Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดปกติด้านจิตใจในระยะหลังคลอด (ภาวะโรคจิตหลังคลอด (Postpartum…
ความผิดปกติด้านจิตใจในระยะหลังคลอด
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด Postpartum depression
ความหมาย
ความผิดปกติด้านอารมณ์ ความคิด และการรับรู้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายพฤติกรรม เริ่ม 4 สัปดาห์ - 1 ปีหลังคลอด มีอาการรุนแรงจนรบกวนความเป็นอยู่และการเลี้ยงบุตร อาการเป็นนาน 6 เดือนหลังคลอดหรือมากกว่า
สาเหตุ
ความตึงเครียดทางจิตใจ (Psychological stress)
ตั้งครรภ์ไม่พึงปราถนา ปัญหาชีวิตสมรส ไม่ได้รับความเห็นอกเห็นใจ ไม่ได้รับการเอาใจใส่อย่างเพียงพอ เคยมีประวัติซึมเศร้า
ความตึงเครียดทางสังคม (Social stress)
มารดาวัยรุ่นต้องพึ่งบิดามารดา เศรษฐานะ ความยากจน ได้รับการดูแลอย่างเคร่งครัดจากงครอบครัว ความเชื่อ วัฒนธรรม
ความตึงเครียดทางร่างกาย (Biological stress)
เกิดจากเสียเลือด เสียน้ำและอิเล็กโทรไลต์ เหนื่อยล้าจากการคลอด ลำบาก ประสบการณ์คลอดไม่ดี
การวินิจฉัยภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
ใช้เกณฑ์ DSM-V มีอาการตามเกณฑ์ 5 ข้อ โดยต้อมีข้อ 1 หรือ 2 หนึ่งข้อ และอาการนานอย่างน้อย 2 สัปดาห์ โดยไม่มีประวัติ mania หรือ hypormania
Psychomotor agitation หรือ Retardation
อ่อนเพลียไม่มีแรง
นอนไม่หลับ หรือนอนมากกว่าปกติ
รู้สึกตนเองไร้ค่า
เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง หรือกินจุ น้ำหนักเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 5 ใน 1 เดือน
สมาธิลดลง ลังเลใจ
ความสนใจหรือความเพลิดเพลินใจในสิ่งต่างๆ ลดลงอย่างมาก
คิดเรื่องฆ่าตัวตาย หรือการตาย
ซึมเศร้าโดยมีอาการเกือบทั้งวัน
ภาวะโรคจิตหลังคลอด (Postpartum psychosis)
ความหมาย
เกิดความวิกลจริตร่วมกับความผิดปกติด้านอารมณ์ จะมีอาการไบโพลาร์และโรคจิตเภท โดยมักเริ่มเกิดอาการใน 2 - 3 วันแรกหลังคลอด พบได้ภายใน 1 เดือนแรกหลังคลอด
สาเหตุ
เคยมีประวัติเป็นโรคจิตหลังคลอด
มีประวัติไบโพลาร์ bipolar มีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้สูงถึง 40%
มารดาหลังคลอดที่มีลักษณะบุคลิกภาพแปรปรวน เช่น เก็บตัว ย้ำคิดย้ำทำ
มีความเครียดในระยะตั้งครรภ์ เช่น ขาดการช่วยเหลือสนับสนุนจากสามี และคนในครอบครัว ปัญหาเศรษฐานะ
ประวัติบุคคลในครอบครัว ญาติใกล้ชิดป่วยด้วยโรคไบโพลาร์
อาการและอาการแสดง
อาการนำ > ระยะ 2 - 3 วันแรกหลังคลอด
บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง หงุดหงิดง่าย อารมณ์ไม่แน่นอน
ขาดความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัว
นอนไม่หลับ ฝันร้าย
สูญเสียความทรงจำ
อาการโรคจิต
โรคจิตหรือวิกลจริต(หลงผิด) ร่วมกับความผิดปกติของอารมณ์ คือ Bipolar disorder หรือ โรคอารมณ์แปรปรวนสองแบบ manic depressive illness มีอาการซึมเศร้า แมเนีย หรือทั้ง 2 แบบผสมกัน
การประเมินและการวินิจฉัย
ซักประวัติ
ร้องไห้ไม่มีสาเหตุ นอนไม่หลับ ขาดความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัว หงุดหงิดง่าย หลงผิด ประสาทหลอน รวมทั้งใช้แบบประเมินภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ส่งจิตแพทย์เพื่อคัดกรองและวินิจฉัยต่อไป
การตรวจร่างกาย
สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับมารดาหลังคลอด
การรักษาภาวะซึมเศร้าหลังคลอดและโรคจิตหลังคลอด
ทางกาย
ยาแก้ซึมเศร้า (Antidepressant) ให้นมบุตรได้ ไม่อันตรายร้ายแรงกับทารก
ยาต้านโรคจิต (Antipsychotic drug) ในรายอาการจิตเภท และอารมณ์แมนเนีย
ยาควบคมอารมณ์ (Mood stabilizer) lithium carbonate ควรงดให้นมบุตร หรือ carbamazepine
ช็อคไฟฟ้า ECT
แก้ไขสิ่งแวดล้อม
จัดสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่ ช่วยกิจกรรมเท่าที่พอทำได้ ส่งเสริมให้เชื่อมันในตนเอง ไม่แยกบุตรจากมารดา
จิตบำบัด (รายอาการไม่รุนแรง + ยา)
รายบุคคล รายกลุ่ม จิตบำบัดครอบครัว จิตบำบัดคู่สมรส หรือสุขภาพศึกษา + ให้ความรู้แก่มารดาและครอบครัวเกี่ยวกับการเจ็บป่วยทางจิต
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการปรับตัวหลังคลอดไม่เหมาะสมเนื่องจากมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
ประเมินภาวะซึมเศร้าหลังคลอด EPDS คัดกรองเบื้องต้นเพื่อส่งจิตแพทย์วินิฉัย
รับฟังปัญหาต่างๆของมารดาหลังคลอด พร้อมให้คำแนะนำแก่มารดาและครอบครัว
อธิบายให้ทราบถึงสาเหตุการเปลี่ยนแปลงของร่างกายระยะหลังคลอดรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของสภาพอารมณ์ซึมเศร้า
สนับสนุนมารดาหลังคลอดให้ได้รับการประคับประคองทางจิตใจจากทีมบุคลากรสุขภาพ
ส่งเสริมและให้กำลังใจในการแสดงบทบาทมารดา โดยการชมเชย
เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อตนเองและบุคคลรอบข้างเนื่องจากมารดามีภาวะโรคจิตหลังคลอด
ให้มารดาได้รับความปลอดภัยและได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม
สังเกตพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงและคำพูดของมารดาอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันการทำร้ายตนเอง
ให้เวลามารดาในการพูดคุย และรับฟังในสิ่งที่มารดาพูดให้มากที่สุด
ชักนำมารดาให้เข้าร่วมกลุ่มจิตบำบัด เพื่อเตรียมความพร้อม
ดูแลให้ได้รับยาจิตเวชอย่างถูกต้อง
ให้มารดา สามี และญาติ ให้ทราบถึงการวินิจฉัย และการรักษา โดยอธิบายให้เข้าใจ และยอมรับการรักษา
ให้มารดามีความสุขสบาย ส่งเสริมให้มีสุขอนามัยที่ดี
ส่งเสริมและการะตุ้นให้มารดาปฎิบัติกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองให้มากที่สุด
ดูแลการรับประทานอาหาร และพยายามจัดอาหารตามความชอบของมารดา
ส่งเสริมสัมพันธภาพในครอบครัว
แนะนำและให้กำลังใจแก่สามีและญาตื
แนะนำเว้นการมีบุตร การคุมกำเนิด
มีการเยี่ยมบ้านหลังจำหน่าย 2 -3 สัปดาห์
นางสาว ธนัชชา ภูผานี ชั้นปีที่ 3 รุ่นที่ 25 ห้อง A เลขที่ 24