Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กลุ่ม TTM กระบวนการพยาบาล Nursing Process (การประเมินผลการพยาบาล…
กลุ่ม TTM
กระบวนการพยาบาล
Nursing Process
ความหมายและความเป็นมา
ของกระบวนการพยาบาล
เป็นสิ่งที่แสดงถึงการนำความรู้
ทางทฤษฎีไปสู่การปฎิบัติ
เป็นการจัดระบบระเบียบการให้บริการทางการพยาบาล
เป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นเครื่องมือสำหรับพยาบาล
ในการค้นหาปัญหาและความต้องการของผู้รับบริการ
มีลำดับ 5 ขั้นตอน โดยแต่ละขั้นตอนจะต้องคิดวิเคราะห์และตัดสินใจอย่างมีเหตผุล และใช้การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
ขั้นตอนที่ 1 : ประเมินภาวะสุขภาพ ( Health Assessment )
ขั้นตอนที่ 2 : วินิจฉัยการพยาบาล ( Nursing Diagnosis )
ขั้นตอนที่ 3 : วางแผนการพยาบาล ( Planning )
ขั้นตอนที่ 4 : ปฏิบัติการพยาบาล (Implementation )
ขั้นตอนที่ 5 : ประเมินผลการพยาบาล ( Evaluation )
แสดงให้เห็นสิ่งที่พยาบาลคิด → เป็นหัวใจของการพยาบาล
การพยาบาล หมายถึง เป็นการดูแลผู้เจ็บป่วย การส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพอนามัย และการป้องกันโรครวมทั้งเป็นการช่วยเหลือแพทย์กระทำการรักษาโรค โดยอาศัยหลักวิทยาศาสตร์และศิลปะ
ข้อแตกต่างของกระพยาบาลและกระบวนการแพทย์
จุดเน้นของการพยาบาล
1.บำบัดวิจัยและบำบัด ปฏิกิริยาตอบสนองของมนุษย์ (human response)
ดูแล ช่วยเหลือ บำบัด
3.เน้นองค์รวม - ผลกระทบของความเจ็บป่วยต่อคนทั้งคน
4.สอนผู้รับบริการให้ดูแลตนเองได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาคนอื่น
ปัญหาและอุปสรรคในการใช้กระบวนการพยาบาล
ความรู้และทักษะการนำไปใช้
เช่น ในขั้นตอนการประเมินสภาพผู้ป่วย พยาบาลยังรวบรวมข้อมูลได้ไม่ครบถ้วน เนื่องจากขาด ความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจน และขาดทักษะในการรวบรวมข้อมูล
ไม่สามารถเขียนข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล อย่างถูกต้องเนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจ ไม่ได้นำข้อมูลที่รวยรวมมาวิเคราะห์
ขาดทักษะในการเขียนข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
พยาบาลไม่ได้ปฏิบัติตามแผนการพยาบาลทุกรายแต่ปฏิบัติงานด้วยความเคยชินเน้นงานให้เสร็จตามเวลามากกว่าแก้ปัญหา หรือตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ เนื่องจากพยาบาลขาดความรู้ความสามารถในการนำกระบวนการพยาบาลไปใช้ได้ในการปฏิบัติงานจริง
ไม่ได้ใช้ทุกขั้นตอนของกระบวนการพยาบาล
ทัศนคติต่อการใช้กระบวนการพยาบาล
มีเจตคติว่ากระบวนการพยาบาลเป็นสิ่งที่ฝึกหัด หรือปฏิบัติได้จริงเฉพาะในการเรียนการสอนเท่านั้นไม่เหมาะกับการนำไปใช้ในการปฏิบัติจริง
ขาดปัจจัยสนับสนุนการนำกระบวนการพยาบาล
ได้แก่ การนิเทศ ติดตาม การมอบหมายงาน / ผู้ให้คำปรึกษา
การประเมินผลการพยาบาล
ความหมาย
การประเมินผลการพยาบาล หมายถึง กระบวนการที่ทำอย่างรอบคอบ และเป็นระบบในการตัดสินเกี่ยวกับคุณภาพ ความมีคุณค่า หรือคณค่าของพยาบาล
เป็นกระบวนการพิจารณาตัดสินว่าขั้นตอนต่างๆของกระบวนการพยาบาลมีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหามากน้อยเพียงใด
ชนิด
การประเมินผลเชิงโครงสร้าง(structure)
จุดเน้น คือ หน่วยงาน
การประเมินผลเชิงกระบวนการ(process)
จุดเน้น คือ กิจกรรมของผู้ให้การดูแล
การประเมินผลเชิงผลลัพธ์(outcome)
จุดเน้น คือ การตอบสนองของผู้รับบริการ
ขั้นตอน
ทบทวนเป้าหมายที่ตั้งไว้ในแผนการพยาบาล
2.รวบรวมข้อมูลที่สัมพันธ์กับเป้าหมายที่วางไว้
3.เปรียบเทียบข้อมูลที่ได้ขณะนั้นกับเกณฑ์ประเมินผลเป้าหมายที่คาดหวังที่ตั้งไว้ ว่าบรรลุตามเกณฑ์ทั้งหมด
4.เขียนข้อความเกี่ยวกับผลการประเมินทั้งส่วนภาวะสุขภาพและข้อมูลสนับสนุนภาวะสุขภาพนั้น
เชื่อมโยงกิจกรรมการพยาบาลกับผลการประเมิน
6.ทบทวนและปรับปรุงแก้ไขแผนตามความจำเป็น
แนวคิด
เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการพยาบาล
มีกระบวนการที่เป็นระเบียบแบบแผน
ผลที่ได้จากการประเมินผลการพยาบาลจะบอกให้ทราบถึงประสิทธิภาพของพยาบาล วิธีปฎิบัติของพยาบาล
นำผลที่ประเมินได้นำไปสู่การพัฒนา ทำให้เกิดมาตรฐานการพยาบาล
ประโยชน์
พัฒนาขั้นตอนกระบวนการพยาบาล
พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการพยาบาล
พัฒนาทักษะการเรียนรู้ของพยาบาล
ใช้ประกันคุณภาพ
ปัญหาและอุปสรรค
1.ขาดการวางแผน
2.ขาดการติดตามผลงาน
3.การปฏิบัติการพยาบาลมุ่งให้งานเสร็จ
4.ขาดความมีระบบระเบียบ ในการประเมินผล
5.ระบบข้อมูลไม่ดี
สรุป
การประเมินผลเป็นการตัดสินคุณภาพ คุณค่าของสิ่งบางอย่างที่เป็นระบบอย่างใคร่ครวญ โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้ก่อน
การประเมินผลไม่ได้สิ้นสุดแค่ว่าได้ตัดสินผลแล้ว แต่อาจเป็นการเริ่มกระบวนการพยาบาลใหม่ ถ้าผลที่ได้ไม่บรรลุเป้าหมาย
การเขียนข้อความผลการประเมิน
ขั้นตอนของกระบวนการพยาบาล ( Nursing Process )
การวางแผนการพยาบาล (Nursing Planning)
การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
การกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของการพยาบาล
การกำหนดเกณฑ์การประเมินผลการพยาบาลหรือผลลัพธ์ที่คาดหมาย
การกำหนดกิจกรรมการพยาบาล
การประเมินผลการพยาบาล (Nursing Evaluation)
กระบวนการทางการพยาบาล
• พิจารณาการตอบสนองทั้งด้านร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย/ครอบครัวที่เป็นผลจาก การทำงานของระบบในร่างกายหรืออวัยวะ
• เน้นการสอนผู้ป่วยรายบุคคลหรือรายกลุ่มเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถมีกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ด้วยตัวเอง
• ปรึกษาแพทย์เพื่อให้การรักษาโรค
• มักเกี่ยวข้องกับตัวผู้ป่วยทั้งรายบุคคล ครอบครัว ผู้ดูแล และญาติ
กระบวนการทางการแพทย์
• พิจารณาการทำงานของระบบในร่างกายหรืออวัยวะ
• เน้นการสอนที่เกี่ยวกับโรคและการรักษา
• ปรึกษาพยาบาลในการวางแผนการดูแลเพื่อให้ผู้ป่วยมีกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้
• มักเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยเฉพาะราย บางครั้งที่จะเกี่ยวข้องกับญาติ/ผู้ดูแล
การปฏิบัติการพยาบาล (Nursing Implementation)
การปฏิบัติการพยาบาลตามแผนการพยาบาล
การบันทึกทางการพยาบาล
การประเมินภาวะสุขภาพ (Health Assessment)
การวิเคราะห์ข้อมูล
ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
ข้อเท็จจริงที่ได้มาจากผู้รับบริการโดยตรงเป็นความ
รู้สึกหรืออาการ (symptoms)
ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
เป็นข้อมูลที่เก็บมาจากอาการ
แสดง (Signs)
รับรู้ได้จากการด
รับรู้ได้จากการสังเกต
รับรู้ได้จากการวัด
รับรู้ได้จากการตรวจ
รับรู้ได้จากการฟัง
รับรู้ได้จากการสัมผัส
รับรู้ได้จากการดม
การตรวจร่างกาย
(Physical Examination)
ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะสุขภาพของผู้รับบริการ
ทางด้านร่างกาย
ทางด้านจิตใจ
ทางด้านอารมณ์
