Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กลุ่มไลนิงเจอร์ กระบวนการพยาบาล ( Nursing process) (การวินิจฉัยการพยาบาล…
กลุ่มไลนิงเจอร์
กระบวนการพยาบาล
( Nursing process)
การวางแผนการพยาบาล
(Planning)
ความหมายของการวางแผนการพยาบาล
เป็นขั้นตอนการวางกลยุทธ์หรือวิธีในการช่วยเหลือผู้รับบริการ ทั้งที่มีสุขภาพดีและเบี่ยงเบน
เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องและไม่หยุดนิ่ง ซึ่งสามารถกระทำได้ตั้งแต่เมื่อพบผู้รับบริการ และดำเนินไปจนเสร็จสิ้นการดูแลรักษาพยาบาลตามแผนการรักษาของแพทย์ในการเจ็บป่วยนั้นๆ
ชนิดของการวางแนการพยาบาล
(Type of Planning)
1.การวางแผนระยะเริ่มต้น (intitial planning)
เป็นการวางแผนการพยาบาลเมื่อเริ่มรับผู้รับบริการ พยาบาลคนแรกที่ประเมินสภาพผู้รับบริการ เมื่ผู้รับบริการเข้าพักรักษาในโรงพยาบาล ควรจะเป็นผู้วางแผนระยะแรกโดยรวม เพราะจะเป็นผู้ที่ได้ข้อมูลที่ได้จากกิริยาท่าทาง การพูดคุยกับผู้รับบริการ
2.การวางแผนระหว่างการดูแล
(ongoing planning)
เป็นการวางแผนการพยาบาลในระหว่างการดูแลซึ่งพยาบาลจะได้รับข้อมูลจากการประเมินผลการดูแลโดยข้อมูลสำคัญจะมาจากผู้รับบริการ เมื่อผู้รับบริการให้ความไว้วางใจกับพยาบาลมากขึ้นแล้วจะทำให้พยาบาลสามารถให้การดูแลที่เฉพาะบุคคลได้มากขึ้น
3.การวางแผนเพื่อจำหน่าย
(discharge planning)
เป็นกระบวนการเตรียมผู้รับบริการเพื่อการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลรวมไปถึงการเตรียมให้ผู้รับบริการดูแลตัวเอง การส่งต่อการดูแลที่ต่อเนื่อง เช่น ผู้ป่วยอาจต้องไปรักษาต่อที่สถานพักฟื้นโดยมีเครื่องมือแพทย์บางอย่างติดไปด้วย
ผู้ป่วยและครอบครัวจำเป็นต้องได้รับการเรียนรู้ การจัดการอนามัยส่วนบุคคล และเตรียมการช่วยเหลือที่บ้านเท่าที่จำเป็นซึ่งแผนการจำหน่ายช่วย
ลดภาวะแทรกซ้อนและการต้องกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำ
องค์ประกอบของแผนการพยาบาล (Care Plan Components)
ปัญหา / ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
(Problem / Diagnosis
• การตอบสนองต่อสุขภาพที่ดี
• การตอบสนองต่อสุขภาพที่เบี่ยงเบน
• ซึ่งผู้รับบริการแต่ละรายจะมีหลายข้อวินิจฉัยให้พยาบาลได้ดูแลช่วยเหลือ โดยครอบคลุมการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟู
เป้าหมาย/วัตถุประสงค์การพยาบาล
(goals/outcomes)
•สิ่งที่พยาบาลและผู้รับบริการคาดหวังให้เกิดขึ้นหลังจากปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาล
•กำหนดเป้าหมาย เป้าหมายระยะสั้นหรือระยะยาวขึ้นกับความเร่งด่วนของปัญหา
•มีเกณฑ์สำหรับประเมินผลเป้าหมายว่าบรรลุผลสำเร็จหรือไม่
กิจกรรมการพยาบาล
(intervention)
•เป็นวิธีการที่จะปฏิบัติเพื่อให้ผู้รับบริการมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้
•กิจกรรมการพยาบาลที่กำหนดต้องมีเหตุผลบ่งชี้
•ต้องกำหนดให้ครอบคลุมบทบาทพยาบาล คือ ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ดูแลรักษาและฟื้นสภาพ
ขั้นตอนการวางแผนการพยาบาล
(Step of Planning)
1.การลำดับข้อวินิจฉัยการพยาบาล
(Priority setting)
1.2 พิจารณาตามกรอบแนวคิดความต้องการพื้นฐานของมาสโลว์
ปัญหาลำดับที่หนึ่ง : ปัญหาที่คุกคามชีวิต และรบกวนความต้องการทางด้านร่างกาย ได้แก่ ด้านการหายใจ การไหลเวียน อาหาร น้ำ การขับถ่าย และการควบคุมอุณหภูมิร่างการและการพักผ่อน
ปัญหาลำดับที่สอง : ปัญหาที่รบกวนความปลอดภัย และความมั่นคงของชีวิต เช่น อันตรายจากสิ่งแวดล้อม ความกลัว
ส ปัญหาลำดับที่สาม : ปัญหาที่รบกวนความรักและความเป็นเจ้าของ เช่น การต้องไกลจากบุคคลใกล้ชิดการสูญเสียบุคลลที่รัก
ปัญหาลำดับที่สี่ : ปัญหาที่รบกวนความมีคุณค่าในตัวเอง เช่น การไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้
ปัญหาลำดับที่ห้า : ปัญหาที่รบกวนความสามารถที่จะนำความสำเร็จมาสู่ชีวิต เช่นสามารถกลับไปทำงานในตำแหน่งเดิมได้
1.3 พิจารณาตามความต้องการของผู้รับบริการ
ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงในการลำดับความสำคัญข้อวินิจฉัยการพยาบาล
การพิจารณาปัญหาในภาพรวม อาตพบว่า ปัญหาที่คุกคามชีวิตมีสาเหตุมาจากความตื่เต้นตกใจทำให้หายใจลำบาก การแก้ไขก็จัดการกับการตื้นเต้นก่อน
การบริหารจัดการด้านบุคลากร อุปกรณ์เครื่องมือ-เครื่องใช้
ความต้องการของผู้รับบริการ
ระดับความรุนแรงของปัญหา และความต้องการพื้นฐาน
1.1 พิจารณาตามระดับความรุนแรงของปัญหา
ปัญหาลำดับแรก : ปัญหาที่ต้องการการพยาบาลทันที ทิ้งไว้ผู้รับบริการอาจเสียชีวิตหรือพิการ
ปัญหาลไดับที่สอง : ปัญหาที่ต้องการการแก้ไขรีบด่วน ถ้าปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดปัญหารุนแรงเพิ่มขึ้น
ปัญหาลำดับที่สาม : ปัญหาที่รอได้ การดำเนินของปัญหาเป็นไปอย่างช้าๆ
ข้อวินิจฉัยที่จัดเป็นลำดับสุดท้าย มักเป็นข้อวินิจฉัยภาวะสุขภาพดี แต่ต้องการเพิ่มระดับความมีสุขภาพดี
2.การกำหนดเป้าหมาย/วัตถุประสงค์การพยาบาล
แสดงถึงความสำเร็จในการแก้ปัญหาของผู้รับบริการพยาบาลจึงต้องกำหนดไว้ในแผนการพยาบาลเพื่อบอกทิศทางการพยาบาลและผลที่พยาบาลต้องการให้เกิดหลังจากให้การพยาบาล
2.1.ชนิดของเป้าหมาย
เป้าหมายระยะสั้น(short-term goals)
•บรรลุผลใน2-3ชั่วโมง ไม่เกิน1สัปดาห์
•เป็นเป้าหมายเกี่ยวกับการมีชีวิตรอดอาจกำหนดให้บรรลุเป้าหมายในเวลา
เป็นนาทีมักใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน
•จะบรรลุผลก่อนเป้าหมายระยะยาวจึงใช้วัดความก้าวหน้าของการพยาบาล
เป้าหมายระยะยาว(long-term goals)
• เป็นการคงไว้ซึ่งการทำหน้าที่ตามปกติในขณะที่มีปัญหาสุขภาพ
•บอกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดในช่วงเวลาที่พี่ยาวส่วนใหญ่จะเป็นการกำหนดในผู้รับการกำหนดในผู้รับบริการที่มีปัญหาสุขภาพเรื้อรัง
แนวทางการเขียนเป้าหมายการพยาบาล
ผู้รับบริการเป็นศูนย์กลางขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงปัญหาของผู้รับบริการ
2.2.1.เป็นพฤติกรรมของผู้รับริการ
เป็นการตอบสนองต่อภาวะสุขภาพ เช่น
2.2.2.มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลง
2.2.3.เป้าหมายการพยาบาลที่กำหนดสอดคล้องกับแนวทางการรักษาของวิชาชีพอื่นๆในทีม เช่น
2.2.4.ในแต่ละข้อวินิจฉัยมีเป้าหมายการพยาบาลมากกว่า 1 ข้อ
เป้าหมายแต่ละเป้าหมายที่กำหนดต้องมาจากข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อเดียว
2.2.5.เป้าหมายการพยาบาลควรมีระยะเวลากำกับด้วย
จะทำให้เป้าหมายชัดเจน
2.2.6.เป้าหมายการพยาบาลที่กำหนดเป็นที่ยอมรับร่วมกันระหว่างพยาบาลและผู้รับบริการ
4.การกำหนดกิจกกรมการพยาบาล
(Nursing intervention)
กิจกรรมการพยาบาล หมายถึง กิจกรรมในการให้การพยาบาลที่เป็นวิธีการหรือกลยุทธ์ เฉพาะที่พยาบาลออกแบบมาช่วยเหลือผู้รับบริการให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้โดยเกี่ยวข้องกับปัจจัยหรือสาเหตุ ในข้อวินิจฉัยการพยาบาล
4.1 ชนิดของกิจกรรมการพยาบาล
4.1.1 กิจกรรมการพยาบาลที่เป็นอิสระ : เป็นกิจกรรมการพยาบาลที่พยาบาลคิดขึ้น โดยไม่ต้องมีแผนการรักษาของแพทย์
4.1.2 กิจกรรมการพยาบาลกึ่งอิสระ : เป็นกิจกรรมการพยาบาลที่ทำร่วมกับบุคลากรรอื่นๆในทีมสุขภาพ เช่นนักโภชนาการ นักกายภาพบำบัด เป็นต้น
4.1.3 กิจกรรมการพยาบาลไม่อิสระ : เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับแผนการรักษาของแพทย์
4.2 ปัจจัยพื้นฐานในการกำหนดกิจกรรมการพยาบาล
ความแตกต่างระหว่างบุคคล
ลักษณะพยาาธิสรีรภาพ
แผนการรักษาของแพทย์
มาตรฐานการพยาบาลหรือคู่มือการพยาบาล
บุคลากร
ระยะเวลาที่ต้องใช้ในการทำกิจกรรม
ความรู้ในศาสตร์ต่างๆของพยาบาล
4.3 ประโยชน์ของการกำหนดกิจกรรมการพยาบาล
1.ทำให้สามารถให้การดูแลผู้ป่วยโดยรวม และเป็นรายบุคคลได้
2.ทำให้สามารถให้การดูลได้ต่อเนื่อง ตลอด24ชั่วโมง
3.ทำให้สามารถนำไปสู่การบันทึกทางการพยาบาล ในลักษณะแก้ปัญหา และพัฒเป็นมาตรฐานทางการพยาบาล
4.ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติการพยาบาลที่มีคุณภาพ
5.ทำให้สามารถประสานงานภายในทีมและระหว่างทีม
6.ทำให้สามารถใช้ทีมการพยาบาลในการดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7.ใช้เก็บขเอมูลเป็นประโยชน์ทางการศึกษา และเป็นหลักฐานทางกฎหมาย
4.4 หลักในการกำหนดกิจกรรมการพยาบาล : ครอบคลุมกิจกรรม5กิจรรมใหญ่ดังนี้
1.ให้การดูล(caring)
2.ให้การช่วยเหลือ(helping)
3.ให้การบริการ(giving)
4.ตรวจสอบ ติดตาม(monitoring)
5.สอน(teaching)
3.การกำหนดเกณฑ์การประเมินผล
(outcome criteria)
3.1.ลักษณะของเกณฑ์การประเมิน
3.1.3.สอดคล้องกับเป้าหมายการพยาบาลที่กำหนดและสอดคล้องกันข้อมูลที่บ่งชี้ถึงปัญหาหรือข้อวินิจฉัยการพยาบาล
3.1.1.เกณฑ์การประเมินแต่ละข้อสัมพันธ์กับเป้าหมาย
3.1.2.เป็นพฤติกรรมที่วัดได้ สังเกตได้ และสามารถทำได้
3.1.4.ถูกต้องตามหลักวิชาการ
3.1.5.มีความเป็นไปได้เฉพาะสถานการณ์นั้นๆ
3.1.6.แต่ละเป้าหมายมีเกณฑ์การประเมินผลมากกว่า 1 เกณฑ์
3.2.ส่วนประกอบของเกณฑ์การประเมิน
3.2.1.ประธาน
ถ้าประธานเป็นผู้รับบริการให้ละไว้ในฐานที่เข้าใจ
3.2.2.กริยา
เป็นการกระทำของประธาน
3.2.3.เกณฑ์ของการปฏิบัติที่ต้องการให้เกิด
เป็นการระบุเกณฑ์มาตรฐานของพฤติกรรมที่ต้องการให้เปรียบ
3.2.4.เงื่อนไข
ใช้ขยายกริยาเพื่ออธิบายว่าพฤติกรรมของผู้รับบริการนั้นจะเกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์อย่างไร
การประเมินภาวะสุขภาพ
(Health assessment)
ความหมายของการประเมินภาวะสุขภาพ
เป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการพยาบาลมีความสำคัญต่อความถูกต้องและครอบครัวขั้นตอนอื่นๆของกระบวนการพยาบาล
ความถูกต้องแม่นยำของการประเมินภาวะสุขภาพขึ้นอยู่กับความรู้และทักษะของ
การประเมินภาวะสุขภาพทางการพยาบาลเน้นที่การตอบสนองของผู้รับบริการต่อภาวะสุขภาพและความเจ็บป่วย
ขั้นตอนการประเมินภาวะสุขภาพ
1.การรวบรวมข้อมูล
(Collection data)
ชนิดข้อมูล
(Types off data)
ข้อมูลอัตนัย
(Subjective data)
Symptoms
ข้อมูลปรนัย
(Objective data)
Sigh
แหล่งข้อมูล
(Sources of data)
แหล่งปฐมภูมิ
(Primary source)
ตัวผู้รับบริการ
แหล่งทุติยภูมิ
(Secondary source)
ครอบครัว/แฟ้มประวัติ
วิธีการรวบรวมข้อมูล
(Data Collection method)
การสัมภาษณ์/การซักประวัติ
(Interview)
-มีการวางแผนในการตั้งคำถาม
-พยาบาลต้องใช้ทักษะด้านการถามและการฟัง
-เพื่อให้ได้ข้อมูลอัตนัย(SD)
ชนิดการสัมภาษณ์
แบบกำหนดทิศทาง(Directive)
มีรูปแบบชัดเจนพยาบาลกำหนดคำถามที่ต้องการอย่างเฉพาะเจาะจงทำให้ได้ข้อมูลที่ตรงและเป็นจริงเกี่ยวกับตัวผู้รับบริการ
แบบไม่กำหนดทิศทาง(non-directive)
ผู้รับบริการพูดได้ตามที่ต้องการ พยาบาลเพียงแต่ใช้คำถามปลายเปิดและคอยกระตุ้นให้พูด
ขั้นตอนการสัมภาษณ์
1.ขั้นเตรียมการสัมภาษณ์
•ตั้งเป้าหมาย คิดคำถามไว้ กำหนดช่วงเวลาที่ไม่ถูกรบกวน พิจารณาอารมณ์และความพร้อมของผู้บริการ
2.ขั้นสัมภาษณ์
•สร้างสัมพันธภาพโดยการทักทายแนะนำตัวเองถามชื่อผู้รับบริการควรจัดที่นั่งทำมุมเฉียงไม่ประจานหน้าโดยตรงลักษณะการถามเป็นการสนทนามากกว่าใช้คำถามปลายเปิดและสังเกตพฤติกรรมของผู้รับบริการ
3.ขั้นการปิดสัมภาษณ์
•เมื่อยุติการสัมภาษณ์ควรสรุปสิ่งที่คุยมาเพื่อให้ผู้รับบริการได้ตรวจสอบความถูกต้อง
เทคนิคการสัมภาษณ์
การส่งเสริม(Facilitation)
เช่น
“ค่ะ...”, “เล่าต่อไปซิคะ”
2.การทำความเข้าใจ(clearification)
เมื่อคำบอกเล่าของผู้รับบริการไม่ชัดเจน
3.การสะท้อนกลับ(reflection)
ทวนคำพูดของพูดมารับบริการ
4.การกล่าวซ้ำ(restatement)
เพื่อสรุปหรือซักซ้อมความเข้าใจ
5.การแปลความหมาย(interpretation)
เป็นการทำความกระจ่างเกี่ยวกับข้อมูล
6.อาการเงียบ(silence)
ไม่ขัดจังหวะผู้พูด
การสังเกต
(Observation)
• ใช้ความรู้สึกของพยาบาล ขณะที่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ในการรวบรวมข้อมูล ด้วยความระมัดระวัง รอบคอบ
• พยาบาลต้องฝึกเป็นคนช่างสังเกตว่าผู้รับบริการมีรูปร่างลักษณะอย่างไรกำลังมีอาการอะไรที่เป็นการบ่งบอกสิ่งผิดปกติ
• สังเกตผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดขณะเข้าใกล้ผู้ป่วย
สังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้ป่วย
การตรวจร่างกาย
(Physical examination)
-เพื่อให้ได้ข้อมูลปรนัย(OD)
-ควรเลือกควรเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งและใช้วิธีเดียวกันตลอด
เพื่อป้องกันการผิดพลาดหรือไม่สมบูรณ์ครบถ้วน
-การตรวจร่างกายนี้จะช่วยให้ได้ข้อมูลที่ผู้ป่วยบอกเล่าหรือปัญหาที่เกิดรวมถึงข้อมูลการตอบสนองต่อกิจกรรมพยาบาลและการรักษาของแพทย์
เทคนิคการตรวจร่างกาย
1.การดู(inspection)
• เป็นการดูและสังเกตที่เน้นพฤติกรรมเฉพาะส่วนต่างๆของร่างกาย
2.การคลำ(palpation)
• การสัมผัสของโครงสร้างร่างกายที่อยู่ใต้ผิวหนัง
• ใช้มือเป็นเครื่องมือในการคลำหลังมือ,ปลายนิ้ว,ผิวฝ่ามือ
มี2 ลักษณะ
1.การคลำเบา : กดอย่างนุ่นนวล เช่น การตรวจมะเร็งเต้านม
2.การคลำลึก : ตรวจหาตำแหล่ง ขนาดของอวัยวะ เช่น การตรวจตับโต
3.การเคาะ(percussion)
เพื่อตัดสินขนาด ความหนาแน่นของ อวัยวะ
มี 2 วิธี
1.เคาะโดยตรง : ใช้นิ้วเคาะบริเวณที่ต้องการจะตรวจ
เคาะโดยอ้อม : ใช้เคาะข้อต่อของนิ้วผู้ตรวจ
4.การฟัง(auscultation)
อาจฟังโดยตรง หรือโดยอ้อมโดยใช้ Stethoscope
2.การตรวจสอบข้อมูล
(Validating data)
ความสำคัญของการตรวจสอบข้อมูล : เพื่อไม่ให้
พลาดข้อมูลที่ถูกต้องและสำคัญกับปัญหาผู้ป่วย
กำจัดความผิดพลาดของผู้ประเมิน ความอคติ
รีบสรุปหรือเน้นในทิศทางที่ผิด
สาเหตุของการต้องตรวจสอบข้อมูล : ควรตรวจสอบเมื่อ
ข้อมูลอัตนัยและปรนัยไม่สอดคล้องกัน
ผู้รับบริการให้ข้อมูลเรื่องเดียวกันแต่ละครั้งไม่เหมือนกัน
ข้อมูลที่ได้มาผิดปกติมากๆและมีปัจจัยบางประการที่ทำให้ข้อมูลไม่ตรง
วิธีการตรวจสอบข้อมูล
ตรวจสอบข้อมุลอย่างน้อย 2 ครั้งโดยตรวจซ้ำและเปรียบเทียบกับข้อมูลเดิม โดยเฉพาะข้อมูลอัตนัยและปรนัย
หาปัจจัยส่งเสริมหรือยับยั้ง
ถามผู้เชี่ยวชาญ / ญาติ ผู้ใกล้ชิด / ผู้มีประสบการณ์
ทำความเข้าใจข้อมูลด้วยการถามซ้ำหรือสังเกตพฤติกรรม
3.การจัดระบบข้อมูล
(Organizing data)
นำข้อมูลที่ตรวจสอบแล้ว มาจัดหมวดหมู่ เชื่อมโยงข้อมูลเข้าด้วยกัน จัดข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันไว้ด้วยกัน (ตามแนวคิด / ทฤษฎีและเครื่องมือประเมิน
ช่วยให้มองเห็นปัญหาสุขภาพ ปัจจัยเสี่ยงและส่วนดีที่มีอยู่ของผู้รับบริการในขณะที่มีปัญหา
อาจจัดระบบข้อมูลตามกรอบแนวคิดที่แตกต่างกัน
เช่น กรอบแนวคิดทางการพยาบาลและกรอบแนวคิดที่ไม่ใช่ทางการพยาบาล
กรอบแนวคิดทางการพยาบาล
กรอบแนวคิดแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน
กรอบแนวคิดการดูแลตนเอง
กรอบแนวคิดการปรับตัว
กรอบแนวคิดความสามารถในการดูแลตงตนเอง
กรอบแนวคิดที่ไมใช่การพยาบาล
ลำดับขั้นความต้องการของทาสโลว์
การรายงาน/บันทึกข้อมูล
(Recording and recording data)
ต้องบันทึกสิ่งที่ประเมินได้ เพื่อจะได้สื่อสารให้ผู้อื่น (ที่เกี่ยวข้องกับทีมการดูแลรักษา) ได้รับรู้และรายงานความผิดปกติที่พบ เพื่อให้การดูแลรักษาทันที
การบันทึกและรายงาน เป็นปัจจัยที่ให้การรวินิจฉัยและรักษาในทันที ช่วยให้การปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องลดลง แต่อาจทำให้การดูแลรักษาไม่ได้ผล จากการบันทึกและรายงานที่ขาดความระมัดระวัง รอบคอบ
การรายงานสิ่งสำคัญที่พบอาจทำก่อนบันทึกทั้งหมดได้
เช่น วัดอุณหภูมิร่างกายได้ 39.5 องศา ต้องรายงานแพทบ์ก่อน แล้วจึงบันทึกลงในแบบฟอร์ม
การวินิจฉัยการพยาบาล
(Nursing Diagnosis)
ความหมายของ
การวินิจฉัยการพยาบาล
ในลักษณะคำกิริยา
การให้การวินิจฉัยเป็นกระบวนการสืบค้นหาปัญหาของผู้รับบริการ ด้วยการวิเคราห์ข้อมูลที่รวบรวมมาได้ โดยใช่เหตุผลและความรู้ต่างๆ อย่างรอบคอบ ที่เรียกว่า กระบวนการวินิจฉัยทางการพยาบาล
ในลักษณะนาม
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล เป็นผลของการสรุปเกี่ยวกับการตอบสนองของผู้รับบริการต่อปัญหาสุขภาพ หรือ ภาวะสุขภาพดีก็ได้
ปัจจัยที่ใช้ในการวินิจฉัยการพยาบาล
การใช้กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณุ
ในการพิจารข้อมูล และคำอธิบาย ปรากฎการณ์ต่างๆ อย่างรอบคอบ โดยใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ จิตวิทยา สังคมศาสตร์
การตัดสินใจ
decision making
เป็นการเลือกสิ่งที่พิจารณาแล้วว่าเป็นสุขภาพจริงๆ ภายใต้การพิจารณาอย่างรอบคอบ เป็นเหตุเป็นผล มีสติ และมีความเป็นตัวของตัวเอง
4.มีความเป็นปรนัย
Objective
ไม่ลำเอียง ไม่ใช้ความรู้สึกส่วนตัว ค่านิยม และความเขื่อเฉพาะตน ในการสรุปภาวะสุขภาพของผู้รับบริการ แต่จะสนชรุปจากข้อมูลที่รวบรวมมาได้
ความรู้
เกี่ยวกับศาสตร์ทางการพยาบาล และวิทยาศาสตร์สุขภาพ
การวินิจฉัยการพยาบาล = กระบวนการวินิจฉัยการพยาบาล + ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
กระบวนการวินิจฉัยการพยาบาล (nursing diagnosis : process )
การวิเคราะห์ข้อมูล
แปลความหมายของข้อมูล
Interpretation
ตัวอย่างการวิเคราะห์ การแปลความหมายขอวแต่ละชิ้นข้อมูล
จัดกลุ่มข้อมูล
Classification
นำข้อมูลที่รวบรวมได้ในขั้นประเมินสภาพมาจัดกลุ่มใหม่ โดยจัดชิ้นข้อมูล (cue) ที่มีความหมายเกี่ยวข้องกัน ไว้ในกลุ่มเดียวกัน
ชิ้นจ้อมูลอาจอยู่ต่างแบบแผนกัน หรืออยู่ในแบบแผนเดียวกัน
ตัวอย่างการจัดกลุ่มข้อมูล
ข้อมูล
สามีนาง ก. ทำงานอยู่ต่างจังหวัด
พิจารณาตาม
💚 แบบแผนบทบาทและสัมพันธภาพ - จะไม่มีความหมายผิดปกติ
💚 แบบแผนการปรับตัว เผชิญความเครียด - จะมีความหมายทันที
แปลความหมายว่า นางก. มีความวิตกกังวล เนื่องจากต้องฝากลูกไว้กับเพื่อนบ้าน
ตรวจสอบความถูกต้อง
Validation
การกำหนดภาวะสุขภาพ หรือ ระยุปัญหา
ปัญหาที่มีแนวโน้มจะเกิด
ปัญหาเสี่ยง
ปัญหาที่กำลังเกิดอยู่
การจำแนกกลุ่มการตอบสนอง
กลุ่มปัญหา
กลุ่มสาเหตุ หรือปัจจัยที่เป็นเหตุให้เกิดปัญหา
คุณลักษณะที่สำคัญของข้อวินิจฉัยการพยาบาล
เป็นการตอบสนองต่อภาวะสุขภาพของผู้รับบริการ
ป่วย
เสี่ยงต่อการเจ็บป่วย
2.เป็นสภาวการณ์พยาบาลที่สามารถสั่งการรักษาได้โดยอิสระ ภายใต้สิทธิตามกฎหมาย
มีขอบเขตครอบคลุมถึงข้อวินิจฉัย
จิตใจ
สังคม
จิตวิญญาณ
วัฒนธรรม
ร่างกาย
เกิดจากการกำหนดของพยาบาลวิชาชีพ
กำหนดจากการสรุปแบบแผนหรือ
กลุ่มข้อมูลของผู้รับบริการที่ตรวจสอบยืนยันได้
มีองค์ประกอบสองส่วน
การตอบสนองต่อภาวะสุขภาพ
ปัจจัยหรือเหตุสนับสนุนให้เกิดส่วนแรก
การกำหนดภาวะสุขภาพ
ข้อมูลที่รวบรวมได้
วิเคราะห์ แยกแยะ จัดกลุ่มข้อมูล
แปลความหมายของข้อมูล
มองเห็นลักษณะการตอบสนองของผู้รับบริการ/ผู้ป่วยต่อเหตุการณ์หรือสิ่งเร้า
ไม่มีปัญหาสุขภาพ/สุขภาพดี
(Wellness)
มีปัญหาสุขภาพ/เจ็บป่วย
(illness)
การกำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาล
หมายถึง ปัญหา(การตอบสนอง)ของรับบริการ ขึ้นอยู่ภายในขอบเขตที่พบาบาลสามารถปฏิบัติได้ตามกฎหมาย สิทธิ โดยใบประกอบวิชาชีพ มีทั้งปฏิบัติได้โดยอิสระ และปฏิบัติภายใต้แผนการรักษาของแพทย์
ปัญหาที่พยาบาลทำได้โดยอิสระ
(Nursing problem)
การเช็ดตัวลดไข้
ปัญหาร่วม
(Collaborative problem)
การกระตุ้นและดูแลให้ผู้ป่วยออกกำลังกาย
ปัญหาทางการแพทย์
(Medical problem)
การเช็ดตัว
การตรวจสอบความถูกต้องของข้อวินิจฉัย
1.ข้อมูลที่นำมาวินิจฉัยครบถ้วน ครอบคลุม
2.การวิเคราะห์ข้อมูลทำได้ถูกต้อง
3.ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ได้
ไปสังเคราะห์ข้อมูลของผู้รับบริการ
4.ข้อความของข้อวินิจฉัยที่กำหนด ไปกันได้กับข้อมูลสนับสนุน
5.ข้อความที่เป็นสาเหตุ สอดคล้องกับส่วนที่เป็นภาวะสุขภาพ
6.ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่กำนด สามารถจัดการได้ด้วยการปฏบัติการพยาบาล
แนวทางการนำการวินิจฉัยการพยาบาลไปใช้บนหอผู้ป่วย
1.ก่อนปฏิการพยาบาล
ตรวจเยี่ยมผู้ป่วย(round) และ ศึกษารายงานผู้ป่วยใน
24 ชม.ที่ผ่านมา
2.ทำการวินิจฉัยและกำนดข้อวินิจฉัยการพยาบาล
นำไปเขียนลงแบบฟอร์มบันทึกการพยาบาล /
คาร์เดกซ์(kardex) เพิ่มเติมจากเวรก่อน
3.ควรตระหนักเสมอว่า “กระบวนการพยาบาลสามารภเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา”
มีการประเมินภาวะสุขภาพและประเมินผลการพยาบาลตลอดเวลา
4.ใช้ข้อวินิจฉัยการพยาบาลในคาร์เดกซ์ในการประชุมปรึกษาทางการพยาบาล
แนวทางในการเขียนบันทึกการพยาบาล(nurse’s note)และใช้ส่งเวรให้เวรต่อไป
5.ใช้ข้อวินิจฉัยการพยาบาลในการรายงานวางแผนหรือทีม
การเขียนข้อวินิจฉัยการพยาบาล
องค์ประกอบพื้นฐานของข้อความในข้อวินิจฉัยการพยาบาล
ส่วนที่ 1 ปัญหาหรือสภาวะสุขภาพหรือผลการตอบสนองของผู้รับบริการ
กำลังเกิด
เสี่ยงต่อการเกิด
มีแนวโน้มจะเกิด
ส่วนที่ 2 สมุฏฐานหรือสาเหตุ
ปัญหาเสี่ยง จะบอกปัจจัยเสี่ยงที่มีอยู่
ปัญหาที่มีแนวโน้มจะเกิด จะบอกปัจจัยที่สนับสนุนให้เกิดปัญหา ถ้าไม่ให้การพยาบาลป้องกันไว้ก่อน
รูปแบบข้อวินิจฉัยการพยาบาล
ข้อความส่วนเดียว (one-part statement)
มีมีเฉพาะข้อความส่วนผลการตอบสนองต่อภาวะสุขภาพเท่านั้น ไม่มีสาเหตุ ใช้ในกรณีที่ไม่สามารถเขียนปัจจัยที่เป็นสเหตุได้
2.ข้อความสองส่วน (two-part statement)
เป็นรูปแบบที่ใช้ทั่วไป ใช้กรณีข้อวินิจฉัยการพยาบาลเป็นการคาดคะเนว่าอาจเกิดการตอบสนองต่อปัญหาขึ้น หรือมีภาวะเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาขึ้น
ข้อความสามส่วน (three-part statement)
❤️ส่วนแรก เป็นผลการตอบสนองต่อปัญหาสุขภาพ
❤️ ส่วนสอง เป็นการตอบสนองที่เป็นปัจจัยสนับสนุน
❤️ส่วนที่สาม เป็นอาการและอาการแสดง
เขียนตอบสนองต่อ...
ภาวะสุขภาพดี
ปัญหาที่กำลังเกิดอยู่
ปัญหาเสี่ยง
ปัญหาน่าจะเป็น
แนวทาในการเขียนข้อวินิจฉัยการพยาบาล
ใช้ข้อความที่เป็นผลการตอบสนองต่อพาวะสุขภาพ
ใช้ เนื่องจาก เชื้อมข้อความทั้งสองส่วนของข้อวินิจฉัยพยาบาล
ใช้ข้อความที่ไม่เสี่ยงต่อความผิดกฎหมาย
ไม่ไม่ใช้การให้คุณค่าและมาตรฐานของตัวพยาบาลมีผลต่อการวินิจฉัยการพยาบาล
หลีกเลี่ยงการสลับข้อความในข้อวินิจฉัยการพยาบาล
ไม่ใช้อาการและอาการแสดง เป็นส่วนแรกของข้อวินิจฉัย
ข้อความทั้งสองส่วนของข้อวินิจฉัยการพยาบาล ต้องไม่ใช่สิ่งเดียวกัน
ข้อความทั้งสองส่วนของข้อวินิจฉัยการพยาบาล เป็นสิ่งที่พยาบาลสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้
ไม่ใช่การวินิจฉัยโรคในข้อวินิจฉัยการพยาบาล
ความหมายของการพยาบาล
เป็นการ
ดูแลผู้ป่วย
ส่งเสริมและฟื้นฟูสุขอนามัย
การป้องกันโรค
การช่วยเหลือแพทย์กระทำการรักษาโรค
โดยอาศัยหลักวิทยาศาสตร์และศิลปะ
การประเมินผลการพยาบาล
(Evaluation)
ความหมายของการประเมินผลการพยาบาล
การตัดสินใจเกี่ยวกับคุณภาพ ความมีค่า หรือคุณค่าของพยาบาล
เปรียบเทียบเกณฑ์มาตราฐานที่ตั้งไว้ หรือกำหนดไว้
แก้ปัญหา ตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพอนามัยของผู้ป่วยหรือผู้รับบริการเพื่อบรรลุเป้าหมาย
แนวคิดการประเมินผลการพยาบาล
ขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการพยาบาล
(กระทำตลอดเวลา)
กระบวนการที่เป็นระเบียบแผน
(วัดหลายๆประการนำผลมาพิจารณาตัดสินคุณค่าเทียบเกณฑ์ที่ตั้งไว้)
ทราบถึงประสิทธิภาพ วิธีปฎิบัติ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นกับผู้รับบริการ
นำผลที่ไดเพัฒนาและทำให้เกิดมาตราฐานการพยาบาล
แก้ไขและพัฒนาการประเมินผล
กำหนดปรัชญา วัตถุประสงค์ขององค์กร จนถึงการควบคุมการพยาบาล
ชนิดของการประเมินผลการพยาบาล
การประเมินผลเชิงกระบวนการ
(process)
จุดเน้น
(กิจกรรมของผู้ให้การดูแลผู้ป่วย)
ตัวอย่างเกณฑ์
1.การสัมภาษณ์เมื่อเริ่มรับผู้ป่วยต้องสมบูรณ์ภายใน8ชั่วโมง
2.การตอบสนองต่อยาของผู้รับบริการจะถูกเขียนไว้ในแฟ้ม
3.ผู้ป่วยจะได้รับการทำความสะอาดปากและฟันทุกเวร
4.พยาบาลแนะนำตนเองต่อผู้รับบริการ ก่อนให้การดูแล
เน้นการดูแลผู้ป่วยตอบสนองผู้รับบริการ
การดูแล เหมาะสม สมบูรณ์ ถูกเวลา คุณภาพการปฎิบัติการดูแลผู้ป่วย
การประเมินผลเชิงโครงสร้าง
(structure)
จุดเน้น
(หน่วยงาน)
ตัวอย่างเกณฑ์
1.เครื่องหมายทางออกต้องมองเห็นชัดเจน
2.ชุดช่วยฟื้นคืนชีพต้องมีประจำแต่ละหอผู้ป่วย
3.มีห้องสำหรับให้ญาติรอบนแต่ละชั้น
ผลต่อคุณภาพการดูแล
ตรวจสอบการจัดระบบการให้การดูแล
ปัจจัยที่มีผล เช่นการบริหาร งบ การสื่อสาร กระบวนการพัฒนา แบบแผนการจัดกำลังคน สิ่งอำนวยความสะดวก เครื่องมือเครื่องใช้
การประเมินผลเชิงผลลัพธ์
(outcome)
การประเมินผลเชิงผลลัพธ์
(outcome)
ภาวะสุขภาพของผู้รับบริการ ความพึงพอใจต่อผลการดูแล
เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลการตอบสนอง
เป้าหมายที่พยาบาลผู้รับบริการคาดหวัง
ประสบความสำเร็จในระดับใด อย่างไร
ประเมินขณะปฎิบัติการพยาบาล
(formative /ongoing evaluation)
กระทำตลอดเวลา
1.ผู้รับบริการบรรลุเป้าหมายการพยาบาลมากน้อยเพียงใด เหมาะสมหรือไม่
2.ปฎิกริยาต่อปัญหาของผู้รับบริการ เปลี่ยนแปลงอย่างไร
3.ข้อมูลที่นำมาใช้วินิจฉัยปัญหา วางแผนการพยาบาลให้เหมาะสม
4.นำแผนไปปฎิบัติกับผู้รับบริการให้บรรลุเป้าหมาย
ประเมินผลการพยาบาลสิ้นสุดในช่วงเวลาหนึ่งๆ
(summative/intermittent evaluation)
ประเมินผลรวบยอดในเวลานั้นๆ
1.เมื่อผู้ป่วยพ้นวิกฤติหรือป่วยหนัก เช่น พ้นจากภาวะช็อค การหายใจล้มเหลว ไม่รู้สึกตัว
2.เมื่อการพยาบาลเฉพาะสิ้นสุดลง เช่น ภายหลังการล้างไตด้วยไตเทียม ภายหลังการใส่แร่ในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก
3.เมื่อผู้ป่วยย้ายหอผู้ป่วย เช่นย้ายออกจากห้องสังเกตุการณ์หลังผ่าตัด(recovery room)
4.เมื่อช่วงเวลาที่กำหนด เช่นในข่วง1week
ตัวอย่างเกณฑ์
1.BP<140/90 ตลอดเวลา
2.เดินไปห้องน้ำได้โดยไม่ต้องมีคนช่วย ภายใน3วัน
3.ท้องนุ่ม และไม่มีอาการกดเจ็บใน5วัน
จุดเน้น
(การตอบสนองของผู้รับบริการ)
ขั้นตอนการประเมินผลการพยาบาลไป
1.ทบทวนเป้าหมายที่ตั้งไว้ในแผนการพยาบาล
2.รวบรวมข้อมูลที่สัมพันธ์กับเป้าหมายที่วางไว้
3.เปรียบเทียบข้อมูลที่ได้ขณะนั้นกับเกณฑ์การประเมินผลเป้าหมายที่คาดหวังที่ตั้งไว้ ว่าบรรลุผลตามเกณฑ์ทั้งหมด หรือบรรลุบางส่วน หรือไม่บรรลุผลเลย
4.เขียนข้อความเกี่ยวกับผลการประเมินทั้งส่วนภาวะสุขภาพ และข้อมูลสนับสนุนภาวะสุขภาพนั้น
5.เชื่อมโยงกิจกรรมการพยาบาลกับผลการประเมิน
6.ทบทวนและปรับปรุงแก้ไขแผนตามความจำเป็น ขึ้นกับการสำเร็จตามเป้าหมาย และการเปลี่ยนแปลงภาวะสุขภาพของผู้รับบริการ
ประโยชน์ของการประเมินผลการพยาบาล
1.พัฒนาขั้นตอนกระบวนการพยาบาล
2.พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการพยาบาล
3.พัฒนาทักษะการเรียนรู้ของพยาบาล
4.ใช้ประกันคุณภาพ
ปัญหาและอุปสรรคในการประเมินผลการพยาบาล
ขาดการวางแผน คือ ขาดมาตรฐานหรือเกณฑ์สำหรับวัด โดยการเปรียบเทียบกับผลการปฏิบัติหรือผลที่เกิดขึ้นกับผู้รับบริการ ดังนั้นคุณภาพของการพยาบาลจังขึ้นอยู่กับแต่ละสถาบัน และแต่ละบุคคล
ขาดการติดตามผลงาน คุณภาพของการพยาบาล จะดูการทำหน้าที่พยาบาลครบถ้วนหรือไม่ มากกว่าดูผลงาน
การปฏิบัติการพยาบาลมุ่งให้งานเสร็จ มากกว่าการส่งเสริมให้พยาบาลรู้จักคิดแก้ปัญหา ไม่ส่งเสริมการรู้จักตัดสินใจ และใช้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อประเมินผลและหาทางแก้ไขเมื่อไม่ได้ผลตามเป้าหมาย
ขาดความมีระบบ ระเบียบ ในการประเมินผล ไม่ระบุว่าใครเป็นผู้ประเมิน จะประเมินผลเมื่อใด ทำบ่อยเพียงไร การประเมินผลมักถูกมองว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก และเป็นงานของผู้บริหารเพียงคนเดียว
5.ระบบข้อมูลไม่ดี
ตั้งแต่นโยบายในการเขียนบันทึกการพยาบาลขึ้นอยู่กับพยาบาลแต่ละคน หรือแต่ละหอผู้ป่วย นอกจากนี้พยาบาลและเจ้าหน้าที่สุขภาพยังมองไม่เห็นความสำคัญของการบันทึก หรือข้อมูลทางการพยาบาล จึ่งทำให้ขาดการปรับปรุงคุณภาพของเอกสารเหล่านั้น
สรุปการประเมินผลการพยาบาล การประเมินผลเป็นตัดสินคุณภาพ คุณค่า ของบางสิ่งบางอย่างด้วยกระบวนการที่เป็นระบบอย่างใคร่ครวญ โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้ก่อน ในการพยาบาล การคัดสินว่าการพยาบาลที่สห้ผู้รับบริการ บรรบุตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ จะถูกพิจารณาจากพยาบาลผู้รับบริการ และผู้เกี่ยวข้อง อาจพิจารณาโครงสร้างหรือกิจกรรมที่พยาบาลทำ หรือการเปลีย่นเปลี่ยงภาวะสุขภาพของผู้รับบริการ จากการให้การพยาบาล ที่เรียกว่า ผลลัพธ์ทางการพยาบาล การประเมินผลไม่ได้สิ้นสุดเพียงว่าได้ตัดสินผลแล้ว แต่อาจเป็นการเริ่มวงจรกระบวนการพยายาลใหม่ ถ้าผลที่ได้ไม่บรรลุเป้าหมาย โดยพยาบาลใช้ขั้นตอนการประเมิน 5 ขั้นตอน ในการตัดสิน คือทบทวนเป้าหมายที่วางไว้ รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการตอบสนองของผู้รับบริการต่อการปฏิบัติการพยายาล เปรียบเทียบข้อมูลที่ได้กับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ว่าบรรลุเป้าหมายหรือไม่ จากนั้นพิจารณาว่ามีตัวแปรใด รวมทั้งวัฒนธรรม
ความหมายของกระบวนการพยายาล
การนำความรู้ทางทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติ
จัดระเบียบการให้บริการทางการพยาบาล
เป็นเครื่องมือสำคัญในการค้นหาปัญหาและความต้องการของผู้รับบริการ
มีลำดับ 5 ขั้นตอน
แต่ละขั้นใช้การคิดวิเคราะห์และตัดสินใจอย่างมีเหตุผล
ปรเมินภาวะสุขภาพ
วินิจฉัยการพยาบาล
วางแผนการพยาบาล
ปฏิบัติการพยาบาล
ประเมินผลการพยาบาล
เป็นหัวใจของการพยาบาล
การปฏิบัติการพยาบาล
(implementation)
ความหมายของ
การปฏิบัติการพยาบาล
เป็นการนำแผนการพยาบาลที่กำหนดไว้ ไปทำให้เกิดผลเป็นจริง
ภายใต้ระบบการพยาบาลที่เหมาะสมกับสถานการณ์และทรัพยากรที่มีอยู่
เป็นการนำแผนไปสู่การกระทำ เพื่อให้สิ่งที่กำหนดในแผน หรือเป้าหมายที่ต้องการบรรลุผลสำเร็จ
ระบบปฏิบัติการพยาบาล
ระบบการปฏิบัติการพยาบาลตามหน้าที่
(Functional nursing)
เป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าทีม
อาจจะหน้าที่เดี่ยวหรือหลายหน้าที่ จนกว่าหน้าที่นั้นจะเสร็จในแต่ละเวร
ระบบการพยาบาลแบบเจ้าของไข้
(Primary nursing)
เป็นการดูแลเฉพาะรายบุคคล เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการทั้งด้าน ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม ครอบครัวและสิ่งแวดล้อม
ระบบการปฎิบัติการพยาบาลแบบเป็นทีม
(team nursing)
เป็นการผสมผสานการปฏิบัติการพยาบาลตามหน้าที่
และระบบเจ้าของไข้เข้าด้วยกัน
มีหัวหน้าทีม สมาชิกทีมและประสานงานที่ดี
รวมทั้งการนำกระบวนการพยาบาลมาใช้ ทำให้มีประสิทธิภาพ
ขั้นตอนการปฏิบัติการพยาบาล
ขั้นเตรียมการ(preparing)
เตรียมผู้ปฏิบัติการ
คุณสมบัติที่ต้องพัฒนาให้เกิดขึ้นในผู้ปฏิบัติการ คือ 4H
Heart:มีใจรัก เมตตาผู้รับบริการ รักและมีทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงาน
Hands:ทักษะความชำนาญ ความนุ่มนวลในการปฏิบัติการพยาบาล
Heels:ความว่องไว ทันการณ์ในการปฏิบัติการพยาบาล
Head:ความสามารถทางสติปัญญา
1.ต้องพิจารณาว่าผู้ที่ได้รับมอบหมายมีความรู้ ความสามารถเพียงพอหรือไม่
2.ทั้งพยาบาลผู้วางแผนและผู้ได้รับมอบหมาย มีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำตามกฎหมายหรือไม่
เตรียมผู้บริการ
1.ต้องประเมินผู้รับบริการก่อนปฏิบัติการพยาลเสมอ
2.ต้องประเมินความพร้อมของผู้รับบริการที่จะได้รับการพยาบาล
ต้องอธิบายให้ผู้รับบริการทราบว่า จะปฏิบัติกิจกรรมอะไรให้แบะจะเกิดอะไรขึ้นกับเขาบ้าง
รวมถึงการจัดท่าและคำนึงถึงความเป็นส่วนตัวของผู้รับบริการเสมอ
เตรียมอุปกรณ์ เครื่องใช้
1.เตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ให้พร้อมก่อนปฏิบัติการพยาบาลเสมอ
2.ทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพในการพยาบาล เพื่อให้ได้รับความไว้วางใจจากผู้รับบริการ
ทบทวนแผนการพยาบาล
2.สำหรับนักศึกษาพยาบาล ควรวางแผนล่วงหน้า เมื่อถึงเวลาปฏิบัติการพยาบาลต้องทบทวนแผนอีกครั้ง และต้องเขียนแผนปฏิบัติการประจำวัน อาจจะต้องทำหลังประเมินผู้รับบริการก่อนเริ่มปฏิบัติงานและหลังจากประชุมปรึกษาก่อนปฏิบัติงาน
1.ก่อนปฏิบัติงานในแต่ละเวร พยาบาลต้องศึกษารายละเอียดของแผนการพยาบาลใหม่เสมอหลังจากประเมินผู้รับบริการแล้ว เพราะอาจต้องปรับแผนให้สอดคล้องกับสภาะของผู้รับบริการ
ขั้นการปฏิบัติการและการมอบหมายงาน
ทักษะจำเป็นสำหรับการปฏิบัติการพยาบาล
1.ทักษะด้านสติปัญญา (Intellectual and congitive skills)
2.ทักษะในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
(Critical thinking)
3.ทักษะการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (interpersonal skills)
4.ทักษะด้านการปฏิบัติ (teaching / psychomotor skill)
5.การมอบหมายและการนิเทศงาน (delegation and supervision)
ขั้นการบันทึก
(Documentation/recording)
1.บันทึกโดยเน้นแหล่งข้อมูลเป็นหลัก
(Source-oriented record)
2.บันทึกโดยเน้นปัญหาเป็นหลัก (Problem-oriented record)
-บันทึกเป็นรายการปัญหา
-บันทึกตามกระบวนการพยาบาล
3.บันทึกด้วยคอมพิวเตอร์ (computerized record)
4.บันทึกแบบบรรยายตามเหตุการณ์ (narrative records)
ประโยชน์ของการบันทึกทางการพยาบาล
1.ใช้ในการสื่อสารระหว่างผู้ร่วมงาน
2.เพื่อวางแผนการดูแล
โดยนำข้อมูลจากแฟ้มบันทึกรายงานของผู้รับบริการ
3.ใช้เป็นหลักฐานทางกฏหมาย
4.ใช้ประเมินคุณภาพการพยาบาลอย่างเป็นทางการ
5.ใช้เป็นแหล่งข้อมูล
เพื่อใช้ในการศึกษาวิจัย
6.ใช้ในการวางแผนงบประมาณ
ประโยชน์กระบวนการบริการ
ประโยชน์สำหรับผู้รับบริการ
ได้รับการดูแลที่ต่อเนื่อง
ป้องกันการละเลยการพยาบาลและการพยาบาลที่ซับซ้อน
ได้รับการดูแลเฉพาะบุคคล
ได้รับบริการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษา
ประโยชน์สำหรับพยาบาล
มีความพึงพอใจในงาน
เกิดการเรียนรู้ต่อเนื่อง
เพิ่มความเชื่อมั่นในตนเอง
ช่วยในการมอบหมายงาน
ประโยชน์ต่อวิชาชีพ
ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน
เพิ่มคุค่าของวิชาชีพ
สร้างความเข้าใจในวิชาชีพ
การประยุกต์ใช้กระบวนการพยาบาล
กระบวนการพยาบาล สามารถนำไปใช้กับผู้รับบริการทุกภาวะสุขภาพ ทั้งเป็นรายบุคคล ครอบครัวและชุมชน
ครอบคลุมทุกมิติ คือ การดูแลรักษา การส่งเสริม การป้องกันโรค และการฟื้นฟูภาวะสุขภาพ
กรณีผู้รับบริการที่มีภาวะสุขภาพเบี่ยงเบน สามารถนำกระบวนการพยาบาลมาประยุกต์ใช้ได้ทุกวัน ทั้งในภาวะเร่งด่วน เฉียบพลันหรือเรื้อรัง ตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงสูงอายุ
ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีกับกระบวนการ
แนวคิด
จัดให้บุคคลอยู่ในสภาวะที่ดี
มี6องค์ประกอบได้แก่
1.มีการระบายอากาศที่ดี
2.แสงสว่างเพียงพอ
3.ความอบอุ่นเพียงพอ
4.การควบคุมเสียง
5.การควบคุมสิ่งขับถ่ายออกจากร่างกาย
6.การดูแลสุขภาพอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดี
ทฤษฎีสิ่งแวดล้อม
ฟลอเร้นซ์ ไนติงเกล
(Florence Nightingale)
กระบวนการพยาบาล
ประเมินสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพ จิตใจ สังคม ผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อสุขภาพ
จัดกิจกรรมการพยาบาล
ประเมินผลของการจัดการ
ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
ฮิลการ์ด เพบพลาว
(Hildegard E. Peplu)
แนวคิดหลัก
ระหว่างผู้ป่วย ญาติ และพยาบาล ให้ผลรักษาเป็นสำคัญ
กระบวนการพยาบาล
รวบรวมข้อมูล ร่วมกับผู้ป่วย ค้นหาปัญหา
6บทบาท
1.บทบาทคนแปลหน้า
2.บทบาทผู้ให้ข้อมูล
3.บทบาทครู
4.บทบาทผู้นำ
5.บทบาทผู้ทดแทน
1 more item...
ทฤษฎีการปรับตัว
ซิสเตอร์ แคลลิสต้า รอย
(Sister Callist Roy))
แนวคิดหลัก
ส่งเสริม ดำรง ฟื้นฟู รักษา
กระบวนการพยาบาล
4ด้าน
1.วินิจฉัยปัญหา
2.จัดกิจกรรมการพยาบาล
3.ประเมินผลในการปรับตัวหลังให้การพยาบาล
ทฤษฎีการดูแลตนเอง
โดโรธี โอเรม
(Dorothea Orem)
แนวคิดหลัก
การจัดกิจกรรมการดูแลตนเอง บรรเทาการเป็นโรค การบาดเจ็บการเจ็บป่วย
กระบวนการพยาบาล
วินิจฉัยปัญหา วางแผนจัดกิจกรรม 3ระบบ
1.ระบบทดแทนการดูแลทั้งหมด
2.ระบบทดแทนการดูแลตนเองบางส่วน
3.ระบบประคับประคองการดูแลตนเองของผู้รับบริการ
แบบแผนสุขภาพ
(Gordon11แบบแผน)
มาร์จอรี กอร์ดอน
(Marjory Gordon)
แนวคิดหลัก
แนวทางในการประเมินสุขภาพ ของบุคคล ครอบครัว ชุมชน ทั้งในภาวะปกติและเจ็บป่วย รวบรวม ประเมิน วินิจฉัยตามแบบแผน
กระบวนการพยาบาล
รวบรวมข้อประเมินภาวะสุขภาพ
ผลลัพธของแบบแผนเบี่ยงแบนไปกลับสู่ปกติ
แนวทางการประยุกต์ใช้
ด้านร่างกาย
1.การออกกำลังกาย
2.การพักผ่อน ความรู้สึก
3.ต่อมไร้ท่อ ผิวหนัง
ด้านบทบาทหน้าที่
ครอบครัว
ความรับผิดชอบต่อครอบครัว ด้านหน้าที่การงาน เศรษฐกิจ สัมพันธภาพของสมาชิกครอบครัว
การเป็นผู้ชาย
คำแนะนำการดูแลจากแพทย์ความรู้เกี่ยวกับโรค
ด้านอัตมโนทัศน์
ความรู้สึกต่อตนเองด้านรูปร่างหน้าตา ความเชื่อมั่น ความวิตก การเห็นคุณค่าของตนเอง
ด้านความสัมพันธ์และพึ่งพาซึ่งกันและกัน
แสงหาความช่วยเหลือ
ความรัก
ความอบอุ่น
การเกื้อหนุน
ความรู้สึกต่อการเข้ารับการรักษาพยาบาล
คุณลักษณะของกระบวนการพยาบาล
เป็นวงจรและ พลวัตร
Cycle and dynamic
เน้นผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง
Client-centered
มีการวางแผนและกำหนดเป้าหมายบัดเจน
Planed and goal-directed
เป็นสากล
Universal application
เป็นกระบวนการทางสติปัญญา
Coginitive process
เน้นปัญหาของผู้รับบริการ
Problem-oriented
เปรียบเทียบกระบวนการพยาบาลและกระบวนการทางการแพทย์
จุดเน้นของพยาบาล
4.สอนผู้รับบริการให้ดูแลตัวเองหรือการช่วยตัวเองในการทำกิจวัตรประจำวันโดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น
1.วินิจฉัยและบำบัดปฏิกริยาตอบสนองของมนุษย์
(Human response)
2.ดูแล ช่วยเหลือ บำบัดพยาบาลผู้รับบริการ
(บุคคล ครอบครัว และชุมชน)
3.เน้นองค์รวม-ผลกระทบของความเจ็บป่วย
ต่อคนทั้งคน
จุดเน้นของแพทย์
2.รักษาโรค
3.เน้นพยาธิสภาพของโรค-ผลของโรคต่อระบบร่างกาย
1.วินิจฉัยและบำบัดโรค
4.ให้ข้อมูลผู้ป่วยเกี่ยวกับการรักษาโรค