Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
9.7 ความผิดปกติด้านจิตใจ ในระยะหลังคลอด (สาเหตุของ ภาวะโรคจิตหลังคลอด…
9.7 ความผิดปกติด้านจิตใจ
ในระยะหลังคลอด
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
ภาวะโรคจิตหลังคลอด
ความหมาย
ความผิดปกติด้านอารมณ์ ความคิด และการรับรู้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายและพฤติกรรม เริ่มมีอาการตั้งแต่ 4 สัปดาห์ถึง 1 ปีหลังคลอด ลักษณะสำคัญที่ต่างจาก postpartum blue คือ อาการรุนแรงจนรบกวนความเป็นอยู่และการเลี้ยงดูทารก อาการเป็นอยู่นานได้ถึง 6 เดือนหลังคลอดหรือนานกว่า
สาเหตุของ
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
ความตึงเครียดทางร่างกาย ซึ่งอาจเกิดจากเสียเลือด สูญเสียน้ำและอิเลคโตรลัยท์ เหนื่อยล้าจากการคลอดลำบาก ประสบการณ์ของการคลอดไม่ดี
ความตึงเครียดทางจิตใจ การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงปรารถนา ปัญหาในชีวิตสมรส ไม่ได้รับความเห็นอกเห็นใจ ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างเพียงพอจากคู่สมรสและครอบครัว เคยมีประวัติซึมเศร้ามาก่อน
ความตึงเครียดทางสังคม มารดาวัยรุ่นที่ต้องพึ่งพาบิดามารดา เศรษฐานะ ความยากจน ได้รับการดูแลอย่างเคร่งครัดจากครอบครัว
การวินิจฉัยภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
ใช้เกณฑ์ DSM-V มีอาการตามเกณฑ์การวินิจฉัยต่อไปนี้ 5 ข้อ โดยอย่างน้อยต้องมี ข้อ 1 หรือข้อ 2 หนึ่งข้อ และมีอาการนานอย่างน้อย 2 สัปดาห์ โดยไม่เคยมีประวัติของ mania หรือ hypomania
ซึมเศร้าโดยมีอาการเกือบทั้งวัน
ความสนใจหรือความเพลิดเพลินใจในสิ่งต่าง ๆ ลดลงอย่างมาก
เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง หรือกินจุ น้ำหนักเพิ่มขึ้น มากกว่าร้อยละ 5 ใน 1 เดือน
นอนไม่หลับ หรือนอนมากกว่าปกติ
psychomotor agitation หรือ retardation
อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
รู้สึกตนเองไร้ค่า หรือรู้สึกผิดอย่างไม่สมเหตุสมผล
สมาธิลดลง ลังเลใจ
คิดเรื่องการตาย หรือการฆ่าตัวตาย
อาการและอาการแสดง
โดยมีอาการเกือบทั้งวัน ความสนใจหรือความเพลิดเพลินใจในสิ่งต่าง ๆ ลดลงอย่างมาก เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง หรือกินจุน้ำหนักเพิ่มขึ้น นอนไม่หลับหรือนอนมากกว่าปกติ อ่อนเพลีย ไม่มีแรงรู้สึกตนเองไร้ค่าหรือรู้สึกผิดอย่างไม่สมเหตุสมผลสมาธิลดลงลังเลใจอาจมีความคิดในการฆ่าตัวตายหรือทำร้ายบุตร
การประเมินและการวินิจฉัย
1.การซักประวัติ
ซักถามและศึกษาจากประวัติ เฝ้าระวังประวัติเสี่ยง เช่น ร้องไห้ไม่มีสาเหตุ นอนไม่หลับ ขาดความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัว หงุดหงิดง่าย หลงผิด ประสาทหลอน รวมทั้งใช้แบบประเมินภาวะซึมเศร้าหลังคลอด และส่งพบจิตแพทย์ หากมีอาการรุนแรงอาจสอบถามประวัติจากญาติหรือบุคคลใกล้ชิด
การตรวจร่างกาย
สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับมารดาหลังคลอด
ความหมาย
มารดาหลังคลอดเกิดความวิกลจริตร่วมกับความผิดปกติด้านอารมณ์ จะมีอาการของโรคไบโพลาร์และโรคจิตเภท โดยมักเริ่มเกิดอาการใน 2 – 3 วันแรกหลังคลอด อาการจะพบได้ภายใน 1 เดือนแรกหลังคลอด
อาการและอาการแสดง
อาการนำ มักเป็นในระยะ 2 - 3 วันแรกหลังคลอด อาการที่พบบ่อย คือ นอนไม่หลับ ฝันร้าย บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง ขาดความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัว หงุดหงิดง่าย อารมณ์ไม่แน่นอน เริ่มสับสน สูญเสียความจำ ขาดสมาธิ พูดเร็ว
อาการโรคจิต ต่อจากระยะแรก จะมีอาการโรคจิตหรือวิกลจริต (หลงผิด) ร่วมกับความผิดปกติของอารมณ์ ซึ่งอาการจำเพาะของโรคจิตหลังคลอด คือ bipolar disorder ซึ่งจะมีทั้งอาการซึมเศร้าและอาการ mania หรืออาจมีอาการทั้ง 2 แบบผสมกันในเวลาเดียวกัน
สาเหตุของ
ภาวะโรคจิตหลังคลอด
เคยมีประวัติเป็นโรคจิตหลังคลอด
มีประวัติไบโพลาร์
มารดาหลังคลอดที่มีลักษณะบุคลิกภาพแปรปรวน เช่น เก็บตัว ย้ำคิดย้ำทำ เป็นต้น
มีความเครียดในระยะตั้งครรภ์ เช่น ขาดการช่วยเหลือสนับสนุนจากสามี และคนในครอบครัว ปัญหาเศรษฐานะ
ประวัติบุคคลในครอบครัว ญาติใกล้ชิด ป่วยด้วยโรคไบโพลาร์
การรักษาภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
และโรคจิตหลังคลอด
การรักษาทางกาย
ยาแก้ซึมเศร้า ในระหว่างให้ยาผู้ป่วยสามารถให้นมบุตรได้แม้ว่า ร่างกายจะขับยาแก้ซึมเศร้าออกมาทางน้ำนม แต่ได้มีการศึกษาแล้วว่าไม่มีอันตรายร้ายแรงกับทารกแรกเกิด
ยาต้านโรคจิต สามารถใช้ได้ทั้งในรายที่มีอาการจิตเภทและอารมณ์ mania
ยาควบคุมอารมณ์เช่น lithium carbonate หรือ carbamazepine ร่วมด้วย ในกรณีที่ให้ยาลิเที่ยมควรงดให้นมบุตร
การช็อคไฟฟ้า ในรายที่มีอาการรุนแรงหรือใช้ยารักษาไม่ได้ผล
การรักษาโดยจิตบำบัด
ใช้ในรายที่อาการไม่รุนแรง หรือรักษาร่วมกับการใช้ยา จิตบำบัดรายบุคคล จิตบำบัดกลุ่ม จิตบำบัดครอบครัว หรือจิตบำบัดระหว่างคู่สมรส หรือ สุขภาพจิตศึกษา โดยให้จิตบำบัดร่วมกับการให้ความรู้แก่มารดาหลังคลอดและครอบครัวเกี่ยวกับความเจ็บป่วยทางจิตที่เกิดขึ้น
การรักษาโดยแก้ไขสิ่งแวดล้อม
จัดสภาพแวดล้อมให้น่าอยู่ ให้มารดาหลังคลอดช่วยกิจกรรมต่าง ๆ เท่าที่พอทำได้ เพื่อส่งเสริมความรู้สึกเชื่อมั่นในตนเอง ไม่ควรแยกบุตรจากมารดา เพื่อรักษาไว้ซึ่งสัมพันธภาพระหว่างมารดาและบุตร
กิจกรรมทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติด้านจิตใจในระยะหลังคลอด
