Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
9.4 Puerperal infection การติดเชื้อหลังคลอด (ปัจจัยเสี่ยง…
9.4 Puerperal infection
การติดเชื้อหลังคลอด
ความหมาย
การติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์หลังคลอด คือการมีอุหภูมิกาย >หรือเท่า 38 องศาเซลเซียส นานเกิน 24 ชม. หรือเกิดซ้ำตั้งแต่วันที่ 2-10 วันหลังคลอด หรือหลังการแท้ง หรือถุงน้ำคร่ำแตกจนถึง 42 วันหลัง
คลอด อุหภูมิกาย >หรือเท่า 38.5 องศาเซลเซียส ร่วมกับ ปวดอุ้งเชิงกราน ตกขาวผิกปกติทางช่องคลอดหรือเป็นหนอง มีกลิ่นผิดปกติ มดลูกลดลงช้าหลังคลอด
การติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์ร่วมกับการติดเชื้อในระบบอื่น ๆ
สาเหตุ
การติดเชื้อจากโรงพยาบาล
การติดเชื้อจากภายนอกมักมาจากระบบทางเดินหายใจ
การติดเชื้อจากตัวผู้ป่วยเอง
พยาธิสภาพ
1.การติดเชื้อเฉพาะที่
1.1การติดเชื้อที่แผลฝีเย็บ การติดเชื้อที่ปากช่องคลอด
การติดเชื้อที่ช่องคลอด และการติดเชื้อที่ปากมดลูก
1.1.1การติดเชื้อที่แผลฝีเย็บและการติดเชื้อที่ปากช่องคลอด
1.1.2การติดเชื้อที่ช่องคลอด
1.1.3การติดเชื้อที่ปากมดลูก
อาการและอาการแสดง
มักมีอาการเฉพาะที่ อาการมักไม่ค่อยรุนแรง อาจมีอาการปัสสาวะลำบากร่วมด้วย หากระบายหนองได้ดีจะไม่มีอาการรุนแรง ไข้ต่ำกว่า 38.5 องศาเซลเซียส ถ้ามีหนองคั่งอยู่อาจมีไข้สูง หนาวสั่น
1.2การติดเชื้อของเยื่อบุโพรงมดลูก
เชื้อแบคทีเรียจะเพาะตัวที่เยื่อบุมดลูก บริเวณที่รกเกาะอาการจะเริ่มต้นใน 48 ชั่วโมงแรกหลังคลอด มักจะลุกลามเข้าสู่ชั้นกล้ามเนื้อมดลูก
อาการและอาการแสดง
มีไข้สูงระหว่าง 38.5-40 องศาเซลเซียส ชีพจรเร็ว หนาวสั่น
ปวดท้องน้อยบริเวณมดลูกและปีกมดลูก
น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็นหรือมีหนองปนโดยเฉพาะการติดเชื้อ anaerobes
มดลูกเข้าอู่ช้ามีเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อย
2.การติดเชื้อลุกลามออกไปนอกมดลูก
2.1การแพร่กระจายไปตามหลอดเลือดดำ
อาการและอาการแสดง
1.ไข้สูงลอย
2.ปวดท้องน้อยข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง
3.femoral thrombophelbitis
4.ขาบวมตึง กดไม่บุ๋ม
5.ปวดกล้ามเนื้อน่องเมื่อกระดกปลายเท้า
Infected emboli หลุดไปตามกระแสเลือด เกิด pelvic thrombophlebitis ถ้า emboli ก้อนใหญ่หลุดไปอุดเส้นเลือดในปอดจะทำให้เสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน
2.2การแพร่กระจายไปตามระบบน้ำเหลือง
2.2.1เนื้อเยื่ออุ้งเชิงกรานอักเสบ
การติดเชื้อของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันในอุ้งเชิงกรานโดยมักจะกระจายอยู่ส่วนล่างของ broad ligament
อาการและอาการแสดง
มีไข้สูงลอย
ปวดท้องน้อยอาจเป็นข้างเดียวหรือสอง
กดเจ็บที่มดลูก
อาจคลำพบก้อนบริเวณ broad ligament
2.2.2เยื่อบุช่องท้องอักเสบ
การติดเชื่อของมดลูกกระจายทางท่อน้ำเหลืองของมดลูกลุกลามไปถึงเยื่อบุช่องท้อง