ทางด้านสังคม-วัฒนธรรม
ทางด้านจิตวิญญาณ
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต ( Past health history )
การเจ็บป่วยในปัจจุบัน (Present/ Current illness )
การเก็บรวบรวมข้อมูล
วิธีการเก็บข้อมูลเบื้องต้นที่ใช้
การตรวจร่างกาย (Physical
examination or Physical assessment)
การสังเกต (Observation)
การสัมภาษณ์ (Interview)
การตรวจทางห้อง
ปฏิบัติการและจากประวัติสุขภาพ
การวินิจฉัยการพยาบาล (Nursing Diagnosis)
การกำหนดข้อมูลสนับสนุน
การกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
Link Title
ความสัมพันธ์ระหว่างการพยาบาล กระบวนการพยาบาล และทฤษฎีการพยาบาล
ทฤษฎีสิ่งแวดล้อม
การพยาบาล หมายถึง การจัดให้บุคคลอยู่ในสภาวะที่ดีที่สุดเพื่อให้ธรรมชาติได้บังเกิดผลกับบุคคล มี 6 องค์ประกอบ ดังนี้
1.มีการระบายอากาศที่ดี
2.แสงสว่างสว่างเพียงพอ
3.ความอบอุ่นเพียงพอ
4.การควบคุมเสียง
5.การควบคุมสิ่งขับถ่ายออกจากร่างกาย
6.การดูแลสุขภาพอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดี
กระบวนการพยาบาล
-ประเมินสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพ จิตใจ และสังคม รวมถึงผลกระทบของสิ่งแวดล้อมต่อภาวะสุขภาพ
-จัดกิจกรรมการพยาบาล มุ่งที่การจัดการกับสิ่งแวดล้อมทุกด้าน เพื่อให้ผู้ป่วยอยู่ในสภาพที่กระบวนการชีวิตตามธรรมชาติเกิดขึ้น
-ประเมินผลของการจัดการ เปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม ที่มีผลต่อ ภาวะสุขภาพของบุคคล
นักทฤษฎี ฟลอเร้นซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale)
ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
โดยฮิลการ์ด เพบพลาว(Hildegard E. Peplau )
กระบวนการพยาบาล เน้นให้พยายาลใช้เทคนิคการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคลในการรวบรวมข้อมูล และร่วมกับผู้ป่วย ค้นหาปัญหา ทำกิจกรรมการพยาบาลเพื่อแก้ปัญหา 6 บทบาท คือ 1.บทบาทคนแปลกหน้า 2.บทบาทผู้ให้ข้อมูล 3.บทบาทครู 4.บทบาทผู้นำ 5.บทบาทผู้ทดแทน 6.บทบาทผู้ให้คำปรึกษา
การพยาบาล หมายถึง กระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
ทฤษฎีการปรับตัว
นักทฤษฎี ซิสเตอร์ แคลลิสต้า รอย
(Sister Callista Roy)
การพยาบาล หมายถึง การส่งเสริม ดำรงรักษา และฟื้นฟูความสามารถในการปรับตัวของบุคคล เพื่อสามารถอยู่ได้อย่างปกติสุข
กระบวนการพยาบาล
-พยาบาลประเมินการปรับตัวใน 4 ด้านคือ ด้านร่างกาย ด้านอัตาโนทัศน์ ด้าน บทบาทหน้าที่ ด้านการพึ่งพาอาศัยตนเองและบุคคลอื่น
วินิจฉัยปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวของบุคคลทั้ง 4 ด้าน
ประเมินผลความสามารถในการปรับตัวหลังให้การพยาบาล
ทฤษฎีการดูแลตนเอง
นักทฤษฎี โดโรธี โอเรม
(Dorothea Orem)
การพยาบาล เป็นกิจกรรมที่มีลักษณะเฉพาะ เกี่ยวกับความต้องการของแต่ละบุคคลในการทำกิจกรรมดูแลตนเอง และการจัดกิจกกรรมการดูแลตนเอง เป็นลักษณะต่อเนื่อง เพื่อให้มีการดำรงชีวิตและสุขภาพที่ดี บรรเทาจากการเป็นโรค
กระบวนการทางพยาบาล
-พยาบาลปนะเมินความต้องการ และความสามารถในการดูแลตัวเอง
-วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการดูแลตนเอง
-วางแผน และจัดกิจกรรมการพยาบาลเป็น 3 ระบบ
1.ระบบทดแทนการดูแลทั้งหมด
2.ระบบทดแทนการดูแลตนเองบางส่วน
3.ระบบประคับประคองการดูแลตนเองของผู้รับบริการ
แบบแผนสุขภาพ
(Gordon 11 แบบแผน)
นักทฤษฎี มาร์จอรี กอร์ดอน
(Majory Gordon)
