Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กลุ่มเพนเดอร์ กระบวนการพยาบาล Nursing Process (คุณลักษณะของกระบวนการพยาบ…
กลุ่มเพนเดอร์
กระบวนการพยาบาล
Nursing Process
แผนการพยาบาล
การประเมินภาวะสุขภาพ
Health Assessment
การรวบรวมข้อมูล collection data
ขั้นตอนการประเมินข้อมูล
ชนิดของข้อมูล
(types of data )
ข้อมูลอัตนัย
(subjective data) : symptom อาการ
จากการสัมภาษณ์
(Interview)
ข้อมูลปรนัย
(objective data) : sign อาการแสดง
การตรวจร่างกาย
(Physical Examination)
แหล่งข้อมูล
(sources of data)
แหล่งปฐมภูมิ
(Primary sources)
: ผู้รับบริการ
แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ
(Secondary sources)
:ครอบครัวผู้ประสบเหตุ
:แฟ้มประวัติและผลตรวจทางห้องผลปฏิบัติการ
วิธีการรวบรวมข้อมูล
(data collection method)
การสัมภาษณ์
การซักประวัติ
(Interveiw)
ชนิดการสัมภาษณ์
แบบกำหนดทิศทาง(directive)
มีรูปแบบชัดเจนพยาบาลกำหนดคำถามที่ต้องการเฉพาะเจาะจงไว้
แบบไม่กำหนดทิศทาง(nondirective)
ผู้รับบริการได้พูดตามที่ต้องการโดยพยาบาลเพียงแต่ทำความกระจ่าง สรุป ใช้คำถามปลายเปิด และคอยกระตุ้นให้พูด
ขั้นตอนการสัมภาษณ์
ขั้นเตรียมการสัมภาษณ์
: ตั้งเป้าหมายคิด คำถามไว้
ขั้นสัมภาษณ์
: สร้างสัมพันธภาพ โดยการทักทาย แนะนำตนเอง ถามช่ือผู้รับริการ แสดงท่าทีถึงการยอมรับและให้เกียรติ ลักษณะการถามเป็นการสนทนามากกว่าการซักถาม ใช้คำถามปลายเปิด
ขั้นปิดการสัมภาษณ์
: เมื่อยุติการสัมภาษณ์ควรสรุปสิ่งท่ีคุยมาเพื่อให้ผู้รับบริการได้ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
การสังเกต
(Obaervation)
ใช้ความรู้สึกของพยาบาล ขณะที่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ในการรวบรวมข้อมูลของผู้รับบริการและสิ่งรอบๆตัวผู้รับบริการ ระมัดระวัง รอบคอบ
พยาบาลต้องช่างสังเกต รูปร่าง ลักษณะ อาการ ของผู้รับบริการ
สังเกตสิ่งแวดล้อมของผู้รับบริการ
การตรวจร่างกาย
(Physical examination)
การดู (inspection)
การคลำ (palpation)
การเคาะ (percussion)
การฟัง (auscultation)
การตรวจสอบข้อมูล (validating data)
ความสำคัญ
ลดความผิดพลาดของผู้ประเมินข้อมูล ไม่พลาดต่อข้อมูลที่ถูกต้อง
สาเหตุที่ต้องตรวจสอบ
ผู้รับบริการให้ข้อมูลเรื่องเดียวกันในแต่ละครั้ง ไม่เหมือนกัน
วิธีการตรวจสอบข้อมูล
ตรวจสอบข้อมูลอย่างน้อย2 ครั้งโดยเฉพาะข้อมูลอัตนัยกับปรนัย
หาปัจจัยที่ส่งเสริมหรือยับยั้ง
ถามผู้เชี่ยวชาญ/ญาติ ผู้ใกล้ชิด
การจัดระบบข้อมูล
(organizing data)
นำข้อมูลท่ีรวบรวมและตรวจสอบแล้วมาจัดหมวดหมู่เช่ือมโยงข้อมูลเข้าด้วยกันจัด (ตามแนวคิด/ทฤษฎีและเครื่องมือประเมินท่ีใช้เป็นแนวทาง)
ช่วยให้มองเห็นปัญหาสุขภาพ ปัจจัย เสี่ยง และส่วนดีท่ีมีอยู่ของผู้รับบริการในขณะท่ีมีปัญหา
อาจจัดระบบข้อมูลตามกรอบแนวคิดท่ีแตกต่างกัน เช่น กรอบแนวคิดทางการพยาบาลและ
กรอบแนวคิดท่ีไม่ใช่ทางการพยาบาล
กรอบแนวคิดทางการพยาบาล ได้แก่ กรอบแนวคิดแบบแผนสขุภาพของกอร์ดอนกรอบ แนวคิดการดูแลตนเอง กรอบแนวคิดการปรับตัว แนวคิดความสามารถในการดูแตนเอง เป็นต้น
กรอบแนวคิดที่ไม่ใช่การพยาบาล ได้แก่ ลำดับความต้องการของมาสโลว์
