Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตรวจประเมินสุขภาพทารกในครรภ์ :<3: :<3: (CST (การพยาบาล CST (3…
การตรวจประเมินสุขภาพทารกในครรภ์ :<3: :<3:
Ultrasound
ความหมาย
อัลตร้าซาวด์ คือ คลื่นเสียงความถี่สูง 3.5 - 7 megahertz ที่ปล่อยออกมาจากหัวตรวจ (Transducer) ที่สัมผัสกับผนังหน้าท้องของแม่ คลื่นเสียงจะไปตกกระทบที่เนื้อเยื่อแล้วสะท้อนกลับมา เครื่องก็จะอ่านผลเป็นความเข้มหรือจางขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของเนื้อเยื่อ ภาพที่แสดงให้เห็นทางจอภาพ
ultrasound ที่ใช้อยู่สามารถทำให้เราเห็นภาพขณะนั้น เราสามารถเห็นภาพหัวใจเด็กเต้น เห็นการเคลื่อนไหวของแขน ขา ทำให้เราสามารถติดตามการพัฒนาของทารก จำนวนของทารก ตำแหน่งของทารก และตำแหน่งของรก ประโยชน์อีกอันหนึ่งคือ Doppler ultrasound ซึ่งทำให้เราได้ยินเสียงหัวใจเด็กเต้น
ข้อบางชี้ในการ ultrasound
ดูจำนวนของทารก
ตรวจครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง
ตรวจการเจริญเติบโตของทารก
สงสัยว่ามีความผิดปกติ หรือทารกตายในครรภ์
คาดคะเนอายุครรภ์
เพื่อแยกการตั้งครรภ์นอกมดลูกและความผิดปกติในการตั้งครรภ์อื่นๆ
เพื่อบอกตำแหน่งของรกและความผิดปกติของรก
การตรวจอัลตร้าซาวด์ที่ใช้ในสูติกรรมมี 2 ชนิดคือ
การตรวจอัลตร้าซาวด์ทางช่องคลอดใช้ตรวจครรภ์ในช่วงไตรมาสแรก
วัดรอบศีรษะเด็กเพื่อประเมินอายุครรภ์
วินิจฉัยครรภ์ไข่ปลาอุ และครรภ์นอกมดลูก
ตำแหน่งของทารก การเต้นของหัวใจ
ประเมินว่าตั้งครรภ์ผิดปกติ
ใช้วินิจฉัยว่าตั้งครรภ์หรือไม่
การตรวจอัลตร้าซาวด์ทางหน้าท้องใช้ในการตรวจครรภ์ในระยะไตรมาสที่ 2 – 3
ไตรมาส 2
อายุครรภ์และอัตราการเจริญเติบโตของเด็ก
ประเมินขนาดของทารกว่าเหมาะสมกับอายุหรือไม่
ตั้งครรภ์แฝด
วินิจฉัยว่าทารกตายในท้อง
พิการของอวัยวะ
ปริมาณน้ำคร่ำในมดลูกวินิจฉัยว่าน้ำคร่ำมากหรือน้อย
วินิจฉัยทารกพิการแต่กำเนิดพิการแต่กำเนิดบางชนิด เช่น ศีรษะ กระดูกสันหลัง แขน ขา หัวใจ
ประเมินสุขภาพทารก
ไตรมาส 3
การเคลื่อนไหวของเด็ก
ตรวจความผิดปกติของช่องเชิงกราน
ท่าของเด็ก
ช่วยในการเจาะน้ำคร่ำ
วินิจฉัยเด็กตาย
ช่วยแพทย์ในการเลือกวิธีคลอดเช่น เด็กตัวโตมากก็แนะนำผ่าตัด
ตำแหน่งของรก
Doppler ultrasound
เป็นการตรวจอัลตราซาวด์ และพัฒนาใช้คลื่นเสียงดอพเลอร์มาแสดงการไหลเวียนของเลือดที่ไหลผ่าน ทำให้ทราบถึงพยาธิสภาพของการไหลเวียนเลือดที่ไหลผ่าน ทำให้ทราบถึงพยาธิสภาพทารกในครรภ์
เส้นเลือดที่นิยมตรวจวัดเพื่อประเมินสุขภาพทารกในครรภ์
Middle cerebral artery (MCA)
เป็นการวัดการไหลเวียนของเลือดในสมองทารก ในรายที่มีปัญหา uteroplacental insufficiency ถึงแม้การไหลเวียนเลือดในร่างกายจะลดลง แต่การไหลเวียนไปยังสมองงจะเพิ่มขึ้นตรงกันข้ามกับ umbilical artery ที่เป็นผลของ brain sparing ที่เลือดพยายามไหลไปเลี้ยงอวัยวะที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต จึงนำมาใช้ร่วมกับการตรวจ Umbilical arteries จะมีความแม่นยำมากขึ้น
Ductus venosus / umbilical vein
เป็นการตรวจคลื่นดอพเพอร์ในเส้นเลือดดำ ซึ่งจะเป็นตัวที่บ่งชี้การทำงานของหัวใจ ในรายที่มีการทำงานของหัวใจล้มเหลวจากสาเหตุต่าง เช่น ทารกเจริญเติบโตในครรภ์ชนิดรุนแรง หัวใจพิการ
Umbilical arteries (UA)
เมื่อมีปัญหา uteroplacental insufficiency การไหลเวียนของเลือดที่รกจะลดน้อยลง ความต้านทานของรกจะเพิ่มขึ้น ทำให้การไหลเวียนของเลือดในจังหวะคลายตัวลดลง
การตรวจ NST (Non Stress Test)
ความหมาย
เป็นการตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ที่เปลี่ยนแปลงขณะที่มีการเคลื่อนไหวของทารก ใช้การทำงานการประเมินของระบบประสาทส่วนกลาง ระบบหัวใจและระบบหลอดเลือดของทารกในครรภ์
ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจแต่ไม่ได้เป็นไปตามลักษณะดังกล่าว ในผลการตรวจสอบเป็นบวก ควรตรวจซ้ำภายใน 24-48 ชั่วโมง หรือทำการตรวจสอบด้วยวิธีอื่นๆ เช่น การตรวจ CST
ข้อบ่งชี้ในการตรวจ
1.สตรีตั้งครภ์ที่รู้สึกว่าทารกดิ้นน้อยลง
2.สตรีตั้งครรภ์เกินกำหนด
3.ทารกในครรภ์มีภาวะการณ์เจริญเติโตช้า
4.สตรีตั้งครรภ์เป็นความดันโลหิตสูง,เป็นโรคเบาหวาน
5.สตรีตั้งครรภ์อายุ 35 ปีขึ้นไป
วิธีการตรวจ
.-จัดท่า semi-Fowler หรือ ท่านอนตะแคงซ้าย จะดีกว่าท่านอนหงายซึ่งมักทำให้เกิด supine hypotension มีผลต่อการแปลผล NST
-ติดเครื่อง electronic fetal monitoring โดยติดหัวตรวจ tocodynamometer เพื่อบันทึกการหดรัดตัวของมดลูก ไว้ที่ตำแหน่งยอดมดลูก และตรวจ FHR ไว้ที่ตำแหน่งหลังของทารกที่ได้ยินเสียงการเต้นของหัวใจชัดที่สุด
-บันทึก นาน 20นาที ถ้ายังแปลผลไม่ได้ให้บันทึกต่ออีก 20 นาที รวมเป็น 40 นาที
การแปลผล
Reactive
การเพิ่มขึ้นของ FHR มากกว่าหรือเท่ากับ 15 bpm และนานกว่า 15 วินาที อย่างน้อย 2 ครั้งในช่วงการตรวจ 20 นาที โดยระหว่างที่ตรวจสามารถกระตุ้นการเคลื่อนไหวด้วย การกระตุ้นครั้งละ 1-2 วินาทีที่หน้าท้องมารดา
รูปแบบการเต้นของหัวใจของทารกในครรภ์
FHR variability
การแปรปรวนของการเต้นของหัวใจ ถ้าเป็นความแปรปรวนระหว่างการเต้นแต่ละครั้ง เรียกว่า beat to beat variability หรือ short term variability แต่ถ้าเป็นความแปรปรวนของ baseline FHR ในแต่ละช่วงเวลา เรียกว่า long term variability ซึ่งแบ่งตามขนาดของความแปรปรวนซึ่งบ่งชี้สุขภาพทารกในครรภ์ได้ดังนี้
4 more items...
FHR deceleration
การลดลงของ FHR ซึ่งแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ early variable และ late deceleration
4 more items...
FHR baseline
ทารกปกติจะอยู่ระหว่าง 110-160 bpm
FHR acceleration
การเพิ่มขึ้นของ FHR อย่างฉับพลัน มากกว่าหรือเท่ากับ 15 bpm และนานกว่า 15 วินาที แต่น้อยกว่า 2 นาที แต่ถ้านานกว่า 2 นาที แต่ไม่ถึง 10 นาที จัดเป็น prolonged deceleration แต่ในรายที่อายุครรภ์น้อยกว่า 32 สัปดาห์ เกณฑ์การวินิจฉัยลดลงเป็น เพิ่มขึ้น 10 bpm นานกว่า 10 วินาที
Nonreactive
การเพิ่มขึ้นของ FHR ไม่เป็นไปตามเกณฑ์หรือไม่มีการเพิ่มขึ้นของ FHR เลยในการตรวจนาน 40 นาที
BPP
ข้อจำกัดในการตรวจ BPP
ต้องเป็นผู้ที่มีความชำนาญในการตรวจพฤติกรรมของทารกด้วยอัลตราซาวด์
ผลบวกลวงจากการตรวจสูง
พลาดที่จะวินัจฉัยจากปัญหา abnormal fetal tracing เพราะจากการแปลผล BPP
Parameter ที่ใช้ในการประเมิน biophysical profile
การหายใจ (fetal breathing movement : FBM)
จัดเป็นการเคลื่อนไหวแบบ paradoxical คือ ในจังหวะหายใจเข้า จะมีการยุบเข้าของทรวงอกกะบังลมจะเลื่อนต่ำลงไปด้วย แต่ในขณะหายใจออก ทรวงอกจะขยายทางด้านข้าง ส่วนกะบังลมจะเลื่อนขึ้นตามไปด้วย ถ้ามีการเคลื่อนไหวของทรวงอกและกะบังลมหรือสะอึกนานต่อเนื่อง อย่างน้อย 30 วินาทีตั้งแต่หนึ่งครั้งเป็นต้นไปใน 30 นาที ถือว่าปกติ
การเคลื่อนไหว (fetal movement และ tone)
การตรวจ tone(fetal tone, FT) คือ การเคลื่อนไหวแบบเหยียดงอของแขนขา หรือ กำและคลายมือ (flexion และ deflexion) จะทำได้ยากขึ้นถ้าทารกอยู่ในท่างอตัว ทำให้เห็นการเคลื่อนไหวไม่ค่อยชัด แต่ถ้า tone หายไปจริง แสดงว่าผิดปกติ มีโอกาสเกิด acidosis ของทารกในครรภ์ค่อนข้างสูง รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงของทารกเสียชีวิตในครรภ์ ถ้ามีการเคลื่อนไหว ในลักษณะกำและคลายมือเต็มที่และกำมือใหม่ หรือ งอแล้วเหยียดของลำตัวหรือ แขนขา โดยต้องเป็นลักษณะของ complete flexion อย่างน้อย 1 ครั้ง แปลผลว่าปกติ
การเคลื่อนไหว (fetal movement, FM) การขยับแขนขาหรือมือ แตะแรงหรือเบา ก็จัดว่าเป็นการเคลื่อนไหวของทารกได้หมด โดยต้องเห็นอย่างน้อย 3 ครั้งใน 30 นาที การเคลื่อนไหวของแขนขาและลำตัว พร้อม ๆ กัน ถือว่าเป็น 1 ครั้ง ไม่นับแยกกัน
non stress test (NST)
ปริมาณน้ำคร่ำ (amniotic fluid measurement)
ซึ่งจะมีความหมายมากในรายที่น้ำคร่ำน้อย เพราะบ่งชี้ได้ถึงภาวะเครียดของทารกทำให้สร้างปัสสาวะได้น้อย หรือ อาจเป็นปัจจัยให้เกิดภาวะขาดออกซิเจน ได้อีกด้วย ปริมาณน้ำคร่ำในที่นี้ใช้แอ่งที่ลึกที่สุด (deep vertical pocket, DVP) ซึ่งวัดด้วยอัลตราซาวด์ โดยวางหัวตรวจให้อยู่ในแนวตั้ง หาแอ่งที่มีน้ำคร่ำลึกมากที่สุด โดยที่ไม่มีส่วนของทารกหรือสายสะดืออยู่บริเวณนั้น จากนั้นให้หมุนหัวตรวจ 90 องศา ในแนวตั้งฉาก เพื่อดูว่าเป็นแอ่งที่มีปริมาณน้ำคร่ำมากจริง จึงทำการวัดความลึกในบริเวณนั้น โดยตามเกณฑ์ต้องมีอย่างน้อย 1 แอ่งที่มีความลึกมากกว่า 2 เซนติเมตร แปลผลว่า ปกติ
การแปลผล
โดยวิธีการตรวจและแปลผล BPP นั้น จะมีคะแนนรวมทั้งหมด 10 คะแนน แบ่งเป็น 0 และ 2 คะแนน ในแต่ละพารามิเตอร์
การดูแลรักษา
6-8 คะแนน ให้พิจารณาตามปริมาณน้ำคร่ำ ถ้าน้ำคร่ำปกติ โอกาสเกิด asphyxia น้อย แต่ต้องตรวจ BPP ซ้ำใน 24 ชั่วโมง แต่ถ้าน้ำคร่ำน้อย โอกาสเกิด asphyxia สูงขึ้น
0-4 คะแนน ทารกอยู่ในภาวะคับขัน ควรรีบให้คลอด
8-10 คะแนน โดยที่ปริมาณน้ำคร่ำปกติ แปลผลว่าทารกในครรภ์ยังปกติดี ไม่จำเป็นต้องรีบให้คลอด
การตรวจคัดกรองและวินิจฉัยภาวะดาวน์ซินโดรม
ข้อบ่งชี้นในการตรวจ
คุณแม่ที่เคยคลอดบุตรคนก่อนเป็นดาวน์ซินโดรม
มีประวัติคนในครอบครัวเป็นดาวน์ซินโดรม เช่น พี่น้อง หรือญาติที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือด
คุณแม่ตั้งครรภ์อายุมากกว่า 35 ปี มีโอกาสที่ทารกจะเป็นดาวน์ซินโดรมสูงถึง 1 ใน 250
ผลตรวจอัลตราซาวน์พบลักษณะที่บ่งชี้ว่าเป็นดาวน์ซินโดรม
การตรวจดาวน์ซินโดรม
การเจาะน้ำคร่ำ (Amniocentesis)
ตรวจสารชีวเคมีในเลือดของหญิงตั้งครรภ์ ในชาวงไตรมาสแรกร่วมกับการตรวจอัลตราวาวด์
วัดความหนาของผัวหนังบริเวณต้นคอทารกในครรภ์ สามารถทำได้เฉพาะในช่วงอายุครรภ์ 10-14 สัปดาห์เท่านั้น
อายุครรภ์อยู่ระหว่าง 14-18 สัปดาห์ หฯิงตั้งครรภ์สามารถรับการตรวจเลือดเพื่อคัดกรองทารกดาวน์ในไตรมาสในไตรมาสที่สอง เรียกว่า Triple screening แทนได้
เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด สามารถตรวจคัดกรองได้ถึงร้อยละ 80-90% ไม่เสี่ยงต่อการแท้งบุตร
การแปลผลการตรวจคัดกรองทารกดาวน์
การตรวจคัดกรองให้ผลบวก
หมายความว่าคุณแม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดทารกดาวน์สูงกว่า 1 ใน 200 (ณ ขณะที่ตรวจเลือด) ซึ่งมีความเสี่ยงเช่นเดียวกับคุณแม่ที่อายุมากกว่า 35 ปี คุณแม่ในกลุ่มนี้จะได้รับคำแนะนำจากแพทย์ และให้ทางเลือกในการตรวจโครโมโซมของทารกโดยการเจาะตรวจน้ำคร่ำหรือการตัดชิ้นเนื้อรกไปตรวจ
การตรวจคัดกรองให้ผลลบ
คุณแม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดทารกดาวน์ต่ำกว่า 1 ใน 200 (ณ ขณะที่ตรวจเลือด) ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงน้อย และไม่มีความจำเป็นต้องทำการเจาะน้ำคร่ำตรวจโครโมโซมของทารก เพราะอาจไม่คุ้มต่อความเสี่ยงของการแท้งจากการเจาะน้ำคร่ำหรือการตรวจเนื้อรก
การตรวจวินิจฉัย
การตัดชิ้นเนื้อรก (Chorionic Villous Sampling, CVS)
สามารถทำได้ในช่วงอายุครรภ์ 11-14 สัปดาห์ ดังนั้นมักเป็นวิธีที่เลือกใช้ในกรณีสตรีตั้งครรภ์มารับการตรวจคัดกรองค่อนข้างเร็วตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรก ซึ่งขั้นตอนการทำ CVS นั้นสามารถทำได้ทั้งเจาะผ่านทางหน้าท้องมารดา หรือ ใช้เครื่องมือเข้าไปคีบบางส่วนของเนื้อรกผ่านทางช่องคลอดและปากมดลูก ภาวะแทรกซ้อน คือ การแท้งบุตร
การเจาะน้ำคร่ำ (Amniocentesis)
