Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มดลูกเข้าอู่ช้า (subinvolution of uterus) (การประเมินและการวินิจฉัย…
มดลูกเข้าอู่ช้า (subinvolution of uterus)
ความหมาย
ภาวะที่กระบวนการกลับคืนสู่สภาพเดิมของมดลูกใช้เวลานาน หรือกระบวนการนั้นหยุดไปก่อนที่ มดลูกจะกลับคืนสู่สภาพเดิมอย่างสมบูรณ์ในระยะหลังคลอด (Ricci, 2009)
อาการและอาการแสดง
มารดามักจะมีน้ำคาวปลาออกนาน หรือออกมากกว่าปกติ น้ำคาวปลาเป็นสีแดง (persistent red lochia) มีกลิ่นเหม็น (foul lochia) อุณหภูมิกายสูง ปวดท้องน้อย กดเจ็บที่มดลูก ยังคลำพบยอดมดลูกที่หน้าท้องหรือระดับยอดมดลูกยังอยู่สูง และอาจเกิดการตกเลือดหลังคลอดระยะหลังได้(สุสัณหา ยิ้มแย้ม, 2560; Ricci, 2009)
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของภาวะมดลูกเข้าอู่ช้า
การหดรัดตัวของมดลูกไม่ดี ซึ่งอาจเกิดจากเศษรกหรือเยื่อ หุ้มทารกค้าง มีก้อนเนื้องอกของมดลูก มารดาหลังคลอดครรภ์หลัง การตึงตัวของมดลูกไม่ดี หรือมดลูกถูก ยืดขยายมาก เช่น ครรภ์แฝด ครรภ์แฝดน้ำ ทารกตัวโต ปัสสาวะเต็มกระเพาะปัสสาวะ หรือ ถ่ายปัสสาวะไม่ หมด หรือมีอุจจาระอัดแน่นเวลานาน การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง มารดาที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่การติดเชื้อของมดลูก หรือเยื่อบุมดลูกอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุและผลจากมดลูกเข้าอู่ช้า มดลูกคว่ำหน้าหรือ คว่ำหลังมาก
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ
มักจะตรวจพบได้เมื่อมารดามาตรวจหลังคลอด 4 – 6 สัปดาห์ หรือมารดามักจะมาโรงพยาบาลด้วยประวัติเหล่านี้ ยังมีน้ำคาวปลาออกนาน สีน้ำคาวปลาไม่จางลงภายใน 2 สัปดาห์ หรือยัง คลำพบยอดมดลูกที่หน้าท้อง หรือมาพร้อมกับอาการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน
การตรวจร่างกาย
ยังคลำพบระดับยอดมดลูกที่หน้าท้อง ระดับยอดมดลูกไม่ลดต่ำลง น้ำคาวปลาสีไม่จางลงมีเศษเยื่อหุ้มรกค้าง ตกขาว ปวดท้องน้อย ปวดหลัง หรือมีไข้ ติดเชื้อร่วมด้วย
การรักษา
แพทย์จะรักษาตามอาการเพื่อให้มดลูกสามารถหดรัดตัวและลดระดับเข้าสู่อุ้งเชิงกรานได้ เช่น การให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก การให้ยาปฏิชีวนะกรณีมีการติดเชื้อร่วมด้วย เป็นต้น (Ricci, 2009)
ตัวอย่างข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อภาวะมดลูกเข้าอู่ช้าเนื่องจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี
เกณฑ์การประเมิน
มดลูกหดรัดตัวดีกลมแข็ง
ระดับยอดมดลูกลดลง ประมาณ 0.5 นิ้วฟุต หรือ 1 เซนติเมตรต่อวัน
น้ำคาวปลาสีจางลง
กิจกรรมการพยาบาล
หลังทำคลอดรก ตรวจให้แน่ใจว่ารกคลอดครบ
ประเมินระดับยอดมดลูกและลักษณะสีกลิ่นของน้ำคาวปลา
แนะนำมารดาให้คลึงมดลูกให้กลมแข็ง
ส่งเสริมน้ำคาวปลาให้ไหลสะดวก เช่น กระตุ้นให้ลุกจากเตียงโดยเร็ว ให้ลุกเดินบ่อยๆ จัดท่านอนคว่ำโดยใช้หมอนรองใต้ท้องน้อยทำให้มดลูกถูกกด เพื่อกระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัวดีและ น้ำคาวปลาไหลออกได้สะดวก เป็นต้น
ส่งเสริมให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพื่อกระตุ้นการหลั่งของออกซิโทซิน ส่งเสริมให้มดลูกหดรัดตัวดี และมดลูกเข้าอู่ได้เร็วตามปกติ
กระตุ้นให้ขับถ่ายปัสสาวะ เพื่อไม่ให้ขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูก
วัตถุประสงค์
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะมดลูกเข้าอู่ช้า
มีภาวะมดลูกเข้าอู่ช้าเนื่องจากมีการติดเชื้อในโพรงมดลูก
เกณฑ์การประเมินผล
สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ อุณหภูมิกาย 36.5 – 37.4 องศาเซลเซียส อัตราการหายใจ 16 – 20 ครั้งต่อนาที ชีพจร 60 – 100 ครั้งต่อนาที ความดันโลหิต 90/60 – 130/80 มิลลิเมตรปรอท
ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการปกติ
ไม่มีอาการปวดท้องน้อย น้ำคาวปลาไม่มีกลิ่นเหม็น น้ำคาวปลาสีจางลง คลำไม่พบระดับยอดมดลูกทางหน้าท้อง
กิจกรรมการพยาบาล
กรณีที่มีเศษรกค้าง อาจจำเป็นต้องขูดมดลูกเพื่อเอาเศษรกออก
แนะนำให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ รักษาความสะอาดร่างกายทั่วไป และบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
หากมีอาการกดเจ็บที่มดลูก มีไข้ และน้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น อาจเกิดจากเยื่อบุมดลูกอักเสบ หรือมดลูกติดเชื้อ ควรส่งเพาะเชื้อเพื่อหาสาเหตุว่าเกิดจากเชื้อใด ดูแลให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ และยา ปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
ส่งเสริมน้ำคาวปลาให้ไหลสะดวก เช่น กระตุ้นให้ลุกจากเตียงโดยเร็ว ให้ลุกเดินบ่อยๆ จัดท่านอนคว่ำโดยใช้หมอนรองใต้ท้องน้อยทำให้มดลูกถูกกด เพื่อกระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัวดีและ น้ำคาวปลาไหลออกได้สะดวก เป็นต้น
หากไม่มีอาการกดเจ็บที่มดลูก น้ำคาวปลาไม่มีกลิ่นเหม็น มีเลือดออกน้อย ดูแลให้ได้รับยา กระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกตามแผนการรักษา
ส่งเสริมให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพื่อกระตุ้นการหลั่งของออกซิโทซิน ส่งเสริมให้มดลูกหดรัดตัวดี และมดลูกเข้าอู่ได้เร็วตามปกติ
อธิบายให้เข้าใจเกี่ยวกับอาการและการรักษา เพื่อให้เกิดความร่วมมือ รวมทั้งคำแนะนำการปฏิบัติตัว และการส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง
แนะนำให้มาตรวจตามนัดหรือหากมีอาการผิดปกติควรมาก่อนวันนัด
วัตถุประสงค์
เพื่อให้มดลูกกลับสู่สภาพปกติในระยะหลังคลอด
เพื่อให้ปลอดภัยจากภาวะติดเชื้อในโพรงมดลูก
นางสาวอัยรินทร์ ข่วงทิพย์ เลขที่ 72 ห้อง A