Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การใช้กระบวนการพยาบาลในการช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาทางจิตสังคม…
การใช้กระบวนการพยาบาลในการช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาทางจิตสังคม
ผู้ที่มีพฤติกรรมไม่เป็นมิตร (Hostility)
ความหมาย
ลักษณะคล้ายกับความโกรธ มีพฤติกรรมการทำลาย (Destructive) บุคคล มีทศันคติที่ถูกสะสมมาเรื่อยๆ ซับซ้อนโดยมีแต่ความเกลียดชัง อิจฉา ริษยา ความไม่เป็นมิตรมักจะเป็นผลมาจากความก้าวร้าว มักจะไม่แสดง เท่ากับความก้าวร้าว ความไม่เป็นมิตรเป็นผลมาจากความรู้สึกไม่เพียงพอและ ความรู้สึกสูญเสียความมีคุณค่าในตนเองซึ่งความรู้สึกเหล่านี้อาจถูกเก็บกดไว้ตลอดและอาจ มีพฤติกรรม แสดงออกมาอย่างเปิดเผยหรือซ่อนเร้นก็ได้
สาเหตุและกลไกทางจิต
ถูกปลูกฝังตั้งแต่วัยทารก ไม่สามารถแสดงออกถึงความคับข้องใจได้ ซ่อนความคิด ความรู้สึก ข่มความขมขื่น จนเกิดความวิตกกังวลอย่างมากซึ่งจะแสดงความเป็นมิตรออกมาอย่างเปิดเผยหรือแอบเก็บกดความรู้สึกนั้นเอาไว้
วิธีการบำบัดทางการพยาบาล
การประเมินปัญหาทางการพยาบาล
การประเมินความไม่เป็นมิตร
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย
ด้านพฤติกรรม
กิจกรรมทางการพยาบาล
วิเคราะห์ว่าบุคคลมีภาวะความไม่เป็นมิตรหรือไม่
จัดการกับสิ่งแวดล้อม
จัดห้องแยก
เตรียมเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์เพื่อให้การช่วยเหลืออย่างฉุกเฉิน
ทีมสุขภาพต้องมีความรู้ความเข้าใจ
พยาบาลต้องอยู่ในอารมณ์ที่สงบ สุขุม เยือกเย็น แต่ฉับไว ให้การยอมรับพฤติกรรม
ปิดโอกาสให้บุคคลนั้นๆได้ระบายความรู้สึกคับข้องใจ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
การวินิจฉัยทางการพยาบาลจะมุ่งเน้นที่การประเมินด้านร่างกาย และด้านสติปัญญา สิ่งที่ต้องพิจารณาคือปัจจัยต้นเหตุที่กระตุ้นหรือมีอิทธิพลทำให้บุคคลนั้นเกิดความรู้สึกไม่เป็นมิตร
ผู้ที่มีพฤติกรรมรุนแรง (Violence)
ความหมาย
เป็นความตั้งใจที่จะใช้กำลังทางกายเพื่อข่มขู่หรือกระทำอันตรายต่อตนเอง ผู้อื่น กลุ่มบุคคล หรือ สังคม
วิธีการบำบัดทางการพยาบาลสำหรับผู้ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
ประเมินสภาพผู้ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
การแสดงออกทางสีหน้าบึ้งตึง แววตาไม่เป็นมิตร การเคลื่อนไหวกระวนกระวายอยู่นิ่งไม่ได้
การเปลี่ยนแปลงระดับความรู้สึกและอารมณ์อย่างเฉียบพลัน
การศึกษา ประวัติจากญาติ เกี่ยวกับพฤติกรรมในอดีตมีหรือไม
พยาบาลควรมีท่าทีที่เป็นมิตร สงบ และให้เกียรติเพื่อให้เกิดความรู้สึกไว้วางใจ
สิ่งที่ไม่ควรปฎิบัติ
ไม่ยืนเอามือเท้าเอว เพราะอาจดูเหมือนเป็นการวางอำนาจ
ไม่ควรยืนเอามือไขว้ข้างหน้าเพราะอาจเป็นการแสดงออกถึงความกลัว หรือความวิตกกังวลของพยาบาล
ยืนเอามือไขว้หลัง อาจจะเป็นการแสดงว่าพยาบาลซ่อนบางสิ่งเอาไว้ ผู้ป่วยอาจมีความหวาดระแวงเพิ่มขึ้น
ควรยืนเอามือไว้ข้างๆตัว หรือาจยืนข้างๆเก้าอี้และเอามือจับเก้าอี๊ไว้เพื่อให้เกิดความอุ่นใจ ซึ่งไม่ควรจะทำท่ายกเก้าอี้เพราะผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง อาจตีความหมายว่าพยาบาลท่าทายได้
การวางแผนและการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยรวมทั้งลดสิ่งกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม
ตรวจค้นผู้ป่วยไม่ให้มีสิ่งของที่อาจใช้เป็นอาวุธได้
ดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยขณะพฤติกรรมก้าวร้าวตามระดับความรุนแรงที่ประเมิน พยาบาลต้องเผชิญสถานการณ์ด้วยความมั่นใจ อย่างมีแผน ระมัดระวัง และมีท่าทีสงบ อยู่ห่าง ผู้ป่วยพอสมควร
เรียกชื่อผู้ป่วยและพูดคุยกับผู้ป่วยด้วยน้ำเสียงอ่อนโยน ไม่ตำหนิ ใช้คำถามปลายเปิดให้ผู้ป่วยได้ระบายความไม่พอใจ
ให้ยาตามแผนการรักษาและรายงานแพทย์ในรายที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงมากขึ้น
ก้าวร้าวรุนแรงเพิ่มมากขึ้นอาจจะต้องมีการจำกัดพฤติกรรม (Limit setting) การใชห้้องแยก (Seclusion) การผูกมัดร่างกาย (Physical restrain) และการให้ยาตามแผนการรักษาของแพทย์เพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
อาการสงบพยาบาลควรเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้พูดระบายความรู้สึกเกี่ยวกับการถูกการจำกัดพฤติกรรม (Limit setting) การใช้ห้องแยก (Seclusion) การผูกมัดร่างกาย (Physical restrain) เพื่อช่วยลดความโกรธและความกังวล
ผู้ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว (Aggression)
ความหมาย
เป็นการแสดงออกทางคำพูดและการกระทำที่แสดงถึงความ
โกรธแค้น ความไม่เป็นมิตร พร้อมที่จะทำร้ายตนเองและผู้อื่นทั้งทาง กาย กริยา คำพูด
สาเหตุ
ปัจจัยทางด้านชีวภาพ (Biological factors)
ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง
เจ็บป่วยด้วยโรคทางร่างกาย
ปัจจัยทางด้านจิตสังคม (Psychosocial factors)
ทฤษฏีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Theory)ความก้าวร้าวเป็นสัญชาติญาณหนึ่งของมนุษย์ที่แสดงออกมา
ทฤษฏีทางด้านจิตวิทยา (Psychological Theory) พฤติกรรมก้าวร้าวเกิด จากการไม่ได้รับการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน
ทฤษฏีทางด้านสังคมวิทยา (Sociocultural Theory) จากการศึกษาเด็กที่มีประวัติ ถูกทำร้ายร่างกาย (Physical abuse) ประวัติการถูกล่วงเกินทางเพศ (Sexual abuse) การถูกทอดทิ้งในวัยเด็ก และการที่พ่อแม่มีพฤติกรรมที่รุนแรง
การถือแบบอย่าง (Modelling) เด็กจะลอกเลียนแบบการแสดงความโกรธจากพ่อแม่หรือบุคคลสำคัญในชีวิตของเขา
วิธีการบำบัดทางการพยาบาล
ประเมินความเสี่ยงของผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
ประวัติการมีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงของบุคคลนั้น
การได้รับการวินิจการเจ็บป่วยของบุคคลนั้น
พฤติกรรมในปัจจุบันของบุคคลนั้น ทั้งด้านคำพูดและพฤติกรรม
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงที่จะมีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงเนื่องจากมีประวัติพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
มีพฤติกรรมทำร้ายตนเองหรือผู้อื่นเนื่องจากมีประวัติพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
มีพฤติกรรมหงุดหงิดก้าวร้าวไม่เหมาะสมเนื่องจากขาดทักษะการควบคุมอารมณ์
การวางแผนและการปฏิบัติการพยาบาล
บุคคลที่มีภาวะโกรธ
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
ฟังอย่างตั้งใจ (Active Listening) เปิดโอกาสใหไ้ดพู้ดระบาย
ความโกรธลดลงให้บุคคลนั้นสำรวจถึงสาเหตุที่ทำให้รู้สึกโกรธ
จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการออกแรงเพื่อปลดปล่อยพลังงานส่วนเกิน
ให้คำแนะนำถึงวิธีการจัดการกับความโกรธในทางที่เหมาะสม ได้แก่ สำรวจและยอมรับความโกรธ หลีกเลี่ยงออกจากสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความโกรธ นับ 1 - 100 เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจหรือให้เวลากับความโกรธที่เกิดขึ้น
นาย สมพงษ์ นามป่องแก เลขที่ 60