Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ ๑๑ พระราชบัญญัติ โรงเรียนเอกชน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔…
บทที่ ๑๑ พระราชบัญญัติ
โรงเรียนเอกชน (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๔
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
มาตรา ๑
พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔”
มาตรา ๒
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป
มาตรา ๓
ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำ ว่า “โรงเรียนนอกระบบ” ในมาตรา ๔
แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๔
ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า “บุคลากรทางการศึกษา” และ “ผู้อนุญาต”ในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๕
ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนพ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๖
ให้ยกเลิกความใน (๑) ของมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนพ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(๑) โอนกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครองในที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นส่วนควบของที่ดินสิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือสิทธิการเช่าที่ปลอดจากภาระผูกพันอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ระบุไว้
มาตรา ๗
ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา ๒๗ การโอนกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครองในที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นส่วนควบของที่ดินตามมาตรา ๒๕ (๑) รวมทั้งทรัพย์สินใด ๆ ที่จะต้องใช้ในกิจการของโรงเรียนให้แก่โรงเรียน
มาตรา ๘
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๒๗/๑ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๙
ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา ๒๘ ชื่อของโรงเรียนในระบบต้องใช้อักษรไทยขนาดใหญ่พอสมควรติดไว้ที่บริเวณโรงเรียนในระบบ ณ ที่ซึ่งเห็นได้ง่าย โดยต้องมีคำว่า “โรงเรียน” ประกอบชื่อด้วย
มาตรา ๑๐
ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ให้โรงเรียนในระบบมีคณะกรรมการบริหารประกอบด้วย ผู้รับใบอนุญาต
ผู้จัดการ ผู้อำนวยการ ผู้แทนครู ผู้แทนผู้ปกครอง และผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นกรรมการ
มาตรา ๑๑
ให้ยกเลิกวรรคสองของมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๑๒
ให้ยกเลิกมาตรา ๔๔ และมาตรา ๔๕ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนพ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๑๓
ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๔๖ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนพ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา ๔๖ ให้ผู้จัดการเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดวางระบบและจัดทำบัญชีการเงินและบัญชีอื่นของโรงเรียนในระบบตามแบบและระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด”
มาตรา ๑๔
ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔๗ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา ๔๗ ให้คณะกรรมการบริหารดำเนินการให้มีการตรวจสอบบัญชีของโรงเรียนในระบบเพื่อตรวจสอบและแสดงความเห็นต่องบการเงินของโรงเรียนในระบบภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวัน
มาตรา ๑๕
๑๕ ให้ยกเลิกความใน (๔) ของมาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนพ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(๔) ลดหย่อนหรือยกเว้นเงินภาษีเงินได้ของผู้รับใบอนุญาต ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในประมวลรัษฎากร”
มาตรา ๑๖
ให้ยกเลิกความใน (๔) ของวรรคสองของมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๑๗
ให้ยกเลิกความในมาตรา ๘๖ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา ๘๖ กิจการของโรงเรียนในระบบเฉพาะในส่วนของผู้อำนวยการ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ไม่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
มาตรา ๑๘
ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๑๗ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา ๑๑๗ ในกรุงเทพมหานคร ให้มีคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ ประกอบด้วยปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานกรรมการ ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด เลขาธิการคณะกรรมการ
มาตรา ๑๙
ให้ยกเลิกความใน (๓) ของมาตรา ๑๒๗ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนพ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(๓) บทบัญญัติส่วนที่ ๖ ส่วนที่ ๗ ส่วนที่ ๘ ส่วนที่ ๙ และส่วนที่ ๑๑ ของหมวด ๒ทั้งนี้ ไม่รวมถึงมาตรา ๘๖”
มาตรา ๒๐
ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๕๙ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา ๑๕๙ ให้โรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๒๕ซึ่งมีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นโรงเรียนในระบบหรือโรงเรียนนอกระบบ
มาตรา ๒๑
ให้โรงเรียนในระบบที่ได้ส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมโรงเรียนในระบบอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้รับเงินคืนเมื่อได้หักหนี้สินที่โรงเรียนในระบบดังกล่าวค้างชำระกองทุนแล้วให้คืนแก่โรงเรียนนั้น
มาตรา ๒๒
ในกรณีที่โรงเรียนในระบบใดแสดงได้ว่าสามารถจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้อำนวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษาที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานที่สูงกว่า
มาตรา ๒๓
เพื่อประโยชน์ในการสงเคราะห์แก่ผู้อำนวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษาในกรณีที่โรงเรียนในระบบใดไม่เคยส่งเงินสมทบกองทุนสงเคราะห์นับตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ มีผลใช้บังคับ โรงเรียนในระบบนั้นอาจยื่นคำขอต่อรัฐมนตรีเพื่อใช้อำนาจตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน
มาตรา ๒๔
ให้ผู้ปฏิบัติงานที่มิใช่ครูใหญ่หรือผู้อำนวยการ หรือครูของโรงเรียนนานาชาติซึ่งเป็นโรงเรียนในระบบตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งเคยเป็นผู้ประกันตน
มาตรา ๒๕
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
นายอิสมาแอ มะซะ 6220160464 กลุ่ม 6 เลขที่่ 24