Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดปกติด้านจิตใจในระยะหลังคลอด (ภาวะโรคจิตหลังคลอด (ผลกระทบของโรคจิตหล…
ความผิดปกติด้านจิตใจในระยะหลังคลอด
ภาวะโรคจิตหลังคลอด
มารดาหลังคลอดเกิดความวิกลจริตร่วมกับความผิดปกติด้านอารมณ์ ซึ่งมารดาจะมีอาการของโรค ไบโพลาร์และมีอาการโรคจิตเภท โดยมักเริ่มเกิดอาการใน 2 – 3 วันแรกหลังคลอด
สาเหตุ
มารดาหลังคลอดที่มีลักษณะบุคลิกภาพแปรปรวน เช่น เก็บตัว ย้ำคิดย้ำทำ เป็นต้น
ความเครียดในระยะตั้งครรภ์ เช่น ขาดการช่วยเหลือสนับสนุนจากสามี และคนในครอบครัว ปัญหาเศรษฐานะ
เคยมีประวัติเป็นโรคจิตหลังคลอด มีประวัติไบโพลาร์
ประวัติบุคคลในครอบครัว ญาติใกล้ชิดป่วยด้วยโรคไบโพลาร์
อาการแสดงของโรคจิตหลังคลอด
อาการนำ มักเป็นในระยะ 2 - 3 วันแรกหลังคลอด
ขาดความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัว กระสับกระส่าย หงุดหงิดง่าย
อารมณ์ไม่แน่นอน กระวนกระวายใจ วิตกกังวลอย่างมาก เริ่มสับสน
นอนไม่หลับฝันร้าย บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง
สูญเสียความจำขาดสมาธิ เคลื่อนไหวผิดปกติ เช่น กระตุก เกร็ง พูดเร็ว
มารดาจะมีอาการไม่สุขสบายนำมาก่อน
อาการโรคจิต
มารดาหลังคลอดจะมีอาการโรคจิตหรือวิกลจริตร่วมกับ ความผิดปกติของอารมณ์ซึ่งอาการจำเพาะของโรคจิตหลังคลอด คือ โรคไบโพลาร์
อาการซึมเศร้าและอาการแมเนีย โดยบางครั้งมีอาการซึมเศร้าอย่างมากและบางครั้งมีอาการแมเนีย หรืออาจมีอาการทั้ง 2 แบบผสมกันในเวลาเดียวกัน
อาการแบบแมเนีย
พูดมาก พูดเร็ว พูดเสียงดังหรือพูดไม่ยอมหยุด
ไม่หลับไม่นอน มีกิจกรรมมากผิดปกติ
มีอารมณ์สนุกสนานร่าเริงผิดปกติ มีอารมณ์หงุดหงิด โกรธง่าย
อาการแบบจิตเภท
มีอาการหลงผิด (delusion) หรือประสาทหลอน (hallucination)
อาการวิกลจริตมักมีเรื่องราวเกี่ยวกับทารก เช่น หลงผิดว่ามีปีศาจร้ายสิงอยู่ในตัวทารก มีหูแว่ว หรือได้ยิน เสียงสั่งให้ทำร้ายหรือฆ่าทารก เป็นต้น
การรับรู้ผิดปกติ หลุดจากโรคของความเป็นจริง
อาการแบบซึมเศร้า
เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
มีอารมณ์เศร้าอย่างมาก ท้อแท้ เบื่อหน่ายทุกสิ่งทุกอย่าง
มีความคิดเบื่อชีวิต และคิดอยากตาย
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ
ขาดความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัว
หงุดหงิดง่าย อารมณ์ไม่แน่นอน กระวนกระวายใจ
บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง
หลงผิด ประสาทหลอน
ร้องไห้ไม่มีสาเหตุ นอนไม่หลับ
การตรวจร่างกาย
ขาดความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัว
อารมณ์ไม่แน่นอน กระวนกระวายใจ
ร้องไห้ไม่มีสาเหตุ
การแสดงบทบาทการเป็นมารดาไม่เหมาะสม หลงผิด หรือมีประสาทหลอน
ผลกระทบของโรคจิตหลังคลอด
อาจฆ่าบุตรได้ มีอาการวิกลจริตไปชั่วคราวและไม่มีความสามารถรู้ผิดชอบชั่วดี
อาการโรคจิตหลังคลอดมีโอกาสสูงถึงร้อยละ 30 - 50 ที่จะเกิดอาการซ้ำในการคลอดครั้งต่อไป
รู้สึกห่างเหินต่อบุตร ซึ่งเกิดจากอาการไม่สบายหรือเนื่องจากถูกแยกออกจากบุตร
รู้สึกว่าตนมีความผิดที่มีอารมณ์เศร้าในช่วงเวลาซึ่งควรมีความสุข
ขาดความสนใจทางเพศ อาจเป็นสาเหตุของการหย่าร้างและชีวิตสมรสแตกแยกได้
สูญเสียสมรรถภาพทางร่างกายจากความผิดปกติเกี่ยวกับการนอน และน้ำหนักที่ลดลงอย่างรวดเร็ว
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
ความผิดปกติด้านอารมณ์ ความคิด และการรับรู้ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายและ พฤติกรรมที่เริ่มอาการตั้งแต่ 4 สัปดาห์ถึง 1 ปีหลังคลอด
สาเหตุ
ความตึงเครียดทางจิตใจ
ปัญหาในชีวิตสมรส หรือขาดความมั่นคงในชีวิตสมรส
ไม่ได้รับความเห็นอกเห็นใจ
การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงปรารถนา หรือเป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า
มีความวิตกกังวลต่อเพศ ลักษณะและความสมบูรณ์ของบุตรทารกเจ็บป่วยพิการ หรือเสียชีวิต
วิตกกังวลต่อการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของตนเอง
สับสนกับการเปลี่ยนแปลงบทบาทการเป็นมารดา
ความล้มเหลวในการปรับตัวต่อบทบาทการเป็นมารดา
มีความผิดปกติทางจิตใจในระยะตั้งครรภ์ หรือเคยมีประวัติซึมเศร้าในครรภ์ก่อน
ความตึงเครียดทางสังคม
ไม่ได้รับการเตรียมตัวก่อนคลอด
มารดาหลังคลอดที่ได้รับการดูแลอย่างเคร่งครัดจากครอบครัว
เศรษฐานะ ความยากจนทำให้วิตกกังวลต่อค่าใช้จ่ายในการคลอด และการเลี้ยงดูบุตร
มารดาวัยรุ่นที่ต้องพึ่งพาบิดามารดา
ความตึงเครียดทางร่างกาย
การเปลี่ยนแปลงของต่อมไร้ท่อและระดับของฮอร์โมน
การเปลี่ยนแปลงทางของร่างกายในระยะคลอด
ประสบการณ์ของการคลอดไม่ดี เช่น การคลอดยาก ได้รับการผ่าตัดคลอดแบบฉุกเฉิน
อาการและอาการแสดง
นอนไม่หลับ หรือนอนมากกว่าปกติ
อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง หรือกินจุ น้ำหนักเพิ่มขึ้น
รู้สึกตนเองไร้ค่า หรือรู้สึกผิดอย่างไม่สมเหตุสมผล
ซึมเศร้าโดยมีอาการเกือบทั้งวัน ความสนใจหรือความเพลิดเพลินใจในสิ่งต่าง ๆ ลดลงอย่างมาก
สมาธิลดลง ลังเลใจ อาจมีความคิดในการฆ่าตัวตาย หรือทำร้ายบุตร
มีอาการวิตกกังวล ย้ำคิดย้ำทำกลัวโดยไม่ทราบสาเหตุ
มองโลกในแง่ร้าย ไม่มีความพึงพอใจในเหตุการณ์ต่าง ๆ รอบตัว
รู้สึกว่าตนเองด้อยค่า คิดว่าตนเองไม่สามารถเป็นมารดาที่ดีได้
ไม่ชื่นชอบตนเอง ไม่เข้าสังคม แยกตัวเอง จิตใจหดหู่ หม่นหมอง มีความคิดทำร้ายตนเอง
ผลกระทบของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
ผลกระทบต่อครอบครัว
เกิดปัญหาภายในครอบครัว
สูญเสียความสนใจในชีวิตสมรส
การติดต่อสื่อสารภายในครอบครัวไม่มีประสิทธิภาพ
ผลกระทบต่อบุตร
มีปัญหาด้านสติปัญญาและพฤติกรรม
มีการติดต่อสื่อสารที่ผิดปกติ
มีการทุบตีทารุณเด็ก ละทิ้งเด็ก
มีพฤติกรรมก้าวร้าว พูดจาเสียงดัง หรือมีอาการซึมเศร้า
ไม่พูดคุยกับบุคคลรอบข้างแยกตัว
การแสดงความคิดเห็นน้อยลง
ทักษะด้านสังคมบกพร่องและไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเองได้
ผลกระทบต่อมารดาหลังคลอด
ความเหนื่อยล้า เซื่องซึม และสูญเสียพลังงาน ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้
มีพฤติกรรมทำร้ายตนเอง