การรายงาน/บันทึกข้อมูล
(reporting and recordingdata)
ต้องบันทึกส่ิงที่ประเมินได้เพื่อจะได้สื่อสารให้ผู้อื่น
(ที่เก่ียวข้องกับทีมการดูแลรักษา)ได้รับรู้และ/หรือรายงานความผิดปกติที่พบเพื่อให้การดูแลรักษาทันที
การบันทึกและการรายงานเป็นปัจจัยท่ีจะให้การวินิจฉัยและรักษาในทันทีช่วยให้การปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องลดลงแต่อาจทำให้การดูแลรักษาไม่ได้ผลจากการบันทึกและการรายงานที่ขาดความระมัดระวังรอบคอบ
การรายงานสิ่ง สำคัญที่พบอาจทำก่อนบันทึกทั้งหมดได้
การรายงานสิ่งสำคัญที่พบอาจทำก่อนบันทึกทั้งหมดได้
วินิจฉัยการพยาบาล
Nursing Diagnosis
การวินิจฉัยทางพยาบาล เป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะสุขภาพกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพเพื่อทราบแนวทางการวางแผนและปฎิบัติการพยาบาลในการแก้ไขและส่งเสริมสุขภาพ
รูปแบบของการกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
แบบที่ 1 มีภาวะสุขภาพดี
พยาบาลมีบทบาทช่วยผู้รับบริการให้คงภาวะสุขภาพดีหรือส่งเสริมให้มีสุขภาพดียิ่งขึ้น
ภาวะสุขภาพดี + เนื่องจาก + ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
ตัวอย่าง...
การแสวงหาวิธีปฏิบัติเพื่อส่งเสริมสุขภาพ. เนื่องจากเชื่อว่า ”ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ”
แบบที่ 2 คาดว่าจะเกิดปัญหาสุขภาพและพบปัจจัยเสี่ยง
-จากการประเมินไม่พบปัญหาแต่คาดว่าจะเกิดปัญหาสุขภาพขึ้นเพราะปัจจัยเสี่ยง
-การพยาบาลจะพบได้ทั้งในสถานการณ์ผู้รับบริการมีภาวะสุขภาพดีและมีความเจ็บป่วย
เสี่ยงต่อการเกิด + ปัญหาสุขภาพ + เนื่องจาก + ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง(ปัจจัยส่งเสริม)
ตัวอย่าง...
-เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ พลัดตก หกล้ม เนื่องจากขาดความรู้ถึงวิธีป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวและการมองเห็นบกพร่อง
-เสี่ยงต่อผิวหนังเสียหน้าที่ (skin breakdown) เนื่องจากไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้เอง
แบบที่ 3 มีปัญหาสุขภาพ
ปัญหาสุขภาพ + เนื่องจาก + ปัจจัยที่เกี่ยวข้องปัจจัยที่ทำให้เกิด
เป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นในขณะนี้ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับข้อนี้คือการวินิจฉัยภาวะเจ็บป่วยที่พบ
ตัวอย่าง...
การไม่สามารถดูแลตนเองเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร
การเข้าห้องน้ำ การแต่งตัว เนื่องจากตามัวและขาทั้งสองข้างอ่อนแรง
การวินิจฉัยทางการพยาบาล
และการที่นิจฉัยทางการแพทย์
การวินิจฉัยทางการพยาบาล
อธิบายการตอบสนองของผู้รับบริการต่อโรคเงื่อนไขหรือสถานการณ์
เน้นปัจเจกบุคคล
เปลี่ยนแปลงได้เมื่อการ
ตอบสนองของผู้รับบริการเปลี่ยน
นำไปสู่กิจกรรมที่พยาบาลกระทำได้โดยอิสระ
ทั้งการวางแผน การปฏิบัติและการประเมินผล
การวินิจฉัยทางการแพทย์
อธิบายกระบวนการเฉพาะโรค
เน้นพยาธิสภาพของโรค
ไม่เปลี่ยนแปลงคงอยู่เช่นนี้จนกว่าจะหายเจ็บป่วย
นำไปสู่การรักษาซึ่งบางกิจกรรม
มีพยาบาลช่วยทำ
ตัวอย่าง
วางเเผนการพยาบาล
Planning
?การวางแผนทางการพยาบาลคืออะไร?
การวางแผนทางการพยาบาล เป็นการพิจารณาและกำหนดกิจกรรมช่วยเหลือ หรือร่วมมือกับผู้รับบริการ โดยขั้นตอนต่างๆของการวางแผนทางการพยาบาลเพื่อป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว และปัญหาที่สามารถอาจเกิดขึ้นได้ เป็นการสื่อสารเพิ่อให้การพยาบาลผู้รับบริการ โดยพยาบาลต้องสามารถตอบคำถามของผู้รับบริการได้ว่า ต้องทำอะไร เมื่อไหร่ และอย่างไร
●ระยะการวางแผนการพยาบาล●
ในการวางแผนระยะสั้นและระยะยาว จะต้องสอดคล้องกับปัญหา/ ข้อวินิจฉัยที่ตั้งขึ้น และเกณฑ์การประเมินผล และควรคำนึงถึงข้อมูลที่ได้จากการตรวจสภาพจิตยังมีความสำคัญเพราะการตรวจสภาพจิตของแพทย์กับพยาบาลมีความแตกต่างกัน
¤องค์ประกอบของการวางแผนทางการพยาบาล¤
1.การเรียงลำดับความสำคัญ (Priorities) การให้ความช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม
มีการตั้งเป้าหมาย (Setting goals) เป็นเป้าหมายระยะสั้น (short-term goals) และเป้าหมายระยะยาว (long-term goals)
ตัวอย่างการวินิจฉัยทางการพยาบาล เป้าหมายระยะสั้นและระยะยาวและเกณฑ์ประเมินผล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มีพฤติกรรมก้าวร้าวเนื่องจากมีวิธีการเผชิญความเครียดไม่เหมาะสม
ไม่แสดงพฤติกรรมก้าวร้าวในระยะเวลา 48 ชั่วโมง (เป้าหมายระยะสั้น)
สามารถเผชิญและทนต่อความเครียดได้เหมาะสมภายใน 4 สัปดาห์ (เป้าหมายระยะยาว)
เกณฑ์การประเมิน
•สีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แววตา ท่าทางเป็นมิตร พูดจาสุภาพ
•ควบคุมอารมณ์ตนเองได้
•ไม่ทำลายสิ่งของ ทำร้ายผู้อื่น
•มีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น
ปฎิบัติการพยาบาล
Implementation
ขั้นตอนการปฎิบัติการพยาบาล
ขั้นเตรียมการ
( preparing)
ผู้รับบริการ
ต้องประเมินความพร้อมของผู้รับบริการที่จะได้รับการพยาบาล
ต้องประเมินผู้รับบริการก่อนการปฎิบัติการพยาบาล ตามสภาวการณ์ของผู้รับบริการที่เปลี่ยนแปลงเสมอ
ต้องอธิบายให้ผู้รับบริการทราบว่า จะปฎิบัติกิจกรรมอะไรให้ และจะเกิดอะไรขึ้นกับเขาบ้าง รวมถึงการจัดท่า และคำนึงถึงความเป็นส่วนตัวของผู้รับบริการเสมอ
อุปกรณ์ เครื่องใช้
ทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพในการปฎิบัติการพยาบาล
ต้องเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ให้พร้อมก่อนปฎิบัติการพยาบาล
ผู้ปฎิบัติ
ต้องพิจารณาว่าผู้ที่ได้รับมอบหมาย มีความรู้
ความสามารถเพียงพอหรือไม่
ทั้งพยาบาลผู้วางแผนและผู้ได้รับมอบหมาย มีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำตามกฎหมายหรือไม่
คุณสมบัติ 4H
Heart มีใจรัก เมตตา รัก และมีทันศคติที่ดีต่อการปฎิบัติงาน
Hands ทักษะความชำนาญ ความนุ่มนวลในการปฎิบัติการพยาบาล
Head ความสามารถทางสติปัญญา
Heels ความว่องไว ทันการณ์ในการปฎิบัติการพยาบาล
ทบทวนแผนการพยาบาล
สำหรับนักศึกษาพยาบาล ควรวางแผนล่วงหน้า เมื่อถึงเวลาปฎิบัติการพยาบาลต้องทบทวนแผนอีกครั้ง แบะต้องเขียนแผนปฎิบัติการพยาบาลประจำวัน (daily care plan)