กรอบแนวคิดเกี่ยวกับแบบแผนสุขภาพ เป็นแนวทางในการประเมินภาวะสุขภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน ทั้งในภาวะปกติและภาวะเจ็บป่วย โดยปนะเมินจากพฤติกรรมทั้งภายในและภายนอกของบุคคล รวมทั้งกำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาลตามแนวทางการประเมินแบ่งเป็น 11 แบบแผน
กระบวนการพยาบาล
-การรวบรวมข้อมูลและการประเมินภาวะสุขภาพ
ผลลัพธ์ของการปฏิบัติการพยาบาลนั้นพยาบาลจะประเมินการทำหน้าที่ของแต่ละแบบแผนสุขภาพ เป้าหมายการพยาบาล เพื่อคงการทำหน้าที่ปกติของแบบแผนสุขภาพ หรือช่วยให้การทำหน้าที่ของแบบแผนที่เบี่ยงเบนไป กลับสู่ปกติ
ประโยชน์ของกระบวนการพยาบาล
วิชาชีพเจริญก้าวหน้า
ช่วยในการสื่อสารระหว่างสมาชิกในทีม
พึงพอใจในการปฏิบัติ
เป็นการปรับปรุงคุณภาพของการพยาบาล
เกิดความมั่นใจ
การวางแผนการพยาบาล (ต่อ)
การกำหนดกิจกรรมทางการพยาบาล
( Nursing Intervention )
1.ชนิดของกิจกรรมการพยาบาล
1.1 กิจกรรมการพยาบาลที่เป็นอิสระ ( Independent Intervention )
เป็นกิจกรรมการพยาบาลที่พยาบาลคิดขึ้นโดยไม่ต้องมีแผนการรักษาของแพทย์
1.2 กิจกรรมการพยาบาลที่กึ่งอิสระ ( Interdependent Intervention )
เป็นกิจกรรมที่พยาบาลทำร่วมกับบุคคลอื่นๆในทีมสุขภาพ
1.3 กิจกรรมการพยาบาลที่ไม่อิสระ ( Dependent Intervention )
เป็นกิจกรรมที่เป็นแผนการรักษาของแพทย์
2.ปัจจัยพื้นฐานในการกำหนดกิจกรรมการพยาบาล
ความแตกต่างระหว่างบุคคล
ลักษณะพยาธิสรีรภาพ
แผนการรักษาของแพทย์
มาตรฐานการพยาบาลหรือคู่มือการพยาบาล
ความรู้ความสามารถประสบการณ์รวมถึงค่านิยมของพยาบาล
ระยะเวลาที่ต้องใช้ในการทำกิจกรรม
ความรู้ในศาสตร์ต่างๆของพยาบาล
ประโยชนข์องการกำหนดกิจกรรมการพยาบาล
ทำให้สามารถให้การดูแลโดยรวมและเป็นรายบคุคลได้
ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติการพยาบาลที่มีคุณภาพ
ทำให้สามารถใช้ทีมการพยาบาลในการ
ให้การดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นำไปสู่การบันทึกทางการพยาบาลในลักษณะแก้ปัญหาหาและพัฒนาเป็นมาตรฐานทางการพยาบาล
ใช้เก็บข้อมูลประโยชนท์างการศึกษาและเป็นหลักฐานทางกฎหมาย
4.หลักการในการกำหนดกิจกรรมการพยาบาล
หน้าที่หลักของพยาบาลทั้ง 4 ด้าน คือการส่งเสริมสุขภาพการป้องกันโรคและภาวะแทรกซ้อนการให้การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสุขภาพ
เป็นการกระทำของพยาบาล
ต้องมีความละเอียดชัดเจนเพียงพอ
ครอบคลุม 5 กิจกรรม
ให้การดูแล ( caring )
ให้การช่วยเหลือ ( helping )
ให้บริการ ( giving )
ตรวจสอบ ติดตาม (monitoring )
สอน ( Teaching)
แนวทางการกำหนดกิจกรรมการพยาบาล
มีเหตุผล
สอดคล้องกับกิจกรรมการรักษา
คำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล
ต้องเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมคงไว้และรักษาสุขภาพ
เปิดโอกาสให้ผู้รับบริการมีส่วนร่วม
ใช้แหล่งทรัพยากรที่เหมาะสม
มีการจัดลำดับกิจกรรม
ต้องมีการทบทวนกิจกรรมการพยาบาลที่กำหนดไว้เสมอ
ต้องมีการกำหนดกิจกรรมระยะยาว
การปฎิบัติการพยาบาล
ระบบการปฏิบัติการพยาบาล
ตามหน้าที่
(functional nursing)
ปฎิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าทีม
อาจมีหน้าที่เดียวหรือหลายหน้าที่ และกระทำจนกว่าจะเสร็จในแต่ละเวร
แบบเจ้าของไข้
(primary nursing)
เป็นการให้การดูแลเฉพาะรายบุคคล
เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม ครอบคลุมถึงครอบครัวและสิ่งแวดล้อม
มี 2 ลักษณะ
1.แบบเวร
2.แบบรับผิดชอบตลอดตั้งแต่รับไว้จนกระทั่งจำหน่ายออกจากรพ.
