Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความดันโลหิตสูงในมารดาตั้งครรภ์ Hypertensive Disorders in Pregnancy…
ความดันโลหิตสูงในมารดาตั้งครรภ์
Hypertensive Disorders in Pregnancy
ภาวะความดันโลหิตสูงในหญิงตั้งครรภ์
( Hypertension in pregnancy)
หญิงตั้งครรภ์ที่ตรวจพบค่า Systolic blood pressure มากกว่าหรือเท่ากับ 140 mmHg และ/หรือตรวจพบค่าDiastolic blood pressure มากกว่าหรือเท่ากับ 90 mmHg ถือเป็นการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง (High risk pregnancy) และ เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตของมารดาและทารกทั่วโลก พบประมาณร้อยละ 2 - 8 ของการตั้งครรภ์
ปัจจัยเสี่ยง
อายุ (age) ที่น้อยกว่า 20 ปี และมากกว่า 35 ปีขึ้นไป เสี่ยงต่อการเกิดภาวะHypertensionขณะตั้งครรภ์
ตั้งครรภ์ครั้งแรก (primigravida) มีโอกาสเสี่ยงต่อ
ภาวะความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรง
มีประวัติเป็นHypertensionระหว่างตั้งครรภ์มาก่อน
โดยพบว่าสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง
ในการตั้งครรภ์ครั้งก่อน เสี่ยงต่อการเกิดซ้ำถึง 7 เท่า
ในครอบครัวมีประวัติเป็นความดันโลหิตสูง
มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดสูง ประมาณ 15 เท่า
ตั้งครรภ์แฝด (multiple pregnancy) เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดประมาณ 3 เท่าของการตั้งครรภ์โดยทั่วไป
ตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก (molar pregnancy)
ดัชนีมวลกาย (BMI) หญิงตั้งครรภ์ที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 30 kg/m2
มีความเสี่ยงต่อการเกิดHypertensionมากกว่า 4 เท่า
มีโรคประจำตัวบางอย่างมาก่อนได้แก่ โรคเบาหวาน
โรคความดันโลหิตสูง โรคไต หรือโรค autoimmune
การพยาบาล
การป้องกันในระยะแรกๆ ในรายที่มีภาวะเสี่ยง ควรติดตามชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต นอกจากนี้ ควรติดตามอาการสำคัญต่าง ๆ ได้แก่ อาการปวดศีรษะ ตาพร่ามัว ปวดบริเวณชายโครงหรือใต้ลิ้นปี มือและหน้าบวม
สังเกตการดิ้นของทารกในครรภ์ หลังอายุครรภ์ครบ 28 week
แนะนำควรนำหลังทานอาหารแล้ว 1-2 hr ควรนับได้ 4 ครั้ง/hr
หรือนับได้มากกว่าเท่ากับ 10 ครั้ง/วัน หากน้อยกว่านั้น ควรรีบมาพบแพทย์
แนะนำให้นอนท่าตะแคงซ้าย เพราะป้องกันการกดทับหลอดเลือดอาจทำให้ความดันโลหิตสูงได้
ชั่งน้ำหนักทุกวัน ถ้ำหนักเพิ่มขึ้น 1.4 kg ภายใน 24 hr หรือ 1.8 kgภายใน 3 วัน ควรรับมาพบแพทย์ทันที
การรับประทานอาหาร ให้ครบ 5 หมู่ งดอาหารเค็มจัด
และรับประทานโปรตีนให้มาก แนะนำเป็นโปรตีนจากเนื้อปลา นม ไข่ หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง เนื้อสัตว์ติดมัน อาหารหมักดอง
สังเกตการหดรัดตัวของมดลูก ถ้ามดลูกหดรัดตัวเร็ว 3 ครั้งใน 10 นาที และแต่ละครั้งหดรัดตัวนานประมาณ 30 วินาที แสดงถึงอาการของการคลอดก่อนกำหนด ควรรีบมาพบแพทย์ทันที
ประเภท
Pregnancy induced hypertension (PIH)
ภาวะความดันโลหิตสูงที่ เกิดขึ้นโดยตรงจากการตั้งครรภ์ ในระยะตั้งครรภ์จนกระทั่งถึงระยะหลังคลอด และหายไป ภายใน 12 สัปดาห์หลังคลอด
Gestational hypertension
ภาวะความดันโลหิตที่ค่อยๆ สูงขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ หรือในระยะ 24 ชั่วโมงหลังคลอด ไม่พบโปรตีนในปัสสาวะ หรือไม่มีภาวะบวม ความดันโลหิตจะลดลงอยู่ในระดับปกติภายใน10วันหลังคลอด
Pre-eclampsia
ภาวะความดันโลหิตสูงที่เกิดขึ้นในขณะตั้งครรภ์
GA > 20 wks
พบโปรตีนในปัสสาวะ > 1 gm.% หรือ 1-2 +
หรือ โปรตีน > 0.3 gm.% จาก Urine 24 Hr
มีอาการบวม กดบุ๋ม
Mild pre - eclampsia
ความดันโลหิตสูงก่อนชัก
Diastolic 90- <110 mm.Hg, หรือ Systolic 140 - < 160 mm.Hg
มีโปรตีนในปัสสาวะ < 5 gm.% หรือ 1- 2 + จาก Urine 24 Hr
มีอาการบวม กดบุ๋มบริเวณปุ่มกระดูก เช่น แขน ขาช่วงหน้าแข้ง หน้าผาก
Severe pre - eclampsia
ความดันโลหิตสูงก่อนชัก ระดับรุนแรง
ค่าdiastolic > 110 mm.Hg. หรือ Systolic > 160 mm.Hg
โปรตีน > 5 gm.% จาก Urine 24 Hr หรือ 3-4 +
Urine 24 Hr < 400-500 ml. หรือ < 100 ml.
ใน 4 ชั่วโมงอาการทางสมองและการมองเห็น เช่น ระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง ปวศีรษะ จุดบอดที่ลานสายตา เห็นภาพไม่ชัด
มีพยาธิสภาพที่ตับ เซลล์ตับถูกทำลาย
มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (Thrombocytopenia)
Eclampsia
มีภาวะ Severe pre - eclampsia และ
มีอาการชัก เกร็ง ร่วมด้วย โดยอาการชักจะต้องไม่มี
สาเหตุจากภาวะอื่นๆ เช่น ลมบ้าหมู โรคทางสมอง
Chronic hypertensive disorders
ภาวะความดันโลหิตสูงที่เกิดขึ้นเรื้อรังมาก่อนการตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์ และมีภาวะความดันโลหิตสูงคงอยู่นานเกิน 6 สัปดาห์หลังคลอด
mild hypertension
ความดันโลหิตสูงระดับเล็กน้อย
ค่า Diastolic 90 - < 110 mmHg
severe hypertension
ความดันโลหิตสูงระดับสูง
ค่า Diastolic >110mmHg
Superimposed pre - eclampsia / eclampsia
การมีภาวะ Chronic hypertensive
และมีอาการแสดงของ Pre-eclampsia และ Eclampsia ร่วมด้วย
สาเหตุ
ความบกพร่องของภาวะโภชนาการ การขาดสารอาหารโปรตีนและแคลอรี่
ภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Immunologic deficiency)
จากปฏิกิริยาของภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นในตัวหญิงตั้งครรภ์ที่มีการเกิดปฏิกิริยาต่อต้านกันระหว่างรกและตัวอ่อน
พันธุกรรม อาจมีสัมพันธ์กับยีนแฝง (Autosomal recessive gene)
การหดเกร็งของเส้นเลือด (Vasoactive compounds)
การหดรัดตัวของหลอดเลือด จะเกิดขึ้นอย่างรุนแรงและทันทีทันใด เกิด Endothelial cells ถูกทำลาย
การเปลี่ยนแปลงภายในผนังหลอดเลือดชั้นใน (Endothelial dysfunction)
จากชั้น Trophoblast ของรกถูกทำลาย
ทำให้การกำซาบ (Perfusion) บริเวณรกไม่ดี
ผลกระทบ
ต่อมารดา
อันตรายจากภาวะชัก อาจทำให้มารดาตั้งครรภ์ที่เสียชีวิต ทั้งนี้เป็นผลเนื่องจากมี เลือดออกในสมอง และการสำลักเศษอาหารและน้ำย่อยเข้าหลอดลม
ภาวะหัวใจทำงานล้มเหลว (Congestive heart failure)
จากการมีภาวะ Preload ลดลงและ Afterload เพิ่มขึ้นมากเกินไปเป็นระยะเวลานาน
เสียเลือดและช็อคจากรกลอกตัวก่อนกำหนด
ตับแตกและตกเลือดหลังคลอด เกิดภาวะ HELLP syndrome และภาวะ DIC
ภาวะไตวายเฉียบพลัน (Acute renal failure)
เนื่องจากเลือดไปเลี้ยงไตลดลง
การกลับเป็นความดันโลหิตซ้ำอีกในการทั้งครรภ์ครั้งต่อไป
โดยปกติแล้วความดันโลหิตจะกลับคืนสู่ภาวะปกติภายใน 1-2 วันหลังคลอด บางรายอาจยาวนานถึง 6-8 สัปดาห์หลังคลอด
ต่อทารกในครรภ์
รกเสื่อม แท้ง หรือ ทารกเสียชีวิตในครรภ์ได้
คลอดก่อนกำหนด เนื่องจากออกซิเจนไปเลี้ยงรกไม่เพียงพอ ทำให้รกเสื่อมเร็ว
รกลอกตัวก่อนกำหนด ทำให้ทารกขาดออกซิเจนและอาหาร ทำให้เสียชีวิตได้
ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ เนื่องจากได้รับสารนี้ สารอาหารไม่เพียงพอ
ทารกที่คลอดออกมาอาจมีภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ ขาดออกซิเจนเรื้อรัง ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดก่อนกำหนด ภาวะแทรกซ้อนจาก MgSo4 ที่มารดาได้รับในระยะคลอด
การวินิจฉัย
ซักประวัติ ตรวจร่างกาย
ความดันโลหิต > 140/90 mmHg
ค่า Systolic pressure เพิ่มขึ้นจากเดิม > 30 mmHg
และค่า Diastolic pressure เพิ่มขึ้นจากเดิม > 15 mmHg
ไตรมาสที่ 2 น้ำหนักเพิ่มมากกว่า 0.5 kg/wk
ในไตรมาสที่ 3 น้ำหนักเพิ่มมากกว่า 2 kg/wk
อาการบวม (Pitting edema)
มีรอยกด หรือรอยบุ๋มลงอยู่หลังจากใช้นิ้วกด
รอยบุ๋มหายไปภายใน10-30 s
ก่อนการเกิดอาการชักจากมารดาที่มีภาวะ Eclampsia
ได้แก่ อาการปวดศีรษะ ตาพร่ามัว เห็นภาพซ้อน เจ็บใต้ลิ้นปี่ หรือบริเวณชายโครงขวา Hyperreflexia และอาการสั่นกระตุกของกล้ามเนื้อ (Clonus) โดยเฉพาะบริเวณเข่า (Ankle clonus)แสดงถึงสมองได้รับการระคายเคืองอย่างรุนแรง
เรียกว่า Tonoclonic seizures
ผลตรวจทางห้องปฎิบัติการ
พบโปรตีนในปัสสาวะ 24 ชั่วโมง (Proteinuria)
พบ 500 mg. หรือตรวจพบ 1 + ขึ้นไป
ยาในการรักษา (medical)
แมกนีเซียมซัลเฟต (MgSO4)
ประเมินสภาพหญิงตั้งครรภ์ก่อน ได้แก่
ปัสสาวะออก < 30 ml./hr. หรือ < 100 ml./4 hr.
RR < 14 ครั้ง/min
ไม่พบ Deep tendon reflex (DTRs) ขณะฉีด MgS04
ถ้าพบอาการดังกล่าวให้หยุดการให้ MgS04 ทันที
เตรียมยา 10% Calcium gluconate ไว้ข้างเตียงเสมอ เนื่องจากเป็นยา Antidote ของ MgS04 โดยถ้าพบว่าได้รับพิษข้างเคียงของยา หญิงตั้งครรภ์หายใจ< 14 ครั้ง/min หรือหยุดหายใจ ให้ฉีด 10% Calcium gluconate 10 ml. IV ช้า ๆ ประมาณ 3-5 นาที
ยาลดความดันโลหิต
ได้แก่ ยาในกลุ่ม Hydralazin เช่น Apresoline
เพื่อช่วยส่งเสริมการไหลเวียนของไตให้ดีขึ้น
ใช้เมื่อDiastolic blood pressure > 160/110 mmHg
หลังฉีดควรวัด BP ทุก 5-15 min ควบคุมให้ Diastolic blood pressure อยู่ระหว่าง 90-100 mm.Hg
ยานอนหลับ (Diazepam หรือ Valium)
เพื่อป้องกันอาการชัก หลัง ฉีดควรสังเกตการหายใจ เพราะผลข้างเคียงของยาอาจทำให้หยุดหายใจได้
นศพต.ธันยธรณ์ วิเวกรัมย์
เลขที่ 22 :pen: