Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดปกติด้านจิตใจในระยะหลังคลอด (ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (postpartum…
ความผิดปกติด้านจิตใจในระยะหลังคลอด
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (postpartum depression)
ความหมาย
ความผิดปกติด้านอารมณ์ ความคิด และการรับรู้ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายและพฤติกรรม ที่เริ่มอาการตั้งแต่ 4 สัปดาห์ถึง 1 ปีหลังคลอด ลักษณะสาคัญของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดที่ต่างจากภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด คือ อาการรุนแรงจนรบกวนความเป็นอยู่และการเลี้ยงดูทารก อาการเป็นอยู่นานได้ถึง 6 เดือนหลังคลอดหรือนานกว่า
สาเหตุ
ความตึงเครียดทางร่างกาย
การเปลี่ยนแปลงทางของร่างกายในระยะคลอด
การเปลี่ยนแปลงของต่อมไร้ท่อและระดับของฮอร์โมน
ประสบการณ์ของการคลอดไม่ดี
ความตึงเครียดทางจิตใจ
การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงปรารถนา
ปัญหาในชีวิตสมรส
ไม่ได้รับความเห็นอกเห็นใจ ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างเพียงพอ
มีความวิตกกังวลต่อเพศ ลักษณะและความสมบูรณ์ของบุตร ทารกเจ็บป่วยพิการ หรือเสียชีวิต
วิตกกังวลต่อการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของตนเอง
สับสนกับการเปลี่ยนแปลงบทบาทการเป็นมารดา
ความล้มเหลวในการปรับตัวต่อบทบาทการเป็นมารดา
มีความผิดปกติทางจิตใจในระยะตั้งครรภ์ หรือเคยมีประวัติซึมเศร้าในครรภ์ก่อน
ความตึงเครียดทางสังคม
มารดาวัยรุ่นที่ต้องพึ่งพาบิดามารดา
เศรษฐานะ ความยากจน
ไม่ได้รับการเตรียมตัวก่อนคลอด
มารดาหลังคลอดที่ได้รับการดูแลอย่างเคร่งครัดจากครอบครัว
อาการและอาการแสดง
ซึมเศร้าโดยมีอาการเกือบทั้งวัน ความสนใจหรือความเพลิดเพลินใจในสิ่งต่างๆลดลงอย่างมาก เบื่ออาหาร น้าหนักลดลง หรือกินจุ น้าหนักเพิ่มขึ้น นอนไม่หลับ หรือนอนมากกว่าปกติ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง รู้สึกตนเองไร้ค่า หรือรู้สึกผิด อย่างไม่สมเหตุสมผล สมาธิลดลง ลังเลใจ อาจมีความคิดในการฆ่าตัวตาย หรือทาร้ายบุตร
ผลกระทบของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
ผลกระทบต่อมารดาหลังคลอด ได้แก่ สูญเสียสมรรถภาพทางร่างกายจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ ความเหนื่อยล้า เซื่องซึม และสูญเสียพลังงาน ทาให้ไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจาวันได้ หรือทาหน้าที่ได้ตามปกติ บางรายอาจมีอาการทางจิตอย่างรุนแรง มีพฤติกรรมทาร้ายตนเอง
ผลกระทบต่อครอบครัว ได้แก่ การติดต่อสื่อสารภายในครอบครัวไม่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะสัมพันธภาพกับสามี ส่งผลให้เกิดปัญหาภายในครอบครัว
ผลกระทบต่อบุตร ได้แก่ มารดาหลังคลอดไม่สามารถแสดงบทบาทการเป็นมารดาได้ดี ไม่สามารถส่งเสริมหรือกระตุ้นพัฒนาการด้านร่างกายและจิตอารมณ์ของบุตร ปฏิเสธและไม่สนใจบุตร มักโยนความผิดให้แก่บุตร มีการทุบตีทารุณเด็ก ละทิ้งเด็ก เด็กที่เติบโตมาจากการเลี้ยงดูของมารดาเหล่านี้ พบว่า มีปัญหาด้านสติปัญญาและพฤติกรรม มีการติดต่อสื่อสารที่ผิดปกติ มีพฤติกรรมก้าวร้าว พูดจาเสียงดัง หรือมีอาการซึมเศร้า ไม่พูดคุยกับบุคคลรอบข้าง แยกตัว การแสดงความคิดเห็นน้อยลง ทักษะด้านสังคมบกพร่องและไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเอง
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยภาวะซึมเศร้าของสมาคมจิตเวชศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกา (American Psychiatric Association) ใช้เกณฑ์ของ Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disoders V (DSM-V) มีอาการตามเกณฑ์การวินิจฉัยต่อไปนี้ 5 ข้อ โดยอย่างน้อยต้องมีข้อ 1 หรือข้อ 2 หนึ่งข้อ และมีอาการนานอย่างน้อย 2 สัปดาห์ โดยไม่เคยมีประวัติของ mania หรือ hypomania
ภาวะโรคจิตหลังคลอด (postpartum psychosis)
สาเหตุ
เคยมีประวัติเป็นโรคจิตหลังคลอด มีประวัติไบโพลาร์ (bipolar) มารดาหลังคลอดที่มีลักษณะบุคลิกภาพแปรปรวน เช่น เก็บตัว ย้าคิดย้าทา เป็นต้น มีความเครียดในระยะตั้งครรภ์ เช่น ขาดการช่วยเหลือสนับสนุนจากสามี และคนในครอบครัว ปัญหาเศรษฐานะ ประวัติบุคคลในครอบครัว ญาติใกล้ชิดป่วยด้วยโรคไบโพลาร์
ความหมาย
มารดาหลังคลอดเกิดความวิกลจริตร่วมกับความผิดปกติด้านอารมณ์ ซึ่งมารดาจะมีอาการของโรคไบโพลาร์และมีอาการโรคจิตเภท โดยมักเริ่มเกิดอาการใน 2 – 3 วันแรกหลังคลอด อาการจะพบได้ภายใน 1 เดือนแรกหลังคลอด รายที่เป็นรุนแรงอาจมีอาการวิกลจริต
อาการแสดง
อาการนำ
มักเป็นในระยะ 2 - 3 วันแรกหลังคลอด มารดาจะมีอาการไม่สุขสบายนามาก่อน อาการที่พบบ่อย คือ นอนไม่หลับ ฝันร้าย บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง ขาดความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัว กระสับกระส่าย หงุดหงิดง่าย อารมณ์ไม่แน่นอน กระวนกระวายใจ วิตกกังวลอย่างมาก เริ่มสับสน สูญเสียความจา ขาดสมาธิ เคลื่อนไหวผิดปกติ เช่น กระตุก เกร็ง
อาการโรคจิต
มารดาหลังคลอดจะมีอาการโรคจิตหรือวิกลจริตร่วมกับความผิดปกติของอารมณ์ ซึ่งอาการจาเพาะของโรคจิตหลังคลอด คือ โรคไบโพลาร์ (bipolar disorder) หรือโรคอารมณ์แปรปรวนสองแบบ (manic depressive illness) ซึ่งจะมีทั้งอาการซึมเศร้าและอาการ แมเนีย โดยบางครั้งมีอาการซึมเศร้าอย่างมากและบางครั้งมีอาการแมเนีย หรืออาจมีอาการทั้ง 2 แบบผสมกันในเวลาเดียวกัน
ผลกระทบ
สูญเสียสมรรถภาพทางร่างกาย
ขาดความสนใจทางเพศ
รู้สึกว่าตนมีความผิดที่มีอารมณ์เศร้าในช่วงเวลาซึ่งควรมีความสุข
รู้สึกห่างเหินต่อบุตร
อาจฆ่าบุตรได้ (infanticide)
เกิดอาการซ้าในการคลอด ครั้งต่อไป
การวินิจฉัย
การซักประวัติ
รวบรวมข้อมูลจากการซักถามและศึกษาจากประวัติ รวมทั้งเฝ้าระวังมารดาที่มีประวัติเสี่ยงที่จะเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดและโรคจิตหลังคลอด เช่น ร้องไห้ไม่มีสาเหตุ นอนไม่หลับ ใช้แบบประเมินภาวะซึมเศร้าหลังคลอด และส่งพบจิตแพทย์เพื่อคัดกรองและวินิจฉัยต่อไป หากมีอาการรุนแรงอาจสอบถามประวัติจากญาติหรือบุคคลใกล้ชิด
การตรวจร่างกาย
ใช้แบบประเมินภาวะซึมเศร้าหลังคลอด และส่งพบจิตแพทย์เพื่อคัดกรองและวินิจฉัยต่อไป หากมีอาการรุนแรงอาจสอบถามประวัติจากญาติหรือบุคคลใกล้ชิด
การรักษา
การรักษาทางกาย
รายที่มีอาการซึมเศร้าหลังคลอด กลุ่มยาที่เลือกใช้เป็นอันดับแรก คือ serotonin reuptake inhibitor
การให้ยาต้านโรคจิต (antipsychotic drug) ในกลุ่ม atypical antipsychotic
การให้ยาควบคุมอารมณ์ (mood stabilizer)
การช็อคไฟฟ้า (ECT)
การรักษาทางจิตโดยใช้จิตบาบัด
จิตบาบัดรายบุคคล (individual therapy) จิตบาบัดกลุ่ม (group therapy) การบาบัดทางปัญญา (cognitive behavior therapy) หรือการบาบัดที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหา (problem focused therapy)
จิตบาบัดครอบครัว (family therapy) หรือจิตบาบัดระหว่างคู่สมรส (marital therapy) หรือ สุขภาพจิตศึกษา (psychoeducation)
การรักษาโดยการแก้ไขสิ่งแวดล้อม
เป็นการจัดสภาพแวดล้อมในโรงพยาบาลเพื่อช่วยส่งเสริมกระบวนการรักษา ประกอบด้วย การจัดสภาพแวดล้อมภายในหอผู้ป่วย ให้น่าอยู่ การจัดกิจกรรมต่างๆภายในหอผู้ป่วยให้เหมาะสม โดยมารดาหลังคลอดต้องช่วยในกิจกรรมต่างๆเท่าที่พอทาได้ เพื่อส่งเสริมความรู้สึกเชื่อมั่นในตนเอง
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อตนเองและบุคคลรอบข้างเนื่องจากมารดามีภาวะโรคจิตหลังคลอด
เสี่ยงต่อการปรับตัวหลังคลอดไม่เหมาะสมเนื่องจากมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด