระบบนิเวศใดก็ตามที่มีองค์ประกอบของปัจจัยทางกายภาพ และ ปัจจัยทางชีวภาพ ที่คล้ายกัน เช่น มีอุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณน้ำฝนที่ใกล้เคียงกัน มีชนิดของสิ่งมีชีวิตที่คล้ายคลึงกัน แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่
ไบโอมบนบก ( Terrestrial biomes )
ไบโอมในน้ำ ( Aquatic biomes )