Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติ
ของ ตา หู คอ และจมูก
unnamed…
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติ
ของ ตา หู คอ และจมูก
ไซนัสอักเสบ (SINUSITIS)
ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน
-
สาเหตุ
-
-
3.มีกำรติดเชื้อเข้าสู่ไซนัส หากมีการอุดตันของช่องระบายของโพรงอากาศข้าง จมูก หนองที่ขังอยู่ทำให้ออกซิเจนมาเลี้ยงโพรงอากาศลดลง
อาการ : ไข้ ปวดศีรษะหรือปวดไซนัส น้ำมูกเหลืองเขียวข้น ปวดจมูก ปวดกระบอกตา แก้มข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง อาจปวดขากรรไกรบนหรือฟันร่วมด้วย
การรักษา :ให้ยาหยอดหรือยาพ่นที่ทำให้หลอดเลือดหดตัว Antibioticเช่น Amoxycillin , Co – trimoxazole, Erythromycin Antihistamine ดื่มน้ำมากๆ พักผ่อนให้เพียงพอ
-
ไซนัสอักเสบเรื้อรัง
-
-
-
การรักษา
- หลีกเลี่ยงจากควันต่างๆ ไอระเหยของสารเคมี อากาศร้อนหรืออากาศเย็น
- ให้ยำ Antihistamine , Decongestant การเจาะล้างไซนัสและการผ่าตัด และให้ยาปฎิชีวนะ
- ลดอาการไอ โดยใช้ยาละลายเสมหะ และดื่มน้ำมากๆ
การพยาบาล
- ในรายที่ผ่าตัด Maxillectomy อาจมีการอ้าปากไม่ขึ้น แนะนำให้บริหารช่องปากทันทีที่อ้าปากได้ วันละ 50-200 ครั้ง
- ประคบร้อนลดอาการบวม คอแห้ง
- สอนให้ผู้ป่วยล้างโพรงอากาศข้ำงจมูก ( Nasal irrigation ) ในรายที่มีหนองคั่งค้างในโพรงจมูก
- แนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ สูดดมควันของไอน้ำเพื่อให้โพรงจมูกชุ่มชื้น
- หากอาเจียน ให้นอนตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง ป้องกันการสำลัก
- จัดท่านอนศีรษะสูง 40-45 องศา หลังผ่าตัด 48 ชม. เพื่อลดอาการบวม
7.ประเมินสัญญาณชีพ ติดตามค่า Hb, Hct ดูแลให้ได้รับสารน้ำอย่างเพียงพอ และบันทึกสารน้ำเข้าออกจากร่างกาย
เลือดกำเดาไหล (EPISTAXIS)
สาเหตุ
- จากการระคายเคืองหรือบาดเจ็บต่อเยื่อบุจมูก ได้แก่ การแคะจมูก, การสั่งน้ำมูกแรงๆ
- การอักเสบในช่องจมูก ได้แก่ ภาวะติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนหรือโรคแพ้อากาศ
- เนื้องอกในจมูกหรือโพรงอากาศข้างจมูก
- โรคทางระบบอื่น ๆ ได้แก่ โรคเลือดที่ทำให้เลือดออกง่าย
การรักษา
การรักษาขั้นต้น ให้ผู้ป่วยก้มหน้าลง แล้วใช้นิ้วชี้และหัวแม่มือบีบปีกจมูกทั้งสองข้างให้แน่นเป็นเวลา 5–10 นาที
-
อาการ
-
เลือดออกจากผนังกั้นจมูกส่วนหลัง (Posterior Epistaxis) มักพบในผู้สูงอายุในผู้ป่วยที่มีโรคความดันโลหิตสูงโรคหัวใจและหลอดเลือด
การพยาบาล
- ประเมินจำนวน สี ลักษณะของเลือดที่ไหล
- ตรวจประเมินสัญญาณชีพ และอาการแสดงของภาวะช็อคจากการเสียเลือด
- จัดท่านั่งศีรษะสูง ก้มหน้าเล็กน้อยเพื่อป้องกันเลือดไหลลงคอ
- กรณีเลือดไม่หยุดไหลให้ใช้ผ้า gauze ชุบ Adrenaline 1 : 1000 pack ให้แน่นนาน 2-3 ชม. [ห้าม :red_cross:ทำในรายที่เป็นความดันโลหิตสูง]