ก่อนปฎิบัติงานในแต่ละเวร พยาบาลต้องศึกษารายละเอียดของแผนการพยาบาลใหม่เสมอหลังจากการประเมินผู้รับบริการแล้ว
ขั้นปฎิบัติการ
(Doing/Delegeting)
สิ่งที่ต้องคำนึงถึง
ความปลอดภัยในการปฎิบัติงาน(safety)
ประสิทธิภาพและประสิทธิผล
(efficiency and effectiveness)
ประหยัด(economization)
ความสุขสบาย(comfort)
สิทธิเเละหน้าที่ตามกฎหมาย
ทักษะที่จำเป็น
ทักษะด้านสติปัญญา(intellectual and cognitive skills)
ทักษะในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ(critical thinking)
ทักษะการสร้างสัมพันธ์ระหว่างบุคคล(interpersonal skills)
ทักษะด้านการปฎิบัติ(teaching/psychomotor skill)
การมอบหมายงานเเละการนิเทศงาน(delegation and supervision)
ขั้นการบันทึก
(Documentation/recording)
เน้นเเหล่งข้อมูลเป็นหลัก(source-oriented record)
เน้นปัญหาเป็นหลัก(problem-oriented record)
บันทึกเป็นรายการปัญหา
(problem list)
บันทึกตามกระบวนการพยาบาล
บันทึกด้วยคอมพิวเตอร์(computerized record)
บันทึกเเบบบรรยายตามเหตุการณ์(narrative records)
ประโยชน์ของการบันทึกทางการพยาบาล
1.ใช้ในการสื่อสารระหว่างผู้ร่วมงาน
2.เพื่อวางเเผน
3.ใช้เป็นหลักฐานทางกฎหมาย
4.ใช้ประเมินคุณภาพการ
พยาบาลอย่างเป็นทางการ
5.ใช้เป็นเเหล่งข้อมูลเพื่อวินิจฉัย
6.ใช้ในการวางแผนงบประมาณ
ระบบปฎิบัติการพยาบาล
ระบบการปฎิบัติการพยาบาลเป็นทีม (team nursing)
เป็นการผสมผสานการปฎิบัติการพยาบาลตามหน้าที่ และระบบเจ้าของไข้ เข้าด้วยกัน
ทำให้มีประสิทธิภาพ ต้องมีหัวหน้าทีม การประสานสานที่ดี และกระบวนการพยาบาล
ระบบการปฎิบัติการพยาบาลตามหน้าที่ (functional nursing)
เป็นการปฎิบัติการพยาบาลตามหน้าที่
ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าทีม
อาจหน้าที่เดียว หรือหลายหน้าที่ จนกว่าหน้าที่นั้นจะเสร็จในแต่ละเวร
ระบบการปฎิบัติการพยาบาลแบบเจ้าของไข้ (primary nursing)
เป็นการให้การดูแลเฉพาะรายบุคคล
เพื่อตอบสนองความต้องการทุกด้าน
มี 2 ลักษณะ
แบบเวร
แบบรับผิดชอบตลอด ตั้งแต่รับไว้ จนกระทั่งจำหน่ายออกจากรพ.
แนวคิดของการปฎิบัติการพยาบาล
เป็นการนำแผนไปสู่การกระทำ
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
ไม่ได้จำกัดเพียงในโรงพยาบาล แต่สามารถ
ปฎิบัติได้ในครอบครัว จนถึงชุมชน
จะบรรลุผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพ ต้องมีการเตรียมการที่ดี และมีความพร้อม
มีความละเอียดรอบคอบ
มีความรู้ และทัศนคติที่ดีการเป็นพยาบาล
ภายหลังให้การพยาบาลแล้ว ต้องบันทึก
การปฎิบัติการพยาบาลที่ให้
สรุป
การปฎิบัติการพยาบาล ซึ่งมีขั้นตอน คือ เตรียมการ ลงมือปฏิบัติ และการบันทึก ในขั้นเตรียมการต้องเตรียมทั้งผู้ปฎิบัติเเละผู้รับบริการ อาจลงมือปฏิบัติเองหากให้ผู้อื่นปฎิบัติต่อต้องมีการนิเทศงาน ต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ประหยัด สุขสบายเเละสิทธิหน้าที่ตามกฎหมาย ขั้นตอนสุดท้ายคือการบันทึกเพื่อไว้ใช้ประโยชน์ต่างๆ