โดยการเจาะตรวจน้ำคร่ำขณะอายุครรภ์ 16-18 สัปดาห์ ทำให้ทราบว่าทารกมีโครโมโซมผิดปกติหรือไม่ แต่การเจาะตรวจน้ำคร่ำมีอัตราเสี่ยงต่อการแท้งบุตรประมาณ 1 ใน 350 ราย ดังนั้นสูติแพทย์จึงแนะนำการเจาะตรวจน้ำคร่ำในคุณแม่ที่มีความเสี่ยงสูงเท่านั้น เช่น คุณแม่อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป คุณแม่ที่คลอดลูกคนก่อนเป็นทารกดาวน์ คุณแม่ที่ทำการตรวจคัดกรองเลือดแล้วได้ผลบวก หรืออัลตราซาวด์พบความผิดปกติ
การเจาะเลือดจากสายสะดือทารกในครรภ์ (cordocentesis)
ตรวจวินิจฉัยความผิดปกติทางโครโมโซมโดยเฉพาะกลุ่มอาหารดาวน์ การตรวจวินิจฉัยโรค ติดเชื้อแต่กำเนิด ภาวะแทรกซ้อนคือ เลือดออก
CST
ความหมาย
การตรวจวิธีนี้ใช้หลักการเดียวกับ NST แต่มีการเพิ่ม stress ฏ้คือการหดรัดตัวของมดลูกเข้าไป เพื่อดูการตอบสนองของระบบประสาททารกในครรภ์ที่แสดงออกมาทางรูปแบบการเต้นของหัวใจ วิธีนี้จะประเมิน uteroplacental insufficiency ได้ดี
ข้อบ่งชี้ในการตรวจ
เมื่อผลของการตรวจ Biophysical profile ได้คะแนนต่ำ
เมื่อแพทย์สงสัยว่าทารกในครรภ์มีความเสี่ยงสูง
เมื่อตรวจ NST แล้วได้ผล nonreactive
การพยาบาล CST
3.ประเมินการเต้นของหัวมชใจทารกในครรภ์ทุก 15-30 นาที
4.วัดความดันโลิต ชีพจร และการหายใจ ทุก 15 นาที
2.ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก ทุก 15 นาที และควบคุมการหดรัดตัวของมดลูกไม่ให้เกิด 60 วินาที
จัดท่าหญิงตั้งครรภ์นอนตะแคงซ้าย
การแปลผล
negative หรือผลปกติ เป็นการทำนายว่า ทารกในครรภ์อยุ่ในสภาวะปกติ หมายถึง ไม่มี late deccleration เกิดขึ้น แนะนำให้มาตรวจซ้ำภายใน 24 ชั่วโมง
equivocal หรือผลก้ำกึ่ง ไม่อาจแปลผลได้ แนะนำให้มาตรวจซ้ำภายใน 2 ชั่วโมง
Unsatisfactory หมายถึง ไม่สามารถอ่านผลการหดรัดตัวของมดลูก หรืออัตราการเต้นของหัวใจได้ เช่น ในกรณี หญิงตั้งครรภ์อ้วนมาก
Suspicious หมายถึง มดลูกหดรัดตัวจะพบ late decelerlation มากกว่าร้อยละ 50
Hyperstimulating หมายถึง มดลูกหดรัดตัวนานกว่า 90 วินาที หรือความถี่ทุก 2 นาที และพบ late deccleration
positive หรือผลผิดผิดปกติ เป็นการทำนายว่า ทารกในครรภ์ อยู่ในสภาวะผิดปกติ หมายถึง มี late deccleration มากกว่าร้อยละ 50 เมื่อมดลูกมีการหดรัดตัว
ความเสี่ยงของการทำ CST
อาจจะทำให้คลอดก่อนกำหนด ดังนั้นจึงไม่ทำในรายที่เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด
กรณีที่แพทย์จะไม่ทำ CST
-preterm premature rupture of membranes
-Previous cesarean section
-multiple gestation
-hydramious
การตรวจด้วย CST จะทำในรายที่เป็น nonreactive NST โดยวิธีการทำต้องมีการหดรัดตัวร่วมด้วย ถ้าไม่มีต้องชักนำ ซึ่งมีวิธีการชักนำอยู่ 2 วิธี คือ
Nipple stimulation test
อาศัยกลไกการหลั่ง Oxytocin จากการกระตุ้นหัวนม กล่าวคือ เมื่อมีการกระตุ้นหัวนม จะทำให้มดลูกมีการหดรัดตัว
Oxytocin challenge test
เป็นการชักนำให้เกิดการหดรัดตัวของมดลูกโดยให้ oxytocin ทาง intravenous drip
ตรวจ CST
สาเหตุเกิดจากศีรษะทารกถูกกดกับช่องทางการคลอด จากการหดรัดตัวของมดลูก ทำให้ FHS drop
สาเหตุเกิดจากเลือดไปเลี้ยงรกไม่เพียงพอ
สาเหตุเกิดจากการกดสายสะดือขณะมดลูกหดรัดตัว