โรคใบหน้าอัมพาตครึ่งซีก (Bell’s palsy)
สาเหตุ: มีสมมติฐานว่า เกิดจากร่างกายที่อ่อนแอ พักผ่อนไม่เพียงพอมีภาวะเครียดทําให้ร่างกายติดเชื้อไวรัส ทําให้เส้นประสาทหรือปลายประสาทคู่ที่ 7 อักเสบและบวม
การรักษา: 1. ให้ยากลุ่มสเตียรอยด์
- ยากลุ่มต้านไวรัส
- นํ้าตาเทียม หรือขี้ผึ้งป้ายตา และที่ครอบตา(eyeshield) เนื่องจากผู้ป่วยปิดตาไม่สนิท อาจทําให้ตา แห้ง และเกิดอันตรายได้
- การฝังเข็ม
ริดสีดวงจมูก (NASAL POLYP)
สาเหตุ
- การอักเสบเรื้อรังและการติดเชื้อซึ่งกลับเป็นซ้ำบ่อยๆ
- ความผิดปกติของการตอบสนองของระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของหลอดเลือด
- ความผิดปกติของกระแสลมที่ผ่านเข้าไปบริเวณซึ่งเป็นต้นตอของริดสีดวงจมูก
-
อาการ :เมื่อริดสีดวงจมูกมีขนาดโตขึ้นจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการคัดแน่นจมูก ซึ่งจะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆอาจมีอาการจามหรือน้ำมูกได้ ซึ่งอาจมีลักษณะใส ขุ่นข้น เหนียวหรือมีสีเหลืองเขียว ผู้ป่วยอาจได้รับกลิ่นน้อยลงหรือไม่ได้กลิ่น
การพยาบาล
- ไม่ควรไอหรือจามแรงๆ ถ้าจะจามให้ทำแบบเปิดปากด้วย เพื่อลดแรงดันที่เข้าสู่โพรงอากาศข้างจมูก
- จัดท่านอนศีรษะสูง 40-45 องศา เพื่อลดอาการบวมที่จมูกและแก้ม
- ตรวจสอบภาวะการมีเลือดออกจากช่องจมูก โดยดูเลือดที่ซึมมาจากผ้าปิดแผลหรือการมีเลือดไหลลงสู่ลำคอและการบวมขึ้นของเนื้อเยื่อในช่วง 24-48 ชั่วโมงแรก
โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (ALLERGIC RHINITIS)
-
อาการ :ผู้ป่วยที่มีอาการตั้งแต่อายุน้อยและเป็นอยู่นาน ทำให้ต้องหายใจทางปากเสมอ อาจทาให้ Long-face syndrome คือใบหน้าส่วนล่างจะยาวกว่าปกติ และเมื่อผู้ป่วยสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่นบ้าน ผู้ป่วยจะมีอาการคันจมูก อาจมีอาการจามติดกันหลายครั้ง จมูกไม่ได้กลิ่น (anosmia) และน้ำมูกใสไหลลงคอ (postnasal drip)
สาเหตุ
- Primary or specific factors ได้แก่ สิ่งที่ผู้ป่วยแพ้หรือสารก่อภูมิแพ้(allergen)
- Secondary or precipitating factors เหตุเสริมที่ทำให้อาการแสดงออกมา เช่น โรคติดต่อ
- Predisposing factor ได้แก่ พันธุกรรม (heredity)
การรักษา
- ให้ยาแก้แพ้ (antihistamine) เพื่อลดอาการไอ จาม ลดอาการคัดจมูก ถ้าเป็นจมูกอักเสบ
- การระคายเคืองมาก และคัดแน่นจมูกอาจให้ยำ corticosteroids ร่วมด้วยคำแนะนำแก่ผู้ป่วยพยายามหลีกเลี่ยง
- การไอ ถ้าไอมากหากยังไม่ดีขึ้น พิจารณาเปลี่ยนให้ยาแก้เเพ้ชนิดอื่น อาจให้ steroid ชนิดพ่นจมูก
การพยาบาล
- ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ 0.9% NSS 1,000 cc + KC 120 mEq iv 80 cc / hr
- ดูแลทำความสะอาดผิวหนังให้เป็นพิเศษเนื่องจากผู้ป่วยมีผื่นแดง
- จัดท่านอนศีรษะราบเพื่อให้เลือดไหลไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลาย หัวใจและสมองได้ดีขึ้น
คางทูม (Mumps, Epidemic parotitis)
เป็นโรคติดต่อเฉียบพลันทางระบบทางเดินหายใจซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม Paramyxovirus และก่อให้เกิดการอักเสบของต่อมน้ำลาย
สาเหตุ: เกิดจากการติดเชื้อไวรัสคางทูม (Mumps Virus) ซึ่งเป็นไวรัสที่อยู่ในกลุ่ม Paramyxovirus (พารามิกโซไวรัส)
การรักษา
- ถ้ามีอาการปวดหรือมีไข้สูงให้กินยาพาราเซตามอล (Paracetamol) ส่วนในรายที่ไข้ไม่สูงหรือไม่มีไข้ ก็ไม่ต้องกินยา
- ให้ใช้น้ําอุ่นจัด ๆ หรือกระเป๋าน้ําร้อนประคบบริเวณที่เป็นคางทูมวันละ 2 ครั้ง แต่ถ้ามีอาการปวดมากให้ใช้ความเย็นประคบเพื่อบรรเทาอาการปวด
- ในช่วงที่ขากรรไกรบวมหรือมีอาการปวดมาก อ้าปากลําบาก ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารอ่อน ๆ หรืออาหารที่เคี้ยวได้ง่าย
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสเปรี้ยว
- ผู้ป่วยควรแยกตัวออกต่างหาก ควรหยุดโรงเรียนหรือหยุดงานและพักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน ไม่ไปคลุกคลีกับผู้อื่นจนกว่าจะพ้นระยะติดต่อของโรค
Angioedema
สาเหตุ:มักเกิดตามการเป็นโรคภูมิแพ้ เป็นปฏิกิริยาตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันหรือกระบวนการอักเสบที่ผิดไปจากปกติ
การรักษา:ยา Antihistamin, steroid และ doxepin
-
ภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น(Airway obstruction)
การรักษา
- จัดท่านอนศีรษะสูง (fowler’s position , high fowler’s position)
- การสอนเทคนิคการหายใจที่มีประสิทธิภาพ
- การให้ออกซิเจนและดูดเสมหะ
- การให้ละอองไอน้ําและความชื้น
เสียงผิดปกติ:Aphonia, Stridor, Wheezing
สาเหตุ: ร่างกายสร้างเสมหะมาก, มีภาวะติดเชื้อหรือภาวะขาดน้ำ, ไอไม่มีประสิทธิภาพ
Ludwig’s angina
สาเหตุ :เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อที่พบบ่อย คือ Streptococcus และ Staphylococcus ฝีหนอง
หรือการบาดเจ็บในช่องปาก การถอนฟัน หรือเกิดจากการไม่รักษาความสะอาด ช่องปากและฟัน
อาการ : ลิ้นบวม เจ็บใต้ลิ้น ปวดต้นคอ หายใจลําบาก กลืนลําบาก น้ำลายไหล พูดลําบาก คอบวมแดง
ปวดหู มีไข้ หนาวสั่น สับสน อาจมีอาการแทรกซ้อนคือ เจ็บหน้าอก
-
Peritonsillar abscess
-
อาการ: อาการมาด้วยไข้สูง กลืนเจ็บ กลืนน้ําลายไม่ได้ อ้าปากไม่ได้ ปวดหู มี hot potato voice มักพบบวมบริเวณต่อมทอลซิลข้างเดียว
การรักษา : การให้ยาต้านเชื้อชนิดฉีดด้วย penicillin หรือ erythromycin,cefoxitin,amoxicillin-clavulanic acid ,clindamycin ในกรณีฝีก็ต้องกรีดเอาหนองออกหรือในบางรายอาจต้องทํา tonsillectomy
เหงือกอักเสบแบบเนื้อตายเฉียบพลัน
(Acute necrotizing ulcerative gingivitis : ANUG )
อาการ: ไข้ อ่อน เพลีย และมีกลิ่นปากเหม็น มีการอักเสบอย่างรุนแรงและเฉียบพลันของเหงือก และพบว่ามีฝ้าสีเทา
-
การรักษา
-ให้ยาลดไข
-อาหารเหลว
-บ้วนปาก ตอนเช้าตื่นนอน
-ยา antibiotics (clindamycin, tetracycline)
การติดเชื้อช่องกล้ามเนื้อเคี้ยว(Masticator Space Infection)
การรักษา : ให้ยา PCN หรือ Clindamycin ทางหลอดเลือดดํา
, ทํา Intraoral หรือ Extraoral
อาการ : มีอาการบวม, ขากรรไกรค้าง (lockjaw), มีการโป่งด้านหน้าครึ่งหนึ่งของเพดาน
อ่อนและทอนซิล มีการเบนของลิ้นไก่ไปข้างที่ไม่ได้รับผลกระทบ
คออักเสบ หรือ คอหอยอักเสบ (Pharyngitis)
อาการ
-
คออักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย : จะมีอาการเจ็บคอมากจนกลืนน้ำและอาหารลําบาก มักจะไม่มีอาการน้ํามูกไหล ไอ มีไข้สูง
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อโดยส่วนใหญ่เกิด จากเชื้อไวรัส และ เชื้อแบคทีเรียในกลุ่ม Group A streptococcus (GAS)
สาเหตุอื่นๆที่ไม่ได้เกิดจาก การติดเชื้อ เช่น การสูบบุหรี่, โรคกรดไหลย้อน, สารก่อภูมิแพ้
การรักษา
ติดเชื้อไวรัส: รักษาประคับประคองตามอาการ เช่น ให้ดื่มน้ำให้เพียงพอ กลั้วคอด้วยน้ำเกลือบ่อย ๆ ไม่จําเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ
-
โรคกล่องเสียงอักเสบ (Laryngitis)
-
อาการ : เสียงแหบ บางรายอาจเป็นมากจนถึงขึ้นไม่มีเสียง อาจมีอาการหลังเป็นไข้หวัด เจ็บคอ คอแห้ง รู้สึกคล้ายมีอะไรอยู่ในคอ กลืนลําบาก กลืนเจ็บ
การรักษา
- ถ้าเกิดจากไวรัส (เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่) จะหายาบรรเทาตามอาการ
- ถ้าเกิดจากแบคทีเรีย (เสมหะข้นเหลือง หรือเขียว หรือมีทอลซิลอักเสบบวมแดง) จะให้ยาต้านจุลชีพ
- ถ้ามีตุ่มที่สายเสียง อาจจะแนะนําการผ่าตัดเอาตุ่มออก แพทย์อาจให้รับประทานยาสเตียรอยด์ระยะสั้นๆ เพื่อลดอาการบวม และการอักเสบของสายเสียง
ภาวะความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร (Temporomandibular joint Disorder, TMD)
-
-
การรักษา
-
-
-
– การล้างเข้าไปภายในข้อต่อขากรรไกร (Arthrocentesis) : การใส่เข็มเข้าไปล้างข้อต่อขากรรไกรเพื่อกําจัดเศษเนื้อเยื่อตาย
-
– การผ่าตัดข้อต่อขากรรไกรแบบส่องกล้อง (TMJ arthroscopy) : เป็นการผ่าตัดโดยการส่องกล้องขนาด
เล็กและอุปกรณ์ผ่าตัดเข้าไปในช่องว่างข้อต่อขากรรไกร เพื่อทําการวินิจฉัยและรักษาโรค
-
Retropharyngeal abscess, RPA
อาการ : ไข้ขึ้นสูง เคลื่อนไหวคอและขากรรไกรได้ น้อยปวดคอเวลาเคลื่อนไหว คอแข็ง (stiff neck) คอเอียง (torticollis) กลืนลําบาก (dysphagia) เจ็บเวลา กลืน (odynophagia)
การรักษา
- ดูแลทางเดินหายใจเปิดให้โล่ง(secureairway)แพทย์ควรประเมินการหายใจของผู้ป่วยเป็นลําดับแรก
- ให้ยาต้านจุลชีพเข้าหลอดเลือดดํา
- การรักษาประคับประคอง (supportive care) เฝ้าระวังการอุดกั้น ทางเดินหายใจตลอดการรักษา ให้สารน้ำ(hydration) ให้เพียงพอ อาหาร ยา ระงับปวด และเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน
- Evaluation under anesthesia (EUA) และการผ่าตัดระบาย หนอง กรณีที่อาการอุดกั้นทางเดินหายใจไม่ดีขึ้น
สาเหตุ : การติดเชื้อเป็นหนองใน deep tissue ที่บริเวณโพรงหลังคอหอยซึ่งอยู่ ด้านหลังของ pharynx และ esophagus หน้าต่อ alar fascia ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ prevertebral fascia โดยโพรงหลังคอหอยนี้เริ่มต้นจาก base of skull ลงมา สุดที่ posterior mediastinum ที่ตําแหน่งระหว่างกระดูกสันหลังระดับ C6 ถึง T4
การอักเสบของฝาปิดกล่องเสียงอย่างเฉียบพลัน (acute epiglottitis)
-
อาการ : เจ็บคอ กลืนลําบาก น้ำลายไหล ต่อมาไข้สูง หายใจดัง(stridor) และหายใจลําบากมาก ผู้ป่วยมักอยู่ในท่านั่งเอนตัวไปข้างหน้า เพื่อช่วยให้การหายใจดีขึ้น โรคมักลุกลามมากขึ้นอย่างรวดเร็วจนทําให้เกิดอาการของการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนต้น
อย่างรุนแรงภายใน 24 ชั่วโมง และอาจอันตรายถึงชีวิตได้
การรักษา : ควรพิจารณาใส่ท่อหลอดลมคอโดยผู้ชํานาญที่สุด และเครื่องมือพร้อมที่จะเจาะคอในกรณีที่ไม่สามารถใส่ท่อหลอดลมคอได้ ควรให้ออกซิเจนที่มีความชื้น ให้สารน้ําทางหลอดเลือด และยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม ได้แก่ ampicillin, amoxycillin หรือ chloramphenical ในกรณีที่มีเชื้อดื้อต่อยา ampicilin
มะเร็งกล่องเสียง (Laryngeal Cancer)
-
สาเหตุ
- การสูบบุหรี่ การเผาไหม้ของบุหรี่สามารถทําให้เกิดสารก่อมะเร็ง พบว่าปัจจัยนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สําคัญที่สุด
- ดื่มสุรา แอลกอฮอล์สามารถไปกระตุ้นเยื่อบุของกล่องเสียง
- มลพิษทางอากาศ การสูดดมอากาศที่เป็นพิษ เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และฝุ่น ควัน สารเคมี จากโรงงานอุตสาหกรรม
- ฮอร์โมนเพศ ผลการทดลองที่เกี่ยวข้องแสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียงจะมีเซลล์ตัวรับสัญญาณเอสโตรเจนรีเซบเตอร์(Estrogen receptor, ER) เพิ่มสูงขึ้น
- การฉายรังสี การรักษาโดยการฉายรังสีก้อนเนื้อบริเวณคอ
-
การรักษา
ถ้าเป็นระยะแรกเริ่ม (ระยะที่ 1 และระยะที่ 2) : จะรักษาโดยการฉายรังสี หรือผ่าตัด วิธีใด วิธีหนึ่งเพียงวิธีเดียวเพราะให้ผลการรักษาได้เท่าเทียมกัน แต่การฉายรังสีรักษาสามารถรักษามะเร็งกล่องเสียงให้หายขาดได้
การรักษาระยะลุกลาม (ระยะที่ 3 และระยะที่ 4 ซึ่งยังไม่มีการแพร่กระจายเข้ากระแสโลหิต) : จะใช้การรักษาร่วมกัน หลายๆวิธี เช่น การผ่าตัดกล่องเสียงออกทั้งหมด
-