อาการและอาการแสดง
ไข้สูงหนาวสั่นชีพจรเร็ว
ปวดท้องรุนแรงท้องโป่งตึงกดเจ็บ
มี rebound tenderness, bowel sound ลดลง
มีฝีในอุ้งเชิงกรานถ้าไม่ได้รับการรักษาฝีจะแตก
หนองเข้าสู่ช่องท้องเกิด Septic shock
ปัจจัยเสี่ยง
ภาวะทุพโภชนาการ ภาวะโลหิตจางตั้งแต่ตั้งครรภ์ การขาดน้ำหรือการตกเลือดระหว่างการคลอด
การตรวจภายในบ่อยในระยะรอคลอด
การประเมินอัตราการเต้นของหัวใจทารกชนิด internal fetal heart monitoring
ระยะเจ็บครรภ์และการคลอดยาวนานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนคลอดเป็นนาน > 24 ชม.
การทำคลอดโดยใช้สูติศาสตร์หัตถการ หรือการคลอดยาก
เทคนิคการทำคลอดไม่ถูกต้อง หรือคลอดฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล
ทำหัตถการล้วงรก
เศษรกค้างในโพรงมดลูก
การดูแลฝีเย็บไม่ถูกต้อง หรือขาดการดูแลอวัยวะสืบพันธ์ภายนอก
กิจกรรมการพยาบาล
กรณีที่มีการติดเชื้อที่เยื่อบุโพรงมดลูก
สังเกตการหดรัดตัวของมดลูกอย่างน้อยทุก 8 ชั่วโมงถ้าพบว่ามดลูกหดรัดตัวไม่ดีต้องคลึงมดลูกไล่ก้อนเลือดและน้ำคาวปลาที่คั่งในโพรงมดลูกออกให้หมด
V/S ทุก 4 ชั่วโมง และสังเกตภาวะแทรกซ้อนจากการขูดมดลูก
แนะนำให้มารดาหลังคลอดนอนคว่ำโดยใช้หมอนรองบริเวณท้องน้อยอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งนาน 30 นาที
จัดให้มารดานอนท่า fowler 's position
ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
กรณีที่มีการอักเสบที่เยื่อบุช่องท้อง
V/S ทุก 4 ชม.
ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
จัดให้มารดานอนท่า fowler 's position
กรณีที่มีอาการท้องอืดและแน่นท้องมากอาจจะต้องใช้ Continuous gastric suction ดูแลความสะอาดของช่องปากสังเกตลักษณะและปริมาณของ gastric content
กรณีที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะแพทย์อาจเจาะเอาหนองออกทาง cul de sac หรือผ่าตัดระบายเอาหนองออกทางหน้าท้องให้การดูแลเช่นเดียวกับผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัดทั่วไป
การรักษา
1.การรักษาอาการทั่วไป
1 จัดท่านอน fowler position
2 ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำให้เพียงพอกรณีที่มีอาการรุนแรง
3 รักษาภาวะช็อกตามหลักการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะซื้อกจากการติดเชื้อ
การรักษาและการเลือกใช้ยาปฏิชีวนะ
1 กรณีที่มีการติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานควรใช้ยาปฏิชีวนะที่ครอบคลุมเชื้อได้กว้าง
2 กรณีที่อาการไม่รุนแรงสามารถรักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะแบบรับประทานได้และรักษาแบบผู้ป่วยนอก
3 กรณีที่มีอาการรุนแรงปวดมากบริเวณ parametrium จำเป็นต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาลและรักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ
นางสาวปิยะนันท์ พรมพินิจ เลขที่34 ปี3 ห้องA