Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การติดเชื้อหลังคลอด Puerperal infection (ปัจจัยเสี่ยง (ทุพโภชนาการ…
การติดเชื้อหลังคลอด Puerperal infection
ความหมาย
การมีไข้หลังคลอด Puerperal fever
BT > 38 องศาเซลเซียส ติดต่อกันอย่างน้อย 4 ครั้ง/วัน ช่วง 2 ใน 10 วันแรกหลังคลอด ไม่นับ 24 ชั่วโมงหลังคลอด
การติดเชื้อหลังคลอด Puerperal infection
การติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์ร่วมกับการติดเชื้อในระบบอื่น ๆ เช่น ระบบทางเดินปัสสาวะ เต้านม ระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร
การติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์หลังคลอด Puerperal sepsis
BT ≥ 38 องศาเซลเซียส นานเกิน 24 ชั่วโมงหรือเกิดซ้ำตั้งแต่วันที่ 2 - 10 หลังคลอดหรือหลังแท้ง + อาการอย่างน้อย 1 อาการ (ปวดอุ้งเชิงกราน, ตกขาวผิดปกติ, ช่องคลอดเป็นหนอง, มดลูกขนาดเล็กลงช้าหลังคลอด)
สาเหตุ
การติดเชื้อจากโรงพยาบาล (Nosocornial infection)
การติดเชื้อจากภายนอก (Exogenous infection)
ติดเชื้อจากตัวผู้ป่วย (Endogenous infection)
ปัจจัยเสี่ยง
ทุพโภชนาการ ภาวะโลหิตจางตั้งแต่ตั้งครรภ์ ขาดน้ำหรือตกเลือด ภูมิต้านทานต่ำ
ตรวจภายในบ่อยในระยะรอคลอด
การประเมินอัตราการเต้นของหัวใจทารกอาจมีการปนเปื้อนเมื่อใส่ electrode
ระยะเจ็บครรภ์และการคลอดยาวนาน
การทำคลอดโดยใช้สูติศาสตร์หัตถการ
เทคนิคการทำคลอดไม่ถูกต้อง
ทำหัตถการล้วงรก หรือมีการตรวจภายใน ขูดมดลูกในรายที่เศษรกค้าง
เศษรกค้างในโพรงมดลูก
การดูแลฝีเย็บไม่ถูกต้อง
พยาธิ
หลังรกคลอด ตำแหน่งที่รกเกาะจะเป็นแผลที่นกตัวขึ้นเป็นสีแดงคล้ำ มีเส้นเลือดมากมาย มี Thombin อุดอยู่ เป็นแหล่งเพาะเชื้อที่ดี และ Decidual ไวต่อการติดเชื้อแบคทีเรีย รวมทั้งระหว่างการคลอดเกิดการบอบช้ำหรือรอยฉีกขาด ทำให้เกิดบาดแผลเป็นช่องทางของเชื้อ จากนั้น ติดเชื้อเกือบทั้งหมด เริ่มจากแผลกระจายสู่กระแสเลือด
ติดเชื้อเฉพาะที่
BT > 38.5 องศาเซลเซียส + ปัสสาวะลำบาก
แผลฝีเย็บ ขอบน้ำตาลแดง เนื้อเยื่อบวม
ช่องคลอด เยื่อบุบวมแดง เนื้อเน่าลอก เกิดน้ำเหลืองอักเสบ
ปากมดลูก มีการฉีกขาดลึกไปถึง broad ligament เป็นจุดตั้งต้นของหลอดน้ำเหลืองอักเสบ Parametritis
การติดเชื้อของเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometritis)
การติดเชื้อของมดลูก (Metritis)
เชื้อเพาะที่เยื่อบุมดลูก Decidua บริเวณรกเกาะ อาการเริ่มใน 48 ชั่วโมงแรกหลังคลอด > ลามเข้าสู่กล้ามเนื้อมดลูก (Myometritis)
ปวดท้องน้อย บริเวณมดลูกและปีมดลูก
น้ำคาวปลาเหม็น/มีหนอง
BT 38.5 - 40 องศาเซลเซียส PR เร็ว หนาวสั่น
มดลูกเข้าอู่ช้า มีเลือดออกเล็กน้อย
การรักษา
ถอดไหมออก เปิดแผลให้หนองระบายได้ดี
ดูแล hot sitz bath
อบแผลจะช่วยในการบรรเทาอาการปวด
ดูแลให้ได้รับยาปฎิชีวนะ ทางหลอดเลือดดำ และชนิดรับประทาน
ยาระงับปวด
ติดเชื้อลุกลามออกนิกไปนอกมดลูก
อาการและอาการแสดง แพร่ไปตามหลอดเลือดดำ
infected emboli หลุดไปตามเส้นเลือด เกิด pelvic thrombophlebitis
ไข้สูงลอย
ปวดท้องน้อยข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้ง 2 ข้าง
เกิด Femoral thrombophlebitis
ขาบวมตึง
กดไม่บุ๋ม
ปวดกล้ามเนื้อน่อง เมื่อกระดกปลายเท้า
Emboli ก้อนใหญ่หลึดไปอุดเส้นเลือดในปอดจะเสียชีวิตเฉียบพลัน
อาการและอาการแสดง แพร่ไปตามระบบน้ำเหลือง
เนื้อเยื่ออุ้งเชิงกรานอักเสบ Pelvic cellulitis, Parametritis
มีไข้สูงลอย
ปวดท้องน้อย อาจเป็นข้างเดียวหรือสอง
กดเจ็บที่มดลูก
อาจคลำพบก้อนบริเวณ Broad ligament
เยื่อบุช่องท้องอักเสบ Peritonitis การติดเชื้อของมดลูกกระจายทางท่อน้ำเหลืองของมดลูก ลุกลามไปถึงเยื่อบุช่องท้อง
ไข้สูง หนาวสั่น ชีพจรเร็ว
ปวดท้องรุนแรง ท้องโป่งตึง กดเจ็บ มี rebound tenderness, bowel sound ลดลง
มีฝีในอุ้งเชิงกราน ถ้าไม่ได้รับการรักษาจะแตกเข้าสู่ช่องท้องเกิด septic shck
การรักษา
ภาวะ Septic pelvic thromnophlebitis รักษาด้วย Heparin ถ้าตอบสนองใน 48 - 72 ชั่วโมง และให้ยาปฎิชีวนะด้วย ดูแลให้ครบ 10 วัน ถ้าไม่ตอบสนอง > ผ่าตัด
ภาวะ Femoral theombophlebitis ดูแลให้ยาปฎิชีวนะ ยาระงับปวด ให้ Heparin ให้นอนยกขาสูง ห้ามเดินจนกว่าอุณหภูมิจะลดลง 1 สัปดาห์
หากเป็นก้อนฝีหนองในช่องท้องต้องผ่าระบายออก
เยื่อบุช่องท้องอักเสบ ท้องอืดมาก ดูแลทำ Nasogastric suction หากรุนแรง > ผ่าตัด
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อหลังคลอดเนื่องจากมีทางเปิดเข้าสู่ร่างกาย
กิจกรรมพยาบาล
ดูแลให้ได้รับการพักผ่อน และได้รับสารน้ำอย่างเพียงพอ
ให้การพยาบาลโดยใช้หลักป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ในระยะคลอดควรใส่อุปกรณ์ผ้าปิดจมูกและใช้อุปกรณ์ที่สะอาดและปราศจากเชื้อ
ระมัดระวังป้องกันการบาดเจ็บและชอกช้ำของหนทางคลอด
แนะนำให้มารดาหลังคลอดล้างมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะก่อนและหลังเปลี่ยนผ้าอนามัยหรือหลังขับถ่าย
ระยะหลังคลอดดูแลความสะอาดของมารดาหลังคลอด
เปลี่ยนเสื้อผ้า ผ้าปูที่นอนที่ปนเปื้อน
แนะนำการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ที่ถูกวิธี ป้องกันการนำเชื้อ E.Coli จากทวารหนักไปสู๋แผลฝีเย็บ
กระตุ้นให้ดื่มน้ำมาก ๆ รวมทั้งรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง
เสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อเนื่องจากมีภาวะติดเชื้อหลังคลอด
กรณีการติดเชื้อที่แผลฝีเย็บและการติดเชื้อที่ปากช่องคลอด
ดูแลทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกและแผลฝีเย็บ อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
ดูแลทำ Hot sitz bath วันละ 2 - 3 ครั้ง นาน 10 - 15 นาที
กรณีที่มีการติดเชื้อที่เยื่อบุโพรงมดลูก
สังเกตหารหดรัดตัวของมดลูก ทุก 8 ชั่วโมง
ประเมิน V/S ทุก 4 ชั่วโมง
แนะนำให้มารดาหลังคลอดนอนคว่ำ โดยใช้หมอนรองบริเวณท้องน้อย
จัดให้มารดานอนท่า Fowler's positiob
ดูแลให้ยาปฎิชีวนะตามแผนการรักษา
กรณีที่มีการอักเสบที่เยื่อบุช่องท้อง
ดูแลได้รับยาปฎิชีวนะตามแผนการรักษา
V/S ทุก 4 ชั่วโมง
จัดท่ามารดานอนท่า Foeler's position
กรณีที่มีอาการท้องอืด และแน่นท้องมาก ทำ Continuous gastric suction
ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาปฎิชีวนะ แพทย์เจาะเอาหนองออกทาง Cul de sac หรือผ่าตัดระบายหนอง
นางสาว ธนัชชา ภูผานี ชั้นปีที่ 3 รุ่นที่ 25 ห้อง A เลขที่ 24