ความหมายของการ
ปฎิบัติการพยาบาล
เป็นการนำแผนการพยาบาลที่กำหนดไว้ ไปทำให้เกิดผลเป็นจริง ภายใต้ระบบการพยาบาลที่เหมาะสมกับสถานการณ์และทรัพยากรที่มีอยู่
ประเมินผลการพยาบาล
Evaluation
ขั้นตอนการประเมินผลการพยาบาล
1 ทบทวนเป้าหมายที่ตั้งไว้ในแผนการพยาบาล
2 รวบรวมข้อมูลที่สัมพันธ์กับเป้าหมายที่วางไว้
3 เปรียบเทียบข้อมูลที่ได้ขณะนั้นกับเกณฑ์การประเมินผลเป้าหมายที่คาดหวังที่ตั้งไว้ ว่าบรรลุผลตามเกณฑ์ทั้งหมด
หรือบรรลุบางส่วน หรือไมบรรลุผลเลย
4 เขียนข้อความเกี่ยวกับผลการประเมินทั้งส่วนภาวะสุขภาพ และข้อมูลสนับสนุนภาวะสุขภาพนั้น
5 เชื่อมโยงกิจกรรมการพยาบาลกับผลการประเมิน
6 ทบทวนและปรับปรุงแก้ไขแผนตามความจำเป็น ขึ้นกับการสำเร็จ
ตามเป้าหมาย และการเปลี่ยนแปลงภาวะสุขภาพของผู้รับบริการ
ประโยชน์ของการประเมินผลการพยาบาล
1 พัฒนาขั้นตอนกระบวนการพยาบาล
การประเมินผลทำให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมการพยาบาลและผลที่เกิดกับผู้รับบริการ เพราะจะมีการป้อนกลับ
2 พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการพยาบาล
การประเมินผลเป็นกระบวนการควบคุมตนเอง จึงกำหนดเป็นมาตรฐานของการพยาบาลได้ในปัญหาที่เหมือนๆกันหรือปัญหาที่พบบ่อย
3 พัฒนาทักษะการเรียนรู้ของพยาบาล
พยาบาลปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาลนั้น เป็นการให้พยาบาลฝึกใช้ความคิดตลอดเวลา เท่ากับเป็นการส่งเสริมให้ตนเองได้เรียนรู้ตลอดเวลา
4 ใช้ประกันคุณภาพ
เมื่อประเมินแล้วจะกลับไปทบทวนแก้ไขการพยาบาลและการปฏิบัติ เสนอเพื่อให้บรรลุผลสำดร็จสูงสุด
ปัญหาและอุปสรรคในการประเมินผลการพยาบาล
1 ขาดการวางแผน
ขาดมาตรฐานหรือเกณฑ์สำหรับวัด คุณภาพของการพยาบาลขึ้ยอยู่กับแต่ละสถาบัน และแต่ละบุคคล
2 การติดตามผลงาน
การควบคุมและนิเทศงานที่ดี การวัดคุณภาพการพยาบาล ดูการกระทำหน้าที่พยาบาลมากกว่าดูผลงาน
3 การปฏิบัติการพยาบาลมุ่งให้งานสำเร็จ
มากกว่าการส่งเสริมให้พยาบาลรู้จักคิดแก้ปัญหา ไม่ส่งเสริมการรู้จักตักสินใจ และให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อประเมินผลและหาทางแก้ไขเมื่อไม่ได้ผลตามเป้าหมาย
4 ขาดความมีระบบ ระเบียบ ในการประเมินผล
ไม่ระบุว่าใครเป็นผู้ประเมิน จะประเมินผลเมื่อใด ทำบ่อยแค่ไหน การประเมินผลมักถูกมองว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก และเป็นงานของผู้บริหารเพียงผู้เดียว
5 ระบบข้อมูลไม่ดี
ตั้งแต่นโยบายในการเขียนบันทึกพยาบาลขึ้นอยู่กับพยาบาลแต่ละคน หรือแต่ละหอผู้ป่วย ขาดการปรับปรุงคุณภาพของเอกสาร เนื่องจากเจ้าหน้าที่ไม่เห็นถึงความสำคัญของการบันทึกหรือข้อมูลทางการพยาบาล
ความหมาย
กระบวนการที่ทำอย่างรอบคอบ และเป็นระบบในการตัดสินเกี่ยวกับคุณภาพ ความมีค่า หรือคุณค่าของพยาบาลโดยการเปรีบเทียบกับมาตรฐานที่วางหรือกำหนดไว้
ชนิดของการประเมินผลการพยาบาล
การประเมินผลเชิงโครงสร้าง (structure)
เน้นเกี่ยวกับหน่วยงาน
จะตรวจสอบการจัดระบบสำหรับให้การดูแล
ปัจจัยที่มีผลคือ การบริหาร งบประมาณ การสื่อสารกระบวนการพัฒนาตนเอง สิ่งอำนวยความสะดวก เครื่องมือเครื่องใช้
ตัวอย่างเกณฑ์
-เครื่องหมายทางออกต้องมองชัดเจน
-มีห้องสำหรับให้ญาติรอบนแต่ละชั้น
การประเมินผลเชิงกระบวนการ
(process)
เน้นเกี่ยวกับกิจกรรมผู้ให้การดูแล
พิจารณาเกี่ยวกับกิจกรรมอะไรที่ผู้รับบริการ การดูแลที่ให้เกี่ยวข้องกับความต้องการของผู้รับบริการหรือไม่ เหมาะสม สมบูรณ์ คุณภาพของการปฏิบัติของผู้ให้การดูแลเป็นอย่างไร
ตัวอย่างเกณฑ์ -ผู้ป่วยได้รับการทำความสะอาดปากและฟันทุกเวร
-พยาบาลแนะนำตนเองต่อผู้รับบริก่าร
การประเมินผลเชิงผลลัพธ์(outcome)
เน้นที่การตอบสนองของผู้รับบริการ
เป็นการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงหรือตอบสนองของผู้รับบริการ กับเป้าหมายที่พยาบาลและผู้รับบริการคาดหวัง โดยพยาบาลจะปะเมินว่าบรรลุเป้าหมายสุขภาพระดับไหน เพียงใด
ตัวอย่างเกณฑ์ -ท้องนุ่มเเละไม่มีอาการกดเจ็บ ใน 5 วัน
-เดินไปห้องน้ำได้ โดยไม่ต้องมีคนช่วย ภายใน3วัน
การใช้กระบวนการพยาบาลมักใช้การประเมินผลเชิงผลลัพธ์ กระทำได้ 2 ลักษณะ
1.การประเมินผลในขณะปฏิบัติการพยาบาล (formative/ongoing evaluation) เป็นการประเมินผลที่ระทำอยู่ตลอดเวลา
1.ผู้รับบริการได้บรรลุเป้าหมายพยาบาลมากน้อยเพียงใด
2.ปฏิกิริยาต่อปัญหาของผู้รับบริการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
3.จะใช้ข้อมูลอะไรเพื่อวินิจฉัยปัญหาและการวางแผนพยาบาลให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
4.จะนำแผนการพยาบาลไปปฏิบัติกับผู้รับบริการอย่างไร
2.การประเมินผลเมื่อการพยาบาลสิ้นสุดในช่วงเวลาหนึ่งๆ (summative/intermittent evaluation)เป็นการประเมินผลรวบยอดในช่วงเวลานั้นๆ
1.การประเมินผลการพยาบาลเมื่อผู้ป่วยพ้นวิกฤตหรือป่วยหนัก เช่น พ้นจากภาวะช็อก
2.การประเมินผลเมื่อการพยาบาลเฉพาะสิ้นสุดลง เช่น ภายหลังการล้างไตด้วยไตเทียม
3.การประเมินผลเมื่อผู้ป่วยย้ายหอผู้ป่วย
4.ประเมินผลในช่วงเวลาที่กำหนด
แนวคิดการประเมินผลการพยาบาล
เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระวนการพยาบาลและแทรกอยู่ในทุกขั้นตอน
มีกระบวนการเป็นระเบียบแผน
ผลที่ด้จากการประเมินผลการพยาบาลจะบอกให้ทราบถึงประสิทธิภาพของพยาบาล วิธีปฏิบัติ และพฤติกรรมที่เกิดขึ้นกับผู้รับบริการ
นำการประเมินที่ได้ ไปสู่การพัฒนา ทำให้เกิดมาตรฐานการพยาบาล
การแก้ไขและพัฒนาการประเมินผล จะต้องเริ่มตั้งแต่กำหนดปรัชญา วัตถุประสงค์ขององค์กร จนถึงการควบคุมการพยาบาล
การประยุกใช้กระบวนการพยาบาล
สามารถนำไปใช้ได้กับผู้รับบริการทุกสภาวะ ทั้งผู้ที่มีสุขภาพหรือเจ็บป่วย ทั้งรายบุคคล ครอบครัวหรือชุมชน และต้องครอบคลุมทุกด้าน คือ การดูแลรักษา การส่งเสริม การป้องกันโรคและการฟื้นฟูภาวะสุขภาพ
กรณีผู้รับบริการท่ีมีภาวะสุขภาพเบี่ยงเบนสามารถนำกระบวนการพยาบาล มาประยุกต์ใช้ไดบ้ทุกวันทั้งที่ในภาวะเร่งด่วน เฉียบพลันหรือเรื้อรัง ตั้งแต่แรกเกิด ไปจนถึงผู้สูงอายุ
คุณลักษณะของกระบวนการพยาบาล
มีเป้าหมาย ( Purposeful )
กระบวนการพยาบาลมีเป้าหมาย
เป็นตัวชี้นำการปฏิบัติผู้ใช้กระบวนการพยาบาลจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์
เชิงพฤติกรรมของผู้รับบริการให้ชัดเจน
เป็นระบบ ( System )
กระบวนการพยาบาลมีวิธีการและขั้นตอนที่ชัดเจนในการจัดการเพื่อบรรลุเป้าหมายและหลีกเลี่ยงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการดูแลที่บอกต่อกันมาหรือการดูแลเฉพาะสถาบัน
เป็นพลวัตร ( Dynamic )
กระบวนการพยาบาลไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลามีความต่อเนื่อง
มีปฏิสัมพันธ์ ( Interactive )
ตลอดกระบวนการพยาบาลพยาบาลต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้รับบริการครอบครัวชุมชนและบุคลากรอื่นๆในทีมสุขภาพเพื่อให้เกิดการดูแลผู้รับบริการเฉพาะบุคคล
มีความยืดหยุ่น ( Flexible )
กระบวนการพยาบาลสามารถนำไปปรับใช้ได้ทุกสถานการณ์ทั้ง
รายบุคคลรายกลุ่มหรือชุมชนปฏิบัติทีละขั้นตอนหรือปฏิบัติพร้อมๆกัน
ไปในหลายขั้นตอนก็ได้
อยู่บนพื้นฐานของทฤษฎี
( Theoretically base )
กระบวนการพยาบาลได้รับการออกแบบจากพื้นฐานความรู้ที่กว้างขวางทั้งทางวิทยาศาสตร์มนุษย์ศาสตร์และการประยุกต์ใช้ได้กับทุกทุกกรอบแนวคิดทฤษฎีทางการพยาบาล
ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีการพยาบาลและกระบวนการพยาบาล
ทฤษฎีสิ่งแวดล้อม
(Florence Nightingale)
แนวคิดหลัก
การจัดให้บุคคลอยู่ในสภาวะธรรมชาติที่ดีที่สุด
มีการระบายอากาศที่ดี
แสงสว่างเพียงพอ
ความอบอุ่นเพียงพอ
การควบคุมเสียง
การควบคุม
สิ่งขับถ่าย
การดูเเลสุขอนามัย
สิ่งเเวดล้อมที่ดี
กระบวนการพยาบาล
ประเมิน
สิ่งแวดล้อมด้านกายภาพ จิตใจ และสังคม รวมถึงผลกระทบของสิ่งแวดล้อมต่อภาวะสุขภาพ
จัดกิจกรรมการพยาบาล
มุ่งที่การ
จัดการกับสิ่งแวดล้อมทุกด้านเพื่อให้
ผู้ป่วยอยู่แบบธรรมชาติ
ประเมินผลของการจัดการ
เปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม ที่มีผลต่อ
ภาวะสุขภาพของบุคคล
ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
(Hildegard E. Peplau)
เเนวคิดหลัก
กระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่ให้ผลทางการรักษาเป็นสำคัญ
กระบวนการพยาบาล
เน้นการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคลลในการรวบรวมข้อมูล และร่วมกับผู้ป่วยค้นหาปัญหา ทำกิจกรรมการพยาบาลเพื่อแก้ปัญหา
บทบาทพยาบาล
คนเเปลกหน้า
ผู้ให้ข้อมูล
ครู
ผู้นำ
ผู้ทดเเทน
ผู้ให้คำปรึกษา
ทฤษฎีการปรับตัว
Sister Callista Roy
แนวคิดหลัก
การส่งเสริม ดำรงรักษา และฟื้นฟูความสามารถในการปรับตัวของบุคคล เพื่อให้สามารถอยู่ในสังคมได้ปกติสุข
กระบวนการพยาบาล
การประเมินการปรับตัว 4 ด้าน
ด้านร่างกาย
ด้านอัตมโนทัศน์
ด้านบทบาทหน้าที่
ด้านการพึ่งพาอาศัย
วินิจฉัยปัญหาที่เกี่ยวกับทั้ง4ด้าน