แบบเป็นทีม
(team nursing)
ผสมผสานระหว่างการปฏิบัติตามหน้าที่และระบบเจ้าของคนไข้ไว้ด้วยกัน
การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ หัวหน้าทีม สมาชิกในทีมต้องทำงานประสานกัน และนำกระบวนการพยาบาลมาใช้
สิ่งที่ต้องเตรียมการก่อนการปฏิบัติการพยาบาล
เตรียมผู้ปฏิบัติการ
ต้องพิจารณาว่าผู้ที่ได้มอบหมายมีความรู้ความสามารถเพียงพอหรือไม่
ทั้งพยาบาลผู้วางแผนเเละผู้ได้รับมอบหมายมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำตามกฎหมายหรือไม่
คุณสมบัติที่ต้องพัฒนาให้เกิดขึ้นในผู้ปฏิบัติการ คือ 4H
Head ความสามรถทางสติปัญญา
Heart มีใจรัก เมตตากับผู้รับบริการ รักเเละมีทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงาน
Hands ทักษะความชำนาญ ความนุ่มนวลในการปฏิบัติการพยาบาล
Heels ความว่องไว ทันการณ์ในการปฏิบัติการพยาบาล
เตรียมผู้รับบริการ
ต้องประเมินผู้รับบริการก่อนปฏิบัติการพยาบาลเสมอ
ประเมินความพร้อมของผู้รับบริการที่จะได้รับการพยาบาล
ต้องอธิบายให้ผู้รับบริการทราบว่าจะปฏิบัติกิจกรรมอะไร เเละเกิดอะไรขึ้นกับเขาบ้าง คำนึงถึงความเป็นส่วนตัวของผู้รับบริการเสมอ
เตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ให้พร้อมก่อนการปฏิบัติการพยาบาลเสมอ
ทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว เเละมีประสิทธิภาพในการพยาบาล
ทบทวนแผนการพยาบาล
ก่อนปฏิบัติงานในเเต่ละเวร พยาบาลต้องศึกษารายละเอียดของแผนการพยาบาลใหม่เสมอหลังจากประเมิณผู้รับบริการแล้ว
สำหรับนักศึกษาพยาบาล ควรวางเเผนล่วงหน้าเมื่อถึงเวลาปฏิบัติการพยาบาลต้องทบทวนแผนอีกครั้ง เเละต้องเขียนแผนปฏิบัติการพยาบาลประจำ(daily care plane)
ขั้นตอนการปฏิบัติการพยาบาล
2.ขั้นปฏิบัติ(Doing/Delegating)
สิ่งที่ต้องคำนึงในการปฏิบัติการพยาบาล
ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน(Safety)
ประสิทธิภาพเเละประสิทธิผล(ๅEfficiency and effectiveness)
ประหยัด(Economization)
ความสุขสบาย(Comfort)
สิทธิเเละหน้าที่ตามกฏหมาย
ทักษะจำเป็นสำหรับการปฏิบัติการพยาบาล
ทักษะด้านสติปัญญา(Intellectual and cognitive skills)
ทักษะด้านการปฏิบัติ(Teaching/Psychomotor skill)
ทักษะในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ(Critical thinking)
ทักษะการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล(Interpersonal skills)
การมอบหมายงานเเละการนิเทศงาน(Delegation and supervision)
3.ขั้นบันทึก(Documentation/recording)
บันทึกโดยเน้นแหล่งข้อมูลเป็นหลัก (source-oriented record)
บันทึกโดยเน้นปัญหาเป็นหลัก (problem-oriented record)
บันทึกเป็นรายการปัญหา
(problem list)
การบันทึกแบบ SOAP
ยึดปัญหาความเจ็บป่วยของผู้ป่วยเป็นหลัก
Subjective data (S)
เป็นข้อมูลที่ได้จากการบอกเล่าอาการหรืออาการแสดง ความรู้สึกของผู้ป่วย
เช่น อาการใจสั่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย
Objective data (O)
เป็นข้อมูลที่ได้จากการตรวจของแพทย์ เช่น การตรวจร่างกายทั่วไป(PE)
ผลทางห้องปฏิบัติการต่างๆ ผลการตรวจโดูวิธีพิเศษต่างๆ รวมถึงข้อมูลประวัติการใช้ยาที่เกี่ยวข้องกับอาการหรือโรคที่เป็น
Assessment (A)
เป็นการประเมินหรือวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาความเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา
Plan (P)
เป็นการวางแผนดูแลรักษาผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อแก้ไขปัญหาและติดตามผลการดูแลรักษา
บันทึกตามกระบวนการ
บันทึกด้วยคอมพิวเตอร์ (computerized record
บันทึกแบบบรรยายตามเหตุการณ์ (narrative records)
ประโยชน์ของการบันทึกทางการพยาบาล
ใช้ในการสื่อสารระหว่างผู้ร่วมงาน
เพื่อวางแผนการดูแล
ใช้เป็นหลักฐานทางกฎหมาย
ใช้ประเมินคุณภาพการพยาบาลอย่างเป็นทางการ
ใช้เป็นแหล่งข้อมูล
ใช้ในการวางแผนงบประมาณ
1.ขั้นเตรียมการ(Preparing)
เตรียมผู้ปฏิบัติการ
เตรียมผู้รับบริการ
ทบทวนแผนการพยาบาล
การวางแผนการพยาบาล Planning
เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องและไม่หยุดนิ่ง คือ ทำตั้งแต่พบผู้บริการ และดำเนินไปจนความสัมพันธ์ยุติลง
ชนิดของการวางแผน(Type of Planning) แบ่งระยะการวางแผนการพยาบาล ออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
2.การวางแผนระหว่างการดูแล (ongoing planning)
พยาบาลที่ดูแลในระยะนี้ จะได้ข้อมูลใหม่ๆ และได้จากการประเมินผลการดูแล การตอบสนองของผู้รับบริการต่อการพยาบาล ถ้าผู้รับบริการไว้วางใจพยาบาล จะทำให้พยาบาลสามารถให้การดูแลที่เฉพาะบุคคลได้มากขึ้น การวางแผนจะกระทำได้ในการทำงานแต่ละวัน แต่ละเวร (เช้า บ่าย ดึก)
3.การวางแผนเพื่อจำหน่าย (Discharge planning)
จะต้องคำนึงถึงกระบวนการเตรียมรับผู้รับบริการเพื่อจำหน่ายออกจากสถานบริการสุขภาพ โรงพยาบาล รวมไปถึงการดูแลตนเอง การส่งต่อการดูแลที่ต่อเนื่อง ระหว่างผู้ดูแลปัจจุบันและผู้ดูแลหลังจำหน่าย
จากการวิจัยทางการพยาบาลบ่งชี้ แผนการจำหน่าย ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนและการต้องกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำ
1.การวางแผนระยะเริ่มต้น( initial planning)
วางแผนเมื่อเริ่มรับผู้บริการ พยาบาลจะเป็นคนแรกที่จะประเมินสภาพผู้บริการ ควรจะเป็นผู้วางแผนระยะแรกโดยรวม เพราะจะเป็นผู้ที่ได้ข้อมูลที่ได้จากกิริยา ท่าทาง การพูดคุยกับผู้รับบริการ
ลำดับความสำคัญของปัญหา
การลำดับข้อวินิจฉัยการพยาบาล(priority setting)
1.พิจารณาตามความรุนเเรงของปัญหา
ปัญหาลำดับเเรก คือ ปัญหาที่ต้องการการพยาบาลทันที ถ้าทิ้งไว้ผู้รับบริการอาจเสียชีวิต หรือพิการ
ปัญหาลำดับที่สอง คือ ปัญหาที่ต้องการเเก้ไขรีบด่วน แม้จะไม่ทำให้เสียชีวิต ถ้าปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดปัญหารุนเเรงขึ้น
ปัญหาลำดับที่สาม คือ ปัญหาที่รอได้ การดำเนินของปัญหาเป็นไปอย่างช้าๆ ข้อวินิจฉัยที่ตัดเป็นลำดับสุดท้ายมักเป็นข้อวินิจฉัยของคนสุขภาพดี
2.พิจารณาตามกรอบแนวคิดความต้องการพื้นฐานของมาสโลว์
ปัญหาลำดับที่1 คือ ปัญหาที่คุกคามชีวิตอยู่ตลอด รบกวนความต้องการทางร่างกาย
ปัญหาที่ลำดับที่2 คือ ปัญหาที่รบกวนความปลอดภัย และมั่นคงของชีวิต
ปัญหาลำดับที่3 คือ ปัญหาที่รบกวนความรักความเป็นเจ้าของ
ปัญหาลำดับที่4 คือ ปัญหาที่รบกวนความมีคุณค่าในตนเอง
ปัญหาลำดับที่5 คือ ปัญหาที่รบกวนความสามารถที่จะนำความสำเร็จมาสู่ชีวิต
3.พิจารณาตามความต้องการของผู้รับบริการ
ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงในการลำดับความสำคัญข้อวินิจฉัยการพยาบาล
1.ระดับความรุนแรงของปัญหา
2.ความต้องการของผู้รับบริการ
3.การบริหารจัดการด้านบุคลากร อุปกรณ์ เครื่องมือ เนื่องจากการที่พยาบาลต้องให้การดูเเลผู้ป่วยหลายๆคน พยาบาลต้องลำดับความสำคัญของผู้ป่วยเเต่ละราย
4.การพิจารณาปัญหาในภาพรวมอาจพบว่าปัญหาที่คุกคามกับชีวิต มีสาเหตุมาจากปัญหา เช่น ความตื่นเต้นตกใจทำให้หายใจลำบาก การแก้ไขต้องจัดการกับสิ่งที่ตกใจก่อน เป็นต้น
การเขียนแผนการพยาบาล
การนำแผนการพยาบาลไปสู่การปฏิบัติหรือการปฏิบัติการพยาบาล โดยใช้แผนการพยาบาล
ที่มีความสมบูรณ์และถูกต้อง ผู้ที่วางแผนการพยาบาลต้องแน่ใจว่าทุกกิจกรรมการพยาบาลได้มีการปฏิบัติตามแผนการพยาบาลที่เขียนไว้ จึงควรมีการตรวจสอบเป็นระยะๆ
ลำดับข้อวินิจฉัยการพยาบาล
กำหนดเป้าของการพยาบาล
กำหนดเกณฑ์ประเมินผล
กำหนดกิจกรรมการพยาบาล
เป็นขั้นตอนการวางกลยุทธ์ หรือ วิธีการในการช่วยเหลือผู้รับบริการ
กำหนดเป้าหมายและเกณฑ์ประเมินผลได้
(Expected out come / Exaluation criteria)
คุณลักษณะของกระบวนการพยาบาล
1.เป็นวงจรและพลวัตร(Cycle and Dynamic) แสดงถึงปฎิสัมพันธ์ระหว่างพยาบาลและผู้รับบริการ
2.เน้นผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง(Client-cententered) แผนการพยาบาลถูกจัดขึ้นในรูปปัญหาของผู้รับบริการมากกว่าเป็าหมายของพยาบาล
5.เป็นกระบวนการทางสติปัญญา(Cognitive process)
3.มีการวางแผนและกำหนดเป้าหมายชัดเจน(Planed And Goal-directed) เป็นระบบและมีขั้นตอนตรงประเด็น สอดคล้องกันและอยู่บนพื้นฐานของทฎีการพยาบาล
4.เป็นสากล(Universal Application) มีความยืดหยุ่น
6.เน้นปัญหาของผู้รับบริการ(Problem-oriented)
องค์ประกอบของแผนการพยาบาล(Care Plan Components)
ปัญหา/ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล(Problem/Diagnosis)
การตอบสนองต่อภาวะสุขภาพดี
การตอบสนองต่อสุขภาพที่เบี่ยงเบน
ผู้รับบริการแต่ละรายจะมีหลายข้อวินิจฉัยให้พยาบาลได้ดูแลช่วยเหลือ โดยครอบคลุมการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟู
เป้าหมาย/วัตถุประสงค์การพยาบาล(Goals/Outcomes)
สิ่งที่พยาบาลและผู้รับบริการคาดหวังจะให้เกิดขึ้น หลังจากปฎฺิบัติกิจกรรมการพยาบาลไปแล้ว
กำหนดเป็นเป้าหมายระยะสั้นหรือระยะยาว ขึ้นกับความเร่งด่วนของปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข
ต้องมีเกณฑ์สำหรับประเมินผลลเป้าหมาย เพื่อใช้ตรวจสอบว่าบรรจุผลสำเร็จหรือไม่
กิจกรรมการพยาบาล(intervention)
เป็นวิธีการที่จะปฎิบัติ เพื่อให้ผู้รับบริการมีการเปลี่ยนแปลงจากภาวะที่ไม่พึงประสงค์ ไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้
กิจกรรมการพยาบาลที่กำหนดต้องมีเหตุผลบ่งชี้ว่า ทำเพระอะไร
ต้องกำหนดให้ครอบคลุม บทบาทพยาบาล คือส่งเสริม สุขภาพ ป้องกันโรค ดูแลรักษาและฟื้นฟูสุขภาพ
ขั้นตอนตอนการวางแผนการพยาบาล(Step of planning)
1.การลำดับข้อวินิฉัยการพยาบาล
พิจารณาตามระดับความรุนแรงของปัญหา ที่คุกคามต่อชีวิต ซึ่งเป็นแนวทางที่ใช้มากที่สุด
1.ปัญหาลำดับแรก ต้องการการพยาบาลทันที
2.ปัญหาลำดับที่สอง ต้องการการแก้ไขรีบด่วน
3.ปัญหาลำดับที่สาม ปัญหาที่รอได้
พิจารณาตามกรอบแนวคิดความต้องการขั้นพื้นฐานของมาสโลว์
ปัญหาลำดับที่1 ปัญหาที่คุกคามชีวิต ความอยู่รอด รบกวนความต้องการด้านร่างกาย
ปัญหาลำดับที่2 ปัญหารบกวนความปลอดภัย และมั่นคงของชีวิต
ปัญหาลำดับที่3 ปัญหาที่รบกวนความรักและความเป็นเจ้าของ
ปัญหาลำดับที่4 ปัญหาที่รบกวนความมีคุณค่าในตนเอง
ปัญหาลำดับที่5 ปัญหาที่รบกวนความสามารถ ที่จะนำความสำเร็จมาสู่ชีวิต
พิจารณาตามความต้องการของผู้รับบริการ การรับรู้ปัญหาของผู้รับบริการอาจให้ลำดับความสำคัญของปัญหา
1.ระดับความรุนแรงปัญหาและความต้องการขั้นพื้นฐาน
2.ความต้องการของผู้รับบริการ
3.การบริหารจัดการด้านบุคลากร อุปกรณ์เครื่องมือ-เครื่องใช้
4.พิจารณาปัญหาในภาพรวม
2.การกำหนดเป้าหมายการพยาบาล
ชนิดของเป้าหมาย
เป้าหมายระยะสั้น
คาดว่าจะบรรลุผลใน 2-3ชั่วโมง
เกี่ยวกับการรอดชีวิต
บรรลุผลก่อนเป้าหมายระยะยาว
เป้าหมายระยะยาว
คงไว้ชึ่งการทำหน้าที่ตามปกติในขณะที่มีปัญหาสุภาพ
บอกการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดในช่วงที่ยาว ส่วนใหญ่จะกำหนดในผู้รับบริการที่มีปัญหาสุขภาพเรื้อรัง
แนวทางการเขียนเป้าหมายการพยาบาล
เป้าหมายการพยาบาลที่กำหนด สอดคล้องกับแนวทางการรักษาของวิชาชีพอื่นๆ
เป็นพฤติกรรมของผู้รับบริการ
มีความเป็นไปได็ที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลง
ในแต่ละข้อวินิจฉัยมีเป้าหมายการพยาบาลมากกว่า1ข้อ
เป้าหมายการพยาบาลควรมีระยะเวลากำกับ
เป้าหมายการพยาบาลที่กำหนดเป็นที่ยอมรับร่วมกันระหว่างพยาบาลและผู้รับบริการ
การกำหนดเกณฑ์การประเมิน
ลักษะของเกณฑ์การประเมิน
เกณฑ์การประเมินแต่ละข้อสัมพันธ์กับเป้าหมาย
เป็นพฤติกรรมที่วัดได้ สงเกตุได้และสามารถทำได้
สอดคล้องกับเป้าหมายการพยาบาลที่กำหนด
ถูกต้องตามหลักวิชาการ
มีความเป็นไปได้เฉพาะราย สถานการณ์นั้นๆ
แต่ละเป้าหมายมีเกณฑ์การประเมินผลมากกว่า 1 เกณฑ์
ส่วนการประกอบของเกณฑ์การประเมิน
ประธาน ผู้รับบริการ เช่น น้ำหนักเพิ่มขึ้น 2 กิโลกรัม ภายใน 1 สัปดาห์
กริยา พฤติกรรมของประธาน
เกณฑ์ของการปฎิบัติที่ต้องการให้เกิด ระบุเกณฑ์มาตรฐานของพฤติกรรม
เงื่อนไข ขยายกริยาเพื่ออธิบายว่าพฤติกรรมของผู้รับบริการนั้น
การกำหนดกิจกรรมการพยาบาล
ชนิดของกิจกรรมการพยาบาล
กิจกรรมการพยาบาลที่เป็นอิสระ
พยาบาลคิดขึ้น โดยไม่ต้องมีแผนการรักษาของแพทย์
พยาบาลสามารถสั่งการจากการวินิจฉัยของการพยาบาล เป็นความรับผิดชอบของพยาบาล โดยใช้ความรู้และประสบการณ์
กิจกรรมการพยาบาลกึ่งอิสระ
กิจกรรมที่พยาบาลทำร่วมกับบุคลากรอื่นๆในทีมสุขภาพ
กิจกรรมการพยาบาลไม่อิสระ
แผนการรักษาของแพทย์
ปัจจัยพื้นฐานในการกำหนดกิจกรรมการพยาบาล
ความแตกต่างระหว่างบุคคล ด้านสังคม เศรษฐกิจ การศึกษา การดำรงชีวิต การมองชีวิต
ลักษณะพยาธิสรีรภาพ อาการและอาการแสดงของผู้ป่วย ตามสภาวะโรคและสุขภาพ
แผนการรักษาของแพทย์
มาตรฐานการพยาบาลหรือคู่มือการพยาบาล กฎระเบียบต่างๆรวมทั้งกฎหมายประกอบวิชาชีพ
บุคลากร ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ ค่านิยมของพยาบาล
ระยะเวลาที่ต้องใช้ในการทำกิจกรรม และทรัพยากรที่มีอยู่
ความรู้ในศาสตร์ต่างๆของการพยาบาล จากพื้นฐานที่เรียนมาและจากผลการวิจัย วารสารทางการพยาบาล
ประโยชน์ของการกำหนดกิจกรรมการพยาบาล
ให้การดูแลผู้ป่วยโดยรวม และเป็นรายบุคคลได้
ให้การดูแลได้ต่อเนื่อง ตลอด 24 ชั่วโมง
แนวทางปฎิบัติการพยาบาลที่มีคุณภาพ
ประสานงานในทีมและระหว่างทีม
ให้การดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หลักการในการกำหนดกิจกรรมการพยาบาล
หน้าที่หลักของการพยาบาล ทั้ง 4ด้าน การส่งเสริม การป้องกันโรค การให้การพยาบาล การฟื้นฟู
เป็นการกระทำของพยาบาล
ต้องมีความละเอียด ชัดเจนเพียงพอ
หลักการในการกำหนดกิจกรรมทางการพยาบาล
1.ให้การดูแล
2.ให้การช่วยเหลือ
4.ตรวจสอบ ติดตาม
3.ให้บริการ
5.สอน
แนวทางในการกำหนดกิจกรรมการพยาบาล
1.มีเหตุผล
2.มีความสอดคล้องกับกิจกรรมการรักษา
3.คำนึงถึงความเป็นปักเจกบุคคล
4.ต้องเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริม คงไว้ และรักษาสุขภาพ
5.เปิดโอกาสให้ผู้รับบริการมีส่วนร่วม
6.ใช้แหล่งทรัพยากรที่เหมาะสม
7.การจัดลำดับกิจกรรม
8.ต้องมีการทบทวนกิจกรรมการพยาบาลที่กำหนดไว้เสมอ
9.ต้องมีการกำหนดกิจกรรมระยะยาว
จุดเน้นของกระบวนการแพทย์
1.วินิจฉัย และบำบัดโรค
2.รักษาโรค
3.เน้นพยาธิสภาพโรค - ผลของโรคต่อระบบของร่างกาย
4.ให้ข้อมูลผู้ป่วยเกี่ยวกับการรักษาโรค