สูญเสียสมรรถภาพทางร่างกายจากการพักผ่อนไม่ เพียงพอ
การวินิจฉัยภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
มีอาการตามเกณฑ์การวินิจฉัยต่อไปนี้ 5 ข้อ โดยอย่างน้อยต้องมีข้อ 1 หรือข้อ 2 หนึ่งข้อ และมีอาการนาน อย่างน้อย 2 สัปดาห์ โดยไม่เคยมีประวัติของ mania หรือ hypomania
เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง หรือกินจุ น้ำหนักเพิ่มขึ้น มากกว่าร้อยละ 5 ใน 1 เดือน
นอนไม่หลับ หรือนอนมากกว่าปกติ
ความสนใจหรือความเพลิดเพลินใจในสิ่งต่าง ๆ ลดลงอย่างมาก
Psychomotor agitation หรือ retardation
ซึมเศร้าโดยมีอาการเกือบทั้งวัน
อ่อนเพลียไม่มีแรง
รู้สึกตนเองไร้ค่า หรือรู้สึกผิดอย่างไม่สมเหตุสมผล
สมาธิลดลง ลังเลใจ
คิดเรื่องการตาย หรือการฆ่าตัวตาย
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการปรับตัวหลังคลอดไม่เหมาะสมเนื่องจากมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
วัตถุประสงค์
เพื่อให้มารดาหลังคลอดไม่เกิดภาวะซึมเศร้า
เพื่อให้มารดาหลังคลอดสามารถปรับบทบาทการเป็นมารดาได้เหมาะสม
กิจกรรมการพยาบาล
อธิบายให้มารดาหลังคลอดทราบถึงสาเหตุการเปลี่ยนแปลงของร่างกายในระยะหลังคลอด รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของสภาพอารมณ์ซึ้มเศร้า
สนับสนุนให้มารดาหลังคลอดได้รับการประคับประคองทางจิตใจจากทีมบุคลากรสุขภาพ และครอบครัว
ควรรับฟังปัญหาต่าง ๆ ของมารดาหลังคลอด พร้อมทั้งให้คำแนะนำแก่มารดาหลังคลอดและครอบครัว
ส่งเสริมและให้กำลังใจในการแสดงบทบาทการเป็นมารดา โดยกล่าวชมเชยเมื่อมารดาสามารถ
การประเมินภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
ดูแลให้ได้รับความช่วยเหลือ และการดูแลรักษาเพื่อบำบัดภาวะซึมเศร้าอย่างเหมาะสม
มารดาที่มีภาวะซึมเศร้าอย่างรุนแรงพยาบาลจึงควรป้องกันไม่ให้มารดาทำร้ายตนเอง ฆ่าตัวตาย
จัดมารดาเข้ากลุ่มทำกิจกรรมร่วมกับมารดารายอื่นที่มีปัญหาคล้ายคลึงกัน ให้ความช่วยเหลือประคับประคองซึ่งกันและกัน
หากมารดาเริ่มแสดงอาการผิดปกติทางจิตใจรุนแรงขึ้น ควรส่งต่อจิตแพทย์เพื่อให้การดูแลรักษาต่อไป
การรักษาภาวะซึมเศร้าหลังคลอดและโรคจิตหลังคลอด
การรักษาทางจิตโดยใช้จิตบำบัด
จิตบำบัดรายบุคคล (individual therapy) จิตบำบัดกลุ่ม (group therapy) การบำบัดทางปัญญา (cognitive behavior therapy)
จิตบำบัดครอบครัว (family therapy) หรือจิตบำบัดระหว่างคู่สมรส (marital therapy) หรือ สุขภาพจิตศึกษา (psychoeducation)
การรักษาโดยการแก้ไขสิ่งแวดล้อม
การจัดสภาพแวดล้อมภายในหอผู้ป่วยให้น่าอยู่
การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ภายในหอผู้ป่วยให้เหมาะสม
การรักษาทางกาย
การให้ยาต้านโรคจิต (antipsychotic drug) ในกลุ่ม atypical antipsychotic
การให้ยาควบคุมอารมณ์ (mood stabilizer)
การช็อคไฟฟ้า (ECT) ในรายที่มีอาการรุนแรงหรือใช้ยารักษาไม่ได้ผล
รายที่มีอาการซึมเศร้าหลังคลอด กลุ่มยาที่เลือกใช้เป็นอันดับแรก คือ serotonin reuptake inhibitor
นางสาวดารุณี คำปิว เลขที่ 22 ห้อง A ชั้นปีที่ 3