Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หลอดเลือดดำอักเสบ (Thrombophlebitis) :red_flag: (ปัจจัยเสี่ยง :red_cross:,…
หลอดเลือดดำอักเสบ (Thrombophlebitis) :red_flag:
ความหมาย
:<3:
การอักเสบของเยื่อบุหลอดเลือดพร้อมกับการเกิดลิ่มเลือดเกิดการอุดตันของหลอดเลือดบางส่วน การอักเสบมักเกิดขึ้นบริเวณหลอดเลือดบริเวณขา (femoral thrombophlebitis) และการอักเสบของหลอดเลือดดำอุ้งเชิงกราน (pelvic thrombophlebitis)
สาเหตุ
:red_cross:
เกิดการคั่งของเลือด
การแข็งตัวของ
เลือดง่ายกว่าปกต
การบาดเจ็บของหลอดเลือด
ปัจจัยเสี่ยง
:red_cross:
ประวัติเคยมี
การอักเสบของหลอดเลือดดำมาก่อน
เคยผ่าตัดเกี่ยวกับช่องท้องและอุ้งเชิงกราน
ภาวะอ้วน
ได้รับบาดเจ็บจากการคลอด
มารดาคลอดยากเบ่งคลอดนานโดยขึ้นขาหยั่ง (lithotomy)
ได้สารน้ าทางหลอดเลือดดำ
สูบบุหรี่
ถูกจำกัดกิจกรรมบนเตียง
มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน หัวใจ
โลหิตจาง
อาการและอาการแสดง
:check:
แบ่งตามชนิดของหลอดเลือดดำที่เกิดการอักเสบ
กรณีที่มีการอักเสบของหลอดเลือดดำบริเวณส่วนผิว (superficial venous
thrombosis)
จะมีอาการปวดน่องเล็กน้อย บวม แดงร้อน หลอดเลือดดำที่ขาจะแข็ง
กรณีที่มีการอักเสบของหลอดเลือดดำส่วนลึก (deep venous thrombosis)
มีไข้ต่ำๆ ผิวหนังร้อน แต่มองไม่เห็นหรือคล าไม่ได้ กดหลอดเลือดดำส่วนลึก ดันปลายเท้าเข้าหาลำตัวให้ น่องตึงจะรู้สึกปวดมาก (Homan’s sign positive) กล้ามเนื้อน่องเกร็ง ปวดตื้อๆที่น่องหรือที่ขา มีอาการบวมบริเวณขาเนื่องจากหลอดเลือดดำอุดตัน
แบ่งตามตำแหน่งของอวัยวะที่เกิดหลอดเลือดดำอักเสบ
การอักเสบของหลอดเลือดด าบริเวณขา (femoral thrombophlebitis)
เกิดขึ้นประมาณ 10 วันหลังคลอด มีไข้
หนาวสั่น ไม่สุขสบาย ปวดเมื่อยร่างกาย มักจะมีอาการมักจะมีอาการปวด บวมที่ขาเนื่องจากสร้างลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ ที่ขา
ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดไม่สะดวก ขาข้างที่เป็นจะมีอาการแข็ง เจ็บปวด แดงร้อน และบวม
การอักเสบของหลอดเลือดดำที่อุ้งเชิงกราน (pelvic thrombophlebitis)
มักเกิดขึ้นประมาณ 2 สัปดาห์หลังคลอด เป็นภ าวะแทรกซ้อนที่รุนแรงใน ระยะหลังคลอด โดยเฉพาะเมื่อมีการติดเชื้อ มักพบอาการ เช่น มีไข้สูง หนาวสั่น ปวดบริเวณหน้าท้อง
ส่วนล่าง หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว ปวดเมื่อยตามร่างกาย
การประเมินและการวินิจฉัย
:!!:
การซักประวัติ
ประเมินความเสี่ยงในการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบ เช่น ประวัติเคยมีการอักเสบของหลอด
เลือดดำมาก่อน เคยผ่าตัดเกี่ยวกับช่องท้องและอุ้งเชิงกราน สูบบุหรี่ มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน หัวใจ มีภาวะอ้วน BMI เกิน มารดาคลอดยาก เบ่งคลอดนานโดยจัดท่าขึ้นขาหยั่ง (lithotomy)
การตรวจร่างกาย
ตรวจร่างกายจะพบอาการแสดง เช่น มีไข้ มีหลอดเลือดดำขอดพองบริเวณขา คยผ่าตัด
เกี่ยวกับช่องท้องและอุ้งเชิงกราน และมีการติดเชื้อที่มดลูก ผิวหนังร้อน แต่มองไม่เห็นหรือคลำไม่ได้
ดันปลายเท้าเข้าหาลำตัวให้น่องตึงจะรู้สึกปวดมาก (Homan’s sign positive) กล้ามเนื้อน่องเกร็ง
ปวดตื้อๆที่น่องหรือที่ขา
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
ตรวจเลือดติดตามการแข็งตัวของเลือด การอัลตราซาวนด์
(doppler ultrasonography)
การเอกซเรย์ดูเส้นเลือด (venography)
การรักษา
:silhouette:
ให้ยาต้านการจับตัวเป็นลิ่มเลือด (anticoagulant therapy) ส่วนมากมักให้ heparin
ทางหลอดเลือดดำ
ยาปฏิชีวนะ แพทย์อาจจะรักษาด้วยยาปฏิชีวนะแบบครอบคลุมเชื้อได้กว้าง
การผ่าตัดในรายที่มีอาการรุนแรง ไม่ตอบสนองจากการรักษาด้วยยา แพทย์อาจพิจารณาให้
ผ่าตัดเอาลิ่มเลือดออก
ยาบรรเทาปวด ในรายที่ปวดมากอาจให้ยาระงับปวด
ตัวอย่างข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดดำอักเสบ
:pencil2:
กิจกรรมการพยาบาล
ในระยะคลอดรองผ้าบนขาหยั่ง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำหนักกดลงบนน่อง และหลีกเลี่ยงไม่ให้
มารดาอยู่บนขาหยั่งนานเกินกว่า 1 ชั่วโมง
ระยะหลังคลอดกระตุ้นมารดาให้ลุกจากเตียงโดยเร็ว เพื่อส่งเสริมการไหลเวียนของเลือด
ส่วนล่าง
กรณีที่มีหลอดเลือดด าขอดพอง หรือมีประวัติหลอดเลือดดำอักเสบมาก่อน แนะนำให้สวม
ถุงน่อง ใน ระยะ 2 สัปดาห์หลังคลอด
แนะนำมารดาหลังคลอดปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะหลอดเลือดดำอักเสบ หลีกเลี่ยงการนั่งนานๆ หลีกเลี่ยงการนั่งไขว่ห้างเพื่อลดแรงกดใต้เข่า
แนะนำมารดาหลังคลอดให้สังเกตอาการผิดปกติ หากมีอาการให้แจ้งพยาบาล
หรือกรณีที่แพทย์จำหน่ายกลับบ้านให้กลับมาตรวจรักษา