ให้มารดาหลังคลอดได้รับความสุขสบายและส่งเสริมให้มีสุขภาพอนามัยที่ดี
ให้มารดา สามี และญาติได้ทราบถึงการวินิจฉัยและการรักษาของแพทย์โดยอธิบายเข้าใจถึงวิธีการรักษาด้วยการช็อคไฟฟ้าหาก แพทย์มีความเห็นว่ามารดาควรได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้
ให้มารดาได้รับความปลอดภัยและได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม
ควรจัดกิจกรรมการพยาบาลที่จะให้แก่มารดาอยางเหมาะสมไม่มากจนเกินไป
สังเกตพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงและคำพูดของมารดาอย่างใกล้ชิด
ให้เวลาแก่มารดาในการพูดคุยและรับฟังในสิ่งที่มารดาพูดให้มากที่สุด
ชักนำให้มารดาเข้าร่วมกลุ่มจิตบำบัดเมื่อมารดามีความพร้อมอธิบายให้มารดาเข้าใจถึงเหตุผลในการมารวมกลุ่มพร้อมทั้งแนะนำบุคคลอื่น ๆ ที่มาร่วมกลุ่มไม่ควรเร่งรัด
ดูแลให้มารดาได้รับยารักษาโรคจิตเวชอย่างถูกต้องตรงตามแผนการรักษาและสังเกตภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการรักษาด้วยยา
ส่งเสริมสัมพันธภาพอันดีภายในครอบครัวและให้ครอบครัวสามารถเผชิญต่อเหตุการณ์ได้ตามความเหมาะสม
พยาบาลควรให้คำแนะนำและให้กำลังใจแก่สามีและญาติ
ควรให้คำแนะนำในการเว้นระยะการมีบุตรการคุมกำเนิดเป็นระยะ 2-3 ปี
ควรมีการติดตามเยี่ยมบ้านหรือติดตามทางโทรศัพท์หลังจำหน่าย 2-3 สัปดาห์รวมทั้งให้คำแนะนำการสังเกตอาการผิดปกติที่ต้องมาพบแพทย์และส่งต่อให้หน่วยงานในชุมชนติดตามอย่างใกล้ชิด
เสี่ยงต่อการปรับตัวหลังคลอดไม่เหมาะสม
เนื่องจากมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
การประเมินภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เช่น EPSD, BDI-II, PDSS โดยทำการตัดกรองเบื้องต้นเพื่อส่งต่อจิตแพทย์วินิจฉัย
ควรรับฟังปัญหาต่าง ๆ ของมารดาหลังคลอด พร้อมทั้งให้คำแนะนำแก่มารดาหลังคลอดและครอบครัว
อธิบายให้มารดาหลังคลอดทราบถึงสาเหตุการเปลี่ยนแปลงของร่างกายในระยะหลังคลอด รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของสภาพอารมณ์ซึ่งเศร้า ดูแลมารดาหลังคลอดให้ได้รับความสุขสบายทางด้านร่างกาย ได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอหากมารดามีอาการสงบอาจนำบุตรมาเลี้ยงให้มารดาเลี้ยงดูในเวลากลางวัน
สนับสนุนให้มารดาหลังคลอดได้รับการประคับประคองทางจิตใจจากทีมบุคลากรสุขภาพและครอบครัว
ส่งเสริมแสะให้นักสังโจในการแสดงบทบาทการเป็นมารดาโดยกล่าวชมเชยเมื่อมารดาสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้องเพื่อให้เกิดความมั่นใจ
ดูแลให้ได้รับความช่วยเหลือและการดูแลรักษาเพื่อบ้าบัดภาวะซึมเศร้าอย่างเหมาะสม
นางสาวปิยะนันท์ พรมพินิจ เลขที่34 ปี3 ห้องA