Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 10-11 พรบ.โรงเรียนเอกชน (ฉบับที่ 1 พ.ศ.2550 (หมวด 2 …
บทที่ 10-11 พรบ.โรงเรียนเอกชน
ฉบับที่ 1 พ.ศ.2550
ส่วนนำ
ม.1 พรบ.นี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550"
ม.3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525
ม.4
โรงเรียน หมายความว่า สถานศึกษาของเอกชนที่จัดการศึกษาไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนในระบบ หรือโรงเรียนนอกระบบ ที่มิใช่เป็นสถาบันอุดมศึกษาของเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
โรงเรียนในระบบ หมายความว่า โรงเรียนที่จัดการศึกษาโดยกําหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผลซึ่งเป็นนเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
โรงเรียนนอกระบบ หมายความว่า โรงเรียนที่จัดการศึกษาโดยมีความยืดหยุ่นในการกําหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา
ม.5 พรบ.นี้ไม่ใช้บังคับแก
สถานศึกษาที่มีนักเรียนรวมกันไม่เกินเจ็ดคน
สถานศึกษาที่คณะสงฆ์จัดตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การศึกษาอบรม และสั่งสอนพระธรรมวินัย
สถานศึกษาอื่นที่กําหนดในกฎกระทรวงตามข้อเสนอของคณะกรรมการ
หมวด 1
คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
ม.8 ให้มีคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
ม.14 ให้มีมีสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
หมวด 2
โรงเรียนในระบบ
ส่วนที่ 1 การจัดตั้งและเปิดดําเนินการ
ม.19 ตราสารจัดตั้ง อย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้
1) วัตถุประสงค์
2) ชื่อ ประเภท ระดับ ของโรงเรียนในระบบ
3) รายละเอียดเกี่ยวกับที่ดิน ที่ตั้ง และแผนผังแสดงบริเวณและอาคารของโรงเรียนในระบบ
4) เงินทุนและทรัพย์สินที่ใช้ในการจัดตั้ง
5) รายการอื่นตามที่กําหนดในพระราชบัญญัตินี้และที่กําหนดในกฎกระทรวง
ม.30 ให้โรงเรียนในระบบมีคกก.บริหาร ประกอบด้วย
1) ผู้รับใบอนุญาต
2) ผู้จัดการ
3) ผู้อำนวยการ
4) ผู้แทนผู้ปกครอง
5) ผู้แทนครู
6) ผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 1 คนแต่ไม่เกิน 3 คน
ม.36 คกก.บริหารคต้องจัดให้มีการประชุมอย่างน้อยหนึ่งครั้งในแต่ละภาคการศึกษาปกติ
ส่วนที่ 2 ทรัพย์สินและบัญชี
ม.44 ให้โรงเรียนในระบบจัดให้มีกองทุนสํารองและจะจัดให้มีกองทุนอื่นตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้โดยเฉพาะตามที่คณะกรรมการบริหารกําหนดด้วยก็ได้
ส่วนที่ 3 การอุดหนุนและส่งเสริม
ม.48 รัฐพึงให้การอุดหนุนและส่งเสริมโรงเรียนในระบบนอกเหนือจากเงินอุดหนุนตามมาตรา 35 ได้ตามที่คณะกรรมการเสนอแนะ
ส่วนที่ 4 กองทุน
ม.49 ให้มีกองทุนส่งเสริมโรงเรียนในระบบขึ้นในกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสำหรับการให้กู้ยืมแก่โรงเรียนในระบบ
ส่วนที่ 5 การสงเคราะห์
ม.54 ให้มีกองทุนสงเคราะห์เป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์เพื่อสงเคราะห์ผู้อำนวยการ ครู บุคลากรทางการศึกษา
ม.61 ให้มีคกก.กองทุนสงเคราะห์
ส่วนที่ 6 การคุ้มครองการทำงาน
ม.86 กิจการของโรงเรียนในระบบไม่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคมและกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน แต่ผู้ปฏิบัติงานของโรงเรียนต้องได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
ส่วนที่ 7 การกำกับดูแล
ส่วนที่ 8 จรรยา มารยาท วินัย และหน้าที่
ส่วนที่ 9 การโอนใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียนในระบบ
ม.106 ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดประสงค์จะโอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบให้บุคคลอื่น ให้ยื่นคำขอต่อผู้อนุญาตตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คกก.กำหนด
ส่วนที่ 10 การเลิกกิจการและการชำระบัญชี
ส่วนที่ 11 การอุทธรณ์
หมวด 3 โรงเรียนนอกระบบ
ม.120 การจัดตั้งโรงเรียนนอกระบบ ต้องได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาต
ม.121 การขอรับใบอนุญาต และการออกใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนนอกระบบให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง โดยผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องแนบรายละเอียดเกี่ยวกับกิจการของโรงเรียนนอกระบบมาพร้อมคำขอและอย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้
1) ชื่อ ประเภท และลักษณะของโรงเรียนนอกระบบ
2) ที่ตั้ง และแผนผังแสดงบริเวณและอาคารของโรงเรียนนอกระบบ
3) หลักสูตร วิธีการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลการศึกษา
4) หลักเกณฑ์การคิดค่าธรรมเนียมการศึกษา และค่าธรรมเนียมอื่น รวมทั้งหลักเกณฑ์ในการเพิ่มค่าธรรมเนียมดังกล่าว
5) รายการอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
หมวด 4 พนักงานเจ้าหน้าที่
หมวด 5 บทกำหนดโทษ
ฉบับที่ 2 พ.ศ.2554
ส่วนนำ
ม.3 โรงเรียนนอกระบบ หมายความว่า โรงเรียนที่จัดการศึกษาโดยมีความยืดหยุ่นในการกําหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษาระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสําคัญของการสําเร็จการศึกษา และให้หมายความรวมถึงศูนย์การศึกษาอิสลามประจํา มัสยิด (ตาดีกา) และสถาบันศึกษาปอเนาะ
ม.4 บุคลากรทางการศึกษา หมายความว่า ผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งทําหน้าที่ให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดกระบวนการการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษาในโรงเรียนได้แก่ ผู้ปฏิบัติหน้าที่บรรณารักษ์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่งานแนะแนว ผู้ปฏิบัติหน้าที่เทคโนโลยีการศึกษา ผู้ปฏิบัติหน้าที่งานทะเบียนวัดผล ผู้ปฏิบัติหน้าที่บริหารงานทั่วไป หรือผู้ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คกก.กำหนด
หมวด 2 โรงเรียนในระบบ
ส่วนที่ 1 การจัดตั้งและเปิดดำเนินการ
ม.28 ชื่อของโรงเรียนในระบบต้องใช้อักษรไทยขนาดใหญ่พอสมควรติดไว้ที่บริเวณ โรงเรียนในระบบ ณ ที่ซึ่งเห็นได้ง่าย โดยต้องมีคําว่า“โรงเรียน” ประกอบชื่อด้วย ในกรณีที่มีอักษรต่างประเทศกํากับ ต้องไม่มีขนาดใหญ่กว่าอักษรไทย และสําหรับโรงเรียนในระบบที่จัดการศึกษาประเภทอาชีวศึกษาทั้งระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพและระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงอาจใช้คําว่า“วิทยาลัยอาชีวศึกษา” หรือ “วิทยาลัยเทคโนโลยี” ประกอบชื่อแทนคําว่า “โรงเรียน” ก็ได้