Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พระราชบัญญัติ ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.2551…
พระราชบัญญัติ
ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.2551
มาตรา 3 พรบ.นี้ ไม่ใช้บังคับกับการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งดำเนินการโดยสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน ตามกฎหมายที่เกี่ยวกับสถาบันอุดทศึกษาที่ได้บัญญัติไว้
มาตรา 4 ในพรบ.นี้
การศึกษานอกระบบ หมายความว่า กิจกรรมการศึกษาที่มีกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน มีรูปแบบ หลักสูตร วิธีการจัดและระยะเวลาเรียนหรือฝึกอบรมที่ยืดหยุ่นและหลากหลายตามสภาพความต้องการและศักยภาพในการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายนั้น
การศึกษาตามอัธยาศัย หมายความว่า กิจกรรมการเรียนรู้ในวิถึชีวิตประจำวันของบุคคล ซึ่งสามารถเลือกที่จะเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ตามความสนใจ ความต้องการ โอกาส ความพร้อม และศักยภาพในการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล
สถานศึกษา หมายความว่า สถานศึกษาที่จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ภาคีเครือข่าย หมายความว่า บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และองค์กรอื่นๆ รวมทั้งสถานศึกษาอื่นที่มิได้สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีส่วนร่วมหรือมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการส่งเสริมสนับสนุนและประสานความร่วมมือ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
สำนักงาน หมายความว่า สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและ
การศึกษาตามอัธยาศัย
รัฐมนตรี หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ให้ไว้ ณ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551
มาตรา 1 พรบ.นี้ เรียกว่า "พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย"
มาตรา 2 พรบ.นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจาเบกษา
มาตรา 5 เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา ให้บุคคลได้รับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ โดยให้บุคคล ซึ่งได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไปแล้วหรือไม่ก็ตามมีสิทธิได้รับการศึกษารูปแบบการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัยได้ แล้วแต่กรณี ตามกระบวนการดำเนินการที่ได้บัญญัติไว้ในพรบ.นี้
มาตรา 6 การส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้ยึดหลัก
การศึกษานอกระบบ
ความเสมอภาคในการเข้าถึงและได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวาง ทั้วถึง เป็นธรรมและมีคุณภาพเหมาะสมกับสภาพชีวิตของประชาชน
การกระจายอำนาจแก่สถานศึกษาและการให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้
การศึกษาตามอัธยาศัย
การเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความสนใจและวิถึชีวิตของผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย
การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ให้มีความหลากหลายทั้งส่วนที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นและส่วนที่นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการศึกษา
การจัดกรอบหรือแนวทางการเรียนรู้ที่เป็นคุณประโยชน์ต่อผู้เรียน
มาตรา 7 การส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษานอกระบบ ให้ดำเนินการเพื่อเป้าหมายในเรื่อง
ประชาชนได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาศักยภาพกำลังคนและสังคม ที่ใช้ความรู้และภูมิปัญญาเป็นฐานในการพัฒนา
ภาคีเครือข่ายเกิดแรงจูงใจและมีความพร้อมในการมีส่วนร่วมเพื่อจัดกิจกรรม
มาตรา 8 การส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาตามอัธยาศัย ให้ดำเนินการเพื่อเป้าหมายในเรื่องดังต่อไปนี้
ผู้เรียนรู้ได้เรียนรู้สาระที่สอดคล้องกับความสนใจและความจำเป้นในการยกระดับคุณภาพชีวิต ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์และเทียบโอนผลการเรียนกับการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบ
ผู้เรียนได้รับความรู้และทักษะพื้นฐานในการแสวงหาความรู้ที่จะเอื้อต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
มาตรา 9 ให้กระทรวงศึกษาธิการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยให้ความสำคัญแก่ผู้เกี่ยวข้องตามบทบาทและหน้าที่
ผู้จัดการเรียนรู้
ผู้ส่งเสริมและสนับสนุน
ผู้เรียน
มาตรา 10 เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ส่วยนราชการ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องและภาคีเครือข่าย
การสร้างและการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย
ทรัพยากรอื่นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการ
สิทธิประโยชน์ตามความหมาะสม
การจัดการศึกษา การพัฒนาวิชาการและบุคลากร
สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
มาตรา 11 เพื่อประโยชน์ในการจัดและพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้่ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องร่วมมือกับภาคีเครือข่าย
ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของภาคีเครือข่าย
ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคีเครือข่าย ได้รับโอกาสการจัดสรรทรัพยากรและเข้าถึงแหล่งเงินทุน
จัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเรียนรู้
มาตรา 12 เพื่อประโยชน์ในการดำเนินตามพรบ.นี้ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่
ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่พระราชบัญญัติหรือกฎหมายอื่นบัญญัติ
เสนอแนะต่อรัฐมนตรีในการจัดทำและการพัฒนาระบบการเทียบโอนผลการเรียน
ส่งเสริมและสนับสนุนการประสานงานระหว่างหน่วยงาน
กำหนดแนวทางการดำเนินงาน
กำหนดนโยบายและแผนการส่งเสริมและสนับสนุน
มาตรา 13 ให้คณะกรรมการแต่งตั้งอนุกรรมการขึ้น เรียกว่าคณะอนุกรรมการภาคีเครือข่าย ประกอบด้วยภาคส่วนต่างๆของสังคมเข้ามามีส่วนร่วม จำนวนอนุกรรมการ วิธีการได้มาของประธานอนุกรรการวาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นตำแหน่ง รวมทั้งอำนาจหน้าที่ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 14 ให้มีสำนักงาน กศน. โดยมีเลขาธิการ กศน. ซึ่งมีฐานะเป็นอธิบดี เป็นผู้บังคับบัญชา
มาตรา15 ให้มีคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาอัธยาศัยจังหวักทุกจังหวัด
ใน กทม. มึผู้ว่า กทม.เป็นประธาน
ในจังหวัดอื่น ผู้ว่าราชการจังหวัดนั้นๆเป็นประธาน
มาตรา 16 อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการส่งเสริมฯ
ส่งเสริมและสนับสนุนภาคีเครือข่าย
ติดตามการดำเนินการจัดการศึกษา
ให้คำปรึกษาและร่วมมือในการพัฒนาการจัดการศึกษา
ปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา 19 ให้สถานศึกษาแต่ละแห่งมีคณะกรรมการสถานศึกษาจำนวนกรมมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการได้มาของประธานและกรรมการ วาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นตำแหน่ง รวมทั้งอำนาจหน้า ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการประกาษกำหนด
มาตรา 21 ให้สำนักงานบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน ปรับเปลี่ยนภารกิจมาเป็นสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และให้ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พรบ.นี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ กศน. จนกว่าจะมีการแต่งตั้งเลขาธิการกศน.ขึ้นมาใหม่ตามพรบ.นี้
มาตรา 20 .ให้สำนักงานจัดให้มีระบบการประกับคุณภาพการศึกษานอกระบบภายใน มีคุณภาพและมาตรฐานสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
มาตรา 17 ให้มี สำนักงาน กศน. จังหวัดทุกจัหวัด
มาตรา 18 ให้สถานศึกษาทหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุนประสานงานและการจัดการศึกษานอกระบบการศึกษาตามอัธยาศัยรัวมกับภาคีเครือข่าย
มาตรา 25 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพรบ.นี้
มาตรา 22 ให้เลขาธการ กศน. แต่งตั้งผู้บริหารสถานศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครคนหนึ่ง ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน. กทม. จนกว่าจะมีการแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.ขึ้นมาใหม่ตามพรบ.นี้
มาตรา 23 ให้รัฐมนตรีจัดทำบัญชีรายชื่อสถานศึกษาในสังกัดสำนักบริหารงานศึกษานอกโรงเรียน สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ ที่มีความพร้อมในการปฏิบัติภารกิจของสถานศึกษาตามที่กำหนดในพรบ.นี้ และให้ประกาศรายชื่อสถานศึกษาดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษา ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่พรบ.นี้ใช้บังคับ
มาตรา 24 ให้นำกฎกระทรวง ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศและคำสั่งเกี่ยวกับการจัดการศึกษานอกโรงเรียนที่ใชับังคับอยู่ในวันที่พรบ.นี้ใช้บังคับ มาใช้อนุโลมตนกว่าจะได้มีกฎกระทรวง ข้อบังคับ ระเบียบและประกาศที่ออกมาตามพรบ.นี้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน 2ปี นับแต่พรบ.นี้ใช้บังคับ