จัดกิจกรรมพยาบาล โดยการ ส่งเสริม รักษา และฟื้นฟูความสามารถในการปรับตัว
ประเมิน ความสามารถในการปรับตัวหลังให้การพยาบาล
ทฤษฎีการดูแลตนเอง
Dorothea Orem
แนวคิดหลัก
การพยาบาลเป็นกิจกรรมที่มีลักษณะเฉพาะแบบต่อเนื่อง
เกี่ยวกับความต้องการของแต่ละบุคคลในการทำและการจัดกิจกรรมการดูแลตนเอง
เพื่อให้มีการดำรงชีวิตและสุขภาพที่ดี บรรเทาจากการเป็นโรคหรือการบาดเจ็บและปรับตัวกับผลของความเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้น
กระบวนการพยาบาล
พยาบาลประเมินความต้องการ และความสามารถในการดูแลตนเอง
วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการดูแลตนเอง
วางแผน และจัดกิจกรรมการพยาบาล
ระบบทดแทนการ
ดูแลตนเองบางส่วน
ระบบประคับประคองการดูแลตนเองของผู้รับบริการ
ระบบทดแทนการดูแลทั้งหมด
แบบแผนสุขภาพ
(Gordon 11 แบบแผน)
แนวคิดหลัก
กรอบแนวคิดเกี่ยวกับแบบแผนสุขภาพ
เป็นแนวทางการประเมินสุขภาพของทั้งบุคคล ครอบครัว และชุมชน ทั้งภาวะเจ็บป่วยและไม่เจ็บป่วย
ประเมินจากพฤติกรรมทั้งภายในและภายนอกของบุคคล
กำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาลตามแนวทางการประเมินทั้ง 11 แบบแผน
กระบวนการพยาบาล
การรวบรวมข้อมูลและ
การประเมินภาวะสุขภาพ
ผลลัพธ์ของการปฏิบัติการพยาบาลจะประเมินการทำหน้าที่ของแต่ละแบบแผนสุขภาพ
เป้าหมายการพยาบาล เพื่อคงการทำหน้าที่ปกติของแบบแผนสุขภาพ และช่วยให้กลับสู่ปกติ
ความหมายและความสำคัญของกระบวนการพยาบาล
ความหมาย : เป็นการดูแลผู้เจ็บป่วย การส่งเสริมและฟื้นฟูสุขอนามัย และการป้องกันโรค รวมทั้งเป็นการช่วยเหลือแพทย์กระทำการรักษาโรค โดยอาศัยหลักวิทยาศาสตร์และศิลปะ ในการปฏิบัติการพยาบาลเป็นขั้นตอนหรือกระบวนการในการประเมินภาวะสุขภาพ การวินิจฉัยปัญหาทางการพยาบาล การวางแผนการพยาบาล การปฏิบัติการพยาบาลต่อผู้รับบริการ และการประเมินผลการปฏิบัติการพยาบาล ซึ่งครอบคลุมถึงบุคคล ครอบครัว และชุมชน
ความสำคัญ
:check: เป็นสิ่งที่แสดงถึงการนำความรู้ทางทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติ
:check: เป็นการจัดระเบียบการให้บริการทางการพยาบาล
:check: เป็รเครื่องมือสำคัญสำหรับพยาบาลในการค้นหาปัญหาและความต้องการของผู้รับบริการ
:check: มีลำดับ5ขั้นตอนแต่ละขั้นตอนต้องคิดวิเคราะห์และตัดสินใจอย่างมีเหตุผลหรือใช้การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
:check: แสดงให้เห็นสิ่งที่พยาบาลคิด เป็น:<3:ของการพยาบาล
ประโยชน์ของกระบวนการพยาบาล
ประโยชน์สำหรับพยาบาล
มีความพึงพอใจในการทำงาน
เกิดการเรียนรู้ต่อเนื่อง
เพิ่มความเชื่อมั่นในตัวเอง
ช่วยในการมอบหมายงาน
ประโยช์ต่อวิชาชีพ
ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน
เพิ่มคุณค่าวิชาชีพ
สร้างความเข้าใจในวิชาชีพ
ประโยชน์สำหรับผู้รับบริการ
ได้รับการดูแลที่ต่อเนื่อง
ป้องกันการละเลยพยาบาลและการพยาบาลที่ซับซ้อน
ได้รับการดูแลเฉพาะบุคคล
ผู้รับบริการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษา