Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ฝีหนองที่เต้านม (Breast abcess) (สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง (หัวนมแตกหรือมีแผลท…
ฝีหนองที่เต้านม (Breast abcess)
ความหมาย
ภาวะที่เกิดการอักเสบติดเชื้อแล้วเกิดน้ำหนองรวมกันเป็นกลุ่มในเต้านม ทำให้ผิวหนังเหนือบริเวณที่เกิดฝีหนองเปลี่ยนแปลงมีลักษณะคล้ำหรือช้ำเลือดช้ำหนองมักเกิดใน ช่วง 2 - 3 สัปดาห์หลังคลอด
พยาธิสภาพ
ติดเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus > เข้าไปในเต้านมผ่านทางหัวนมและลานนมที่แตก > เกิดการอักเสบติดเชื้อ (Mastitis) > ระยะแรกส่วนเดียวของเต้านม lobe > แพร่กระจายไปยัง lobe อื่น > ฝีหนอง breast abscess หนองไหลออกมาผ่านทางน้ำนม
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
หัวนมแตกหรือมีแผลที่หัวนม
ท่อน้ำนมอุดตัน
การติดเชื้อที่เต้านม
เต้านมคัดตึงหรือมีน้ำนมคั่งในเต้านม
มีประวัติการติดเชื้อที่เต้านมหรือหัวนม
มีความผิดปกติที่เต้านมหรือได้รับการผ่าตัดเต้านม
ตั้งครรภ์ครั้งแรก
อายุ > 30 ปี
ประวัติสูบบุหรี่
มารดาหลังคลอดที่ทำงานนอกบ้าน
อาการและอาการแสดง
เต้านมบวมแดง ร้อน และปวดมาก
คลำได้ก้อนตึง กดเจ็บมาก และผิวหนังเหนือบริเวณที่มีก้อนเปลี่ยนเป็นสีแดง
มีไข้อุณหภูมิกายมากกว่า 38.4 องศาเซลเซียส หนาวสั่น
ปวดศีรษะ หัวใจเต้นเร็ว คลื่นไส้ อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว
ต่อมน้ำเหลืองที่ใต้รักแร้ข้างเดียวกับเต้านมที่เป็นฝีจะโตและกดเจ็บ
ฝีแตกและหนองไหลออกมาได้
การประเมินและการวินิจฉัย
ตรวจร่างกาย
เต้านมข้างที่เป็นฝี บวมแดง คลำได้ก้อนตึง กดเจ็บมาก มีไข้ BT > 38.4 องศาเซลเซียส ต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้ข้างเดียวกับเต้านมข้างที่เป็นจะโตและกดเจ็บ
ตรวจทางห้องปฎิบัติการ
CBC เพาะเชื้อจากน้ำนมหรือของเหลวจากเต้านม U/S เต้านม หาตำแหน่งหนอง
ซักประวัติ
ประเมินความเสี่ยง เช่น มารดาหลังคลอดที่ให้นมบุตรไม่ถูกวิธี หัวนมแตกหรือมีแผลที่หัวนม ท่อน้ำนมอุดตัน เต้านมคัดตึง มารดาที่ทำงานนอกบ้าน
การรักษา
ให้ยาปฎิชีวนะ
บรรเทาอาการปวด ให้รับประทานยาแก้ปวดลดไข้ (Analgesics and antipyretics)
ระบายเอาหนองออกโดย needle aspiration หรือ incision and drainage
ให้นมบุตรได้ข้างที่เป็นฝีระบายออกแล้ว
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อที่เต้านม
กิจกรรมการพยาบาล
แนะนำมารดาให้ล้างมือทุกครั้งที่สัมผัสเต้านม หรือก่อนให้นมบุตร
ทำความสะอาดเต้านมและหัวนม เช็ดคราวที่ติดหัวนมออกให้หมดด้วยน้ำสะอาด หลีกเลี่ยงสบู่
แนะนำมารดาสวมเสื้อชั้นในเพื่อพยุงเต้านม
สอนวิธีการให้นมบุตรอย่างถูกต้อง
หากมีอาการคัดตึงเต้านม บีบน้ำนมออก ให้ลานนมอ่อนนุ่ม และนวดเต้านมเบาๆ ก่อนให้ทารกดูด
ไม่สุขสบายเนื่องจากมีการอักเสบติดเชื้อเต้านมและฝีหนองที่เต้านม
กิจกรรมการพยาบาล
ลดการกระตุ้นเต้านม และหัวนมบริเวณที่มีการติดเชื้อ
ประคบร้อนหรือใช้ความร้อนเป่า เพื่อช่วยการไหลเวียนเลือดและน้ำนมดี
กรณีเต้านมอักเสบ mastitis ให้ลูกดูดนมได้ หากเป็นฝีหนอง breast abscess งดทารกดูดข้างที่เป็นฝี
ดูแลให้ได้รับยาปฎิชีวนะตามแผนการรักษา
ดูแลให้ได้ยาบรรเทาอาการปวด
แนะนำให้สวทเสื้อชั้นในเพื่อพยุงเต้านม
กรณีผ่าผีหนองระบาย ควรทำความสะอาดแผลวันละ 2 ครั้ง
แนะนำมารดาให้สังเกตอาการผิดปกติ เช่น มีเลือด หนองซึม แผลมีกลิ่นเหม็น
แนะนำการรักษาความสะอาดร่างดาย
จัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาด สงบให้มารดาได้พักผ่อนเต็มที่
นางสาว ธนัชชา ภูผานี ชั้นปีที่ 3 รุ่นที่ 25 ห้อง A เลขที่ 24